พระราชบัญญัติธงชาติและเพลงชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชบัญญัติธงชาติและเพลงชาติ
国旗及び国歌に関する法律
ตามที่ประกาศในกิจจานุเบกษา (13 สิงหาคม ค.ศ. 1999)
ให้สัตยาบัน13 สิงหาคม ค.ศ. 1999
ที่ตั้งประเทศญี่ปุ่น
วัตถุประสงค์ให้สัตยาบันธงชาติและเพลงชาติแห่งญี่ปุ่น

พระราชบัญญัติธงชาติและเพลงชาติ (ญี่ปุ่น: 国旗及び国歌に関する法律โรมาจิKokki Oyobi Kokka ni Kansuru Hōritsu, ย่อเป็น 国旗国歌法[1]) เป็นกฎหมายที่รับรองธงชาติและเพลงชาติของญี่ปุ่น ก่อนการให้สัตยาบันในวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1999 ประเทศญี่ปุ่นไม่มีธงชาติหรือเพลงชาติอย่างเป็นทางการ ธงนิชโชกิ (日章旗, nisshōki) ซึ่งมักเรียกว่า "ธงฮิโนมารุ" (日の丸, hinomaru)[2] เป็นสัญลักษณ์แทนประเทศญี่ปุ่นอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่ ค.ศ. 1870 ขณะที่การใช้ "คิมิงาโยะ" (君が代, kimigayo) เป็นเพลงชาติโดยพฤตินัยนั้นเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1880

หลังการพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง มีการเสนอแนะให้ตรากฎหมายให้ฮิโนมารุ และคิมิงาโยะ เป็นสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม การตรากฎหมายดังกล่าวไม่ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติจากการคัดค้านของสหภาพครูญี่ปุ่น (Japan Teachers Union) ที่ยืนกรานว่าฮิโนมารุ และคิมิงาโยะ มีความสัมพันธ์กับลัทธิทหารญี่ปุ่น หลังการกระทำอัตนิบาตกรรมของผู้อำนวยการโรงเรียนในฮิโรชิมะต่อข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้ธงชาติและเพลงชาติในพิธีโรงเรียน มีการเสนอให้รับรองทั้งฮิโนมารุ และคิมิงาโยะ อย่างเป็นทางการ

หลังการลงมติของทั้งสองสภา สภานิติบัญญัติผ่านกฎหมายรับรองธงชาติและเพลงชาติในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1999 ประกาศและใช้บังคับในวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1999 กฎหมายนี้ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในกฎหมายที่ผ่านโดยสภานิติบัญญัติซึ่งมีการโต้แย้งเป็นอย่างมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 อีกทั้งการถกเถียงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายยังทำให้เกิดการแตกแยกของผู้นำพรรคฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (DPJ) และความปรองดองของพรรคฝ่ายรัฐบาล พรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) และพรรคร่วมรัฐบาล

มีทั้งปฏิกิริยาที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในบทบัญญัติของกฎหมาย แม้ว่าชาวญี่ปุ่นบางส่วนเห็นด้วยในบทบัญญัติ ผู้คนอีกส่วนรู้สึกว่าบทบัญญัติเป็นการเปลี่ยนแปลงสู่การกลับคืนของความรู้สึกและวัฒนธรรมชาตินิยม กล่าวคือ สภานิติบัญญัติผ่านกฎหมายนี้พอดีกับการเฉลิมฉลองการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิอากิฮิโตะ ในบรรดาประเทศที่ญี่ปุ่นยึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง บางส่วนรู้สึกว่าบทบัญญัติของกฎหมายและการถกเถียงเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการทหารและศาลเจ้ายาซูกูนิเป็นเครื่องหมายบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงในประเทศญี่ปุ่นสู่การเมืองฝั่งขวา อีกทั้งมีการคัดค้านในชั้นศาลโดยชาวญี่ปุ่นบางส่วนของข้อบังคับและคำสั่งรัฐบาลที่ออกตามการประกาศของกฎหมายนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ออกโดยคณะกรรมาธิการการศึกษาโตเกียว ผู้ฟ้องร้องมองว่ากฎหมายนี้ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น[3][4]

ตัวบทพระราชบัญญัติ[แก้]

พระราชบัญญัติธงชาติและเพลงชาติรับรองนิชโชกิให้เป็นธงชาติและคิมิงาโยะ เป็นเพลงชาติ รายละเอียดของทั้งสองปรากฏอยู่ในภาคผนวก รวมถึงข้อกำหนดในการพิมพ์ธงและแผ่นโน้ตเพลงคิมิงาโยะ กฎหมายไม่มีบทบัญญัติสำหรับการใช้หรือการดูแลรักษาไม่ให้สัญลักษณ์ทั้งสองเสื่อมไป[5] เป็นเหตุให้หน่วยงานและกระทรวงต่าง ๆ ในระดับชาติและระดับจังหวัดต่างออกข้อบังคับเป็นของตนเอง[6][7][8] หากมีการบรรจุกฎเกี่ยวกับการใช้ธงชาติและเพลงชาติในพระราชบัญญัติ จะส่งผลให้ไม่ได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอในการผ่านกฎหมายในสภานิติบัญญัติ[9]

บทบัญญัติของธงชาติ[แก้]

ธงชาติมีอัตราส่วนสองในสาม เส้นผ่านศูนย์กลางของพระอาทิตย์คือสามส่วนห้าของความยาวธง พระอาทิตย์จัดวางไว้ตรงกลางพอดี
แผนภาพแสดงการวางและขนาดสัดส่วนขององค์ประกอบต่าง ๆ ของธง

