ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์

พิกัด: 39°19′44″N 76°37′13″W / 39.32889°N 76.62028°W / 39.32889; -76.62028
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์
คติพจน์Veritas vos liberabit (ภาษาลาติน)
คติพจน์อังกฤษ
The Truth Will Set You Free
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนาค.ศ. 1876 (1876)
สังกัดวิชาการAAU
URA
NAICU
COFHE
ORAU
ทุนทรัพย์6.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2019)[1]
อธิการบดีมหาวิทยาลัยโรนัลด์ เจ. แดเนียลส์
ผู้เป็นประธานSunil Kumar
ผู้ศึกษา26,402
ปริญญาตรี5,615 (Fall 2018): 33 
บัณฑิตศึกษา>20,000: 35 
ที่ตั้ง, ,
สหรัฐ

39°19′44″N 76°37′13″W / 39.32889°N 76.62028°W / 39.32889; -76.62028
หนังสือพิมพ์The Johns Hopkins News-Letter (ก่อตั้ง. ค.ศ.1896)
สีน้ำเงิน, ขาว และดำ[2]
     
ฉายาBlue Jays
เครือข่ายกีฬาNCAA Division III
Centennial Conference, NCAA Division I
Big Ten Conference for men’s and women’s lacrosse
มาสคอต
Blue Jay
เว็บไซต์www.jhu.edu
ห้องสมุดในมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์ (อังกฤษ: Johns Hopkins University ตัวย่อ JHU) หรือเรียกอย่างย่อว่า ฮอปคินส์ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐอเมริกา ริเริ่มก่อตั้งโดยประธานาธิบดี เดวิด คอยต์ กิลแมน ตั้งอยู่ที่เมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) โดยมีการเปิดการเรียนการสอบในหลายระดับ มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีประมาณ 4,500 คน[3] และในระดับสูงกว่าระดับปริญญาตรี 15,000 คน[4]

จอนส์ ฮอปคินส์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่ใช้รูปแบบการจัดการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยในเยอรมนี และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การสัมมนาแทนการสอนโดยการบรรยายเพียงอย่างเดียว รวมทั้งเป็นมหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งแรกที่จัดให้มีวิชาเอก (major) แทนหลักสูตรศิลปศาสตร์ทั่วไป ดังนั้นจอนส์ ฮอปคินส์จึงเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งใน 14 สมาชิกก่อตั้งสมาคมมหาวิทยาลัยอเมริกัน หรือ Association of American Universities

จากสถิติของกองทุนวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) ของสหรัฐอเมริกา จอนส์ ฮอปคินส์เป็นมหาวิทยาลัยที่ครองอันดับ 1 ในด้านการใช้งบประมาณการวิจัยและพัฒนาในสาขาวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นเวลา 30 ปีต่อเนื่องกัน[5]และเป็นสถาบันที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก[6]

จอห์น ฮอปคินส์ มีชื่อเสียงในด้านการแพทย์ สาธารณสุข และ การพยาบาล โดยได้รับการจัดอันดับจากยูเอสนิวส์ในอันดับต้นของประเทศหลายครั้ง นอกจากนั้นจอนส์ ฮอปคินส์ยังมีสถาบันชั้นนำระดับโลกในสาขาอื่น อาทิ สถาบันด้านการดนตรีพีบอดี (Peabody Institute) และด้านการระหว่างประเทศ (The Paul H. Nitze School of Advanced International Studies หรือ SAIS)

จนถึง พ.ศ. 2552 มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์จำนวน 33 คนที่ได้รับรางวัลโนเบล

ความเกี่ยวข้องกับประเทศไทย

[แก้]

การเสด็จฯ เยือนของพระราชวงศ์

[แก้]

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ไปยังมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์ เมืองบัลติมอร์เพื่อทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านมนุษยธรรม (Honorary Doctorate of Human Letters) ในฐานะที่พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ด้วยความวิริยะอุตสาหะเพื่อปวงชนชาวไทย

เมื่อวันที่ 5-9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์ที่เมืองบัลติมอร์ และ School of Advanced International Studies (SAIS) ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อทรงเข้าร่วมการอภิปรายเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศสหรัฐอเมริกาต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับคณาจารย์ของ SAIS นอกจากนั้นยังได้พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ดร. ซบิกนิเยฟ เบรอซินสกี นักวิชาการอาวุโสของ SAIS และอธิการบดีมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์เป็นเจ้าภาพถวายพระกระยาหารค่ำในสองโอกาสด้วย นอกจากนั้น ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปทรงบรรยายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-จีนที่ Hopkins-Nanjing Center เมืองหนานจิง สาธารณรัฐประชาชนจีน

เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จไปยังราชอาณาจักรเนปาล (ในขณะนั้น) เพื่อทรงเยี่ยมชมโครงการวิจัยโภชนาการที่จังหวัดเทราย และเมื่อวันที่ 15-19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศเพื่อทรงเยี่ยมชมโครงการวิจัยด้านสุขภาพแม่และเด็ก ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของคณบดีวิทยาลัยสาธารณสุขศาสตร์บลูมเบิร์กแห่งมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปยังมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์ เพื่อทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายปริญญษดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากนั้นเสด็จฯ ไปยังวิทยาลัยสาธารณสุขศาสตร์เพื่อทรงรับฟังการบรรยายสรุปจากนักวิชาการและทอดพระเนตรบริเวณวิทยาลัย

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ชาวต่างประเทศ

[แก้]

ชาวไทย

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. As of June 30, 2019. "U.S. and Canadian Institutions Listed by Fiscal Year (FY) 2019 Endowment Market Value and Change in Endowment Market Value from FY 2018 to FY 2019". National Association of College and University Business Officers and TIAA. สืบค้นเมื่อ January 31, 2020.
  2. "Color – Johns Hopkins Identity Guidelines". สืบค้นเมื่อ November 14, 2015.
  3. "Facts & Figures, Johns Hopkins University". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-22. สืบค้นเมื่อ 2008-05-30.
  4. http://www.jhu.edu/registrat/reports/fall07/headcount.pdf
  5. http://newswire.ascribe.org/cgi-bin/behold.pl?ascribeid=20091006.062525&time=07%2056%20PDT&year=2009&public=0[ลิงก์เสีย]
  6. http://sciencewatch.com/inter/ins/09/09Top20Overall/

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]