เค้กคริสต์มาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เค้กคริสต์มาส
เค้กคริสต์มาสแบบอังกฤษ มีมาร์ซิแพนและน้ำตาลไอซิง
ประเภทฟรุตเค้ก

เค้กคริสต์มาส (อังกฤษ: Christmas cake) เป็นเค้กชนิดหนึ่ง มักเป็นฟรุตเค้ก[1] เสิร์ฟในช่วงเทศกาลคริสต์มาสในหลายประเทศ[2]

รูปแบบของอังกฤษ[แก้]

เค้กคริสต์มาสที่ตกแต่งอย่างประณีต
เค้กคริสต์มาสสีขาว

เค้กคริสต์มาสเป็นธรรมเนียมของอังกฤษที่เริ่มต้นมาจากข้าวต้มลูกพลัม[3] เค้กคริสต์มาสแบบดั้งเดิมของอังกฤษทำด้วยลูกเกดแซนตีเคอร์รันต์ชื้น ลูกเกดซัลทานา (ลูกเกดสีทอง) และลูกเกดเรซินที่แช่ในบรั่นดี รัม วิสกี้ หรือเชอร์รี เค้กอาจถูกคลุมด้วยมาร์ซิแพนเป็นชั้น ๆ จากนั้นจึงโรยน้ำตาลไอซิงและมักจะตกแต่งด้วยแถบริบบิ้นลายสกอตและแบบจำลองคริสต์มาส เช่น ตุ๊กตาหิมะ ต้นสน หรือคุณพ่อคริสต์มาส

อาหารพิเศษของชาวสกอต คือเค้กคริสต์มาสแบบดั้งเดิม "วิสกี้ดันดี" (Whisky Dundee) เค้กมีต้นกำเนิดในเมืองดันดีตามชื่อ และทำด้วยสกอตช์วิสกี้ เป็นเค้กที่เบาและร่วน ตกแต่งด้วยบนผลไม้ เปลือกผลไม้เชื่อม ลูกเกดเคอร์รันต์ ลูกเกดเรซิน ลูกเกดซัลทานา และเชอร์รี[4] นอกจากนี้ยังมีแบล็กบัน (black bun) ของชาวสกอตที่มีสูตรคล้ายกันโดยใช้วิสกี้และมักใช้เมล็ดเทียนตากบ กินในวันฮ็อกมาเนย์ (Hogmanay)[5]

นอกจากเชอร์รีเชื่อมแล้ว สูตรเค้กคริสต์มาสบางสูตรมีการใช้แอนเจลิกา (angelica) ทำให้เป็นสีเขียว[5] [6]

บางครั้งมีการเพิ่มเหรียญเงินเข้าไปในเค้กคริสต์มาสและพุดดิงคริสต์มาสเพื่อเป็นสิริมงคล โดยทั่วมักใช้เหรียญสามเพนนีหรือหกเพนนี บางครั้งก็ห่อด้วยกระดาษไข

ในยอร์กเชอร์ เค้กคริสต์มาสรวมถึงฟรุตเค้กชนิดอื่นๆ สามารถรับประทานกับชีสได้ เช่นกับชีสเวนส์ลีย์เดล (Wensleydale)

เค้กที่อาจเสิร์ฟในช่วงเทศกาลคริสต์มาสในสหราชอาณาจักร นอกเหนือจากเค้กคริสต์มาสแบบดั้งเดิมแล้ว ยังมีเค้กที่เรียกว่า "เค้กขอนไม้" หรือ "ยูลล็อก" (Yule log) หรือ "ช็อกโกแลตล็อก" (chocolate log) เป็นแยมโรลที่เคลือบด้วยช็อกโกแลตรูปร่างคล้ายขอนไม้

เค้กคริสต์มาสมาแทนที่เค้กคืนที่สิบสอง (Twelfth-night cake) ที่เป็นที่นิยมก่อนหน้านี้ในช่วงสมัยวิกตอเรีย

ในประเทศอื่น ๆ[แก้]

