เดซิเบล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เดซิเบล (อังกฤษ: decibel, dB) เป็นหน่วยวัดเทียบอัตราส่วนระหว่างปริมาณเสียงสองปริมาณ ใช้สำหรับวัดความดังของเสียง คิดค้นโดย Alexander Graham Bell นิยมใช้กันมากในทางอคูสติก ฟิสิกส์และอิเล็กทรอนิกส์ เดซิเบลเป็นหน่วยวัดที่ไม่มีหน่วยเหมือนค่าเปอร์เซ็นต์ หน่วยเดซิเบลเป็นหน่วยที่สามารถแสดงค่าสูงและค่าต่ำเปรียบเทียบกันได้เนื่องจากคำนวณจากการหาลอการิทึม ระดับเดซิเบลที่ถึงขั้นอันตรายของคนหูปกติคือ 85 เดซิเบลขึ้นไป (หลังจากรับฟังหลายชั่วโมง)

ระดับความเข้มเสียง[แก้]

ระดับความเข้มเสียง มีหน่วยเป็นเดซิเบล สามารถคำนวณได้โดยใช้สูตร ดังนี้:

แต่ความเข้มเสียงนั้นหากนำมาพูดคุยกันคงเข้าใจยาก เพราะความเข้มเสียงที่น้อยที่สุดที่มนุษย์เริ่มได้ยิน คือ 0.000000000001 วัตต์ต่อตารางเมตร ส่วนความเข้มเสียงที่ว่ามาก ๆ คือ 10 วัตต์ต่อตารางเมตร ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจง่ายจึงมีคนคิดค้นหน่วยเดซิเบล นั่นคือ อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (หน่วยเบล มาจากชื่อสกุลของเขา) ตามสูตรด้านบน

ระดับความดันเสียง[แก้]

ระดับความเข้มเสียงนั้นไม่สามารถตรวจวัดได้ แต่ระดับความดันเสียงนั้นสามารถตรวจวัดได้ โดยมีค่าเท่ากันกับระดับความเข้มเสียง ซึ่งมีสูตรคำนวณดังนี้:

ระดับความเข้มเสียงนั้นเป็นค่าที่ไม่สามารถตรวจวัดได้ แต่ความดันเสียงนั้นสามารถตรวจวัดได้ ในการวัดเสียงจึงนิยมใช้ ระดับความดันเสียง (Sound Pressure Level, SPL) มากกว่า ตามสมการด้านบน โดยระดับความดันเสียงนั้น (SPL) มีค่าเท่ากันกับ ระดับความเข้มเสียง (SIL)

ระดับความดังของเสียง[แก้]

เดซิเบล (dB) แหล่งกำเนิดเสียง พร้อมระยะทาง
250 เสียงของการยืนอยู่กลางทอร์นาโด หรือเสียงของระเบิดนิวเคลียร์ระเบิดที่ระยะ 5 เมตร
180 เสียงเครื่องยนต์ของจรวดที่ระยะ 30 เมตร หรือ เสียงของปลาวาฬ ช้างที่ระยะ 1 เมตร
140 – 150 คือเสียงของเครื่องบินเทอร์โบเจต เป็นอันตรายต่อระบบการได้ยินเป็นอย่างมาก อาจทำให้สูญเสียการได้ยินได้
130 คือเสียงเครื่องสว่านไฟฟ้าที่ใช้แรงอัดอากาศเจาะถนนคอนกรีต จำเป็นต้องใช้เครื่องมือป้องกันเสียง เนื่องจากเป็นเสียงที่มากเกินขนาดเป็นอันตราย
110 – 120 คือเสียงของเรือดำน้ำ หรือ ทรัมเป็ต แซกโซโฟน ที่ได้ยินในระยะ 3 ฟุต ควรได้รับไม่เกิน 1 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า
100 – 110 คือเสียงในโรงงาน เฟอร์นิเจอร์ไม้ ระยะเวลาที่ปลอดภัย คือไม่ควรได้รับเสียงขนาดนี้เกิน 2 ชั่วโมง
90 คือเสียงดังบนท้องถนนขณะนั่งอยู่ในรถ ไม่ควรได้รับเสียงเกิน 8 ชั่วโมง
80 คือเสียงจราจรที่จอแจโดยอยู่ห่างออกมาประมาณ 50 ฟุต หรือเสียงใน สำนักงานที่กำลังพิมพ์ดีดด้วยเครื่องพิมพ์ดีดรุ่นเก่าเต็มไปหมด
60 – 70 คือเสียงที่คนสนทนากันได้ยินในระยะห่างประมาณ 3 ฟุต หรือความดังเฉลี่ยเมื่อยู่ห่างจากเสียงจราจรประมาณ 100 ฟุต
10 เสียงหายใจของคนที่ระยะ 3 เมตร
0 เสียงที่คนสามารถได้ยิน (สำหรับคนหูปกติ)

หรือ ดูตารางระดับความดังของเสียง เทียบกับ ตัวอย่างเสียง และความรู้สึก แบบเข้าใจง่าย ตามตารางด้านล่าง

Sound Pressure Level

หมายเหตุ: ตารางด้านบนเป็นหน่วย เดซิเบลเอ (dBA) ที่วัดได้จากเครื่องวัดเสียง


อ้างอิง[แก้]