สหัสกุมาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สหัสกุมาร
อักษยกุมาร
ส่วนเกี่ยวข้องรามายณะ
รามเกียรติ์
เรียมเกร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
บิดา-มารดาท้าวทศกัณฐ์
นางมณโฑ (ในรามายณะ) และ นางสนมพันตน (ในรามเกียรติ์และเรียมเกร์)
พี่น้องเฆฆนาท
บรรลัยกัลป์
นรานตกะ - เทวานตกะ
ประหัสตะ
อติกายะ
จิตรกรรมแบบประเพณีอินเดีย สหัสกุมาร ( อักษยกุมาร )

อักษยกุมาร (ฮินดี: अक्षयकुमार) ในรามายณะ หรือ สหัสกุมาร ในรามเกียรติ์และเรียมเกร์เป็นรายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์ในศาสนาฮินดู โดยเป็นหนึ่งในโอรสของท้าวราวณะ (ท้าวทศกัณฐ์) และนางมณโฑทรี (นางมณโฑ) ในรามายณะ ส่วนในรามเกียรติ์และเรียมเกร์ มารดาคือนางสนมพันตน และพี่น้องของเขาคือ เฆฆนาท ตริศิระ นรานตกะ - เทวานตกะ ประหัสตะและอติกายะ

ในรามายณะ[แก้]

ในอีกนามหนึ่งที่เป็นรู้จักกันในชื่อ อักษย เป็นบุตรชายสุดท้องของท้าวราวณะ (ท้าวทศกัณฐ์) และนางมณโฑทรี (นางมณโฑ) ในรามายณะ และเป็นอนุชาของเฆฆนาทในรามายณะ เมื่อหนุมานเริ่มทำลายสวนอโศกวาติกา (สวนขวัญ) หลังจากสนทนากับนางสีดา ท้าวทศกัณฐ์ก็บัญชาให้อักษยกุมารไปเป็นแม่ทัพรักษาและดูแลจัดการเรื่องนี้ โดยได้รับการพรรณาตัวของเขานั้นอายุเพียงสิบหกปี และออกไปทำศึกในรถม้าศึกของเขา เขาต่อสู้กับหนุมานโดยเล็งอาวุธต่าง ๆ มาที่เขา แม้หนุมานจะประทับใจในความกล้าหาญและทักษะการศึกของอักษยกุมาร แต่ก็หนุมานก็สำเร็จโทษเขาในที่สุด[1][2]

ในรามเกียรติ์และเรียมเกร์[แก้]

สหัสกุมาร เป็นโอรสท้าวทศกัณฐ์และนางสนมพันตน เมื่อหนุมานลอบพบกับนางสีดาเพื่อทูลแจ้งข่าวจากพระราม ในครั้งนั้นหนุมานมีโอกาสช่วยชีวิตนางสีดา เพราะนางคิดสั้นจะฆ่าตัวตาย เมื่อแจ้งข่าวสารแก่นางสีดาแล้วหนุมานก็เตรียมเหาะกลับ แต่คิดว่าไหน ๆ มาทั้งที น่าจะลองกำลังข้าศึกดู จึงแผลงฤทธิ์เกาะเหนี่ยวหักไม้ในสวนขวัญจนพังยับเยิน โดยเหล่าบรรดายักษ์ที่เฝ้าสวนขวัญพากันเข้าจับหนุมาน แต่ถูกหนุมานฆ่าตายเห็นเบือ บางส่วนหนีรอดไปทูลสหัสกุมาร ซึ่งเป็นบุตรท้าวทศกัณฐ์ทั้งพันตนนี้สามารถรวมร่างกันได้ สหัสกุมานก็รีบไปสวนขวัญพบหนุมานจึงแผลงศรออกไปทีเดียวเป็นศรออกมานับพันเล่ม หนุมานเข้ารวบศรไว้ทั้งหมดแล้วหักทิ้ง แล้วกระโดดเข้าจับรถกระชาก สิงห์เทียมรถก็ตายทันที สหัสกุมารคว้าอาวุธจ้วงแทงแต่หนุมานหลบ ชักตรีแทงสวนไม่ช้าสหัสกุมารก็วายชนม์ [3][4][5]

หัวโขนสำหรับการแสดงโขนและละโคนโขล[แก้]

หน้ายักษ์ มีสิบพักตร์ สีแดงชาด หรือ ยอดน้ำเต้า[6][7][8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Valmiki. Ramayana (ภาษาสันสกฤต).
  2. Tulsidas. Ramcharitmanas (ภาษาอวธี).
  3. http://www.jd.in.th/jdinth/e_learning/media/tod_webs/tod21_1.html
  4. http://storyuponme.blogspot.com/2015/05/2-12.html
  5. https://www.matichon.co.th/columnists/news_1764227/attachment/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C
  6. http://www.sereesolution.com/ich/khon_performance/ich_detail.php?id=2305
  7. http://www.sereesolution.com/ich/khon_performance/ich_detail.php?id=2304
  8. https://www.finearts.go.th/storage/contents/file/gwSMFHpKLrLUZlbYDbth7ggag74kBjUDMFaZWRLN.pdf
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-24. สืบค้นเมื่อ 2022-06-24.