สุริยุปราคา 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุริยุปราคา 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538
ประเภท
แกมมา0.3518
ความส่องสว่าง1.0213
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา2 นาที 10 วินาที
พิกัด8°25'0"N, 113°11'18"E
ความกว้างของเงามืด78 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
บดบังมากที่สุด4:33:30
แหล่งอ้างอิง
แซรอส143
บัญชี # (SE5000)9498

สุริยุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้นในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 เป็นการที่ดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเงามืดของดวงจันทร์บนพื้นโลก สุริยุปราคานี้สามารถมองได้ที่อิหร่าน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ เมียนมา กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ลาว จีน ตอนใต้ เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ และรอบมหาสมุทรแปซิฟิก

การสังเกตการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นในประเทศอินเดีย[1] เมื่อเครื่องบินมิก 25 จากกองทัพอากาศอินเดีย และสามารถถ่ายภาพสุริยุปราคาซึ่งไกลได้ถึง 25 กิโลเมตร[2]

ในประเทศไทย[แก้]

ภาพจำลองการเกิดสุริยุปราคา 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538

สุริยุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้นในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ยังสามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย ซึ่งในประเทศไทยสามารถมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา[3] (ก่อนหน้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2476[4]) และเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งล่าสุดที่สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย โดยจังหวัดที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้ชัดเจนในขณะนั้นมี 11 จังหวัด[3] ได้แก่ จังหวัดตาก จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพิจิตร จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสระแก้ว ซึ่งเห็นเต็มดวงนาน 1 นาที 52 วินาที ส่วนจังหวัดอื่นๆ จะเป็นสุริยุปราคาบางส่วน

นอกจากนี้ ยังเกิดปรากฏการณ์ "ลูกปัดเบลลี่" และแสงสว่างคล้ายหัวแหวนซึ่งเรียกว่าปรากฏการณ์ "ไดอมอนด์ริง"[5] ซึ่งเกิดขึ้น 2-3 นาทีก่อนจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง นอกจากนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ณ จังหวัดนครราชสีมา อีกด้วย[3]

กราฟิกการเกิดสุริยุปราคา[แก้]

วัฒนธรรมสมัยนิยม[แก้]

ฟิลล์ วิกเทเกอร์ ได้ประพันธ์หนังสือ Eclipse of the Sun และตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2540

อ้างอิง[แก้]

  1. The MIGnificient Flying Machines - MiG-25R เก็บถาวร 2019-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Bharat Rakshak.com 22 August 2017
  2. Bhatnagar, A; Livingston, William Charles (2005). Fundamentals of Solar Astronomy. World Scientific. p. 157. ISBN 9812382445.
  3. 3.0 3.1 3.2 24 ต.ค.2538 ตะลึง! สุริยุปราคาเต็มดวงในไทย!!
  4. "ย้อนรอย ! ปรากฏการณ์ 'สุริยุปราคา' ในรอบ 100 ปี ที่เคยพาดผ่านประเทศไทยมาแล้วมากกว่า 10 ครั้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-05. สืบค้นเมื่อ 2019-05-20.
  5. "สุริยุปราคาเต็มดวง 24 ต.ค.2538". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-16. สืบค้นเมื่อ 2019-05-20.
สุริยุปราคา
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า:
29 เมษายน 2538
(สุริยุปราคาวงแหวน สุริยุปราคาวงแหวน)

สุริยุปราคา 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538
สุริยุปราคาครั้งถัดไป:
27 เมษายน 2539
(สุริยุปราคาบางส่วน สุริยุปราคาบางส่วน)
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งก่อนหน้า:
3 พฤศจิกายน 2537
สุริยุปราคาเต็มดวง
สุริยุปราคาเต็มดวง
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งถัดไป:
9 มีนาคม 2540