ภาษาลัตเวีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาลัตเวีย
เล็ตทิช[1]
latviešu valoda
ออกเสียง[ˈlatviɛʃu ˈvaluɔda]
ประเทศที่มีการพูดลัตเวีย
ภูมิภาคทะเลบอลติก
ชาติพันธุ์ชาวลัตเวีย
จำนวนผู้พูด1.5 ล้านคน[2]  (2023)
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียนละติน (อักษรลัตเวีย)
อักษรเบรลล์ภาษาลัตเวีย
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ ลัตเวีย
 สหภาพยุโรป
รหัสภาษา
ISO 639-1lv
ISO 639-2lav
ISO 639-3lavรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
lvs – ภาษาลัตเวียมาตรฐาน
ltg – ภาษาลัตกาเล
Linguasphere54-AAB-a
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาลัตเวียเป็นภาษาหลักในบ้านใน ค.ศ. 2011 ตามเทศบาลในประเทศลัตเวีย
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาลัตเวีย (เอนดะนิม: latviešu valoda, ออกเสียง [ˈlatviɛʃu ˈvaluɔda] ลัตวิเอชูวาลูออดา)[3] รู้จักกันใน ภาษาเล็ตทิช (Lettish)[4] เป็นภาษาบอลต์ตะวันออกที่อยู่ในสาขาย่อยบอลต์ของสาขาบอลต์-สลาฟ ภายในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน และมีผู้พูดในภูมิภาคบอลติก โดยเป็นภาษาของชาวลัตเวียและภาษาราชการในประเทศลัตเวีย เช่นเดียวกันกับหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป[5] มีผู้พูดภาษาลัตเวียเป็นภาษาแม่ประมาณ 1.2 ล้านคนในประเทศลัตเวีย และ 100,000 คนที่ต่างประเทศ รวมทั้งหมดได้ 2 ล้านคน หรือร้อยละ 80 ของประชากรลัตเวียที่พูดภาษาลัตเวียในคริสต์ทศวรรษ 2000 ก่อนที่จำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศเพิ่มขึ้นถึง 1.8 ล้านคนใน ค.ศ. 2022[6] ในจำนวนนั้น ประมาณ 1.16 ล้านคนหรือร้อยละ 62 ของประชากรลัตเวียใช้ภาษานี้เป็นภาษาหลักที่บ้าน แม้ว่าไม่รวมภูมิภาคลัตกาเลกับรีกาที่ประชากรมากกว่าร้อยละ 90 ใช้ภาษานี้เป็นภาษาแม่ในหมู่บ้านและเมือง[7][8][9]

ภาษาลัตเวีย ในฐานะภาษาบอลต์ มีความใกล้ชิดกับภาษาลิทัวเนียเพื่อนบ้านมากที่สุด (เช่นเดียวกันกับภาษาปรัสเซียเก่า ภาษาบอลต์ที่สูญหายแล้ว) อย่างไรก็ตาม ภาษาลัตเวียมีการพัฒนาที่รวดเร็วยิ่งขึ้น[10] นอกจากนี้ ยังมีความขัดแย้งบางส่วนว่า ภาษา Latgalian กับ Kursenieki ที่สามารถเข้าใจร่วมกันกับภาษาลัตเวีย[11] ควรเป็นวิธภาษาหรือภาษาต่างหาก[12]

อักขรวิธี[แก้]

ภาษาลัตเวียในอักษรละตินตอนแรกอิงตามอักขรวิธีเยอรมัน ในขณะที่ชุดตัวอักษรในภาษาย่อย Latgalian อิงจากอักขรวิธีโปแลนด์ จากนั้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงแทนที่ด้วยอักขรวิธีที่ตรงตามเสียงทางสัทวิทยามากกว่าเดิม

อักขรวิธีมาตรฐาน[แก้]

ปัจจุบัน อักขรวิธีมาตรฐานลัตเวียมีอักษรทั้งหมด 33 ตัว:

ตัวพิมพ์ใหญ่
A Ā B C Č D E Ē F G Ģ H I Ī J K Ķ L Ļ M N Ņ O P R S Š T U Ū V Z Ž
ตัวพิมพ์เล็ก
a ā b c č d e ē f g ģ h i ī j k ķ l ļ m n ņ o p r s š t u ū v z ž

ชุดตัวอักษรลัตเวียมาตรฐานสมัยใหม่ใช้ชุดตัวอักษรละตินที่ไม่ดัดแปลง 22 ตัว (ยกเว้นอักษร ⟨q, w, x, y⟩) แล้วเพิ่มอักษรดัดแปลงอีก 11 ตัว อักษรสระ a, e, i และ u สามารถใช้สัญลักษณ์ macron เพื่อแสดงความยาวสระ โดยอักษรที่ไม่มีสัญลักษณ์นี้ถือเป็นสระเสียงสั้น แต่เวลาเรียงตัวอักษรจะไม่แยกกัน (เช่นในพจนานุกรม) อักษร c, s และ z ออกเสียงเป็น [ts], [s] และ [z] ตามลำดับ ในขณะที่อักษรเดียวกันที่มีสัญลักษณ์ caron ⟨č, š, ž⟩ ออกเสียงเป็น [tʃ], [ʃ] และ [ʒ] ตามลำดับ อักษร ⟨ģ, ķ, ļ, ņ⟩ ที่เขียนพร้อมสัญลักษณ์จุลภาคข้างใต้อักษร (หรือข้างบนสำหรับอักษร g ตัวพิมพ์เล็ก) ซึ่งระบุรูปเสียงใช้เพดานแข็งของ ⟨g, k, l, n⟩ แทนเสียง [ɟ], [c], [ʎ] และ [ɲ] อักขรวิธีลัตเวียยังมีทวิอักษร 9 ตัว ประกอบด้วย ⟨ai, au, ei, ie, iu, ui, oi, dz, dž⟩ ส่วนวิธภาษาลัตเวียไม่มาตรฐานเพิ่มอักษรพิเศษลงในชุดอักษรมาตรฐานนี้

