อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส | |
---|---|
ด้านหน้าทิศใต้และบริเวณกลางโบสถ์ของอาสนวิหารน็อทร์-ดามใน ค.ศ. 2017 สองปีก่อนเหตุอัคคีภัย | |
48°51′11″N 2°21′00″E / 48.85306°N 2.35000°E | |
ที่ตั้ง | Parvis Notre-Dame – Place Jean-Paul-II, ปารีส |
ประเทศ | France |
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ | |
ชื่อเดิม | แทนที่อาสนวิหารเอเตียน |
สถานะ | อาสนวิหาร, มหาวิหารรอง |
ก่อตั้ง | 24 มีนาคม ค.ศ. 1163 ถึง 25 เมษายน ค.ศ. 1163 (วางศิลาฤกษ์) |
ผู้ก่อตั้ง | มอริส เดอ ซูว์ลี |
เสกเมื่อ | 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1182 (แท่นบูชาสูง) |
Relics held | มงกุฎหนามศักดิ์สิทธิ์ ตะปูจากกางเขนแท้ และเศษไม้ของกางเขนแท้ |
สถาปัตยกรรม | |
สถานะการใช้งาน | เปิดใหม่ในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2024 |
ประเภทสถาปัตย์ | กอทิก |
รูปแบบสถาปัตย์ | กอทิกแบบฝรั่งเศส |
ปีสร้าง | 1163–1345 |
งานฐานราก | 1163 |
แล้วเสร็จ | 1345 |
โครงสร้าง | |
อาคารยาว | 128 m (420 ft) |
อาคารกว้าง | 48 m (157 ft) |
เนฟสูง | 35 เมตร (115 ฟุต)[1] |
จำนวนหอคอย | 2 |
ความสูงหอคอย | 69 m (226 ft) |
จำนวนยอดแหลม | 1 (อันที่ 3, สร้างเสร็จในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2023)[2] |
ความสูงยอดแหลม | 96 m (315 ft) |
วัสดุ | หินปูนและหินอ่อน |
ระฆัง | 10 (สัมฤทธิ์) |
การปกครอง | |
อัครมุขมณฑล | ปารีส |
นักบวช | |
อัครมุขนายก | Laurent Ulrich |
Rector | Olivier Ribadeau Dumas |
ฆราวาส | |
ผู้อำนวยการเพลง | Sylvain Dieudonné[3] |
นักออร์แกน | Olivier Latry (ตั้งแต่ ค.ศ. 1985); Vincent Dubois (ตั้งแต่ ค.ศ. 2016); Thierry Escaich (ตั้งแต่ ค.ศ. 2024); Thibault Fajoles (ผู้ช่วง assistant, ตั้งแต่ ค.ศ. 2024) |
เกณฑ์ | I, II, IV[4] |
ขึ้นเมื่อ | 1991 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | ปารีส ริมฝั่งแม่น้ำแซน |
เลขอ้างอิง | 600 |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | Cathédrale Notre-Dame de Paris |
ประเภท | Cathédrale |
ขึ้นเมื่อ | 1862[5] |
เลขอ้างอิง | PA00086250 |
อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส[6] (ฝรั่งเศส: Cathédrale Notre-Dame de Paris [nɔtʁ(ə) dam də paʁi] ) เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลปารีส ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และเป็นที่ตั้งคาเทดราของอาร์ชบิชอปแห่งปารีส อาสนวิหารน็อทร์-ดามถือกันว่าเป็นโบสถ์ที่สวยงามที่สุดในลักษณะกอทิกแบบฝรั่งเศส โบสถ์นี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก ผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศส
การก่อสร้างเป็นแบบกอทิก นับเป็นอาสนวิหารแรกที่สร้างในลักษณะนี้ และการก่อสร้างทำต่อเนื่องมาตลอดสมัยกอทิก ประติมากรรม และหน้าต่างประดับกระจกสี (stained glass) มีอิทธิพลจากศิลปะแบบแนทเชอราลลิสม์ ทำให้แตกต่างจากศิลปะโรมาเนสก์ที่สร้างก่อนหน้านั้น
