รายการสุริยุปราคาที่มองเห็นได้จากประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพร่างสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งสุริยุปราคาครั้งนี้ถูกขนานนามว่าเป็น อุปราคาของพระเจ้ากรุงสยาม

นี่คือรายการสุริยุปราคาที่มองเห็นได้จากประเทศไทย โดยอ้างอิงขอบเขตตามอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2300 จนถึงปี พ.ศ. 2700

สุริยุปราคาคือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกโคจรมาอยู่ในแนวเดียวกันพอดี ทำให้เงาของดวงจันทร์ทอดลงมาบนพื้นผิวโลก เป็นเงามืดและเงามัว เงามืดคือบริเวณแคบ ๆ ของเงาที่ทอดผ่านไปบนผิวโลก ภายในเงามืด ดวงจันทร์จะปรากฏทับซ้อนกับดวงอาทิตย์พอดี ทำให้ผู้ที่สังเกตการณ์อยู่ในบริเวณนี้จะสังเกตเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง สุริยุปราคาวงแหวน หรือสุริยุปราคาผสม ส่วนเงามัวจะทอดตัวล้อมรอบเงามืด และทอดตัวยาวนับพันกิโลเมตร ผู้ที่สังเกตการณ์อยู่ในบริเวณเงามัวจะสังเกตเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน

สุริยุปราคาเต็มดวง[แก้]

ในช่วงระยะเวลา 400 ปี พื้นที่ที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน มีแนวคราสเต็มดวงของสุริยุปราคาเต็มดวงพาดผ่าน 11 ครั้ง แบ่งเป็น

พ.ศ. 2300 ถึง 2400[แก้]

ในช่วง พ.ศ. 2300 ถึง 2400 มีแนวคราสเต็มดวงพาดผ่านพื้นที่ของประเทศไทยจำนวนทั้งหมด 3 ครั้ง ได้แก่

ครั้งที่ วันที่และแผนที่ แซรอส หมายเหตุ อ้างอิง
1 25 พฤษภาคม 2313 124 แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านบริเวณที่เป็นจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุงในปัจจุบัน [1]
2 4 มิถุนายน 2331 124 แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านบริเวณที่เป็นตอนเหนือสุดของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน [2]
3 21 ธันวาคม 2386
139 แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านภาคใต้บริเวณที่เป็นจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน ส่วนบริเวณอื่น ๆ เห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน [3]

พ.ศ. 2401 ถึง 2500[แก้]

ในช่วง พ.ศ. 2401 ถึง 2500 มีแนวคราสเต็มดวงพาดผ่านพื้นที่ของประเทศไทยจำนวนทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่

ครั้งที่ วันที่และแผนที่ แซรอส หมายเหตุ อ้างอิง
1 18 สิงหาคม 2411
133 แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และตอนบนของชุมพร [4]
2 6 เมษายน 2418
127 แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านตัดกลางประเทศไทย ผ่านบริเวณบริเวณที่เป็นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พระนครศรีอยุธยา นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร และอุบลราขธานีในปัจจุบัน ส่วนบริเวณอื่นของประเทศไทยมองเห็นได้เป็นสุริยุปราคาบางส่วน [5]
3 9 พฤษภาคม 2472
127 แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านตอนใต้ของประเทศไทย บริเวณมณฑลภูเก็ต มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลปัตตานี (ที่เป็นจังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาสในปัจจุบัน) ส่วนบริเวณอื่นของประเทศไทยมองเห็นได้เป็นสุริยุปราคาบางส่วน [6]
4 20 มิถุนายน 2498
136 แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านกลางประเทศไทย ผ่านบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม กรุงเทพมหานครและปริมณฑล สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ส่วนบริเวณอื่นของประเทศไทยมองเห็นได้เป็นสุริยุปราคาบางส่วน [7]

พ.ศ. 2501 ถึง 2600[แก้]

ในช่วง พ.ศ. 2501 ถึง 2600 มีแนวคราสเต็มดวงพาดผ่านพื้นที่ของประเทศไทยจำนวนทั้งหมด 1 ครั้ง ได้แก่