การวาดและการพิมพ์รายละเอียดต่าง ๆ ของธงให้ไว้ในภาคผนวกแรก อัตราส่วนทั้งหมดของธงคือ ความยาว 2 หน่วยต่อความกว้าง 3 หน่วย (2:3) วงกลมรูปจานมีเส้นผ่านศูนย์กลางสามส่วนห้าของความสูงธงอยู่ตรงกลางของธงพอดี[2][10] อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติอนุญาตให้ใช้และพิมพ์ธงที่ปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องโดยมีสัดส่วนย่อลงตามประกาศนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 54 ใน ค.ศ. 1870 ซึ่งกำหนดให้ธงมีอัตราส่วนเจ็ดต่อสิบ (7:10) และวงกลมรูปจานสีแดงห่างออกจากจุดศูนย์กลางหนึ่งส่วนร้อยของความยาวธงไปยังทางด้านที่ติดกับเสาธง (hoist)[11] พื้นหลังของธงเป็นสีขาว และวงกลมรูปจานสีแดง แต่สีต่างค่า​ (color shade) ที่แน่นอนไม่ได้ระบุไว้ในพระราชบัญญัติ[5] คำอธิบายเพิ่มเติมจากรัฐบาลมีเพียงว่าสีแดงนั้นอยู่ในสีต่างค่าที่เข้มกว่าเท่านั้น[12] ข้อกำหนดที่เผยแพร่โดยกระทรวงป้องกันประเทศใน ค.ศ. 2008 นั้นกำหนดค่าต่างสีของสีแดงในธงชาติ[13] ระหว่างการพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติเกี่ยวกับร่างกฎหมายนี้ มีการเสนอแนะให้เลือกใช้ค่าต่างสีแดงจ้า (赤色, aka iro) หรือเลือกจากถาดสี (color pool) ของมาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น[14]

บทบัญญัติของเพลงชาติ[แก้]

เนื้อร้องและโน้ตเพลงของเพลงชาติให้ไว้ในภาคผนวกที่สอง ตัวบทพระราชบัญญัติไม่ได้ให้กิตติประกาศบุคคลผู้ประพันธ์เนื้อร้องหรือเพลงใดเลยแม้แต่คนเดียว แต่โน้ตเพลงให้กิตติประกาศแก่ ฮิโรโมริ ฮายาชิ สำหรับการเรียบเรียงดนตรี[5] อย่างไรก็ตาม หลักฐานชี้ให้เห็นว่า โยชิอิซะ โอกุ และ อากิโมริ ฮายาชิ (บุตรชายของฮิโรโมริ) เป็นผู้ประพันธ์ดนตรี โดยฮิโรโมริใส่ชื่อของเขาลงไปในโน้ตเพลงในฐานะผู้กำกับดูแลของทั้งสองและในฐานะสมุหกรมสังคีตของราชสำนัก[15] มีการประพันธ์ทำนองเสียงประสานแบบอย่างตะวันตกโดย ฟรันทซ์ เอ็กเกิร์ต และนำมาใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1880[16] เนื้อเรื้องบนโน้ตเพลงเขียนด้วยอักษรฮิรางานะและไม่มีการกล่าวถึงเทมโปสำหรับการเรียบเรียงเสียง เพลงชาติเล่นในโหมดโดเรียนด้วยจังหวะซีเต็ม (4/4)[5]

ฮิโนมารุ และ คิมิงาโยะ ก่อน ค.ศ. 1999[แก้]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ ที่ 16 ของยุคเซ็งโงกุ มีการนำฮิโนมารุ มาใช้อย่างแพร่หลายบนธงกองทัพ[17] ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1870 (27 มกราคม ปีที่สามของเมจิตามปฏิทินญี่ปุ่น) ซึ่งอยู่ในช่วงการฟื้นฟูพระราชอำนาจสมัยเมจิ ประกาศคณะรัฐมนตรีที่ 57 กำหนดให้ฮิโนมารุ เป็นธงเรือราษฎร์ ฮิโนมารุ เป็นธงชาติตามกฎหมายตั้งแต่ ค.ศ. 1870 ถึง ค.ศ. 1885 แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดธงชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1885 ถึง ค.ศ. 1999 เนื่องจากการทำให้เป็นสมัยใหม่ (modernization) ของคณะรัฐมนตรี ส่งผลให้มีการยกเลิกประกาศก่อนหน้าต่าง ๆ ที่ออกโดยสภาอำมาตย์ (太政官, daijō-kan)[18] อย่างไรก็ตาม ธงทหารของประเทศญี่ปุ่นหลายธงมีการออกแบบที่อิงมาจากฮิโนมารุ รวมถึงธงราชนาวีฉายแสงพระอาทิตย์[19][20] มีการนำฮิโรมารุ มาใช้เป็นแม่แบบของธงญี่ปุ่นอื่น ๆ[21] และมีการสั่งห้ามการใช้ฮิโนมารุ ในช่วงต้นปีของการยึดครองของอเมริกันหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดดังกล่าวถูกผ่อนคลายในเวลาต่อมา[22][23]

คิมิงาโยะ เป็นหนึ่งในเพลงชาติที่สั้นที่สุดของโลก โดยมีความยาว 11 หน่วยวัดและ 32 อักขระ เนื้อเพลงเขียนขึ้นตามบทกวีวากะที่แต่งในยุคเฮอัง (ค.ศ. 794–1185) และร้องตามทำนองที่เรียบเรียงในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868–1912) ใน ค.ศ. 1869 จอห์น วิลเลียม เฟนตัน หัวหน้าวงดุริยางค์ทหารไอริช ตระหนักได้ว่าประเทศญี่ปุ่นยังไม่มีเพลงชาติเป็นของตนเอง จึงเสนอแนะ อิวาโอะ โอยามะ สมาชิกตระกูลซัตสึมะ ว่าควรมีการแต่งเพลงชาติขึ้น โอยามะตกลงตามคำเสนอแนะและเลือกเนื้อร้องที่จะใช้ในเพลงชาติ[24]

เนื้อร้องของเพลงชาติอาจถูกเลือกให้มีความคล้ายคลึงกับเพลงชาติอังกฤษเนื่องจากอิทธิพลของเฟนตัน[15] หลังจากเนื้อร้องแล้ว โอยามะขอให้เฟนตันประพันธ์ทำนอง นี่คือฉบับแรกของคิมิงาโยะ ซึ่งไม่ได้นำมาใช้เพราะทำนอง "ขาดความเคร่งครึม"[25][26] ใน ค.ศ. 1880 สำนักพระราชวังหลวงประพันธ์ทำนองคิมิงาโยะ ในปัจจุบัน และรัฐบาลกำหนดให้คิมิงาโยะ เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1888[27] จวบจนถึง ค.ศ. 1893 มีการนำคิมิงาโยะ มาใช้ในพิธีการโรงเรียนรัฐบาลหลังความพยายามของกระทรวงศึกษาธิการ[9] ระหว่างการยึดครองญี่ปุ่นของอเมริกัน ผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ได้ออกแนวทางใด ๆ ต่อการห้ามใช้คิมิงาโยะ ของรัฐบาลญี่ปุ่น[28] อย่างไรก็ตาม มีเพียงแค่การเล่นทำนองบทประพันธ์โดยไม่มีการร้องเนื้อเพลงในพิธีทางการเท่านั้น[29]