น็อทร์-ดามเป็นหนึ่งในบรรดาสิ่งก่อสร้างแรกที่ใช้ "ครีบยันลอย" ตามแบบเดิมไม่ได้บ่งถึงกำแพงค้ำยันรอบอาสนวิหาร "บริเวณร้องเพลงสวด" หรือ รอบบริเวณกลางโบสถ์ เมื่อเริ่มสร้างกำแพงโบสถ์สูงขึ้นกำแพงเริ่มร้าวเพราะน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง เพราะสถาปนิกสมัยกอทิกจะเน้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่สูง บาง และโปร่ง เมื่อสร้างสูงขึ้นไปกำแพงไม่สามารถรับน้ำหนักและความกดดันของกำแพงและหลังคาได้ทำให้กำแพงโก่งออกไปและร้าว สถาปนิกจึงใช้วิธีแก้ด้วยการเติม "กำแพงค้ำยัน" ที่กางออกไปคล้ายปีกนกด้านนอกตัววัด เพื่อให้กำแพงค้ำยันนี้หนุนหรือค้ำกำแพงตัวโบสถ์เอาไว้ เมื่อทำไปแล้วนอกจากจะมีประโยชน์ทางการใช้สอยแล้วยังกลายเป็นเครื่องตกแต่งที่ทำให้สิ่งก่อสร้างความสวยงามขึ้น ฉะนั้นวิธีแก้ปัญหานี้จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของโบสถ์ที่สร้างแบบกอทิกไปในตัว
ในปี ค.ศ. 1793 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส โบสถ์ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประติมากรรมและศิลปะทางศาสนาถูกทำลายไปมาก อาสนวิหารได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนมีสภาพเหมือนก่อนหน้าที่ถูกทำลาย
เมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2019 เกิดเหตุเพลิงไหม้อาสนวิหาร สร้างความเสียหายอย่างหนัก โดยไฟได้โหมไหม้ตรงด้านบนของอาสนวิหาร (สาเหตุเพลิงไหม้ คาดว่าเกิดมาจากการบูรณะวิหารตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 จนถึงปัจจุบัน) บริเวณยอดแหลมของอาสนวิหารได้พังลง กระจกสีเกี่ยวกับเรื่องราวของพระเยซูและคริสต์ประวัติได้รับความเสียหาย งานศิลปะบางส่วนได้รับความเสียหายเช่นกัน[7][8]
อาร์คบิชอปแห่งปารีส ลอแร็งต์ อุลริช ประกอบพิธีเปิดโบสถ์หลังการบูรณะหลังไฟไหม้ในวันที่ 6 ธันวาคม 2024 โดยมีประธานาธิบดีแอมานุแอล มาครง เข้าร่วม[9] และในวันที่ 8 ธันวาคม มีการจัดพิธีมิสซาอุทิศ ที่มีการประกอบพิธีเสกพระแท่นบูชาใหม่ ตามด้วยการประกอบพิธีมิสซาแก่สาธารณะในวันต่อ ๆ มา[10][11]
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]คริสต์ศตวรรษที่ 4 – มีการสร้างอาสนวิหารนับุญเอเตียนที่อุทิศแด่นักบุญสตีเฟนทางตะวันตกของอาสนวิหารในปัจจุบัน[12]
- ค.ศ. 1163 – บิชอปมอรีส เดิ ซูว์ยีเริ่มสร้างอาสนวิหารใหม่[12]
- ค.ศ. 1182 มุขโค้งด้านสกัด (apse) และบริเวณร้องเพลงสวด (choir) เสร็จ
- ค.ศ. 1196 ตัวโบสถ์เสร็จ บิชอปซูว์ยีถึงแก่อนิจกรรม
- ค.ศ. 1200 เริ่มสร้างด้านตะวันตก
- ค.ศ. 1225 ด้านหน้าโบสถ์ (façade) ทางตะวันตกเสร็จ
- ค.ศ. 1250 หอด้านตะวันตกและหน้าต่างกลมเสร็จ
- ค.ศ. 1250–1345 เสร็จ
- ค.ศ. 1991 อาสนวิหารและสิ่งก่อสร้างจำนวนหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำแซน ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ภายใต้ชื่อ "ปารีส ริมฝั่งแม่น้ำแซน"
- ค.ศ. 2019 เหตุเพลิงไหม้อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่บริเวณหลังคาของอาสนวิหาร
- ค.ศ. 2021 – เริ่มการบูรณะ
- ค.ศ. 2024 – พิธีเปิดใหม่ในวันที่ 7–8 ธันวาคม[13] จากนั้นในวันที่ 13 ธันวาคมปีเดียวกัน มีการคืนเรลิกมงกุฎหนาม[14]
การก่อสร้าง
[แก้]เมื่อปี ค.ศ. 1160 บิชอปมอริส เดอ ซูว์ลี (Maurice de Sully) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งปารีส ท่านเห็นว่าโบสถ์ที่ตั้งอยู่เดิมไม่สมฐานะ จึงสั่งให้รื้อทิ้งไม่นานหลังจากที่ท่านได้รับตำแหน่งใหม่ ตามตำนานว่ากันว่าบิชอปเห็นภาพลักษณ์ของอาสนวิหารแห่งปารีสอันสวยงาม ท่านจึงรีบร่างแบบที่เห็นไว้บนทรายนอกโบสถ์เดิม ก่อนจะสร้างวิหารใหม่ต้องรื้อบ้านเรือนบริเวณนั้นออกไปหลายหลัง และต้องสร้างถนนใหม่เพื่อจะได้สะดวกต่อการขนวัสดุก่อสร้างได้สะดวก
