นิกร ดุสิตสิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นิกร ดุสิตสิน

เกิด1 สิงหาคม พ.ศ. 2474 (92 ปี)
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ นิกร ดุสิตสิน เกิด 1 สิงหาคม พ.ศ. 2474 นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2530[1] อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การศึกษา[แก้]

ตำแหน่งในปัจจุบัน[แก้]

  • อาจารย์พิเศษ ภาควิชาสูติศาสตร์-รีเวชวิทยา คณะแพทยสาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ที่ปรึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเพศศาสตร์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประธานชมรมเพศศาสตร์ศึกษา

หน้าที่การงานอดีต[แก้]

  • ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 วาระ
  • สมาชิกในคณะกรรมการองค์การอนามัยโลก หลายคณะและหลายวาระ

เกียรติประวัติและรางวัล[แก้]

  • รางวัลจากสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้รับรางวัลผลงานคิดค้นและสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ รางวัลที 3 ประจำปี พ.ศ. 2522 ในการทำวิจัยเรื่อง“การชันสูตรหลอดอสุจิโดยวิธีย้อมสีไรท์”
  • รางวัลผลงานคิดค้นและสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ รางวัลที 1 ประจำปี พ.ศ. 2528 ในการทำวิจัยเรื่อง “รูปแบบการอบรมพยาบาลห้องผ่าตัดทำหมันหลังคลอด”
  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2530 ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมประจำปี พ.ศ. 2540 “ผลของยาฉีดคุมกำเนิดชนิดเดโปเมดดรอกซีโปรเจสเตอโรนอาซิเตทในการป้องกันการเกิดเนื้องอกมดลูกเปรียบเทียบหลายสถาบัน” ร่วมกับนักวิจัยรวม 12 คน
  • รางวัลที่ 1 เรื่อง “เครื่องคะเนน้ำหนักสำหรับ เด็กแรกเกิดและเด็กอายุ 1-5ขวบ ”
  • รางวัลที่ 1 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับคณะอีก 2 คนในการพัฒนาวิธีการทำหมันแห้งที่เหมาะสมสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
  • รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล-บีบราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย ประจำปี พ.ศ. 2545(Mahidol University – B.Braun Prize 2002) จากผลงานเรื่อง “The Story of Human Reproduction and Family Planning”
  • ผลงานวิจัยดีเด่น ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2525
  • รางวัลผลงานวิจัย “ดีเด่น” เงินทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2528 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ในเรือง “เครื่องมือจุฬาสโคปและการเผยแพร่ผลงานวิจัย” ร่วมกับนักวิจัยรวม 3คน
  • รางวัลสิ่งประดิษฐ์ HardWare ที่ใช้งานกับระบบชีวภาพในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี พ.ศ. 2534 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลงานวิจัย[แก้]

  • งานวิจัยในสาขาสูติศาสตร์ -นรีเวชวิทยาและการวางแผนครอบครัวรวมประมาณ 125 เรื่อง และได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่อง “โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาสุขภาพทางเพศ”โดยเป็นหัวหน้าโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539

ความสำเร็จ[แก้]

  • นโยบายการวางแผนครอบครัว (ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์จรัญพัฒน์ อิศรางกูรฯ)
  • นโยบายเชิงรุก (อารี สมบูรณ์สุข, นิกร ดุสิตสินและ หม่อมหลวงตะวันฉาย ศิริวงศ์)ทำงานอย่างเป็นองค์รวม
    • Reproductive Physiology and Endocrinology Laboratories (WHO Reference Centre) ( ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณมานา บุญคั้นผล )
    • Operations Research ( เทคโนโลยีที่เหมาะสมและบริการสู่ชุมชน )
    • The WHO Inter-Regional Collaborative Research Project for Clinical Evaluation of Fertility Regulating Agents (2515 - 2519)
    • The WHO Collaborating Centre for Research in Human Reproduction “WHO CCR” (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520)

ผลงานการพัฒนาบุคลากร[แก้]

ประกาศเกียรติคุณ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2530[แก้]

ด้วยคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ได้พิจารณาเห็นว่า นายนิกร ดุสิตสิน ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักวิจัยที่ได้อุทิศตนให้กับการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านการวางแผนครอบครัวอย่างต่อเนื่อง มีผลงานวิจัยที่ดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ จนได้รับการยอมรับและยกย่องในวงวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศหลายเรื่อง อาทิ การชันสูตรหลอดอสุจิโดยวิธีย้อมสีไรท์ รูปแบบการอบรมพยาบาลห้องผ่าตัดทำหมันหญิงหลังคลอด วิธีที่เร็วในการวิเคราะห์หาระดับ 5 แอลฟ่าไดไฮโดรเทสทอสเตอโรน โดยวิธีเรดิโออิมมิวโมแอสเสย์ เครื่องมือจุฬาสโคป เป็นต้น ซึ่งผลการวิจัยเหล่านี้มีความสมบูรณ์ทั้งในแง่เนื้อหาวิชาการและด้านวงจรชีวิตจริงในการวางแผนครอบครัว ตลอดจนการนำไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการ จึงนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีบทบาททางด้านสาธารณสุขในการแก้ปัญหาด้านการวางแผนครอบครัว ศาสตราจารย์ นายแพทย์ นิกร ดุสิตสิน เป็นผู้มีจริยธรรมของนักวิจัยที่นับเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักวิจัยผู้อื่น มีความตั้งใจปฏิบัติงานให้ถูกต้องแม่นยำ มีความสามารถทั้งในการวิจัย การสอน และการบริหาร เป็นผู้ที่ได้เผยแพร่ความรู้ทางด้านกระบวนการวิจัยแก่วงการแพทย์และเสริมสร้างบรรยากาศให้นักวิจัยใหม่ๆ

คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ จึงมีมติให้ประกาศเกียรติคุณ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ นิกร ดุสิตสิน เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2530 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๒๗ – ๒๕๕๔ รวม ๑๒ สาขาวิชาการ เก็บถาวร 2013-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นข้อมูลเมื่อ 23 กันยายน 2556
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนกนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๖, ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓๘, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]