พื้นหลังของการตรากฎหมาย[แก้]

การกระทำอัตวินิบาตกรรมของผู้อำนวยการโรงเรียนในจังหวัดฮิโรชิมะที่ไม่สามารถแก้ไขข้อพิพาทระหว่างคณะกรรมการโรงเรียนกับคณะครูกรณีการใช้ฮิโนมารุ และ คิมิงาโยะ สร้างแรงผลักดันในการเสนอร่างกฎหมาย[30] ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเซระในเซระ อิชิกาวะ โทชิฮิโระ กระทำอัตวินิบาตกรรมในช่วงเย็นก่อนพิธีสำเร็จการศึกษาของเขา[31] คณะกรรมการโรงเรียนจังหวัดฮิโรชิมะร้องขอให้ผู้อำนวยการโรงเรียนทุกคนรับรองการใช้สัญลักษณ์ทั้งสองในทุกพิธีของโรงเรียน แต่คณะครูที่โรงเรียนมัธยมศึกษาเซระต่อต้านการปฏิบัติเช่นนี้อย่างขันแข็ง[32][33] อิชิกาวะกระทำอัตวินิบาตกรรมหลังไม่สามารถเอาชนะเสียงสนับสนุนให้แก่คณะครูในปัญหานี้ได้[33]

การกระทำอัตวินิบาตกรรมของอิชิกาวะร่วมด้วยการประท้วงโดยคณะครูในระหว่างพิธีสำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมศึกษาเซระทำให้นายกรัฐมนตรี เคโซ โอบูจิ จากพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) เริ่มร่างกฎหมายเพื่อทำให้ ฮิโนมารุ และ คิมิงาโยะ เป็นสัญลักษณ์แห่งชาติของญี่ปุ่น[34] เขาตั้งใจจะให้มีการริเริ่มใช้กฎหมายนี้ใน ค.ศ. 2000 แต่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ฮิโรมุ โนนากะ อยากให้ใช้บังคับภายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999 ซึ่งตรงกับช่วงการขึ้นครองราชย์สิริราชสมบัติครบ 10 ปีของจักรพรรดิอากิฮิโตะ[35]

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการเสนอร่างกฎหมายให้ฮิโนมารุและ คิมิงาโยะ เป็นสัญลักษณ์ทางการ หลังการคืนจังหวัดโอกินาวะแก่ญี่ปุ่นอีกครั้งใน ค.ศ. 1972 และวิกฤตการณ์น้ำมันทั่วโลก ค.ศ. 1973 นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ทานากะ คากูเออิ ให้ไว้เป็นนัยในบทบัญญัติของกฎหมายว่าเขาจะทำให้ทั้งสองสัญลักษณ์นั้นถูกกฎหมายซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อเพิ่มความนิยมของเขาในหมู่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอนุรักษ์นิยมโดยเฉพาะ[36][37] หลังการเสนอของเขา สหภาพครูญี่ปุ่นต่อต้านการใช้เพลงชาติเพราะมัน "คล้ายคลึงกับการสักการะจักรพรรดิ"[36] และถูกมองว่าเป็นการเชื่อมโยงกับแสนยนิยมช่วงก่อนสงคราม แม้ว่าอัตราการอ่านออกเขียนได้ในญี่ปุ่นอยู่ที่ 99% ในขณะนั้น นักเรียนหลายคนไม่รู้ว่า คิมิงาโยะ คืออะไรหรือควรร้องอย่างไร นอกจากการให้โรงเรียนสอนและเล่นเพลง คิมิงาโยะ คากูเออิต้องการนักเรียนเชิญธงชาติขึ้นและอ่านพระราชหัตถเลขาว่าด้วยการศึกษาที่เขียนโดยจักรพรรดิเมจิใน ค.ศ. 1890 ทุกเช้า[36] คากูเออิไม่สำเร็จในการผ่านร่างกฎหมายผ่านสภานิติบัญญัติ[38]

จุดยืนของพรรคการเมือง[แก้]

สนับสนุน[แก้]

พรรคอนุรักษ์นิยมแนวหน้าของญี่ปุ่นอย่าง พรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) และ พรรคเสรีนิยม เป็นผู้สนับสนุนหลักของร่างกฎหมาย ค.ศ. 1999 เลขาธิการพรรค โยชิโร โมริ กล่าวในเดือนมิถุนายนปีนั้นว่าชาวญี่ปุ่นได้ยอมรับทั้ง ฮิโนมารุ และ คิมิงาโยะ เป็นสัญลักษณ์แห่งชาติ หัวหน้าพรรคเสรีนิยม อิจิโร โอซาวะ กล่าวแสดงความเห็นเช่นเดียวกันกับโมริและเชื่อว่ารัฐสภาไม่สามารถสรุปเป็นอื่นได้[9] พรรคโคเมใหม่ (หรือเป็นที่รู้จักว่าพรรครัฐบาลสะอาด; CGP) ที่แต่แรกระแวดระวังข้อต่าง ๆ เกี่ยวกับร่างกฎหมายนี้ แต่ผู้นำพรรคบางส่วนยอมรับถึงข้อเท็จจริงว่าทั้งสองสัญลักษณ์นั้นเป็นที่เห็นชอบโดยประชาชน พวกเขาเชื่อว่าการทำให้ความคิดกลายเป็นกฎหมายนั้นอาจเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น ท้ายที่สุด พรรครัฐบาลสะอาดสนับสนุนร่างกฎหมายนี้เพื่อให้ได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาลของพรรคเสรีประชาธิปไตย[39]

คัดค้าน[แก้]

พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยม (SDPJ) และ พรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น (CPJ) คัดค้านร่างกฎหมายเพราะทั้งสองสัญลักษณ์แฝงความหมายโดยนัยถึงยุคสงครามและประชาชนไม่ได้รับตัวเลือกให้ยุติปัญหาผ่านการลงประชามติ[35] หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่นกล่าวว่า พรรคจะพึงพอใจกว่าหากมีสัญลักษณ์ใหม่ที่จะแทนประเทศญี่ปุ่นที่เป็นประชาธิปไตยและสงบสุข[9] จุดยืนเดิมที่มีต่อสัญลักษณ์ทั้งสองของพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมเปลี่ยนจากคัดค้านเป็นสนับสนุน เนื่องด้วย นายกรัฐมนตรี โทมิอิจิ มูรายามะ หัวหน้าพรรคสังคมนิยมญี่ปุ่น (ชื่อเดิมของพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยม) ยอมรับให้ทั้ง ฮิโนมารุ และ คิมิงาโยะ เป็นสัญลักษณ์ของญี่ปุ่นเพื่อแลกเปลี่ยนกลับการสนับสนุนจากพรรคเสรีประชาธิปไตยในสภานิติบัญญัติใน ค.ศ. 1994[40]

พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น[แก้]

หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (DPJ) ในขณะนั้น นาโอโตะ คัง กล่าวว่าพรรคของเขาจะต้องสนับสนุนร่างกฎหมายเพราะแต่เดิมทั้งสองสัญลักษณ์นั้นเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสัญลักษณ์ของญี่ปุ่นอยู่แล้ว[41] รองเลขาธิการพรรค ยูกิโอะ ฮาโตยามะ เชื่อว่าร่างกฎหมายจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนและความไม่สงบในกลุ่มการเมืองฝั่งซ้ายที่คัดค้านธงชาติและเพลงชาติ[42] พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นเสนอการแก้ไขร่างกฎหมายโดยการกำหนดให้ ฮิโนมารุ เป็นธงชาติ แต่ไม่ให้สถานะพิเศษแก่ คิมิงาโยะ ซึ่งเป็นเพลงชาติทางเลือก ในวันที่ 16 กรกฎาคม พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นตัดสินใจยื่นร่างแก้ไข หากมีการปัดตกไป สมาชิกพรรคจะสามารถลงมติได้อย่างเสรี[43] กลุ่มอื่น ๆ ยื่นร่างกฎหมายของตนเองต่อต้านการตรากฎหมายของรัฐบาล ซึ่งทั้งหมดถูกบอกปัดไปก่อนการลงมติร่างกฎหมายหลักจะเริ่มขึ้น[44]

มติมหาชน[แก้]

สัปดาห์ก่อนการลงมติในราชมนตรีสภา เดอะเจแปนไทมส์ จัดทำการหยั่งเสียงในโตเกียว, โอซากะ และฮิโรชิมะ ผู้ตอบ (respondent) ราว 9 จาก 10 คนเห็นชอบการมี ฮิโนมารุ เป็นธงชาติ และ 6 จาก 10 คน สนับสนุน คิมิงาโยะ เป็นเพลงชาติ โดยรวม ประมาณ 46% เห็นชอบร่างกฎหมาย ผู้ตอบมองฮิโนมารุเป็นธงชาติของญี่ปุ่นและควรมีการสอนประวัติศาสตร์ของธง บางส่วนรู้สึกว่า คิมิงาโยะ ไม่ได้เป็นเพลงชาติที่เหมาะสมสำหรับประเทศญี่ปุ่นในยุคสมัยใหม่ ผู้ตอบคนหนึ่งเสนอให้ใช้เพลง "ซากูระซากูระ" แทน อีกข้อเสนอหนึ่งเห็นว่าควรเก็บทำนองของ คิมิงาโยะ ไว้แต่เปลี่ยนเนื้อร้อง[45]

การหยั่งเสียงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1999 โดย โยมิอูริชิมบุง และการสำรวจมติมหาชนโดยสภาวิจัยญี่ปุ่นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1999 ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างจากการหยั่งเสียงโดย เดอะเจแปนไทมส์ ในการหยั่งเสียงครั้งก่อนหลังการกระทำอัตวินิบาตกรรมของโทชิฮิโระ 61% รู้สึกว่าสัญลักษณ์ของญี่ปุ่นควรมี ฮิโนมารุ เป็นธงชาติ และ คิมิงาโยะ เป็นเพลงชาติ ขณะที่ 64% คิดว่าเป็นเรื่องเหมาะสมที่จะใช้ทั้งสองสัญลักษณ์ในพิธีของโรงเรียนและควรตราให้เป็นกฎหมาย การสำรวจมติมหาชนโดยสภาวิจัยญี่ปุ่นแสดงผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกัน โดย 68% รู้สคกว่าทั้ง ฮิโนมารุ และ คิมิงาโยะ เป็นสัญลักษณ์ของญี่ปุ่น 71% สนับสนุนร่างกฎหมายในสภานิติบัญญัติ ทั้งสองการสำรวจมีผู้ตอบน้อยกว่า 2,000 คน[9] มีผู้ตอบ 15% ที่สนับสนุน ฮิโนมารุ มากกว่า คิมิงาโยะ โดยให้เหตุผลว่าเนื้อร้องของ คิมิงาโยะ มีความเกี่ยวข้องกับจักรพรรดิ[9][26] ทั้งสองการสำรวจชี้ให้เห็นว่าคนรุ่นเก่าจะมีความผูกผันกับสัญลักษณ์ทั้งสองมากกว่า ขณะที่คนรุ่นใหม่แสดงความรู้สึกเชิงลบมากกว่า[9]

การลงมติ[แก้]

สภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างกฎหมายในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 ด้วยคะแนนเสียง 403 ต่อ 86[46] กฎหมายจึงส่งต่อไปยังราชมนตรีสภาในวันที่ 28 กรกฎาคม และผ่านในวันที่ 9 สิงหาคม ด้วยคะแนนเสียง 166 ต่อ 71[47] และตราเป็นกฎหมายในวันที่ 13 สิงหาคม[48]