ในประเทศสหรัฐอเมริกา บางคนให้ฟรุตเค้กเป็นของขวัญในช่วงคริสต์มาส แต่ไม่เรียกว่าเป็นเค้กคริสต์มาส[7] แต่ในประเทศแคนาดา เค้กชนิดเดียวกันนี้มีชื่อเรียกว่า "เค้กคริสต์มาส"

ในประเทศอินเดีย เค้กคริสต์มาสเป็นเค้กผลไม้แบบดั้งเดิมที่มีหลายรูปแบบ เค้กอลาหาบาด (इलाहाबादी केक) มีชื่อเสียงในด้านรสชาติและเนื้อสัมผัสที่เข้มข้น ร้านขนมปังแบบคริสตชนดั้งเดิมขนาดเล็กจำนวนมากใส่แอลกอฮอล์ ซึ่งมักจะเป็นรัมในเค้ก[8]

ในประเทศศรีลังกา เค้กคริสต์มาสใช้น้ำเชื่อมแทนน้ำตาลอ้อยและใส่เครื่องเทศ เช่น จันทน์เทศ อบเชย พริกไทยดำ[9]

เค้กคริสต์มาสแบบญี่ปุ่นในชั้นสินค้าที่นิจิยะมาร์เก็ต (แซนดีเอโก ค.ศ. 2017)

ในประเทศญี่ปุ่น เค้กคริสต์มาสรับประทานตามธรรมเนียมในวันคริสต์มาสอีฟ เค้กเป็นเค้กฟองน้ำง่าย ๆ ราดด้วยวิปครีม มักจะตกแต่งด้วยสตรอว์เบอร์รี และมักจะราดด้วยช็อกโกแลตคริสต์มาสหรือผลไม้ตามฤดูกาลอื่น ๆ และตกแต่งด้วยซานตาคลอส เค้กคริสต์มาสรูปแบบนี้สร้างสรรค์โดยฟูจิยะ และได้รับความนิยมมากขึ้นเมื่อเริ่มขายที่กินซะ ย่านการค้าใจกลางกรุงโตเกียว[10] ในช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นกำลังมีกระแสของการนิยมทำแบบตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากชนชั้นสูง สมาชิกของชนชั้นสูงที่มีใจรักในวัฒนธรรมตะวันตกโดยทั่วไปชอบของหวานแบบตะวันตกที่มีความประณีต ดังนั้นในฐานะที่เป็นของหวานแบบตะวันตก เค้กคริสต์มาสจึงมีความเกี่ยวข้องกับแนวคิดเกี่ยวกับความทันสมัยแบบตะวันตกและสถานะทางสังคม[11] ดังนั้นเมื่อเค้กคริสต์มาสได้จำหน่ายในมีราคาย่อมเยาสำหรับประชาชนทั่วไปจึงเป็นที่นิยมอย่างมาก เค้กคริสต์มาสรูปทรงและรูปแบบต่าง ๆ วางจำหน่ายในร้านขนมจำนวนนับไม่ถ้วนในประเทศ เค้กไม่ยึดติดกับรูปแบบดั้งเดิมของเค้กที่มีรูปวงกลมสีขาวและมีสตรอว์เบอร์รีกับซานตาคลอสอยู่ด้านบนอีกต่อไป[10] ปัจจุบันเค้กคริสต์มาสถือเป็นสัญลักษณ์ของการเฉลิมฉลองวันคริสต์มาส โดยเฉพาะการแบ่งปันเค้กกับครอบครัวหรือเพื่อนฝูง [11] [12]

ในประเทศฟิลิปปินส์ เค้กคริสต์มาสคือเค้กปอนด์สีเหลืองสดใส่ถั่วดองหรือเค้กผลไม้ตามแบบอังกฤษ ทั้งสองแบบแช่ในบรั่นดีหรือรัมในปริมาณมากที่ผสมกับน้ำเชื่อมธรรมดาของน้ำตาลปี๊บและน้ำ เดิมมีการเพิ่มกลิ่นชะมด แต่ปัจจุบันนิยมใช้น้ำกุหลาบหรือน้ำดอกส้มมากขึ้น เนื่องจากกลิ่นชะมดมีราคาแพงมาก เค้กที่ใส่สุราเหล่านี้มักจะคงความสดได้นานหลายเดือนหากจัดการอย่างเหมาะสม

ในประเทศไซปรัส เค้กคริสต์มาสจะเหมือนกับในสหราชอาณาจักรและจะเสิร์ฟในวันคริสต์มาส เป็นอาหารแรกที่คนท้องถิ่นนำมาบริการแก่แขก

ในประเทศเยอรมนี ชต็อลเลิน (Stollen) ซึ่งเป็นฟรุตเค้กเยอรมันดั้งเดิมเป็นที่นิยม ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสจะเรียกว่า ไวนัคทซ์ชต็อลเลิน (Weihnachtsstollen) หรือ คริสท์ชต็อลเลิน (Christstollen)

ในประเทศอิตาลี ปาเนตโตเน (panettone) ขนมปังแป้งซาเออร์โดหวานที่มีรูปทรงหลังคาโดมเป็นแบบเฉพาะ จะรับประทานตามธรรมเนียมในวันคริสต์มาส ประกอบด้วยลูกเกดเรซินและผลไม้สกุลส้มเชื่อม และเตรียมอย่างพิถีพิถันเป็นเวลาหลายวัน ปันโดโร (pandoro) เป็นผลิตภัณฑ์ในเมืองเวโรนา มีรูปร่างแบบดั้งเดิมคล้ายฟรัสตัมที่มีลักษณะเป็นดาวแปดแฉก ปันดอลเชเจโนเวเซ (pandolce genovese) ยังเป็นเค้กคริสต์มาสที่มีชื่อเสียงอีกชนิด (คำคุณศัพท์ genovese หมายถึงเมืองต้นกำเนิดคือเจโนวา) มีลักษณะคล้ายกับฟรุตเค้กของอังกฤษ แต่สูงน้อยกว่าและร่วนกว่า[13]

ในประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดาที่พูดภาษาฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก และเลบานอน บุชเดอนอแอล (bûche de Noël) หรือเค้กขอนไม้ (Yule log cake) เป็นเค้กคริสต์มาสแบบดั้งเดิม เป็นเค้กฟองน้ำเนื้อเบาที่หุ้มด้วยชั้นของครีมเนยรสช็อกโกแลต กาแฟ และเหล้ากร็องมาร์นีเย จากนั้นจึงม้วนและคลุมด้วยชั้นของครีมเนยอีกชั้นที่ตีเป็นริ้วและโรยด้วยผงน้ำตาลเพื่อจำลองเป็นขอนไม้ที่ปกคลุมด้วยหิมะ เค้กขอนไม้มักจะประดับด้วยน้ำตาลหรือของตกแต่งพลาสติกในธีมคริสต์มาส

ต้นกำเนิดของเค้กขอนไม้มาจากขอนไม้ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า ยูลล็อก (Yule Log) ที่ถูกเผาในเตาไฟเป็นเวลาหลายวันในช่วงคริสต์มาสตั้งแต่สมัยกลางเป็นอย่างน้อยทั่วยุโรป พ่อครัวขนมอบชาวฝรั่งเศสแสดงออกมาในรูปแบบของของหวานในศตวรรษที่ 19 ไม่มีส่วนผสมของผลไม้[14]

อุปลักษณ์ญี่ปุ่น[แก้]

คริสต์มาสเป็นวันหยุดเทศกาลที่ยุ่งมากสำหรับร้านขายขนมในญี่ปุ่น เค้กคริสต์มาสของญี่ปุ่นนั้นสร้างสรรค์ขึ้นด้วยรสชาติ ส่วนผสม และสีสันที่หลากหลาย[15]

ในประเทศญี่ปุ่น ตามธรรมเนียมดั้งเดิมแล้วผู้หญิงถูกคาดหวังให้แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย[16] และผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานหลังจากอายุ 25 ปีจะถูกเรียกในเชิงอุปลักษณ์ว่า เค้กคริสต์มาส (クリスマスケーキ, คูริซูมาซูเคกิ) (ที่ขายไม่ออก) โดยอ้างอิงถึงสิ่งของที่ยังขายไม่ได้หลังจากวันที่ 25[17] คำนี้เริ่มเป็นที่นิยมในช่วงทศวรรษ 1980[18] แต่หลังจากนั้นความนิยมเรียกก็น้อยลง[19] เนื่องจากผู้หญิงญี่ปุ่นในปัจจุบันสามารถคงความเป็นโสดโดยถูกตีตราน้อยลง[20] แต่ยังมีคำที่เทียบเท่าที่ใช้หมายถึงผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงานคือคำว่า อูเรโนโกริ (売れ残り; "สินค้าขายไม่ออก")[21]

