ภาษาซองคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาซองคา
ภาษาภูฏาน
རྫོང་ཁ་
ประเทศที่มีการพูดประเทศภูฏาน
ชาติพันธุ์ชาวภูฏาน
จำนวนผู้พูด171,080  (2013)[1]
รวม: 640,000[2]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาถิ่น
อาดัป
ระบบการเขียนอักษรทิเบต
อักษรเบรลล์ซองคา
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศภูฏาน ภูฏาน
ผู้วางระเบียบDzongkha Development Commission
รหัสภาษา
ISO 639-1dz
ISO 639-2dzo
ISO 639-3dzoรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
lya – ลายา
luk – ลูนานา
adp – อาดัป
Linguasphere70-AAA-bf
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาซองคาในอำเภอของประเทศภูฏานเป็นสีเหลือง
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาซองคา (རྫོང་ཁ་สัทอักษรสากล: [dzoŋ.kʰa])เป็นภาษาประจำชาติของภูฏาน[3] อยู่ในตระกูลจีน-ทิเบต สาขาทิเบต-พม่า ใกล้เคียงกับภาษาสิกขิมและภาษาอื่น ๆ ของชาวภูฏาน ระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาทิเบตสมัยใหม่ เทียบได้กับความแตกต่างระหว่างภาษาสเปนกับภาษาอิตาลี พระในทิเบตและภูฏาน เรียนภาษาทิเบตโบราณเพื่อการอ่านคัมภีร์พุทธศาสนา คำว่าซองคาหมายถึง ภาษา (คา) ที่พูดในวัดที่มีลักษณะเป็นป้อมปราการ (ซอง) ภาษานี้แพร่เข้ามาในภูฏานเมื่อราว พ.ศ. 2200 โดย ชับดรุง งาวัง นัมกเยล

ภาษาซองคาและภาษาถิ่นอื่น ๆ เป็นภาษาแม่ของภูฏานตะวันตก มีผู้พูดภาษานี้ในเมืองกาลิมปงของอินเดียที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของภูฏาน แต่ปัจจุบันอยู่ในรัฐเบงกอลตะวันตก ภาษาซองคาเป็นภาษาที่ใช้ในโรงเรียน เป็นภาษากลางในภูฏานตอนใต้และตะวันออกที่ไม่ได้ใช้ภาษานี้เป็นภาษาแม่ เขียนด้วยอักษรทิเบต หนังสือพิมพ์ด้วยอักษรทิเบตแบบอูคันซึ่งเป็นแบบเดียวที่ใช้พิมพ์ภาษาทิเบต

ตัวอย่าง[แก้]

นี่คือตัวอย่างประโยคในข้อที่ 1 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน:

ภาษาซองคาในอักษรทิเบต

༄༅། །འགྲོ་བ་མི་རིགས་ག་ར་དབང་ཆ་འདྲ་མཉམ་འབད་སྒྱེཝ་ལས་ག་ར་གིས་གཅིག་གིས་གཅིག་ལུ་སྤུན་ཆའི་དམ་ཚིག་བསྟན་དགོས།

ทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน

’Gro-ba-mi-rigs-ga-ra-dbaṅ-cha-’dra-mtam-’bad-sgyew-las-ga-ra-gis-gcig-gis-gcig-lu-spun-cha’i-dam-tshig-bstan-dgo.[4]

แปล

มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ภาษาซองคา ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    ลายา ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    ลูนานา ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    อาดัป ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. "How many people speak Dzongkha?". languagecomparison.com. สืบค้นเมื่อ 2018-03-15.
  3. "Constitution of the Kingdom of Bhutan. Art. 1, § 8" (PDF). Government of Bhutan. 2008-07-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 2011-01-01.
  4. "Universal Declaration of Human Rights (Article 1) in Sino-Tibetan languages". omniglot.com.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

คำศัพท์[แก้]

ไวยากรณ์[แก้]