รายชื่อที่พักริมทางในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จุดพักรถลาดกระบัง 1 ภายในทางหลวงพิเศษหมายเลข 7

รายชื่อที่พักริมทางในประเทศไทย คือรายชื่อของที่พักริมทาง (Rest Area) ในทางหลวงของประเทศไทยประเภทต่าง ๆ แบ่งตามประเภทของเส้นทาง และรูปแบบของที่พักริมทาง

ทางหลวงพิเศษ[แก้]

ปัจจุบันที่พักริมทางในโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเปิดให้บริการแล้วจำนวน 4 แห่ง และมีแผนจะเปิดให้บริการในอนาคตอีก 14 แห่ง[1] ประกอบไปด้วย

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6[แก้]

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา มีระยะทางยาว 195.943 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยที่พักริมทางทั้งหมด 8 แห่ง[2] ดังนี้

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6
ลำดับ ชื่อที่พักริมทาง ประเภท กม. ขาเข้า กม. ขาออก สถานะปัจจุบัน หมายเหตุ
1 วังน้อย จุดพักรถ (Rest Stop) 3+350 5+550 มีแผนที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง
2 หนองแค จุดพักรถ (Rest Stop) 26+250 26+000 มีแผนที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง
3 สระบุรี สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) 56+250 54+400 มีแผนที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง
4 ทับกวาง จุดพักรถ (Rest Stop) 65+600 64+900 มีแผนที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง
5 ปากช่อง ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) 108+757 107+525 มีแผนที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง
6 ลำตะคอง จุดพักรถ (Rest Stop) 122+000 ไม่มี มีแผนที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง
7 สีคิ้ว สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) 147+000 147+600 มีแผนที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง
8 ขามทะเลสอ จุดพักรถ (Rest Stop) 173+000 173+000 มีแผนที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง
ตัวเอียง หมายถึง ที่พักริมทางที่กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7[แก้]

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร−บ้านฉาง มีระยะทางยาว 149.300 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยที่พักริมทางทั้งหมด 7 แห่ง[3] ดังนี้

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7
ลำดับ ชื่อที่พักริมทาง ประเภท หลัก กม. สถานะปัจจุบัน หมายเหตุ
1 ลาดกระบัง จุดพักรถ (Rest Stop) 21+700 เปิดให้บริการแล้ว กำลังศึกษารูปแบบการร่วมพัฒนากับเอกชนเชิงพาณิชย์ [4]
2 บางปะกง (ใหม่) สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) 47+000 ออกแบบแนวคิดเบื้องต้นสำเร็จแล้ว [3]
3 บางปะกง สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) 49+300 เปิดให้บริการแล้ว [5]
4 หนองรี จุดพักรถ (Rest Stop) 72+500 เปิดให้บริการแล้ว กำลังศึกษารูปแบบการร่วมพัฒนากับเอกชนเชิงพาณิชย์ [6]
5 ศรีราชา ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) 95+750 อยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนร่วมทุน [7]
6 มาบประชัน จุดพักรถ (Rest Stop) 119+200 อยู่ระหว่างการก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน [8]
7 บางละมุง สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) 137+800 อยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนร่วมทุน [9]
ตัวเอียง หมายถึง ที่พักริมทางที่กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9[แก้]

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 หรือ ถนนกาญจนาภิเษก มีระยะทางยาว 181 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยที่พักริมทางทั้งหมด 1 แห่ง[2] ดังนี้

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9
ลำดับ ชื่อที่พักริมทาง ประเภท หลัก กม. สถานะปัจจุบัน หมายเหตุ
1 ทับช้าง จุดพักรถ (Rest Stop) 48+280 เปิดให้บริการแล้ว
ตัวเอียง หมายถึง ที่พักริมทางที่กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81[แก้]

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี มีระยะทางยาว 96.410 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยที่พักริมทางทั้งหมด 3 แห่ง[2] ดังนี้

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81
ลำดับ ชื่อที่พักริมทาง ประเภท กม. ขาเข้า กม. ขาออก สถานะปัจจุบัน หมายเหตุ
1 นครชัยศรี สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) 19+500 19+500 มีแผนที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง
2 นครปฐม สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) 47+500 47+500 มีแผนที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง
3 ท่ามะกา จุดพักรถ (Rest Stop) 70+900 70+900 มีแผนที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง
ตัวเอียง หมายถึง ที่พักริมทางที่กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

ทางหลวงสัมปทาน[แก้]

โครงข่ายทางพิเศษช่วงต่างระดับมักกะสัน

ที่พักริมทางบนทางหลวงสัมปทาน หากแบ่งตามข้อกำหนดของกรมทางหลวง[10] จะประกอบไปด้วยสถานที่บริการทางหลวง (Service Area) จำนวน 3 แห่ง[11] บนทางพิเศษศรีรัช และทางพิเศษเฉลิมมหานคร นอกจากนั้นเป็นการให้บริการเพียงห้องน้ำสาธารณะบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ[12]

ทางพิเศษศรีรัช[แก้]

ทางพิเศษศรีรัช มีระยะทางยาว 38.4 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยที่พักริมทางทั้งหมด 3 แห่ง[12][11] ดังนี้

ทางพิเศษศรีรัช
ลำดับ ชื่อที่พักริมทาง ประเภท หลัก กม. สถานะปัจจุบัน หมายเหตุ
1 The Rest Area ประชาชื่น สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) 18+150 เปิดให้บริการแล้ว ดำเนินการโดยเอกชนทำสัญญากับการทางพิเศษ [11][13]
2 ด่านศรีนครินทร์ ห้องน้ำสาธารณะ 9+800 เปิดให้บริการแล้ว [12]
3 ด่านพระรามที่ 3 ห้องน้ำสาธารณะ 0+000 เปิดให้บริการแล้ว [12]
ตัวเอียง หมายถึง ที่พักริมทางที่กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร[แก้]

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร มีระยะทางยาว 27.1 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยที่พักริมทางทั้งหมด 9 แห่ง[12] ดังนี้

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ลำดับ ชื่อที่พักริมทาง ประเภท กม. ขาเข้า กม. ขาออก สถานะปัจจุบัน หมายเหตุ
1 ด่านดินแดง ห้องน้ำสาธารณะ 0+000 ไม่มี เปิดให้บริการแล้ว ขาเข้ามุ่งหน้าบางนา
2 ด่านท่าเรือ ห้องน้ำสาธารณะ ไม่มี 10+750 เปิดให้บริการแล้ว ขาออกมุ่งหน้าดินแดง
3 ด่านอาจณรงค์ ห้องน้ำสาธารณะ ไม่มี 12+100 เปิดให้บริการแล้ว
4 ด่านอาจณรงค์ 3 ห้องน้ำสาธารณะ ไม่มี 14+400 เปิดให้บริการแล้ว
5 ด่านสุขุมวิท 62 ห้องน้ำสาธารณะ ไม่มี 15+250 เปิดให้บริการแล้ว
6 ริมทางพิเศษเฉลิมมหานคร สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) 16+375 16+375 เปิดให้บริการแล้ว ดำเนินการโดยเอกชนทำสัญญากับการทางพิเศษ
7 ด่านบางนา ห้องน้ำสาธารณะ ไม่มี 17+250 เปิดให้บริการแล้ว
8 ด่านสุขสวัสดิ์ ห้องน้ำสาธารณะ 27+100 ไม่มี เปิดให้บริการแล้ว ขาเข้ามุ่งหน้าท่าเรือ
9 ด่านดาวคะนอง ห้องน้ำสาธารณะ 30+000 ไม่มี เปิดให้บริการแล้ว
ตัวเอียง หมายถึง ที่พักริมทางที่กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

ทางพิเศษกาญจนาภิเษก[แก้]

ทางพิเศษกาญจนาภิเษก ช่วงบางพลี-สุขสวัสดิ์ มีระยะทาง 22.5 กิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของถนนกาญจนาภิเษก ประกอบไปด้วยที่พักริมทางทั้งหมด 1 แห่ง ดังนี้

ทางพิเศษกาญจนาภิเษก
ลำดับ ชื่อที่พักริมทาง ประเภท กม. ขาเข้า กม. ขาออก สถานะปัจจุบัน หมายเหตุ
1 ด่านบางแก้ว 1 ห้องน้ำสาธารณะ ไม่มี 1+300 เปิดให้บริการแล้ว มีเพียงห้องน้ำสาธารณะให้บริการ [14]
ตัวเอียง หมายถึง ที่พักริมทางที่กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

ทางพิเศษประจิมรัถยา[แก้]

ทางพิเศษประจิมรัถยา หรือทางพิเศษสายศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร มีระยะทาง 16.7 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยที่พักริมทางทั้งหมด 4 แห่ง[15] ดังนี้

ทางพิเศษประจิมรัถยา
ลำดับ ชื่อที่พักริมทาง ประเภท กม. ขาเข้า กม. ขาออก สถานะปัจจุบัน หมายเหตุ
1 ด่านฉิมพลี ห้องน้ำสาธารณะ 0+000 ไม่มี เปิดให้บริการแล้ว
2 ด่านบางบำหรุ ห้องน้ำสาธารณะ 9+200 ไม่มี เปิดให้บริการแล้ว
3 ด่านบางพลัด ห้องน้ำสาธารณะ ไม่มี 10+300 เปิดให้บริการแล้ว
4 ด่านบางกรวย ห้องน้ำสาธารณะ 12+300 ไม่มี เปิดให้บริการแล้ว
ตัวเอียง หมายถึง ที่พักริมทางที่กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

ทางพิเศษอุดรรัถยา[แก้]

ทางพิเศษอุดรรัถยา หรือทางด่วนสายบางปะอิน–ปากเกร็ด มีระยะทาง 32 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยที่พักริมทางทั้งหมด 1 แห่ง[12] ดังนี้

ทางพิเศษอุดรรัถยา
ลำดับ ชื่อที่พักริมทาง ประเภท กม. ขาเข้า กม. ขาออก สถานะปัจจุบัน หมายเหตุ
1 ด่านบางปะอิน ห้องน้ำสาธารณะ 29+400 29+400 เปิดให้บริการแล้ว
ตัวเอียง หมายถึง ที่พักริมทางที่กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

ทางพิเศษฉลองรัช[แก้]

ทางพิเศษฉลองรัช มีระยะทาง 28.2 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยที่พักริมทางทั้งหมด 2 แห่ง[12] ดังนี้

ทางพิเศษฉลองรัช
ลำดับ ชื่อที่พักริมทาง ประเภท กม. ขาเข้า กม. ขาออก สถานะปัจจุบัน หมายเหตุ
1 ด่านพระราม 9-2 ห้องน้ำสาธารณะ 7+100 ไม่มี เปิดให้บริการแล้ว
2 ด่านจตุโชติ ห้องน้ำสาธารณะ 26+800 ไม่มี เปิดให้บริการแล้ว
ตัวเอียง หมายถึง ที่พักริมทางที่กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

ทางหลวงแผ่นดิน[แก้]

ศูนย์บริการทางหลวง[แก้]

ศูนย์บริการทางหลวง คือที่พักริมทางที่ได้รับการเสริมศักยภาพให้สูงขึ้น ปัจจุบันมีจำนวน 4 ศูนย์ ประกอบไปด้วย[16]

ศูนย์บริการทางหลวง
ลำดับ ชื่อ สายทาง หลัก กม. ที่ตั้ง เนื้อที่ หมายเหตุ
1 ขุนตาน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11
ตอนลำปาง – เชียงใหม่
33+420 – 33+577 ขุนตาน ต.เวียง
อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
6 ไร่ 32 ตารางวา
2 ลำตะคอง ถนนมิตรภาพ
ตอนสระบุรี – นครราชสีมา
85+292 – 85+975 ริมอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ต.หนองสาหร่าย
อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
37 ไร่
3 ชัยนาท ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32
ตอนสี่แยกชัยนาท – สี่แยกหางน้ำสาคร
185+504 – 185+604 ต.อู่ตะเภา
อ.มโนรมณ์ จ.ชัยนาท
5 ไร่
4 เขาโพธิ์ ถนนเพชรเกษม
ตอนประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร
431+400 – 432+200 เขาโพธิ์ ต.ไชยราช
อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์
163 ไร่
ตัวเอียง หมายถึง ที่พักริมทางที่กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

จุดจอดพักรถบรรทุก[แก้]

ป้ายแจ้งพื้นที่จอดรถบรรทุก บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7

จุดจอดพักรถบรรทุก ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งสิ้น 21 แห่ง[17] ตามแนวทางหลวงสายสำคัญด้านการขนส่ง ได้แก่

  1. ถนนมิตรภาพ ตอน สระบุรี – มวกเหล็ก สถานีตรวจสอบน้ำหนัก แก่งคอย (ขาเข้า) กิโลเมตรที่ 15+550 (ด้านขวาของเส้นทาง) จังหวัดสระบุรี[18][19]
  2. ถนนมิตรภาพ ตอน นครราชสีมา – ดอนหวาย กิโลเมตรที่ 170+040 (ด้านขวาของเส้นทาง) จังหวัดนครราชสีมา[18] เนื้อที่ประมาณ 54 ไร่ รองรับรถบรรทุก 86 คัน รถยนต์และรถยนต์คนพิการ 69 คัน
  3. ถนนมิตรภาพ ตอน นครราชสีมา – ดอนหวาย กิโลเมตรที่ 169+750 (ด้านซ้ายของเส้นทาง) จังหวัดนครราชสีมา[18]
  4. ถนนมิตรภาพ ตอน บ่อท่อง – มอจะบก กิโลเมตรที่ 93+350 (ด้านขวาของเส้นทาง) จังหวัดนครราชสีมา[18]
  5. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอน กิโลเมตรที่ 55+207 (ต่อเขตแขวงฯปราจีนบุรี) สถานีตรวจสอบน้ำหนักวังน้ำเขียว (ขาเข้า) กิโลเมตรที่ 82+136 (ด้านขวาของเส้นทาง) จังหวัดนครราชสีมา[18][20]
  6. ถนนมิตรภาพ ตอน หินลาด – โนนสะอาด สถานีตรวจสอบน้ำหนักน้ำพอง (ขาออก)[21] กิโลเมตรที่ 374+700 (ด้านซ้ายของเส้นทาง) จังหวัดขอนแก่น[18]
  7. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ตอน ประโคนชัย – จรอกใหญ่ กิโลเมตรที่ 160+955 (ด้านซ้ายของเส้นทาง) จังหวัดบุรีรัมย์[18]
  8. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 ตอน ท่าตูม – จอมพระ กิโลเมตรที่ 146+758 (ด้านซ้ายของเส้นทาง) จังหวัดสุรินทร์[18]
  9. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ตอน เดชอุดม – อุบลราชธานี กิโลเมตรที่ 398+758 (ด้านซ้ายของเส้นทาง) จังหวัดอุบลราชธานี[18]
  10. ถนนพหลโยธิน ตอน วังไผ่ – โนนปอแดง สถานีตรวจสอบน้ำหนักบรรพตพิสัย (ขาเข้า) กิโลเมตรที่ 378+650 (ด้านขวาของเส้นทาง) จังหวัดนครสวรรค์[18]
  11. ถนนแจ้งสนิท ตอน ไพศาล – บรบือ ที่ กิโลเมตรที่ 17+835.00 พื้นที่ อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม เนื้อที่ 20 ไร่ รองรับรถได้ 53 คัน แบ่งเป็นรถบรรทุก 26 คัน รถยนต์และรถยนต์คนพิการ 27 คัน[22]
  12. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ตอน ผานกเค้า – หลักร้อยหกสิบ ที่ กิโลเมตรที่ 297+382 พื้นที่ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย เนื้อที่ 18 ไร่ รองรับรถได้ 127 คัน แบ่งเป็นรถบรรทุก 40 คัน รถยนต์และรถยนต์คนพิการ 87 คัน[22]
  13. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 ตอน เสลภูมิ – ยโสธร ที่ กิโลเมตรที่ 154+642 พื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เนื้อที่ 109 ไร่ รองรับรถได้ 104 คัน แบ่งเป็นรถบรรทุก 48 คัน รถยนต์และรถยนต์คนพิการ 56 คัน[22]
  14. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 ตอน ร้อยเอ็ด – ยโสธร ที่ กิโลเมตรที่ 124+200 พื้นที่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เนื้อที่ประมาณ 34 ไร่ รองรับรถได้ 139 คัน แบ่งเป็นรถบรรทุก 38 คัน รถยนต์และรถยนต์คนพิการ 101 คัน[22]
  15. ถนนมิตรภาพ สถานีตรวจสอบน้ำหนักโนนสูง (ขาออก) กิโลเมตรที่ 21+870 พื้นที่ บ้านด่านทองหลวง ตำบลตะโหนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา[23]
  16. ถนนมิตรภาพ สถานีตรวจสอบน้ำหนักโนนสูง (ขาเข้า) กิโลเมตรที่ 22+050 พื้นที่ บ้านด่านทองหลวง ตำบลตะโหนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา[24]
  17. ถนนมิตรภาพ ตอน กม.166-000 (ต่อแขวงฯสระบุรี) - ทางแยกไปชัยภูมิ สถานีตรวจสอบน้ำหนักสีคิ้ว (ขาเข้า) กิโลเมตรที่ 201+993 พื้นที่ ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา[25]
  18. ถนนเพชรเกษม ตอน แยกเข้าท่าแซะ - สี่แยกปฐมพร สถานีตรวจสอบน้ำหนัก ท่าแซะ (ขาออก) กิโลเมตรที่ 488+430 พื้นที่ ตำบลท่าข้าม อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร[26]
  19. ถนนมิตรภาพ ตอน โนนสะอาด-อุดรธานี สถานีตรวจสอบน้ำหนักอุดรธานี (ขาเข้า)ุ กิโลเมตรที่ 433+943 พื้นที่ ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี[27] รองรับรถบรรทุกได้ 60 คัน
  20. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ตอนแยกอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง-น้ำดุก สถานีตรวจสอบน้ำหนักเพชรบูรณ์ (ขาออก) กิโลเมตรที่ กม.357+251-357+618 รองรับรถบรรทุกได้ 30 คัน รถยนต์ 20 คัน[28]
  21. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ตอนห้วยสีดา-ปากทางเขื่อนลำปาว สถานีตรวจสอบน้ำหนักกาฬสินธุ์[29]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ข้อกำหนดกรมทางหลวง เรื่อง มาตรฐานและลักษณะที่พักริมทางในเขตทางหลวงพิเศษ และทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. 2560 – MOTORWAY".
  2. 2.0 2.1 2.2 "ที่พักริมทาง (Rest Area) บนโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง – Intercity Motorway Projects" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  3. 3.0 3.1 "แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในการพัฒนาที่พักริมทางบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ - บ้านฉาง (ช่วงกรุงเทพฯ - ชลบุรี - พัทยา - มาบตาพุด) พ.ศ. 2563-2567 ของกรมทางหลวง" (PDF).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "จุดพักรถลาดกระบัง (Ladkrabang Rest Stop) – Intercity Motorway Projects" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. "สถานที่บริการทางหลวงบางปะกง (Bangpakong Service Area) – Intercity Motorway Projects" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. "จุดพักรถหนองรี (Nong Ri Rest Stop) – Intercity Motorway Projects" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  7. "โครงการพัฒนาและบริหารจัดการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง ช่วงชลบุรี – พัทยา – Intercity Motorway Projects" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  8. "จุดพักรถมาบประชัน (Mabprachan Rest Stop) – Intercity Motorway Projects" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  9. "โครงการพัฒนาและบริหารจัดการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง ช่วงพัทยา – มาบตาพุด – Intercity Motorway Projects" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  10. "ข้อกำหนดกรมทางหลวง เรื่อง มาตรฐานและลักษณะที่พักริมทางในเขตทางหลวงพิเศษ และทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. 2560 – MOTORWAY".
  11. 11.0 11.1 11.2 "การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาศูนย์บริการพักรถ (service area) บริเวณพื้นที่ในเขตทางพิเศษ". digital.library.tu.ac.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 "จุดพักรถ และห้องน้ำสาธารณะ บนทางด่วน 5 สายทางรอบกรุงเทพฯ | สวพ.FM91". LINE TODAY.
  13. จุดพักรถทางด่วนแห่งใหม่เปิดให้บริการแล้ว! | ข่าวอสังหาริมทรัพย์ | DDproperty.com
  14. "✨ กทพ. พลิกโฉมห้องน้ำสาธารณะ 🚻 พร้อมปรับภูมิทัศน์ 🌳 จุดพักรถ 🚏 ด่านฯ บางแก้ว 1 🛣 จุดเช็คอินแห่งใหม่ ✨ บนทางพิเศษ🌲". www.exat.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "ทางพิเศษศรีรัช – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร". expressway.bemplc.co.th (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-04. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  16. "กรมทางหลวง". www.doh.go.th (ภาษาอังกฤษ).
  17. "กรมทางหลวง มีมาตรการคุมเข้มในการจับกุมรถบรรทุกน้ำหนักเกินตามที่กฎหมายกำหนด". www.thaigov.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. 18.00 18.01 18.02 18.03 18.04 18.05 18.06 18.07 18.08 18.09 "กรมทางหลวงเปิดจุดพักรถ-สถานีตรวจน้ำหนัก 73 แห่งทั่วประเทศ บริการประชาชน ช่วงสงกรานต์". mgronline.com. 2021-04-06.
  19. "สถานีตรวจสอบน้ำหนักแก่งคอย (ขาเข้า)". www.highwayweigh.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-01. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  20. "สถานีตรวจสอบน้ำหนักวังน้ำเขียว (ขาเข้า)". www.highwayweigh.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-01. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  21. "สถานีตรวจสอบน้ำหนักน้ำพอง (ขาออก)". www.highwayweigh.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-01. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 ""กรมทางหลวง" เปิดใช้จุดจอดพักรถบรรทุกใหม่ 4 แห่งในพื้นที่ภาคอีสาน". สยามรัฐ. 2022-08-21.
  23. "สถานีตรวจสอบน้ำหนักโนนสูง (ขาออก)". www.highwayweigh.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-01. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  24. "สถานีตรวจสอบน้ำหนักโนนสูง (ขาเข้า)". www.highwayweigh.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-01. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  25. "สถานีตรวจสอบน้ำหนักสีคิ้ว (ขาเข้า)". www.highwayweigh.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-01. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  26. "สถานีตรวจสอบน้ำหนักท่าแซะ (ขาออก)". www.highwayweigh.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-01. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  27. kazzy (2022-11-30). "อุดรฯสร้างจุดพักรถแห่งที่สอง 320 ล้าน". UDON TODAY.
  28. "เสร็จแล้วจุดจอดพักรถบรรทุก 'อุดรฯ-เพชรบูรณ์'". dailynews. 2021-05-25.
  29. Jenkarn, Surangrat. ""ทางหลวง" เร่งสร้างจุดพักรถบรรทุก 15 แห่ง ลดอุบัติเหตุ". เดลินิวส์.