สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (4 ปี)
สำนักงานใหญ่120 หมู่ 3 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ชั้น 7 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • พลอากาศตรี อมร ชมเชย, เลขาธิการ
  • พลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์, รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดหน่วยงานสำนักนายกรัฐมนตรี
เว็บไซต์www.ncsa.or.th

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (ย่อว่า สกมช.; อังกฤษ: National Cyber Security Agency, NCSA) เป็นองค์การมหาชนแบบมีพระราชบัญญัติเฉพาะ ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ตาม พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 โดยเป็นการโอนภาระหน้าที่ ทรัพย์สิน และหนี้สิน จากสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดให้มีหน้าที่รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยมีพลโท ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เป็นเลขาธิการ สกมช. ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในพระราชบัญญัติ[1][2]

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2565 สำนักงานได้จัดโครงการพัฒนาบุคลากรให้ที่ทักษะด้านไซเบอร์โดยมีเป้าหมาย 3,200 คน ซึ่งเป็นระดับพื้นฐานและระดับเชี่ยวชาญ เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เปิดตัวสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยรัฐและเอกชน". blognone. 2021-08-18.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "สกมช. จัดงานเปิดตัว "Thailand National Cyber Week 2023" เสริมความแข็งแกร่งด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พร้อมสร้างเครือข่ายป้องกัน รับมือ ลดความเสียหายให้กับประเทศ". TechTalkThai. 2023-01-31.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "สกมช. แถลงผลการเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปี 2565". ไทยโพสต์. 2022-09-28.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)