การลงมติในสภาผู้แทนราษฎร[49]
พรรค เห็นชอบ คัดค้าน งดออกเสียง ไม่แสดงตน รวม
พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น 45 46 0 1 92
พรรคเสรีประชาธิปไตย 260 0 0 0 260
พรรคโคเม 52 0 0 0 52
พรรคเสรีนิยม 38 0 0 1 39
พรรคคอมมิวนิสต์ 0 26 0 0 26
พรรคสังคมนิยม 0 14 0 0 14
อิสระ 8 0 0 8 16
รวม 403 86 0 10 499
การลงมติในราชมนตรีสภา[50]
พรรค เห็นชอบ คัดค้าน งดออกเสียง ไม่แสดงตน รวม
พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น 20 31 5 0 56
พรรคเสรีประชาธิปไตย 101 0 0 0 101
พรรคโคเม 24 0 0 0 24
พรรคเสรีนิยม 12 0 0 0 12
พรรคคอมมิวนิสต์ 0 23 0 0 23
พรรคสังคมนิยม 0 13 0 0 13
อิสระ 9 4 0 9 22
รวม 166 71 5 9 251

ปฏิกิริยา[แก้]

ในประเทศ​[แก้]

นายกรัฐมนตรี โอบูจิ แสดงท่าทีกระตือรือร้นต่อบทบัญญัติของกฎหมายเพราะมันสร้าง "รากฐานที่ชัดเจนโดยกฎหมายลายลักษณ์อักษร"[51] ของการใช้สัญลักษณ์ทั้งสอง เขารู้สึกว่านี่เป็นก้าวที่สำคัญสำหรับญี่ปุ่นในการ "เข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21"[51] ในงานแถลงข่าววันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของจักรพรรดิอากิฮิโตะ (23 ธันวาคม) พระองค์ทรงปฏิเสธที่จะออกความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายนี้เนื่องด้วยข้อห้ามตามรัฐธรรมนูญที่ห้ามออกพระราชดำรัสเรื่องการเมือง[52][53] อย่างไรก็ตาม จักรพรรดิอากิฮิโตะทรงแสดงความไม่พึงพอใจแก่สมาชิกคณะกรรมการศึกษาโตเกียว คูนิโอะ โยเนนางะ ใน ค.ศ. 2004 ที่การบังคับให้คณะครูและนักเรียนแสดงความสรรเสริญธงชาติและเพลงชาตินั้น "ไม่เป็นที่น่าปรารถนา"[53] หัวหน้าสมาพันธ์คณะครูยกย่องกฎหมายนี้โดยเชื่อว่าจะช่วยสั่งสอนให้ประชาชนได้รู้ถึงความเคารพของสัญลักษณ์ประเทศที่เหมาะสม อีกทั้งยังช่วยลดการเกิดเหตุการณ์ระดับนานาชาติอย่างการโห่เพลงชาติของประเทศอื่นโดยชาวญี่ปุ่น กฎหมายยังก่อให้เกิดการประณามจากชาวญี่ปุ่นบางส่วนที่เหยียดหยามการกระทำของประเทศตนเองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พวกเขารู้สึกว่าไม่มีเหตุผลที่จะต้องภูมิใจในธงชาติและเพลงชาติหากรัฐบาลไม่ออกถ้อยแถลงแสดงคำขอโทษอย่างเป็นทางการด้วย "ความสำนึกผิดอย่างถ่องแท้" สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น[31][54] ใน ค.ศ. 1999 โอซาวะและคนอื่น ๆ มองว่ากฎหมายนี้เปรียบเสมือนเป็นลางของ "การปฏิวัติไร้เลือด" อันนำไปสู่อนาคตใหม่ที่การปฏิวัติจะเปลี่ยนเอกลักษณ์ของชาติและทำให้ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ[54]

ในแวดวงการศึกษาซึ่งมีการถกเถียงเรื่องการใช้สัญลักษณ์ทั้งสองมากที่สุด[55] มีปฏิกิริยาผสมกันทั้งสนับสนุนและคัดค้าน แนวทางการออกหลักสูตรที่ออกโดยกระทรวงศึกษาธิการหลังบทบัญญัติของกฎหมายวางหลักไว้ว่า "ในพิธีเข้ารับการศึกษาและพิธีสำเร็จการศึกษา โรงเรียนต้องเชิญธงญี่ปุ่นขึ้นและให้นักเรียนร้องเพลง "คิมิงาโยะ" (เพลงชาติ) ตามนัยสำคัญของทั้งธงชาติและเพลงชาติ"[56] นอกจากนี้ ข้อคิดเห็นของกระทรวงเกี่ยวกับแนวทางการออกหลักสูตร ค.ศ. 1999 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาระบุว่า "ด้วยความก้าวหน้าของสากลวิวัตน์ (internationalization) ร่วมกับการปลูกฝังความรักประเทศชาติและการตื่นรู้ในการเป็นชาวญี่ปุ่น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำให้นักเรียนมีทัศนคติที่เคารพนับถือธงชาติญี่ปุ่นและ คิมิงาโยะ ก่อนที่เขาจะเติบโตเป็นประชาชนญี่ปุ่นที่ได้รับเคารพในสังคมที่เป็นสากลวิวัตน์"[57]

ในจังหวัดฮิโรชิมะที่ซึ่งโรงเรียนมัธยมปลายเซระตั้งอยู่ ปฏิกิริยาส่วนใหญ่เป็นเชิงลบ เพราะเป็นหนึ่งในสองจังหวัดที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสงครามโลกครั้งที่สอง การศึกษาในฮิโรชิมะโดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับสัญลักษณ์ทั้งสองและจักรพรรดิจึงเอนไปทางการเมืองฝั่งซ้ายเนื่องจากอำนาจของกลุ่มท้องถิ่นอย่างสหพันธ์การปลดแอกบูรากุและสหภาพคณะครูต่าง ๆ[58] ที่นั่นมองบทบัญญัติของกฎหมายว่าเป็น "สิ่งอันน่ารำคาญ" และขัดแย้งกับธรรมเนียมปฏิบัติด้านการศึกษาของจังหวัด อีกทั้งยังมองว่ากฎหมายดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสงครามได้[58]

นานาชาติ[แก้]

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแผ่นดินใหญ่กล่าวว่าร่างกฎหมายเป็นปัญหาที่ชาวญี่ปุ่นจะต้องแก้ไขด้วยพวกเขาเองเพื่อที่จะขับเคลื่อนประเทศไปในอนาคตอันสงบสุข ในสิงคโปร์ คนรุ่นเก่ายังคงเก็บความรู้สึกที่ไม่ดีต่อสัญลักษณ์ทั้งสอง รัฐบาลฟิลิปปินส์เชื่อว่าญี่ปุ่นจะไม่ห้วนกลับไปสู่ยุคแสนยนิยม อีกทั้งเจตจำนงของกฎหมายยังกำหนดขึ้นเพื่อการสถาปนาสัญลักษณ์ทั้งสองอย่างเป็นทางการเท่านั้น ซึ่งการกระทำนั้นเป็นสิทธิที่รัฐทุกรัฐพึงกระทำได้[9]