ครั้งที่ วันที่และแผนที่ แซรอส หมายเหตุ อ้างอิง
1 24 ตุลาคม 2538
143 แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านบริเวณจังหวัดตาก ตอนกลางของกำแพงเพชร นครสวรรค์ ตอนใต้ของพิจิตร ส่วนใหญ่ของลพบุรี ตอนบนของสระบุรี นครราชสีมา ตอนบนของสระแก้ว และตอนล่างของบุรีรัมย์ ส่วนบริเวณอื่นเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน [8]

พ.ศ. 2601 ถึง 2700[แก้]

2058- 2157 ในช่วง พ.ศ. 2601 ถึง 2630 มีแนวคราสเต็มดวงพาดผ่านพื้นที่ของประเทศไทยจำนวนทั้งหมด 3 ครั้ง ได้แก่

ครั้งที่ วันที่และแผนที่ แซรอส หมายเหตุ อ้างอิง
1 11 เมษายน 2613
130 แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านบริเวณจังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ จันทบุรี และตราด ส่วนบริเวณอื่นเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน [9]
2 3 มิถุนายน 2657
139 แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านบริเวณจังหวัดเชียงราย ตอนบนของเชียงใหม่ พะเยา ตอนบนของน่าน ส่วนใหญ่ของหนองคาย บึงกาฬ ตอนบนของอุดรธานี ตอนบนของสกลนคร และส่วนใหญ่ของนครพนม ส่วนบริเวณอื่นเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน [10]
3 7 พฤศจิกายน 2686
145 แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านบริเวณรอยต่อของจังหวัดกาญจบุรีและตาก ส่วนใหญ่ของอุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ตอนล่างของลพบุรี ส่วนใหญ่ของสระบรี ตอนบนของพระนครศรีอยุธยา ตอนบนของนครนายก ตอนล่างของนครราชสีมา ตอนบนของปราจีนบุรี ตอนบนของสระแก้ว และตอนใต้สุดของบุรีรัมย์ ส่วนบริเวณอื่นเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน [11]

สุริยุปราคาวงแหวน[แก้]

ในช่วงระยะเวลา 400 ปี พื้นที่ที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน มีแนวคราสวงแหวนของสุริยุปราคาวงแหวนพาดผ่าน 21 ครั้ง แบ่งเป็น

พ.ศ. 2300 ถึง 2400[แก้]

ในช่วง พ.ศ. 2300 ถึง 2400 มีแนวคราสวงแหวนพาดผ่านพื้นที่ของประเทศไทยจำนวนทั้งหมด 5 ครั้ง ได้แก่

ครั้งที่ วันที่และแผนที่ แซรอส หมายเหตุ อ้างอิง
1 6 กันยายน 2317
131 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านตอนบนของบริเวณที่เป็นจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน [12]
2 5 สิงหาคม 2328
132 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านส่วนใหญ่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา น่าน และตอนบนของแพร่ในปัจจุบัน [13]
3 16 พฤษภาคม 2360
125 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านตอนกลางของประเทศไทย [14]
4 9 ตุลาคม 2390
141 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านส่วนใหญ่ของภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย [15]
5 18 กันยายน 2400
132 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านบางส่วนของบริเวณที่เป็นจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน [16]

พ.ศ. 2401 ถึง 2500[แก้]

ในช่วง พ.ศ. 2401 ถึง 2500 มีแนวคราสวงแหวนพาดผ่านพื้นที่ของประเทศไทยจำนวนทั้งหมด 7 ครั้ง ได้แก่

