สาวกที่พระเยซูทรงรัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วลี "สาวกที่พระเยซูทรงรัก" (กรีกโบราณ: ὁ μαθητὴς ὃν ἠγάπα ὁ Ἰησοῦς, อักษรโรมัน: ho mathētēs hon ēgapā ho Iēsous) หรือในยอห์น 20:2 เรียกว่า "สาวกอีกคนหนึ่งที่พระเยซูทรงรัก" (กรีกโบราณ: τὸν ἄλλον μαθητὴν ὃν ἐφίλει ὁ Ἰησοῦς, อักษรโรมัน: ton allon mathētēn hon ephilei ho Iēsous) มีการระบุถึงหกครั้งในพระวรสารนักบุญยอห์น[1] แต่ไม่มีการระบุถึงในพระวรสารอื่นในพันธสัญญาใหม่ ยอห์น 21:24[2] ระบุว่าพระวรสารนักบุญยอห์นมีพื้นฐานมาจากคำให้การที่เป็นลายลักษณ์อักษรของสาวกคนนี้

ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 1 สาวกที่พระเยซูทรงรักมักถูกระบุว่าเป็นยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร[3] นักวิชาการได้ถกเถียงกันถึงเรื่องผู้ประพันธ์ของวรรณกรรมของยอห์น (พระวรสารนักบุญยอห์น, จดหมายของนักบุญยอห์น และหนังสือวิวรณ์) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 เป็นอย่างน้อย โดยเฉพาะตั้งแต่ยุคเรืองปัญญา การระบุว่ายอห์นอัครทูตคือผู้ประพันธ์วรรณกรรมของยอห์นไม่ได้รับการยอมรับโดยนักวิชาการสมัยใหม่หลายคน[4][5] แต่ไม่ใช่ทั้งหมด[6] มีความเห็นพ้องต้องกันในหมู่นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องนักบุญยอห์นว่าสาวกที่พระเยซูทรงรักนั้นเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์[7] แต่ไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าใครคือสาวกที่พระเยซูทรงรัก[8]

แหล่งที่มา[แก้]

นักบุญเปโตรและนักบุญยอห์นวิ่งไปยังพระคูหา (Saint Peter and Saint John Run to the Sepulchre) โดย James Tissot ราวปี ค.ศ. 1886-1894

สาวกที่พระเยซูทรงรักถูกระบุถึง 6 ครั้งในพระวรสารนักบุญยอห์นโดยเฉพาะ:

  • สาวกคนนี้คือผู้ซึ่งเอนกายข้างพระเยซูในอาหารมื้อสุดท้าย ทูลถามพระเยซูว่าใครจะทรยศพระองค์ หลังจากที่เปโตรขอให้สาวกคนนั้นทูลถามพระองค์[9]
  • ต่อมาในการตรึงพระเยซูที่กางเขน พระเยซูตรัสกับมารดาว่า "หญิงเอ๋ย นี่คือบุตรของท่าน" และตรัสกับสาวกที่พระองค์ทรงรักว่า "นี่คือมารดาของท่าน"[10]
  • เมื่อมารีย์ชาวมักดาลาพบอุโมงค์ฝังศพที่ว่างเปล่า ก็วิ่งไปบอกสาวกที่พระเยซูทรงรักและเปโตร ทั้งสองรีบไปที่อุโมงค์ฝังศพที่ว่างเปล่าและสาวกที่พระเยซูทรงรักเป็นคนแรกที่ไปถึง อย่างไรก็ตาม เปโตรเป็นคนแรกที่เข้าไปข้างใน[11]
  • ในยอห์น 21[12] บทสุดท้ายของพระวรสารนักบุญยอห์น สาวกที่พระเยซูทรงรักเป็นหนึ่งในชาวประมง 7 คนที่มีส่วนร่วมในการจับปลา 153 ตัวอย่างน่าอัศจรรย์[13][14]
  • ในบทสุดท้ายของพระวรสาร หลังจากที่พระเยซูบอกเป็นนัยถึงว่าเปโตรจะตายอย่างไร เปโตรเห็นสาวกที่พระองค์ทรงรักติดตามมาจึงทูลถามว่า "องค์พระผู้เป็นเจ้า คนนี้จะเป็นยังไงบ้าง?" พระเยซูตรัสตอบว่า "ถ้าเราอยากให้เขาอยู่จนกว่าเราจะมา มันเกี่ยวอะไรกับท่าน? จงตามเรามาเถิด"[15]
  • ในบทสุดท้ายของพระวรสาร กล่าวว่าพระวรสารนี้มีพื้นฐานมาจากคำให้การที่เป็นลายลักษณ์อักษรของสาวกที่พระเยซูทรงรัก[16]

