ลูนาร์เกตเวย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกตเวย์
ภาพจำลองของเกตเวย์พาวเวอร์และโปรพัลชันเอลเมนต์ (PPE) และ แฮบิเทชันและลอจิสติกเอาท์โพส (HALO) ในวงโคจรรอบดวงจันทร์ในปี ค.ศ. 2024
ข้อมูลของสถานี
จำนวนลูกเรือ4 (แผนการณ์)
ส่งขึ้นเมื่อพฤศจิกายน ค.ศ. 2024 (แผนการณ์)[1]
จรวดขนส่งฟัลคอน เฮฟวี
เอสแอลเอส บล็อค 1บี
ฐานส่งศูนย์ปล่อยยานอวกาศเคนเนดี คอมเพล็กซ์ 39
สถานะภารกิจอยู่ระหว่างวัฒนา
ปริมาตรอากาศ≥125 m3 (4,400 cu ft) (แผนการณ์)[2]
จุดใกล้โลกที่สุด3,000 km (1,900 mi)[3]
จุดไกลโลกที่สุด70,000 km (43,000 mi)
ความเอียงวงโคจรโพลาร์ วงโคจรรัศมีใกล้เส้นตรง (NRHO)
คาบการโคจร≈7 วัน
องค์ประกอบ
ในปัจจุบัน ไม่น่าเป็นไปได้ที่รอสคอสมอสจะสนับสนุนโมดูลให้กับลูนาร์เกตเวย์

ลูนาร์เกตเวย์ (อังกฤษ: Lunar Gateway) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เกตเวย์ เป็นสถานีอวกาศขนาดเล็กที่วางแผนให้อยู่ในวงโคจรของดวงจันทร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการสื่อสารที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โมดูลที่อยู่อาศัยระยะสั้นสำหรับนักบินอวกาศของทางการ และพื้นที่สำหรับยานสำรวจ และหุ่นยนต์อื่น ๆ เป็นโครงการความร่วมมือข้ามชาติที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานพันธมิตรของสถานีอวกาศนานาชาติสี่แห่ง ได้แก่ นาซา, องค์การอวกาศยุโรป (ESA), องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) และ องค์การอวกาศแคนาดา (CSA) มีการวางแผนที่จะเป็นทั้งสถานีอวกาศแห่งแรกที่อยู่นอกวงโคจรระดับต่ำของโลกและเป็นสถานีอวกาศแห่งแรกที่โคจรรอบดวงจันทร์[4][5]

เดิมชื่อ ดีฟสเปซเกตเวย์ (DSG) สถานีนี้เปลี่ยนชื่อเป็น ลูนาร์ออบิทัลแพลตฟอร์ม-เกตเวย์ (LOP-G) ในข้อเสนอปี ค.ศ. 2018 ของนาซาสำหรับงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐปี ค.ศ. 2019[6][7] เมื่อกระบวนการจัดทำงบประมาณเสร็จสิ้น สภาคองเกรสอนุมัติงบประมาณ 332 ล้านเหรียญสหรัฐในการศึกษาเบื้องต้น[โปรดขยายความ][8][9][10]

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ที่จะศึกษาบนเกตเวย์คาดว่าจะรวมถึงวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ การสังเกตโลก เฮลิโอฟิสิกส์ ชีววิทยาอวกาศขั้นพื้นฐาน สุขภาพและประสิทธิภาพของมนุษย์ มีการวางแผนการก่อสร้างในปี ค.ศ. 2020[11] Construction is planned to take place in the 2020s.[12][13][14] กลุ่มประสานงานการสำรวจอวกาศนานาชาติ (ISECG) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานด้านอวกาศมากกว่า 14 แห่งรวมถึงหน่วยงานหลักทั้งหมด สรุปว่า เกตเวย์จะมีความสำคัญในการขยายการดำรงชีวิตของมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ดาวอังคาร และลึกลงไปในระบบสุริยะ[15]

โครงการนี้คาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในโครงการอาร์ทิมิสของนาซาหลังปี ค.ศ. 2024 แม้ว่าโครงการนี้นำโดยนาซาแต่เกตเวย์มีขึ้นเพื่อพัฒนา ให้บริการ และใช้งานร่วมกับซ๊ซา, อีซา, แจ็กซา และพันธมิตรทางการค้า มันจะทำหน้าที่เป็นจุดจัดเตรียมสำหรับการสำรวจขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ทั้งโดยหุ่นยนต์และโดยมนุษย์ และเป็นจุดจัดเตรียมที่เสนอสำหรับแนวคิดดีพสเปซทรานสปอร์ตของนาซาสำหรับการขนส่งไปยังดาวอังคาร[16][12][17]

อ้างอิง[แก้]

  1. "NASA, Northrop Grumman Finalize Moon Outpost Living Quarters Contract". NASA (Press release). 9 July 2021. สืบค้นเมื่อ 9 July 2021.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nsf-20180911
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NRHO 2019
  4. "FY 2022: NASA Budget Request" (PDF). NASA. 28 May 2021. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  5. Jackson, Shanessa (11 September 2018). "Competition Seeks University Concepts for Gateway and Deep Space Exploration Capabilities". nasa.gov. NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2019. สืบค้นเมื่อ 19 September 2018. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  6. Davis, Jason (February 26, 2018). "Some snark (and details!) about NASA's proposed lunar space station". The Planetary Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 26, 2018. สืบค้นเมื่อ February 26, 2018.
  7. Yuhas, Alan (2018-02-12). "Trump's Nasa budget: flying 'Jetson cars' and a return to the Moon". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2018-02-25.
  8. NASA.gov [ลิงก์เสีย] - p. 4|access-date=2020-04-01
  9. Foust, Jeff (June 12, 2018). "Senate bill restores funding for NASA science and technology demonstration missions". SpaceNews. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
  10. "NASA just got its best budget in a decade". planetary.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2019. สืบค้นเมื่อ 27 February 2019.
  11. Mahoney, Erin (24 August 2018). "NASA Seeks Ideas for Scientific Activities Near the Moon". nasa.gov. NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2019. สืบค้นเมื่อ 19 September 2018. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  12. 12.0 12.1 Kathryn Hambleton (28 March 2017). "Deep Space Gateway to Open OpportunitiesArtemis for Distant Destinations". nasa.gov. NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2017. สืบค้นเมื่อ April 5, 2017. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  13. "РОСКОСМОС - NASA СОВМЕСТНЫЕ ИССЛЕДОВАНИЯ ДАЛЬНЕГО КОСМОСА (ROSCOSMOS - NASA JOINT RESEARCH OF FAR COSMOS)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2019. สืบค้นเมื่อ September 29, 2017.
  14. Weitering, Hanneke (27 September 2017). "NASA and Russia Partner Up for Crewed Deep-Space Missions". Space.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2019. สืบค้นเมื่อ 5 November 2017.
  15. NASA (2 May 2018). "Gateway Memorandum for the Record" (PDF). nasa.gov. NASA. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2019. สืบค้นเมื่อ 19 September 2018. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  16. Gebhardt, Chris (6 April 2017). "NASA finally sets goals, missions for SLS – eyes multi-step plan to Mars". nasaspaceflight.com. NASASpaceflight. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2017. สืบค้นเมื่อ 19 September 2018.
  17. Robyn Gatens, Jason Crusan. "Cislunar Habitation and Environmental Control and Life Support System". nasa.gov. NASA. สืบค้นเมื่อ March 31, 2017.[ลิงก์เสีย] บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Lunar Gateway
  • Artemis-I at NASA