สุภา หารหนองบัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดร. สุภา หารหนองบัว
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(คณบดีท่านที่ 7)
ดำรงตำแหน่ง
27 ก.พ. 2557 – 26 ก.พ. 2561
ก่อนหน้าสุรพล ภัทราคร
ถัดไปอภิสิฏฐ์ ศงสะเสน
กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเภทผู้บริหาร
ดำรงตำแหน่ง
19 เม.ย. 2560 – 26 ก.พ. 2561
กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเภทคณาจารย์ประจำ
ดำรงตำแหน่ง
16 พ.ย. 2553 – 15 พ.ย. 2555
ประธานสภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (สควทท.)
ดำรงตำแหน่ง
2558–2560
นายกสมาคมเคมีแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
ดำรงตำแหน่ง
2560–ปัจจุบัน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดำรงตำแหน่ง
2564–ปัจจุบัน

ศาสตราจารย์ สุภา หารหนองบัว ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถาน นายกสมาคมเคมีแห่งประเทศไทย [1], ประธานสภาคณบดีคณะวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2559-2560) [2], คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. 2557-2561) [3] [4] [5] [6]

ประวัติ[แก้]

สุภา หารหนองบัว เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2507 ที่จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรีของนายสุดใจ และนางสังวาลย์ พลมั่น สมรสกับศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ หารหนองบัว มีบุตรสองคน คือ นายภานรินทร์ หารหนองบัว และนางสาว ภิญสุภา หารหนองบัว

การศึกษา[แก้]

สุภา หารหนองบัว สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2529 สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเคมีเชิงฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2531 และศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ University of Innsbruck ประเทศออสเตรีย โดยมี Professor Dr. Bernd M. Rode เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และได้รับปริญญา Dr.rer.nat สาขาเคมี ในปี พ.ศ. 2534

การทำงาน[แก้]

สุภา หารหนองบัว เข้ารับราชการที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2533 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ในปี พ.ศ. 2538 รองศาสตราจารย์ในปี พ.ศ. 2547 และศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2556

ศ.ดร.สุภา หารหนองบัว มีความสนใจด้านการออกแบบโครงสร้างโมเลกุลยาโดยอาศัยวิธีคำนวณทางเคมีคอมพิวเตอร์ และนำเอาการจำลองโครงสร้างเอนไซม์ที่เป็นโมเลกุลเป้าหมายในการพัฒนายาใหม่[7][8][9] และสนใจการพัฒนาวิธีทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพและการทำนายความเป็นพิษของสาร นอกจากนี้ยังมีความสนใจการศึกษาสมบัติของสารพอลิเมอร์กึ่งตัวนำเพื่อนำไปสู่การพัฒนาวัสดุชนิดใหม่ที่ใช้ประโยชน์ด้านการนำไฟฟ้าและวัสดุทางเทคโนโลยีชีวภาพ[10] และได้ร่วมกับนักวิจัยในทีมวิจัยพัฒนากระบวนการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติจำนวน 150 เรื่อง [11] บทความปริทรรศน์และตีพิมพ์ในหนังสือจำนวน 5 เรื่อง ผลงานวิจัยถูกอ้างอิงรวมกันมากกว่าสองพันครั้ง [12]

การบริหาร[แก้]

นอกจากการวิจัยแล้ว ศ.ดร.สุภา หารหนองบัว ได้ทำงานบริหารด้วย โดยเริ่มจากการเป็นรองหัวหน้าภาควิชาเคมี หัวหน้าภาควิชาเคมี และคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับการบริหารในระดับมหาวิทยาลัย ศ.ดร.สุภา หารหนองบัว ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเภทคณาจารย์ประจำและประเภทผู้บริหาร[13] และเป็นกรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รางวัล/เกียรติยศ[แก้]

ศ.ดร.สุภา หารหนองบัว ได้รับรางวัลต่าง ๆ เช่น รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2540 ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเคมีและเภสัช ประเภทรางวัลชมเชย ประจำปี พ.ศ. 2543 ได้รับรางวัล 2002 TWAS Prize for Young Scientist in Thailand ในปี 2545[14] จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและ Third World Academy of Science และได้รับทุนวิจัย ลอริอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2549 โดยการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ [15] เป็นต้น

กิจกรรม[แก้]

