ข้ามไปเนื้อหา

อัลเฟรด โนเบล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อัลเฟร็ด โนเบล)
อัลเฟรด โนเบล
Alfred Nobel
เกิดAlfred Bernhard Nobel
21 ตุลาคม ค.ศ. 1833(1833-10-21)
สต็อกโฮล์ม, ประเทศสวีเดน
เสียชีวิต10 ธันวาคม ค.ศ. 1896(1896-12-10) (63 ปี)
ซานเรโม, ประเทศอิตาลี
สุสานNorra begravningsplatsen, สต็อกโฮล์ม, ประเทศสวีเดน
59°21′24.52″N 18°1′9.43″E / 59.3568111°N 18.0192861°E / 59.3568111; 18.0192861
อาชีพนักเคมี, วิศวกร, นักประดิษฐ์, นักธุรกิจ, คนใจบุญ
มีชื่อเสียงจากผู้ทำการกุศลรางวัลโนเบล, ผู้ประดิษฐ์ไดนาไมต์
ลายมือชื่อ
อัลเฟร็ด เบิร์นฮาร์ท โนเบล

อัลเฟรด เบิร์นฮาร์ด โนเบล (สวีเดน: Alfred Bernhard Nobel; /nˈbɛl/ noh-BEL, ภาษาสวีเดน: [ˈǎlfrɛd nʊˈbɛlː] ( ฟังเสียง); 21 ตุลาคม พ.ศ. 2376 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2439) นักเคมีชาวสวีเดน วิศวกร นักประดิษฐ์ ผู้ผลิตอาวุธ และผู้คิดค้นดินระเบิดไดนาไมท์ เขาเป็นเจ้าของบริษัทโบโฟรส์ (Bofors) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ โดยเขาได้เปลี่ยนแปลงบทบาทของโรงงานจากเดิมที่เป็นโรงงานเหล็กและเหล็กกล้า มาเป็นโรงผลิตปืนใหญ่ และอาวุธต่าง ๆ

ในพินัยกรรมของเขา เขาได้ยกทรัพย์สมบัติจำนวนมหาศาลได้จากการผลิตอาวุธให้แก่สถาบันรางวัลโนเบล เพื่อมอบรางวัลแก่บุคคลที่สร้างคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติเรียกว่ารางวัลโนเบล และในโอกาสที่มีการสังเคราะห์ธาตุชนิดใหม่ขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อธาตุนั้นตามชื่อของเขา เพื่อเป็นการให้เกียรติว่าโนเบเลียม (Nobelium)

ประวัติ

[แก้]

โนเบล ผู้สืบเชื้อสายมาจากนักวิทยาศาสตร์ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ชื่อโอลาอุส รุทเบค (Olaus Rudbeck; พ.ศ. 2173 - พ.ศ. 2251) และเป็นบุตรชายคนที่ 3 ของ อิมมานูเอล โนเบล (พ.ศ. 2344 - พ.ศ. 2415) เกิดที่กรุงสต็อกโฮล์มและย้ายตามครอบครัวไปอยู่ที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเมื่อ พ.ศ. 2385 ที่ซึ่งบิดาผู้คิดค้นวิธีทำไม้อัดสมัยใหม่ได้งานสร้าง "ตอร์ปีโด" ที่นั่น แต่ต่อมาอัลเฟร็ด โนเบลได้ย้ายไปสหรัฐพร้อมครอบครัวเนื่องจากประสบปัญหาทางการเงิน ที่สหรัฐเขาได้ทุ่มเทตัวเองหันมาศึกษาด้านดินระเบิด โดยเฉพาะชนิดที่มีความปลอดภัยในการผลิตโดยใช้ "ไนโตรกลีเซอร์รีน" (nitroglycerine) ซึ่งค้บพบในปี พ.ศ. 2390 โดยแอสคานิโอ โซเบรโนซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับเขาที่มหาวิทยาลัยโทริโน หรือมหาวิทยาลัยแห่งตูริน อิตาลี มีรายงานว่าได้มีการระเบิดขึ้นบ่อยครั้งในโรงงานของครอบครัวของโนเบล ครั้งที่รุนแรงถึงชีวิตในปี พ.ศ. 2407 ได้คร่าชีวิต เอมิลออสการ์ โนเบล น้องชายของอัลเฟร็ด โนเบล พร้อมคนงานอีกหลายคน

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2444 เป็นต้นมา ได้มีการมอบรางวัลโนเบลเมื่อเป็นเกียรติแก่ชายและหญิงหลายคนจากทุกมุมโลกผู้ซึ่งได้คิดค้นหรือมีผลงานที่ดีเด่นในสาขาต่าง ๆ ได้แก่สาขาฟิสิกส์ เคมี การแพทย์ วรรณคดีและด้านสันติภาพ การจัดตั้งกองทุนรางวัลโนเบลเกิดขึ้นตามพินัยกรรมฉบับสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2438 ด้วยจำนวนเงินก้อนใหญ่มากที่โนเบลได้มอบให้

ก่อนเสียชีวิตไม่นานัก อัลเฟร็ต โนเบลได้เขียนบทละครเศร้าชื่อ "เทวฑัณท์" (Nmesis) เป็นบทร้อยแก้วความยาว 4 ตอน เป็นเรื่องเกี่ยวกับสตรีอิตาลีผู้มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับคดีฆาตกรรมอันลือลั่นในกรุงโรมในยุคนั้น บทละครได้รับการตีพิมพ์พอดีกับช่วงการตายของโนเบล หนังสือทั้งหมดถูกทำลายทันทีหลังการตายของเขา แต่ก็มีเหลือรอดอยู่ 3 เล่ม ที่เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ใหม่เมื่อ พ.ศ. 2546

ศพของอัลเฟร็ด เบิร์นฮาร์ท โนเบลได้รับการฝังไว้ในกรุงสต็อกโฮล์ม

ดินระเบิดไดนาไมท์

[แก้]

อัลเฟร็ด เบิร์นฮาร์ท โนเบลได้ค้นพบว่าเมื่อนำสารไนโตรกลีเซอรินมารวมกับตัวซึมซับเฉื่อย เช่นผงไดอะตอมมาเชียส (diatomaceous earth; ผงที่ทำจากซากไดอะตอมชนิดเดียวกับที่ใช้กรองน้ำในสระว่ายน้ำทั่วไป) จะมีความปลอดภัยมากในการผลิต ซึ่งโนเบลได้จดสิทธิบัตรในปี พ.ศ. 2410 โดยใช้ชื่อว่า "ไดนาไมท์" และได้สาธิตดินระเบิดแบบใหม่ของเขาในปีนั้นในเหมืองแห่งหนึ่งในอังกฤษ

ขั้นต่อมา โนเบลได้ผสมไนโตรกลีเซอรินกับดินระเบิดชนิดอื่น (gun cotton) ได้สารชนิดใหม่ที่เป็นเยลลี่ใสที่ระเบิดได้รุนแรงกว่าไดนาไมท์ เรียกว่าเจลลิกไนท์ หรือเจลระเบิดซึ่งโนเบลได้จดสิทธิบัตรเมื่อปี พ.ศ. 2419 และก็ได้มีดินระเบิดใหม่หลายชนิดตามมาจาการผสมโพแตสเซียมไนเตรทและสารชนิดอื่นๆ ดินส่วนใหญ่ในนั้น เป็นดินที่มีคุณภาพที่ค่อนข้างจะมีมากอยู่หลายชนิด ทำให้ อัลเฟร็ด โนเบล ประสบความสำเร็จในด้านนี้อย่างมากเลยทีเดียว

รางวัล

[แก้]

กล่าวกันว่าการตีพิมพ์คำไว้อาลัยการเสียชีวิตก่อนการตายของโนเบล เมื่อ พ.ศ. 2431 (โนเบลโดยหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสฉบับหนึ่งซึ่งประณามการคิดค้นไดนาไมท์(โนเบลตายปี พ.ศ. 2439) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โนเบลตัดสินใจใช้มรดกของเขาในทางที่เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ ในคำไว้อาลัยของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นเขียนถากถางไว้ว่า