ผลสืบเนื่องทางการเมือง[แก้]

ภายใต้ความแตกแยกของเหล่าผู้นำพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น พวกเขาอนุญาตให้สมาชิกพรรคลงมติตามความรู้สึกผิดชอบชั่วดี (conscience) ของตนเอง ฮาโตยามะก้าวข้ามการคัดค้านที่ตนยึดถือและลงมติเห็นชอบ เช่นเดียวกันกับเลขาธิการพรรคฯ และ สึโตมุ ฮาตะ ขณะที่คังลงมติคัดค้าน นอกจากพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น พรรคอื่น ๆ ต่างลงมติตามมติของพรรคและไม่มีใครไม่ปฏิบัติตามมตินั้น[49] ฮาโตยามะอยากใช้การลงมติเห็นชอบของเขาในการเรียกร้องให้สมาชิกพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นกลับมากลมเกลียวกัน กึ่งหนึ่งของพรรคฯ สนับสนุนร่างกฎหมายนี้ ทำให้จำนวนของผู้ที่คัดค้านร่างกฎหมายนี้ลดน้อยลง และทำให้ร่างกฎหมายนี้ผ่านได้ง่ายยิ่งขึ้น ความแตกแยกของการลงมติของพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นแสดงให้เห็นถึงการขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในพรรค[42][59]

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในบทบัญญัติร่างกฎหมายคือการร่วมรัฐบาลพรรคเสรีประชาธิปไตยของพรรคเสรีนิยมและพรรครัฐบาลสะอาด ในสภานิติบัญญัติ การรวมตัวระหว่างพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยและพรรคเสรีนิยมทำให้พวกเขาเป็นเสียงข้างมากในสภาล่างแต่ไม่ใช่สภาสูง[9] การนำของพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยทำให้โอซาวะถูกมองว่าเป็นคนทรยศเพราะเขาออกจากพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยไปใน ค.ศ. 1993 แต่พรรคฯ ยังคงต้องการเขาและพรรคของเขาในการก่อตั้งรัฐบาลผสม[50] แม้พรรครัฐบาลสะอาดมีจำนวนที่นั่งค่อนข้างน้อย (52 ที่นั่ง) ในสภาล่างและไม่ได้มีอะไรเหมือนกันกับพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยเชิงนโยบาย ความอยากในการเป็นส่วนหนึ่งของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันกระตุ้นให้พรรครัฐบาลสะอาดสนับสนุนพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยในการผ่านร่างกฎหมาย[50] พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยต้องละทิ้งอุดมการณ์พรรค (party platform) เช่น การคัดค้านสัญลักษณ์ทั้งสอง สนธิสัญญาความมั่งคงกับสหรัฐ และการมีอยู่ของกองกำลังป้องกันตนเอง เพื่อร่วมรัฐบาลผสม อย่างไรก็ตาม พรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยไม่ได้เดินหน้าทำตามอุดมการณ์ดั้งเดิมที่พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยให้ไว้ก่อนหน้าการร่วมรัฐบาล ท้ายที่สุด นโยบายเหล่านั้นถูกนำออกจากการอภิปรายนโยบายแห่งชาติไป[60] พรรคเดียวที่ยึดมั่นในท่าทีของตนตลอดการอภิปรายคือพรรคคอมมิวนิสต์ ขณะที่พรรครัฐบาลสะอาด (โคเมใหม่) พรรคเสรีนิยม และพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยญี่ปุ่นเปลี่ยนข้างเพื่อสนับสนุนร่างกฎหมาย[61][62]

การเปลี่ยนฝั่งเพื่อลงมติทำให้นักเขียนจากเดอะเจแปนไทมส์ ตั้งคำถามถึงความมีเหตุผลของการเมืองภายในประเทศอันเกี่ยวเนื่องกับบทบัญญัติของร่างกฎหมาย[59] พระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายที่มีข้อกังขามากที่สุดที่ผ่านโดยสภานิติบัญญัตินับตั้งแต่กฎหมายว่าด้วยความร่วมมือกับปฏิบัติการรักษาสันติภาพและปฏิบัติการอื่นในกรอบของสหประชาชาติ หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ "กฎหมายความร่วมมือด้านสันติภาพสากล"[59] ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นผูกมัดกับปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ[63] ซึ่งต่างจากมาตรา 9 แห่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นที่เรียกร้องให้รัฐบาลประณาม "การใช้กำลังในการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศ"[64]

การใช้บังคับและคดีความ[แก้]

เมื่อสภานิติบัญญัติผ่านร่างกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโอบูจิ และข้าราชการคนอื่น ๆ กล่าวว่ากฎหมายนี้ไม่มีเจตนารมณ์ในการบังคับให้ใช้ธงชาติและเพลงชาติในชีวิตประจำวัน[65] อย่างไรก็ตาม แนวทางการออกหลักสูตร ค.ศ. 1999 โดยกระทรวงศึกษาธิการที่ประกาศหลังกฎหมายมีผลใช้บังคับบัญญัติว่า "ในพิธีเข้ารับการศึกษาและพิธีสำเร็จการศึกษา โรงเรียนจะต้องเชิญธงญี่ปุ่นขึ้นสู่ยอดเสาและให้นักเรียนร้องเพลงคิมิงาโยะเพื่อระลึกถึงความสำคัญของธงชาติและเพลงชาติ"[56]

ใน ค.ศ. 2003 มีการนำข้อบังคับไปใช้ในโตเกียว ส่วนหนึ่งของข้อบังคับบัญญัติไว้ว่า คณะกรรมการหรือบุคคลากรทางการศึกษาต้องจดบันทึกรายชื่อครูที่ไม่ยืนหรือร้องเพลงชาติ และจะต้องมีการจัดให้ธงชาติหันหน้าเข้าหานักเรียนในระหว่างพิธี มาตรการคว่ำบาตรมีตั้งแต่ตำหนิโทษ เข้าอบรมการศึกษาใหม่ หักเงินเดือน สั่งให้ระงับการปฏิบัติหน้าที่ หรือการไล่ออก มาตรการคว่ำบาตรเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนโดย ชินตาโร อิชิฮาระ ผู้ว่าราชการโตเกียว[66][67]

เมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดฟูกูโอกะวัดและให้คะแนนความดังของเสียงนักเรียนที่เปล่งออกมาขณะร้องเพลงคิมิงาโยะในแต่ละโรงเรียน แต่โตเกียวเป็นคณะกรรมการโรงเรียนคณะเดียวที่ออกบทลงโทษเป็นวงกว้างหากไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ[53] คณะกรรมการศึกษาธิการโตเกียวระบุว่า มากกว่า 400 คนถูกลงโทษนับตั้งแต่ ค.ศ. 2004[68]

อ้างอิง[แก้]

  1. 麻生内閣総理大臣記者会見 [Prime Minister Aso Cabinet Press Conference] (ภาษาญี่ปุ่น), Office of the Prime Minister of Japan, 2009-07-21, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-04, สืบค้นเมื่อ 2010-01-14
  2. 2.0 2.1 Basic / General Information on Japan, Consulate-General of Japan in San Francisco, 2008-01-01, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2007, สืบค้นเมื่อ 2009-11-19
  3. "Teachers lose compensation suit over national flag, anthem issue", Japan Today: Japan News and Discussion, 2010-01-28, สืบค้นเมื่อ 2011-05-31 [ลิงก์เสีย]
  4. "National anthem lawsuit rejected", The Windsor Star, 2011-02-15, สืบค้นเมื่อ 2011-05-31 [ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Act on National Flag and Anthem 1999
  6. Regarding the Treatment of the National Flag and Anthem 1999
  7. Regarding the Treatment of the National and Prefectural Flags 2003
  8. プロトコール [Protocol] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น), Ministry of Foreign Affairs, February 2009, pp. 5–10, สืบค้นเมื่อ 2010-01-13
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 9.7 9.8 Itoh, Mayumi (July 2001), "Japan's Neo-Nationalism: The Role of the Hinomaru and Kimigayo Legislation", Japan Policy Research Institute Working Paper, 79, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-02, สืบค้นเมื่อ 2010-10-13
  10. Takenaka 2003, pp. 68–69
  11. Prime Minister's Proclamation No. 57 1870
  12. National Flag & National Anthem, Cabinet Office, Government of Japan, 2006, สืบค้นเมื่อ 2010-01-02
  13. Defense Specification Z 8701C (DSPZ8701C) (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น), Ministry of Defense, 1973-11-27, p. 6, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-20, สืบค้นเมื่อ 2009-07-09
  14. 第145回国会 国旗及び国歌に関する特別委員会 第4号 [145th Meeting of the Diet, Discussion about the bill Law Regarding the National Flag and National Anthem] (ภาษาญี่ปุ่น), National Diet Library, 1999-08-02, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-19, สืบค้นเมื่อ 2010-02-01
  15. 15.0 15.1 Joyce, Colin (2005-08-30), "Briton who gave Japan its anthem", The Daily Telegraph, สืบค้นเมื่อ 2010-10-21
  16. National Flag and Anthem (PDF), Japanese Ministry of Foreign Affairs, 2000, p. 3, สืบค้นเมื่อ 2009-12-11
  17. Turnbull 2001
  18. Cripps, D (1996), "Flags and Fanfares: The Hinomaru Flag and Kimigayo Anthem", ใน Goodman, Roger; Ian Neary (บ.ก.), Case Studies on Human Rights in Japan, London: Routledge, pp. 77–78, ISBN 978-1-873410-35-6, OCLC 35294491, In 1870 the [Hinomaru] was designated as the national flag by means of a 'declaration (fukoku) by the Council of State (Daijō-kan太政官). In 1871, however, the Council was reorganized and the legislative function entrusted to the Left Chamber (Sa-in). Finally in 1885 the Council was replaced by a modern cabinet, with the result that the Council's declarations were abolished.
  19. Self-Defense Forces Law Enforcement Order 1954
  20. JMSDF Flag and Emblem Rules 2008
  21. 郵便のマーク (ภาษาญี่ปุ่น), Communications Museum "Tei Park", คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2007, สืบค้นเมื่อ 2010-02-06
  22. Yoshida, Shigeru (1947-05-02), Letter from Shigeru Yoshida to General MacArthur dated May 2, 1947 (ภาษาญี่ปุ่น), National Diet Library, สืบค้นเมื่อ 2007-12-03
  23. MacArthur, Douglas (1947-05-02), Letter from Douglas MacArthur to Prime Minister dated May 2, 1947, National Archives of Japan, สืบค้นเมื่อ 2009-12-10
  24. Aura Sabadus (2006-03-14), "Japan searches for Scot who modernised nation", The Scotsman, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-16, สืบค้นเมื่อ 2007-12-10
  25. Hongo, Jun (2007-07-17), "Hinomaru, 'Kimigayo' express conflicts both past and future", The Japan Times, สืบค้นเมื่อ 2010-10-28
  26. 26.0 26.1 National Flag and Anthem (PDF), Japanese Ministry of Foreign Affairs, 2000, p. 2, สืบค้นเมื่อ 2009-12-11
  27. Boyd 2006, p. 36
  28. Goodman 1996, p. 81
  29. Itoh 2003, p. 206
  30. Aspinall 2001, p. 126
  31. 31.0 31.1 "Vote in Japan Backs Flag and Ode as Symbols", The New York Times, 1999-07-23, สืบค้นเมื่อ 2010-10-13
  32. Lall 2003, pp. 44–45
  33. 33.0 33.1 Hood 2001, pp. 66–67
  34. Wong, So Fei (2007-11-01), Reframing Futoko in Japan – A Social Movement Perspective (PDF), School of Social Sciences – The University of Adelaide, p. 174, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-10, สืบค้นเมื่อ 2011-06-04
  35. 35.0 35.1 Itoh 2003, p. 209
  36. 36.0 36.1 36.2 "Education: Tanaka v. the Teachers", Time, 1974-06-17, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 23, 2011, สืบค้นเมื่อ 2010-10-13
  37. Goodman 1996, pp. 82–83
  38. Okano 1999, p. 237
  39. Itoh 2003, p. 208
  40. Stockwin 2003, p. 180
  41. 国旗国歌法制化についての民主党の考え方 [The DPJ Asks For A Talk About the Flag and Anthem Law] (ภาษาญี่ปุ่น), Democratic Party of Japan, 1999-07-21, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-16, สืบค้นเมื่อ 2010-01-17
  42. 42.0 42.1 Itoh 2003, pp. 209–10
  43. 国旗国歌法案への対応決める/「国旗だけを法制化」修正案提出・否決なら自由投票 [Responding to determine the national flag and anthem bill / "flag legislation only" amendment submitted; free vote if rejected] (ภาษาญี่ปุ่น), Democratic Party of Japan, 1999-07-16, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-17, สืบค้นเมื่อ 2010-01-18
  44. 国旗・国歌法案、衆院で可決 民主党は自主投票 [National flag and anthem bill passed in the House of Representatives; DPJ free vote] (ภาษาญี่ปุ่น), Democratic Party of Japan, 1999-07-22, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-17, สืบค้นเมื่อ 2010-01-18
  45. "Public favors flag over anthem, poll shows", The Japan Times, 1999-08-05, สืบค้นเมื่อ 2010-10-14
  46. 第145回国会 本会議 第47号 [145th Session of the Diet, plenary meeting No. 47] (ภาษาญี่ปุ่น), National Diet Library, 1999-07-22, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-14, สืบค้นเมื่อ 2010-01-17
  47. 本会議投票結果: 国旗及び国歌に関する法律案 [Plenary vote: Act on National Flag and Anthem] (ภาษาญี่ปุ่น), House of Councillors, 1999-08-09, สืบค้นเมื่อ 2010-10-13
  48. 議案審議経過情報: 国旗及び国歌に関する法律案 [Deliberation Information: Act on National Flag and Anthem] (ภาษาญี่ปุ่น), House of Representatives, 1999-08-13, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-23, สืบค้นเมื่อ 2010-01-17
  49. 49.0 49.1 Itoh 2003, p. 210
  50. 50.0 50.1 50.2 Itoh 2003, p. 211
  51. 51.0 51.1 Statement of Prime Minister Keizo Obuchi, Ministry of Foreign Affairs, 1999-08-09, สืบค้นเมื่อ 2010-01-28
  52. Press Conference on the occasion of His Majesty's Birthday (1999), The Imperial Household Agency, 1999-12-23, สืบค้นเมื่อ 2010-01-28
  53. 53.0 53.1 53.2 "Tokyo's Flag Law: Proud Patriotism, or Indoctrination?", The New York Times, 2004-12-17, สืบค้นเมื่อ 2011-05-31
  54. 54.0 54.1 McCormack 2001, p. xvii
  55. Weisman, Steven R. (1990-04-29), "For Japanese, Flag and Anthem Sometimes Divide", The New York Times, สืบค้นเมื่อ 2010-01-02
  56. 56.0 56.1 学習指導要領における国旗及び国歌の取扱い [Handling of the flag and anthem in the National Curriculum] (ภาษาญี่ปุ่น), Hiroshima Prefectural Board of Education Secretariat, 2001-09-11, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22, สืบค้นเมื่อ 2009-12-08
  57. 小学校学習指導要領解説社会編,音楽編,特別活動編 [National Curriculum Guide: Elementary social notes, Chapter music Chapter Special Activities] (ภาษาญี่ปุ่น), Ministry of Education, 1999-09-17, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-19
  58. 58.0 58.1 Murakami, Asako (1999-08-09), "Flag-anthem law no end to controversy", The Japan Times, สืบค้นเมื่อ 2011-02-13
  59. 59.0 59.1 59.2 Williams 2006, p. 91
  60. Reed 2003, pp. 27–28
  61. Itoh 2003, p. 212
  62. Amyx 2003, p. 43
  63. International Peace Cooperation Headquarters, Cabinet Office, Government of Japan, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-17, สืบค้นเมื่อ 2010-10-13
  64. Constitution of Japan Article 9
  65. "Politicians, Teachers and the Japanese Constitution: Flag, Freedom and the State", Japan Focus, 2007, สืบค้นเมื่อ 2011-05-31
  66. Tabuchi, Hiroko (2009-03-26), "Japanese Court Rejects Teachers' Suit Over Flag", The New York Times, สืบค้นเมื่อ 2011-05-31
  67. "Teachers in Japan fight being forced to sing national anthem", Los Angeles Times, 2011-02-06, สืบค้นเมื่อ 2011-05-31
  68. Akiko Fujita (2011-02-14), "Japanese Teachers Fight Flag Salute, National Anthem Enforcement", ABC News International, สืบค้นเมื่อ 2011-05-31

งานอ้างอิง[แก้]

หนังสือ
บทกฎหมาย
  • 明治3年太政官布告第57号 [Prime Minister's Proclamation No. 57] (ภาษาญี่ปุ่น), Government of Nara Prefecture, 1870-02-27, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-08, สืบค้นเมื่อ 2010-02-06
  • Constitution of Japan, Official Website of the Prime Minister of Japan and His Cabinet, 1946-11-03, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-09, สืบค้นเมื่อ 2010-10-13
  • 自衛隊法施行令 [Self-Defense Forces Law Enforcement Order] (ภาษาญี่ปุ่น), Government of Japan, 1954-06-30, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-07, สืบค้นเมื่อ 2008-01-25
  • 国旗及び国歌に関する法律 (法律第百二十七号) [Act on National Flag and Anthem, Act No. 127] (ภาษาญี่ปุ่น), Government of Japan, 1999-08-13, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-21, สืบค้นเมื่อ 2010-02-06
  • 国旗及び国歌の取扱いについて [Regarding the Treatment of the National Flag and Anthem] (ภาษาญี่ปุ่น), Police of the Hokkaido Prefecture, 1999-11-18, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-06, สืบค้นเมื่อ 2010-01-14
  • 国旗及び県旗の取扱いについて [Regarding the Treatment of the National and Prefectural Flags] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น), Police of Kanagawa Prefecture, 2003-03-29, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-04, สืบค้นเมื่อ 2010-10-22
  • 海上自衛隊旗章規則 [JMSDF Flag and Emblem Rules] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น), Ministry of Defense, 2008-03-25, สืบค้นเมื่อ 2009-09-25

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]