ครั้งที่ วันที่และแผนที่ แซรอส หมายเหตุ อ้างอิง
1 8 กรกฎาคม 2404
134 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านตอนล่างสุดของบริเวณที่เป็นจังหวัดยะลาและนราธิวาสในปัจจุบัน [17]
2 11 พฤศจิกายน 2444
141 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านบริเวณมณฑลราชบุรี มณฑลชุมพร มณฑลภูเก็ต และมณฑลจันทบุรี (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง ตราด บางส่วนของสุราษฎร์ธานี พังงา ชลบุรี ระยองและจันทบุรีในปัจจุบัน) [18]
3 17 มีนาคม 2446
128 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านบริเวณมณฑลชุมพร มณฑลภูเก็ต มณฑลนครศรีธรรมราช และปลายใต้สุดของมณฑลจันทบุรี (จังหวัดสุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ นครราขสีมา บางส่วนของจังหวัดชุมพร ระนอง ตรัง พัทลุง และตราดในปัจจุบัน) [19]
4 21 สิงหาคม 2476
134 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของราชบุรี และตอนบนของประจวบคีรีขันธ์ [20]
5 20 กรกฎาคม 2487
135 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี กาฬลินธุ์ มุกดาหาร ตอนล่างของสกลนคร นครพนม หนองคาย ตอนเหนือของขอนแก่น ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี [21]
6 9 พฤษภาคม 2491
137 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านบริเวณจังหวัดเพชรบุรี สมุทรสงคราม ราชบุรี สมุทรสาคร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นครนายก นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มุกดาหาร และนครพนม [22]
7 14 ธันวาคม 2498
141 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านบริเวณจังหวัดชุมพร(ตอนบน) ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี (ตอนล่าง) สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา(ตอนบน) ปราจีนบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ(ตอนล่าง) บุรีรัมย์(ส่วนใหญ่) สุรินทร์(ตอนบน) ขอนแก่น(ตอนล่าง) มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์(ตอนล่าง) ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร สกลนคร(ตอนล่าง) นครพนม(ตอนล่าง) ศรีสะเกษ(ตอนบน) และอุบลราชธานี(ตอนบน) [23]

พ.ศ. 2501 ถึง 2600[แก้]

ในช่วง พ.ศ. 2501 ถึง 2600 มีแนวคราสวงแหวนพาดผ่านพื้นที่ของประเทศไทยจำนวนทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่

ครั้งที่ วันที่และแผนที่ แซรอส หมายเหตุ อ้างอิง
1 19 เมษายน 2501
128 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านบริเวณจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี นครนายก สระแก้ว นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี [24]
2 23 พฤษจิกายน 2508
132 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก เลย เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา มหาสารคาม บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ [25]
3 21 พฤษภาคม 2574
138 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านบริเวณจังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส [26]
4 14 ตุลาคม 2585
144 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านบริเวณจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส [27]

พ.ศ. 2601 ถึง 2700[แก้]

ในช่วง พ.ศ. 2601 ถึง 2700 มีแนวคราสวงแหวนพาดผ่านพื้นที่ของประเทศไทยจำนวนทั้งหมด 5 ครั้ง ได้แก่

ครั้งที่ วันที่และแผนที่ แซรอส หมายเหตุ อ้างอิง
1 27 มกราคม 2617
132 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย และบึงกาฬ [28]
2 24 กรกฎาคม 2617
137 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานี [29]
3 29 ธันวาคม 2646
143 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และนครศรีธรรมราช [30]
4 29 ธันวาคม 2656
134 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี สุโขทัย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง จากนั้นแนวคราสจะพ้นจากพื้นผิวโลกไปบริเวณจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และพิจิตร [31]
5 26 สิงหาคม 2690 147 แนวคราสวงแหวนพาดผ่านบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช [32]

สุริยุปราคาผสม[แก้]

ในช่วงระยะเวลา 400 ปี พื้นที่ที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน มีแนวคราสวงแหวนหรือเต็มดวงของสุริยุปราคาผสมพาดผ่าน 1 ครั้ง ได้แก่

ครั้งที่ วันที่และแผนที่ แซรอส หมายเหตุ อ้างอิง
1 30 มกราคม 2328
137 แนวคราสวงแหวนของสุริยุปราคาผสมพาดผ่านแนวแคบ ๆ ของบริเวณที่เป็นจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และบึงกาฬในปัจจุบัน ส่วนแนวคราสเต็มดวงไม่ผ่านประเทศไทย [33]