เปรียบเทียบอักขรวิธี[แก้]

ตัวอย่างจากคำอธิษฐานขององค์พระผู้เป็นเจ้าในภาษาลัตเวียเขียนในแบบต่าง ๆ:

อักขรวิธีแรก
(Cosmographia Universalis, ค.ศ. 1544)
อักขรวิธีเก่า, ค.ศ. 1739[13] อักขรวิธีสมัยใหม่ แบบอินเทอร์เน็ต
Muuſze Thews exkan tho Debbes Muhſu Tehvs debbeſîs Mūsu tēvs debesīs Muusu teevs debesiis
Sweetyttz thope totws waerdtcz Swehtits lai top taws wahrds Svētīts lai top tavs vārds Sveetiits lai top tavs vaards
Enaka mums touwe walſtibe Lai nahk tawa walſtiba Lai nāk tava valstība Lai naak tava valstiiba
Tows praetcz noteſe Taws prahts lai noteek Tavs prāts lai notiek Tavs praats lai notiek
ka exkan Debbes tha arridtczan wuerſſon ſemmes kà debbeſîs tà arirdſan zemes wirsû Kā debesīs, tā arī virs zemes Kaa debesiis taa arii virs zemes
Muſze beniſke mayſe bobe mums ſdjoben Muhsu deeniſchtu maizi dod mums ſchodeen Mūsu dienišķo maizi dod mums šodien Muusu dienishkjo maizi dod mums shodien
Vnbe pammet mums muſſe parrabe Un pametti mums muhſu parradus [later parahdus] Un piedod mums mūsu parādus Un piedod mums muusu paraadus
ka mehs pammettam muſſims parabenekims kà arri mehs pamettam ſaweem parrahdneekeem Kā arī mēs piedodam saviem parādniekiem Kaa arii mees piedodam saviem paraadniekiem
Vnbe nhe wedde mums exkan kaerbenaſchenne Un ne eeweddi muhs eekſch kahrdinaſchanas Un neieved mūs kārdināšanā Un neieved muus kaardinaashanaa
Seth atpeſthmums no to loune bet atpeſti muhs no ta launa [later łauna] Bet atpestī mūs no ļauna Bet atpestii muus no ljauna
Aefto thouwa gir ta walſtibe Jo tew peederr ta walſtiba Jo tev pieder valstība Jo tev pieder valstiiba
Vnbe tas ſpeez vnb tas Goobtcz tur muſſige. Un tas ſpehks un tas gods muhſchigi [later muhzigi]. Spēks un gods mūžīgi. Speeks un gods muuzhiigi.
Amen. Amen. Āmen. Aamen.

อ้างอิง[แก้]

  1. "Lettish". TheFreeDictionary.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  2. Valsts valoda
  3. Prauliņš (2012), p. 1
  4. Prauliņš (2012), p. 1
  5. "EU official languages". European-union.europa.eu. สืบค้นเมื่อ 1 August 2022.
  6. "Dažādu tautu valodu prasme". vvk.lv (ภาษาลัตเวีย).
  7. "At Home Latvian Is Spoken by 62% of Latvian Population; the Majority – in Vidzeme and Lubāna County" (ภาษาอังกฤษ). Central Statistical Bureau of Latvia. 26 September 2013. สืบค้นเมื่อ 30 October 2014.
  8. "Latvian Language Is Spoken by 62% of the Population" (ภาษาอังกฤษ). Baltic News Network. 26 September 2013. สืบค้นเมื่อ 30 October 2014.
  9. Žemaitis, Augustinas. "Languages". OnLatvia.com. สืบค้นเมื่อ 1 August 2022.
  10. Dahl, Östen; Koptjevskaja-Tamm, Maria, บ.ก. (2001). The Circum-Baltic Languages (ภาษาอังกฤษ). John Benjamins Publishing. ISBN 9027230579. OCLC 872451315.
  11. "How Latgale chose to join Latvia". Public Broadcasting of Latvia. 2 May 2017. สืบค้นเมื่อ 27 October 2017. The Latgalian language falls within the High Latvian dialect and is of course mutually intelligible with the other dialects.
  12. "Latgalian Language in Latvia: Between Politics, Linguistics and Law". International Centre for Ethnic and Linguistic Diversity. 30 March 2018. สืบค้นเมื่อ 6 August 2018.
  13. BIBLIA, published Riga, 1848 (reprint), original edition 1739; "modern" old orthographies published into the 20th century do not double consonants

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]