นอกจากงานวิจัยและงานสอนแล้ว ศ.ดร.สุภา หารหนองบัว ยังได้ร่วมกิจกรรมของสมาคมวิชาชีพและองค์กรทางด้านวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ของประเทศไทย ได้แก่ เป็นกรรมการบริหารสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ[16][17] เป็นสมาชิกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย[18] เป็นสมาชิกบัณฑิตสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย[19][20][21][22] เป็นสมาชิกสมาคมวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเชิงคำนวณ และเป็นกรรมการจัดการประชุม Annual National Symposium on Computational Science and Engineering (ANSCSE) และการประชุม Thai Theoretical Chemistry Summer School (T2C2S) และเป็นกรรมการจัดการประชุม Pure and Applied Chemistry International Conference (PACCON) โดยสมาคมเคมีแห่งประเทศไทย ร่วมจัดกับภาควิชาเคมีจากสถาบันต่างๆ เป็นประจำทุกปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ทำเนียบนายกสมาคมเคมี, สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์
  2. รายนามประธานสภา เก็บถาวร 2019-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (สควทท.)
  3. ทำเนียบคณบดี เก็บถาวร 2019-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  4. 5 ทศวรรษ คณะวิทยาศาสตร์ มก. เก็บถาวร 2019-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  5. ครึ่งศตวรรษ คณะวิทยาศาสตร์ เพี่อความเป็นเลิศ เก็บถาวร 2019-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  6. 52 ปี คณะวิทยาศาสตร มก. เก็บถาวร 2019-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  7. สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มก. ศ.ดร.สุภา นำวิธีการเคมีคอมพิวเตอร์ หาสารยับยั้ง HIV-1 เรียกดูวันที่ 2019-08-06
  8. ศาสตราจารย์ ดร. สุภา หารหนองบัว. การศึกษากลไกในการยับยั้งเอนไซม์การถ่ายแบบ เอช ไอ วี-1 บนพื้นฐานของเคมีคอมพิวเตอร์ และการออกแบบโมเลกุลด้วยตัวยับยั้ง โดยโครงสร้างเอนไซม์ เรียกดูวันที่ 2019-08-08
  9. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital วช. การศึกษากลไกในการยับยั้งเอนไซม์การถ่ายแบบ เอช ไอ วี-1 บนพื้นฐานของเคมีคอมพิวเตอร์ และการออกแบบโมเลกุลด้วยตัวยับยั้ง โดยโครงสร้างเอนไซม์. รายงานการวิจัย. เรียกดูวันที่ 2019-08-05
  10. Chemtrack. สกว. QSAR สำหรับการทำนายความเป็นพิษของสารเคมี. ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี. เรียกดูวันที่ 2019-08-05
  11. งานวิจัยของ สุภา หารหนองบัว, สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  12. Google Scholar Citation, Google
  13. สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ประวัติกรรมการสภาฯ ศาสตราจารย์ ดร.สุภา หารหนองบัว. เรียกดูวันที่ 2019-08-05
  14. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รางวัล TWAS เรียกดูวันที่ 2019-08-06
  15. ชีวิตที่ลงตัวทั้งในบ้านและห้องแล็บของ “ดร.สุภา” สตรีนักวิจัย, MGR Online
  16. สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ นายกสมาคมและกรรมการบริหารสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ ร่วมงานเลี้ยงแสดงความยินดีนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2561 เรียกดูวันที่ 2019-08-06
  17. สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ คณะผู้บริหารสมาคมเข้าเฝ้าลงนามถวายพระพร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ให้ทรงหายจากพระอาการประชวร. เรียกดูวันที่ 2019-08-05
  18. กรมวิทยาศาสตร์บริการ (ข่าวที่123/2561) การประชุมวิชาการนานาชาติ The 8th IUPAC International Conference on Green Chemistry มุ่งเน้นสร้าง Green Chemistry เรียกดูวันที่ 2019-08-08
  19. กรุงเทพธุรกิจ มก.ชวนร่วมประชุมวิชาการวิทย์ฯ-เทคโนโลยีนานาชาติ ครั้งที่42 เรียกดูวันที่ 2019-08-06
  20. Admission Premium. ข่าว. ทวท.ชี้เด็กสนใจเรียนวิทย์น้อยลง ทวท. เล็งเปลี่ยนค่านิยมสังคมสนใจอาชีพนักวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น. เรียกดูวันที่ 2019-09-05
  21. สภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (สควทท.) การประชุมสภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2/2561 เก็บถาวร 2019-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ข่าวกิจกรรม. เรียกดูวันที่ 2019-08-05
  22. คณะวิทยาศาสตร์ มช. ข่าวประชาสัมพันธ์. เจ้าภาพจัดประชุมสภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ต้อนรับคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศเยือนเชียงใหม่. เรียกดูวันที่ 2019-08-05
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๗๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓๕, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๗๘, ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘
ก่อนหน้า สุภา หารหนองบัว ถัดไป
อาจารย์ ดร. สุรพล ภัทราคร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2560)
รองศาสตราจารย์ ดร. อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน