ข้ามไปเนื้อหา

สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ ค.ศ. 1833

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สนธิสัญญาโรเบิร์ต)
สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ ค.ศ. 1833
หนังสือสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์
ระหว่างกรุงสยามแลสหรัฐ
ประเภทสนธิสัญญา
วันร่าง20 มีนาคม ค.ศ.1833
วันลงนาม14 เมษายน ค.ศ.1836
ที่ลงนามเมืองหลวงแห่งศรีอยุธยา (มักเรียกว่ากรุงเทพ)
วันมีผล24 มิถุนายน ค.ศ.1837
วันหมดอายุ21 กันยายน 1921
ผู้เจรจาเจ้าพระยา-พระคลัง, รัฐมนตรีของรัฐ
เอดมันด์ โรเบิตส์, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ
ภาคีสยาม
สหรัฐ
ภาษาภาษาไทย, อังกฤษ
โปรตุเกส และจีน
ข้อความทั้งหมด
Treaty of Amity and Commerce between Siam and the United States, 1833 ที่ วิกิซอร์ซ

สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ ค.ศ. 1833 หรือเรียกว่า สนธิสัญญาโรเบิร์ต เป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่กรุงรัตนโกสินทร์ลงนามกับสหรัฐ และเป็นฉบับแรกที่ประเทศในทวีปเอเชียลงนามกับสหรัฐ[1] มีการลงนามเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2376

เบื้องหลัง

[แก้]

ในการเจรจาทำสนธิสัญญา แอนดรูว์ แจ็คสัน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ ได้ส่งเอ็ดมันด์ โรเบิร์ตส์มายังกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นทูตอเมริกันคนแรก[1] บนเรือรบอเมริกันพีค็อก ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2376 ระหว่างที่โรเบิร์ตส์เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เองที่กรุงรัตนโกสินทร์และสหรัฐสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2376[2]

ในการเจรจาทางการทูตระหว่างทั้งสองฝ่าย ได้มีการแลกเปลี่ยนบรรณาการระหว่างรัฐต่อรัฐ เนื่องจากเรือที่นำบรรณาการจากประธานาธิบดีสหรัฐไม่ทันกำหนด โรเบิร์ตส์จึงได้ถวายสินค้าจากเมืองจีนไปก่อน ส่วนของที่โรเบิร์ตส์ได้รับพระราชทานแทนประธานาธิบดีสหรัฐนั้น โรเบิร์ตส์ได้บันทึกว่า

"เมื่อวาน และวันนี้ได้รับสิ่งของพระราชทาน ผ่านเจ้าพระยาคลัง ดังนี้ งาช้าง น้ำตาล น้ำตาลปึก พริกไทย กระวาน รงทอง ไม้กฤษณา ไม้ฝาง และคราม"[1]

ในการเตรียมการต้อนรับทูตต่างประเทศ มีบันทึกว่าเป็นหน้าที่ของกรมท่า กรมพระตำรวจ กรมพระคลังวิเศษ กรมพระคลังในซ้าย กรมรักษาพระองค์ กรมกลาโหม กรมพระนครบาล กรมนา กรมพระคลัง กรมมหาดไทย และกรมวัง[3]

เนื้อหา

[แก้]

เนื้อหาของหนังสือสัญญาไมตรีและข้อตกลงด้านการค้าส่วนใหญ่เหมือนกับสนธิสัญญาเบอร์นีที่อังกฤษได้ทำไว้ก่อนหน้า แต่สหรัฐได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าอังกฤษ โดยที่ "นานไปเบื้องน่าฝรั่งชาติใด ภาษาใดนอกจากชาติโปรตุเกศ จะขอเข้ามาตั้งกงสุล ณ กรุงเทพฯ ถ้ากรุงเทพฯ โปรดให้จัดตั้ง ชาติอเมริกันจะตั้งกุงสุลตามฝรั่งชาติซึ่งโปรดนั้น"[4]

นอกจากนี้ ไทยยังสามารถเก็บค่าธรรมเนียมบรรทุกสินค้าเข้ามาขายในอัตราวาละ 1,700 บาท หรือเรือเปล่า วาละ 1,500 บาท โดยเป็นการเก็บครั้งเดียว ไม่มีการเก็บภาษีอากรอย่างอื่นอีก แต่ข้อตกลงดังกล่าวยังเกิดประโยชน์แก่สหรัฐน้อย จึงได้มีการส่งทูตเข้ามาขอแก้ไข[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ห้องนิทรรศการ 1 เครื่องราชบรรณาการแก่สหรัฐในแง่ประวัติศาสตร์ ก. สนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์ ค.ศ.1833 เก็บถาวร 2015-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Smithsonian Institution. สืบค้นเมื่อ 17-12-2553.
  2. 175 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-สหรัฐ เก็บถาวร 2010-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 17-12-2553.
  3. ชัย เรืองศิลป์ (2541). ประวัติศาสตร์ไทยสมัย พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๔๕๓ ด้านเศรษฐกิจ. ไทยวัฒนาพานิช. ISBN 9740841244. หน้า 158-159.
  4. ชัย เรืองศิลป์ (2541). ประวัติศาสตร์ไทยสมัย พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๔๕๓ ด้านเศรษฐกิจ. ไทยวัฒนาพานิช. ISBN 9740841244. หน้า 159.
  5. ดนัย ไชยโยธา. (2546). ประวัติศาสตร์ไทย: ยุคกรุงธนบุรีถึงกรุงรัตนโกสินทร์. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. ISBN 974-276-111-6. หน้า 88.