อ้างอิง[แก้]

  1. This is a British definition: https://www.merriam-webster.com/dictionary/Christmas%20cake)
  2. "definition of Christmas Cake". The Free Dictionary.
  3. "History of Christmas Cakes", English Tea Store
  4. "Dundee Recipe Is Another Standby for the Holidays". The Evening Independent. St. Petersburg, FL. 13 November 1936. p. 13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-07. สืบค้นเมื่อ 19 November 2011.
  5. 5.0 5.1 Alcock, Joan P. (1991). Walker, Harlan (บ.ก.). The Festival of Christmas. Oxford Symposium on Food & Cookery, 1990: Feasting and Fasting : Proceedings. Prospect Books. p. 39. ISBN 0-907-32546-7.
  6. Craig, Elizabeth (1965). What's cooking in Scotland. Oliver and Boyd. p. 119.
  7. Robert Sietsema (November 20, 2002). "A Short History of Fruitcake". The Village Voice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-18. สืบค้นเมื่อ 2022-12-25.
  8. "Cakewalk in Allahabad". The Times of India. December 15, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2013.
  9. "How Sri Lanka Was Influenced By Being a British Colony". Culture Trip. March 10, 2018.
  10. 10.0 10.1 Lee, Diana. "Eating Christmas Cake is a Japanese Tradition". Uniorb. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 13 December 2015.
  11. 11.0 11.1 Konagaya, Hideyo (2001). "The Christmas Cake: A Japanese Tradition of American Prosperity". The Journal of Popular Culture. 34 (4): 121–136. doi:10.1111/j.0022-3840.2001.3404_121.x.
  12. Alison Bruzek (16 Dec 2014). "Japan's Beloved Christmas Cake Isn't About Christmas At All". The Salt (ภาษาอังกฤษ).
  13. Martin, Rachael. "The most mouthwatering Christmas cakes from around Italy", The Local (Italy), December 6, 2018
  14. "Buche de Noel".
  15. Japanese Christmas cake “inspired by a fascinating woman” SoraNews24, 30 October 2020
  16. Orenstein, Peggy (July 1, 2001), "Parasites in Prêt-à-Porter", The New York Times
  17. Wiseman, Paul (June 2, 2004), "No sex please — we're Japanese", USA TODAY, สืบค้นเมื่อ January 3, 2013, Better educated, more widely travelled and raised in more affluence than their mothers, young women no longer feel bound by the Japanese tradition that says a woman unmarried after age 25 is like a Christmas cake on Dec. 26 — stale.
  18. Naoko Takemaru (2010), Women in the Language and Society of Japan: The Linguistic Roots of Bias (book), McFarland, p. 158, ISBN 9780786456109, สืบค้นเมื่อ January 3, 2013
  19. Watanabe, Teresa (January 6, 1992), "In Japan, a 'Goat Man' or No Man : Women are gaining more clout in relationships. As they become more independent, they demand a gentle yet strong, supportive and high-achieving spouse.", Los Angeles Times, สืบค้นเมื่อ January 3, 2013, Women are said to be gaining new clout in the realm of romance. They are marrying later, or not at all. They are making their own persnickety demands on potential mates. The best-known demands on their list are called the "three highs": high salary, high education (a four-year university degree) and a height of not less than 5 feet, 7 inches.
  20. Tanaka, Yukiko (1995), Contemporary Portraits of Japanese Women (book), p. 24, ISBN 9780275950675, สืบค้นเมื่อ January 3, 2013, The social stigma previously attached to the unmarried is slowly on its way out as the number of women who stay single, as well as the number of divorcees, has increased.
  21. Donald Richie (January 28, 2007). "Why apologize profusely as a woman, when you can insult like a man?". The Japan Times.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]