อาสนวิหารเริ่มสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1163 ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ส่วนผู้วางศิลาฤกษ์นั้นไม่แน่ชัด บางหลักฐานว่าบิชอปซุลยีเอง บางหลักฐานว่าสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 เป็นผู้วาง แต่ที่แน่คือทั้งสองคนเข้าร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ และตั้งแต่นั้นมาบิชอปซุลยีอุทิศชีวิตให้กับการสร้างอาสนวิหารนี้
เริ่มการก่อสร้างทางด้านหน้าหรือด้านตะวันตก (west front) ซึ่งมีหอคอยสองหอ เมื่อราวปี ค.ศ. 1200 ก่อนที่จะสร้างโถงกลางของตัวโบสถ์เสร็จ ซึ่งไม่ตรงกับหลักการสร้างสิ่งก่อสร้างตามแบบฉบับ โบสถ์นี้มีสถาปนิกหลายคนที่มีส่วนในการก่อสร้าง จะเห็นได้จากความเปลี่ยนแปลงของรูปทรงไปตามสมัยนิยมของสถาปนิก เป็นต้นว่าหอสองหอทางด้านตะวันตกจะไม่เท่ากัน
ระหว่างปี ค.ศ. 1210 ค.ศ. 1220 สถาปนิกคนที่สี่เป็นผู้ดูแลการสร้างระดับหน้าต่างกลมและโถงภายใต้หอ หอสร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1245 และอาสนวิหารสร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1345
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Watkin, David (1986). A History of Western Architecture. Barrie and Jenkins. p. 134. ISBN 0-7126-1279-3.
- ↑ Libert, Lucien (16 December 2023). "Notre-Dame rooster back on Paris cathedral's spire as renovation enters final stage". Reuters. สืบค้นเมื่อ 23 December 2023.
- ↑ "Musique Sacrée à Notre-Dame de Paris". msndp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2019. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.
- ↑ Centre, UNESCO World Heritage. "Paris, Banks of the Seine". UNESCO World Heritage Centre. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2014. สืบค้นเมื่อ 17 June 2024.
- ↑ Mérimée database 1993
- ↑ ตาม ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส
- ↑ "Paris' Notre Dame Cathedral on fire". CNBC (ภาษาอังกฤษ). 15 April 2019. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.
- ↑ https://www.bbc.com/thai/international-47940254
- ↑ "Paris prepares to host 50 heads of state at high-security reopening of Notre-Dame Cathedral". France 24. 2 December 2024. สืบค้นเมื่อ 6 December 2024.
- ↑ Notre Dame de Paris website, "Reopening Ceremonies". Retrieved 9 December 2024.
- ↑ Notre Dame de Paris website, "Octave of Reopening, December 8−15". Retrieved 9 December 2024.
- ↑ 12.0 12.1 Lours 2018, p. 292.
- ↑ Official website of Notre-Dame de Paris, 25 November 2024
- ↑ AP Contributor (December 13, 2024). "'Crown of Thorns' returns to Notre Dame Cathedral for public veneration". Associated Press. สืบค้นเมื่อ December 13, 2024.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Monument historique – PA00086250". Mérimée database of Monuments Historiques (ภาษาฝรั่งเศส). France: Ministère de la Culture. 1993. สืบค้นเมื่อ 17 July 2011.
- Official website of Notre-Dame de Paris (ในภาษาอังกฤษ) also (ในภาษาฝรั่งเศส)
- Official website of Friends of Notre-Dame de Paris
- Official site of Music at Notre-Dame de Paris (ในภาษาอังกฤษ) also (ในภาษาฝรั่งเศส)
- Notre-Dame de Paris Cathedral Fire
- Further information on the Organ with specifications of the Grandes Orgues and the Orgue de Choeur
- Tridentine Mass celebrated in Notre-Dame in 2017
- Re-opening ceremony for Notre Dame in Paris, 2024 on C-SPAN