"พ่อค้าความตายได้ตายไปแล้ว" และเขียนต่ออีกว่า
"ดร. อัลเฟร็ต โนเบลผู้ซึ่งร่ำรวยมหาศาลด้วยการคิดค้นวิธีฆ่าคนให้ได้จำนวนมากขึ้น เร็วขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อนได้ตายเสียแล้วเมื่อวานนี้"

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 ณ สโมสรสวีเดน-นอร์เวย์ ในนครปารีส โนเบลได้ลงนามในพินัยกรรมฉบับสุดท้ายของเขาพร้อมคำสัญญายกที่ดินและทรัพย์สินจำนวนมหาศาลเพื่อใช้จัดตั้งรางวัลโนเบลสำหรับมอบแก่ผู้ทำประโยชน์ดีเด่นแก่โลกโดยไม่เลือกสัญชาติ

อัลเฟร็ต โนเบล ถึงแก่กรรมด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองแตกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2439 ที่เมืองซานรีโม ประเทศอิตาลี จำนวนทรัพย์สินที่มอบให้แก่กองทุนรางวัลโนเบลมีมูลค่าในขณะนั้นเป็นจำนวน 31 ล้านโครนหรือ 4,233,500.00 ดอลลาร์สหรัฐ

3 รางวัลแรกมอบให้แก่วิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ เคมีและวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือสรีรวิทยา รางวัลที่ 4 มอบให้แก่งานด้านวรรณคดี รางวัลที่ 5 มอบให้บุคคลหรือสถาบันที่มีบทบาทสำคัญที่สร้างความปรองดองในระดับนานาชาติ ลดการกดขี่หรือลดจำนวนกองกำลังรบ หรือสร้างสันติภาพ

การมอบรางวัลด้านวรรณคดีมีปัญหาในตอนแรกจากการตีความ โดยตีความว่าให้กับผลงานที่มีความสำคัญมากกว่างานเขียนที่เป็นอุดมคติหรือที่โรแมนติก ทำให้ลีโอ ตอลสตอยไม่ได้รับการพิจารณา การตีความนี้ได้รับการแก้ไขในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีปัญหาการตีความเกิดขึ้นอีกหลายกรณี โดยเฉพาะระหว่างงานด้านวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี ซึ่งตีความกันว่าโนเบลมุ่งให้เฉพาะวิทยาศาตร์สาขาฟิสิกส์ ทำให้วิศวกรไม่ได้รับการพิจารณาต้นเหตุเกิดจากการที่โนเบลไม่ได้ปรึกษาหารือผู้ใดเกี่ยวกับความเฉพาะของสาขาในการเขียน และการเขียนก็สั้นเพียงหน้าเดียว

ข่าวลือรางวัลโนเบล

[แก้]

การที่ไม่มีรางวัลโนเบลในสาขาคณิตศาสตร์อยู่ด้วยนั้น มีข่าวลือกันในขณะนั้นว่าการที่โนเบลไม่ยอมให้มีสาขาคณิตศาสตร์มีสาเหตุจากผู้หญิง ซึ่งอาจเป็นคู่หมั้นเก่าหรือภรรยาลับที่ปฏิเสธความรักของเขา หรือโกงเขาและจากไปอยู่กับนักคณิตศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งชื่อ กอสตา มิตแทก เลฟเฟลอร์[ต้องการอ้างอิง] แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานใดทางประวัติศาสตร์ที่สนับสนุนข่าวลือนี้[ต้องการอ้างอิง]

อัลเฟร็ด เบิร์นฮาร์ท โนเบลเป็นคนโสดไม่เคยแต่งงานตลอดชีวิต[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

[แก้]
  • 1911 Encyclopædia Britannica
  • Schück, H, and Sohlman, R., (1929). The Life of Alfred Nobel. London: William Heineman Ltd.
  • Alfred Nobel US Patent No 78,317,dated May 26, 1868

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]