อนาถบิณฑิกเศรษฐี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนาถบิณฑิกเศรษฐี
ภาพวาดสุทัตตอนาถปิณฑิกคฤหบดี ภายในพุทธวิหารศรีลังกา เมืองสาวัตถี
ภาพวาดสุทัตตอนาถปิณฑิกคฤหบดี ภายในพุทธวิหารศรีลังกา เมืองสาวัตถี
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อเดิมสุทัตตะเศรษฐี
ชื่ออื่นอนาถปิณฑิกเศรษฐี, สุทัตตเศรษฐี
สถานที่เกิดสาวัตถี
เอตทัคคะผู้เป็นทายกผู้เลิศ
ฐานะเดิม
ชาวเมืองสาวัตถี
บิดาสุมนเศรษฐี
วรรณะเดิมแพศย์
ราชวงศ์สุมนะ
สถานที่รำลึก
สถานที่อนาถบิณฑิกสถูป เมืองสาวัตถี
หมายเหตุ
ผู้ถวายวัดเชตวันมหาวิหารในศาสนาพุทธ
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

อนาถบิณฑิกเศรษฐี หรือ สุทัตตอนาถปิณฑิกคฤหบดี เป็นชาวสาวัตถี (แคว้นโกศล) ในสมัยพุทธกาล มีชีวิตร่วมสมัยกับ พระพุทธเจ้า เดิมท่านมีนามว่าสุทัตตะเศรษฐี เกิดในตระกูลของสุมนะเศรษฐีผู้เป็นบิดา ท่านเป็นเศรษฐีที่ใจบุญ ชอบช่วยเหลือคนตกยาก ทำให้ท่านถูกเรียกจากชาวเมืองสาวัตถีว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี แปลว่า เศรษฐีผู้เป็นที่พึ่งของคนยาก (แปลตามศัพท์ว่า เศรษฐีผู้มีก้อนข้าวให้กับคน ยากจน)

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ไปค้าขายและได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์จนบรรลุเป็นพระโสดาบัน ท่านจึงมีศรัทธาสร้างวัดเชตวันมหาวิหารถวายแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเงินจำนวนมาก ท่านได้เป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์อย่างดีมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาที่วัดพระเชตวันที่ท่านสร้างมากกว่าที่ประทับใด ๆ ถึง 19 พรรษา[1]

เรื่องราวของอนาถบิณฑิกเศรษฐี มีปรากฏมากมายในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องราวที่แสดงถึงความศรัทธา ความมีสติปัญญา และความเอาใจใส่ในการบำรุงพระพุทธศาสนา ทำให้ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็น อุบาสกผู้เลิศในการเป็นผู้ถวายทาน (เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก)[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ อนาถบิณฑิกคหบดีสร้างพระเชตวัน. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
  2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ เอกบุคคลบาลี. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]