พระวรสารอื่น ๆ ไม่ได้ระบุถึงบุคคลใด ๆ ในสถานการณ์เดียวกันที่สามารถเชื่อมโยงโดยตรงกับสาวกที่พระเยซูทรงรักได้ ตัวอย่างเช่น ในลูกา 24:12[17] เปโตรวิ่งไปที่อุโมงค์ฝังศพ พระวรสารมัทธิว มาระโก และลูกาไม่ได้ระบุว่าสาวกคนใดคนหนึ่งใน 12 คนที่ได้เป็นพยานของการตรึงกางเขน

พันธสัญญาใหม่ยังระบุถึง "สาวกคนอื่น" ที่ไม่ปรากฏชื่อ 2 ครั้งในยอห์น 1:35–40 และยอห์น 18:15–16[18] ซึ่งอาจหมายถึงบุคคลคนเดียวกันตามข้อความในยอห์น 20:2[19][20]

ศิลปะ[แก้]

ในงานศิลปะ สาวกที่พระเยซูทรงรักมักแสดงเป็นภาพชายหนุ่มที่ไม่มีหนวดเครา มักจะเป็นหนึ่งในอัครสาวก 12 คนในอาหารมื้อสุดท้าย หรือยืนอยู่กับพระแม่มารีย์ในเหตการณ์ตรึงกางเขน ในศิลปะยุคกลางบางผลงาน แสดงภาพสาวกที่พระเยซูทรงรักเอนศีรษะหนุนพระเพลา (ตัก) ของพระเยซู ศิลปินหลายคนตีความข้อความในยอห์น 13:25 แตกต่างกันออกไป[21] จากข้อความที่ว่าสาวกที่พระเยซูทรงรัก "เอนกายอยู่ใกล้พระองค์"[22]

อ้างอิง[แก้]

  1. John 13:23, John 19:26, John 20:2, John 21:7, John 21:20
  2. John 21:24
  3. Eusebius of Caesarea, Ecclesiastical History Book iii. Chapter xxiii.
  4. Harris, Stephen L. (1985). Understanding the Bible: a Reader's Introduction (2nd ed.). Palo Alto: Mayfield. p. 355. ISBN 978-0-87484-696-6. Although ancient traditions attributed to the Apostle John the Fourth Gospel, the Book of Revelation, and the three Epistles of John, modern scholars believe that he wrote none of them.
  5. Kelly, Joseph F. (1 October 2012). History and Heresy: How Historical Forces Can Create Doctrinal Conflicts. Liturgical Press. p. 115. ISBN 978-0-8146-5999-1.
  6. Wagner, Richard; Helyer, Larry R. (2011). The Book of Revelation For Dummies. John Wiley & Sons. p. 26. ISBN 9781118050866. other contemporary scholars have vigorously defended the traditional view of apostolic authorship.
  7. Neirynck, Frans (1991). Evangelica II: 1982-1991 : Collected Essays. Uitgeverij Peeters. ISBN 9789061864530.
  8. Matkin, J. Michael (2005). The Complete Idiot's Guide to the Gnostic Gospels. Penguin. ISBN 9781440696510. but there is no consensus as to the Beloved Disciple's actual identity
  9. John 13:23–25
  10. John 19:26–27
  11. John 20:1–10
  12. John 21
  13. John 21:1–25
  14. James D. G. Dunn and John William Rogerson, Eerdmans Commentary on the Bible, Wm. B. Eerdmans Publishing, 2003, p. 1210, ISBN 0-8028-3711-5.
  15. John 21:20–23
  16. John 21:24
  17. Luke 24:12
  18. John 1:35–40 และ John 18:15–16
  19. John 20:2
  20. Brown, Raymond E. 1970. "The Gospel According to John (xiii-xxi)". New York: Doubleday & Co. Pages 922, 955
  21. John 13:25
  22. Rodney A. Whitacre,"Jesus Predicts His Betrayal." IVP New Testament Commentaries, Intervarsity Press, 1999. ISBN 978-0-8308-1800-6

อ่านเพิ่มเติม[แก้]