สุริยุปราคาบางส่วน[แก้]

ภาพถ่ายสุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนในประเทศไทย (ภาพถ่ายบริเวณมหาวิทยาลัยขอนแก่น)
ภาพถ่ายสุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนในประเทศไทย (ภาพถ่ายบริเวณจังหวัดนนทบุรี)

สุริยุปราคาบางส่วนในปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบเต็มดวง ผสม หรือวงแหวน เกิดขึ้นเนื่องจากผู้สังเกตการณ์อยู่นอกแนวคราส (แนวเงามืด) แต่อยู่ภายใต้รัศมีเงามัว (Penumbra) ทำให้เห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ไม่หมดทั้งดวง จึงเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน หรืออาจเป็นสุริยุปราคาบางส่วนแท้ คือสุริยุปราคาที่เงามืดไม่สัมผัสกับบริเวณใดของพื้นผิวโลกเลย มีเพียงเงามัวที่สัมผัสพื้นผิวโลก ในช่วง 400 ปี พื้นที่ที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันเห็นปรากฏการณ์ลักษณะนี้ 149 ครั้ง แบ่งเป็น

พ.ศ. 2300 ถึง 2400[แก้]

ในช่วง พ.ศ. 2300 ถึง 2400 พื้นที่ของประเทศไทยเห็นสุริยุปราคาบางส่วน 40 ครั้ง ได้แก่

30 ธันวาคม 2301[34] 13 มิถุนายน 2303[35] 24 เมษายน 2305[36] 17 ตุลาคม 2305[37] 13 เมษายน 2306[38]
7 ตุลาคม 2306[39] 30 มกราคม 2309[40] 25 พฤษภาคม 2313[41] 23 มีนาคม 2315[42] 12 มีนาคม 2316[43]
17 ตุลาคม 2324[44] 7 ตุลาคม 2325[45] 17 พฤศจิกายน 2332[46] 16 กันยายน 2335[47] 21 มกราคม 2337[48]
16 กรกฎาคม 2338[49] 10 มกราคม 2338[50] 24 เมษายน 2343[51] 28 สิงหาคม 2345[52] 17 สิงหาคม 2346[53]
10 ธันวาคม 2349[54] 6 มิถุนายน 2350[55] 4 เมษายน 2353[56] 1 กุมภาพันธ์ 2355[57] 17 กรกฎาคม 2357[58]
19 พฤศจิกายน 2359[59] 9 พฤศจิกายน 2360[60] 4 มีนาคม 2363[61] 26 มิถุนายน 2367[62] 26 เมษายน 2370[63]
14 เมษายน 2371[64] 9 ตุลาคม 2371[65] 9 พฤศจิกายน 2379[66] 4 มีนาคม 2382[67] 8 กรกฎาคม 2385[68]
20 ตุลาคม 2389[69] 15 เมษายน 2390[70] 23 กุมภาพันธ์ 2391[71] 12 กุมภาพันธ์ 2392[72] 11 ธันวาคม 2395[73]

พ.ศ. 2401 ถึง 2500[แก้]

ในช่วง พ.ศ. 2401 ถึง 2500 พื้นที่ของประเทศไทยเห็นสุริยุปราคาบางส่วน 28 ครั้ง ได้แก่

21 ธันวาคม 2405 6 พฤษภาคม 2407[74] 18 มิถุนายน 2414[75] 12 ธันวาคม 2414[76] 6 มิถุนายน 2415[77]
19 กรกฎาคม 2422[78] 17 พฤษภาคม 2425[79] 19 สิงหาคม 2430[80] 28 มิถุนายน 2432[81] 17 มิถุนายน 2433[82]
6 เมษายน 2437[83] 22 มกราคม 2440 18 พฤษภาคม 2444 31 ตุลาคม 2445 29 มีนาคม 2445
14 มกราคม 2450 22 ตุลาคม 2454 30 กรกฎาคม 2459 21 กันยายน 2465 14 มกราคม 2469
12 พฤศจิกายน 2471 18 เมษายน 2474 14 กุมภาพันธ์ 2477 21 กันยายน 2484 1 สิงหาคม 2486
14 กุมภาพันธ์ 2496 25 ธันวาคม 2497 30 เมษายน 2500

พ.ศ. 2501 ถึง 2600[แก้]

ในช่วง พ.ศ. 2501 ถึง 2600 พื้นที่ของประเทศไทยเห็นสุริยุปราคาบางส่วน 40 ครั้ง ได้แก่

20 พฤษภาคม 2509 18 มีนาคม 2512 20 มิถุนายน 2517 29 เมษายน 2519 18 เมษายน 2520
16 กุมภาพันธ์ 2523 11 มิถุนายน 2526 23 กันยายน 2530 18 มีนาคม 2531 11 กันยายน 2531
9 มีนาคม 2540 22 สิงหาคม 2541 11 สิงหาคม 2542 10 มิถุนายน 2545 3 ตุลาคม 2548
19 มีนาคม 2550 1 สิงหาคม 2551 26 มกราคม 2552 22 กรกฎาคม 2552 15 มกราคม 2553
20 พฤษภาคม 2555 9 มีนาคม 2559 26 ธันวาคม 2562 21 มิถุนายน 2563 20 เมษายน 2566
2 สิงหาคม 2570 22 กรกฎาคม 2571 1 มิถุนายน 2573 3 พฤศจิกายน 2575 20 มีนาคม 2577
2 กันยายน 2578 26 ธันวาคม 2581 25 ตุลาคม 2584 20 เมษายน 2585 26 มกราคม 2590
2 กันยายน 2592 11 เมษายน 2594 20 มีนาคม 2596 12 กันยายน 2596 5 มกราคม 2600

พ.ศ. 2601 ถึง 2700[แก้]

ในช่วง พ.ศ. 2601 ถึง 2700 พื้นที่ของประเทศไทยเห็นสุริยุปราคาบางส่วน 41 ครั้ง ได้แก่

5 พฤศจิกายน 2602 30 เมษายน 2603 20 เมษายน 2604 3 กันยายน 2605 28 กุมภาพันธ์ 2606
24 สิงหาคม 2606 17 กุมภาพันธ์ 2607 12 กันยายน 2615 3 กันยายน 2624 24 สิงหาคม 2625
22 มิถุนายน 2608 6 ธันวาคม 2609 21 เมษายน 2631 4 ตุลาคม 2632 3 สิงหาคม 2635
27 พฤศจิกายน 2638 22 พฤษภาคม 2639 15 พฤศจิกายน 2639 28 กุมภาพันธ์ 2644 15 กรกฎาคม 2645[84]
4 กรกฎาคม 2646[85] 23 เมษายน 2650[86] 16 ตุลาคม 2650[87] 24 พฤษภาคม 2658[88] 6 ตุลาคม 2659
2 เมษายน 2660[89] 22 มีนาคม 2661[90] 4 กรกฎาคม 2665[91] 14 พฤษภาคม 2667[92] 16 ตุลาคม 2669[93]
1 มีนาคม 2671[94] 15 สิงหาคม 2672[95] 7 ตุลาคม 2678[96] 26 กันยายน 2679[97] 8 มกราคม 2684[98]
25 พฤษภาคม 2685[99] 2 มีนาคม 2690[100] 30 ธันวาคม 2692[101] 25 มิถุนายน 2693[102] 2 เมษายน 2698[103]
5 สิงหาคม 2700[104]

อ้างอิง[แก้]

  1. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1770 MAY 25
  2. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1788 JUNE 04
  3. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1843 DECEMBER 21
  4. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1868 AUGUST 18
  5. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1875 APRIL 06
  6. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1929 MAY 09
  7. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1955 JUNE 20
  8. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1995 OCTOBER 24
  9. NASA : TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 2070 APRIL 11
  10. NASA : TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 2114 JUNE 03
  11. NASA : TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 2143 NOVEMBER 07
  12. NASA : ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1774 SEPTEMBER 06
  13. NASA : ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1785 AUGUST 05
  14. NASA : ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1817 MAY 16
  15. NASA : ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1847 OCTOBER 09
  16. NASA : ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1857 SEPTEMBER 18
  17. NASA : ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1861 JULY 08
  18. NASA : ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1901 NOVEMBER 11
  19. NASA : ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1904 MARCH 17
  20. NASA : ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1933 AUGUST 21
  21. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1944 JULY 20
  22. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1948 MAY 09
  23. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1955 DECEMBER 14
  24. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1958 APRIL 19
  25. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1965 NOVEMBER 23
  26. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2031 MAY 21
  27. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2042 OCTOBER 14
  28. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2074 JANUARY 27
  29. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2074 JULY 24
  30. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2103 DECEMBER 29
  31. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2113 DECEMBER 08
  32. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2147 AUGUST 26
  33. NASA : HYBRID SOLAR ECLIPSE OF 1786 JANUARY 30
  34. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1758 DECEMBER 30
  35. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1760 JUNE 13
  36. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1762 APRIL 24
  37. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1763 OCTOBER 07
  38. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1763 APRIL 13
  39. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1763 OCTOBER 07
  40. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1767 JANUARY 30
  41. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1770 MAY 25
  42. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1773 MARCH 23
  43. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1774 MARCH 12
  44. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1781 OCTOBER 17
  45. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1782 OCTOBER 07
  46. NASA: HYBRID SOLAR ECLIPSE OF 1789 NOVEMBER 17
  47. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1792 SEPTEMBER 16
  48. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1795 JANUARY 21
  49. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1795 JULY 16
  50. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1796 JANUARY 10
  51. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1800 APRIL 24
  52. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1802 AUGUST 28
  53. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1803 AUGUST 17
  54. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1806 DECEMBER 10
  55. NASA: HYBRID SOLAR ECLIPSE OF 1807 JUNE 06
  56. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1810 APRIL 04
  57. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1813 FEBRUARY 01
  58. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1814 JULY 17
  59. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1816 NOVEMBER 19
  60. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1817 NOVEMBER 09
  61. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1821 MARCH 04
  62. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1824 JUNE 26
  63. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1827 APRIL 26
  64. NASA: HYBRID SOLAR ECLIPSE OF 1828 APRIL 14
  65. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1828 OCTOBER 09
  66. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1836 NOVEMBER 09
  67. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1840 MARCH 04
  68. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1842 JULY 08
  69. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1846 OCTOBER 20
  70. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1847 APRIL 15
  71. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1849 FEBRUARY 23
  72. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1850 FEBRUARY 12
  73. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1852 DECEMBER 11
  74. NASA: HYBRID SOLAR ECLIPSE OF 1864 MAY 06
  75. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1871 JUNE 18
  76. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1871 DECEMBER 12
  77. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1872 JUNE 06
  78. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1879 JULY 19
  79. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1882 MAY 17
  80. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 1887 AUGUST 19
  81. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1889 JUNE 28
  82. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 1890 JUNE 17
  83. NASA: HYBRID SOLAR ECLIPSE OF 1894 APRIL 06
  84. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2102 JULY 15
  85. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2103 JULY 04
  86. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2107 APRIL 23
  87. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 2107 OCTOBER 16
  88. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 2115 MAY 24
  89. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2117 APRIL 02
  90. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2118 MARCH 22
  91. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 2122 JULY 04
  92. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 2124 MAY 14
  93. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 2126 OCTOBER 16
  94. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2128 MARCH 01
  95. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2129 AUGUST 15
  96. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 2135 OCTOBER 07
  97. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 2136 SEPTEMBER 26
  98. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 2136 SEPTEMBER 26
  99. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 2142 MAY 25
  100. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 2147 MARCH 02
  101. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2149 DECEMBER 30
  102. NASA: TOTAL SOLAR ECLIPSE OF 2150 JUNE 25
  103. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2155 APRIL 02
  104. NASA: ANNULAR SOLAR ECLIPSE OF 2157 AUGUST 05


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]