ศิลปะโรมาเนสก์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดเซ็นต์ออสเตรมอยน์, อิซัว, ฝรั่งเศส

ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque art) หรือเรียกกันว่า ศิลปะนอร์มัน หมายถึงศิลปะที่เกิดขึ้นในยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 12[1] ศิลปะแบบโรมาเนสก์พื้นฐานของศิลปะกอธิคซึ่งเริ่มมีบทบาทเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษ 13 การศึกษาเรื่องศิลปะยุคกลาง เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ 19 ทำให้มีการจัดแบ่งศิลปะเป็นสมัย ๆ คำว่า โรมาเนสก์ เป็นคำที่ใช้บรรยายศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษ 11 ถึง 12 คำนี้ทั้งมีประโยชน์และทำให้มีความเข้าใจผิด คำนี้มาจากการที่ ช่างปั้นจากประเทศฝรั่งเศสทางใต้ไปจนถึงประเทศสเปนมีความรู้เรื่องอนุสาวรีย์แบบโรมัน แต่ศิลปะแบบโรมาเนสก์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความคิดของศิลปะแบบโรมัน นอกจากเป็นการฟื้นฟูวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน เช่นเสาที่ใช้ในอาราม Saint-Guilhem-le-Désert หัวเสาที่วัดนี้แกะเป็นรูปใบอาแคนธัส (acanthus) ตกแต่งด้วยรอบปรุซึ่งจะพบตามอนุสาวรีย์แบบโรมัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือเพดานวัดที่ Fuentidueña ประเทศสเปนเป็นแบบโค้งเหมือนถังไม้ (barrel vault) ซึ่งใช้กันทั่วไปในสิ่งก่อสร้างของโรมัน แม้จะเน้นความเกี่ยวข้องกับวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน นักประวัติศาสตร์ศิลปะมิได้กล่าวถึงอิทธิพลอื่น ๆ ที่มีต่อศิลปะแบบโรมาเนสก์ เช่นศิลปะทางตอนเหนือของทวีปยุโรป และ ศิลปะไบแซนไทน์ หรือการวิวัฒนาการของศิลปะโรมาเนสก์เอง

ระบบอาราม[แก้]

หัวเสาอาดัมกับอีฟ นคริสต์ศตวรรษที่ 12 (พิพิธภัณฑ์เมืองอาเมียน ฝรั่งเศส

สมัยนั้นระบบอาราม หรือ สำนักสงฆ์ (monasticism) มีความนิยมกันมาก ปัจจัยนี้ทำให้ศิลปะโรมาเนสก์เผยแพร่อย่างรวดเร็ว เพราะมีการสร้างอารามใหม่ขึ้นทั่วไปในทวีปยุโรป ระยะนั้นมีการสถาปนานิกายใหม่ ๆ ขึ้นมากรวมทั้ง นิกายซิสเตอร์เชียน (Cistercian), คลูนิค (Cluniac) และ คาร์ธูเชียน (Carthusian) เมือมีนิกายใหม่ก็มีผู้ติดตาม เมื่อมีผู้ติดตามก็ต้องมีการสร้างอารามใหม่ขึ้นทั่วยุโรป

อารามใหม่นี้นอกจากจะเป็นแหล่งการศึกษาทางศาสนาแล้ว ทางวัดก็ยังมีการคัดหนังสือจากภาษาละติน และกรึก รวมทั้งหนังสือที่แปลมาจากภาษาภาษาอาหรับ ทางวิชาคณิตศาสตร์ และแพทยศาสตร์ หนังสือเหล่านี้แต่ละหน้าจะตกแต่งด้วยลวดลายอย่างหยดย้อยสวยงาม ศิลปะการตกแต่งหนังสือเรียกกันว่าหนังสือวิจิตร

อิทธิพลทางคริสต์ศาสนา[แก้]

โรมาเนสก์เป็นศิลปะที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับคริสต์ศาสนา สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สื่อสารให้คริสตชนได้เห็นถึงแก่นของความเชื่อทางศาสนา จากหน้าจั่วที่มักจะเป็นรูปสลักนูนต่ำของการตัดสินครั้งสุดท้าย (Last Judgment) เนื้อหาและความน่าเกรงขามของฉากนี้ทำให้ผู้เห็นมึความรู้สึกว่ากำลังเข้าสู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อเข้าไปภายในก็จะเห็นภาพเขียนฉากต่าง ๆ จากคัมภีร์ไบเบิลทั่วไปทั้งวัด ไม่ว่าจะเป็นที่ประตู บนเสาหรือผนัง ภาพเขียนโรมาเนสก์มีอิทธิพลโดยตรงมาจากศิลปะแบบไบแซนไทน์ แต่งานของศิลปินโรมาเนสก์จะมีความเป็นนาฏกรรมมากขึ้นและมีความอ่อนช้อยกว่าไบแซนไทน์เห็นได้จากความพริ้วของเสื้อผ้า องค์ประกอบนี้ทำให้ผู้ดูเกิดความสะเทือนทางอารมณ์มากกว่าศิลปะยุคก่อนหน้านั้น

ศิลปะโรมาเนสก์ (พ.ศ. 1540 - 1740)[แก้]

พระแม่มารีและพระบุตร (คริสต์ศตวรรษที่ 12) , วัดเซ็นต์โจน เทรโดส์ ประเทศสเปน

สถาปัตยกรรม เป็นการก่ออิฐฉาบปูน มีหลังคาทรงโค้งกากบาทและมีลักษณะสำคัญ คือ

  1. มีความหนักแน่น ทึบคล้ายป้อมโบราณ
  2. มีโครงสร้างวงโค้งอย่างโรมัน
  3. มีหอสูง 2 หอ หรือมากกว่านั้น
  4. มีช่องเปิด ตามหน้าต่างหรือประตูทำเป็นโครงสร้างวงโค้งวางชิด ๆ กัน
  5. มีหัวคานยื่นออกนอกผนัง เป็นคิ้วตามนอนนอกอาคาร
  6. มีหน้าต่างแบบวงล้อ เป็นรูปวงกลมที่ถูกแบ่งออกเป็นซี่

สำหรับงานศิลปกรรมอื่น ๆ ส่วนมากมักเป็นงานแกะสลักงาช้างขนาดเล็ก ๆ หรือไม่ก็เป็นงานที่เขียนบนหนังสือแบบวิจิตร เรื่องราวของงานศิลปะจะนำมาจากพระคัมภีร์ฉบับเก่าและใหม่ ตำนานโบราณ ชีวประวัตินักบุญ รูปเปรียบเทียบความดีกับความชั่ว หรือลวดลายต่าง ๆ เป็นรูปดอกไม้ และรูปเรขาคณิต

อ้างอิง[แก้]

  1. "ศิลปกรรมโรมาเนสก์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-04. สืบค้นเมื่อ 2007-12-20.

สมุดภาพ[แก้]