ธงชาติญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธงชาติญี่ปุ่น
ชื่ออื่น นิชโชกิ (Nisshōki)[1] หรือ ฮิโนมารุ (Hinomaru)[2]
การใช้ ธงชาติ
สัดส่วนธง 2:3[1]
ประกาศใช้ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2413 (154 ปี) (ตามพระบรมราชโองการเลขที่ 57)
13 สิงหาคม พ.ศ. 2542 (24 ปี) (จึงได้มีพระบรมราชโองการเลขที่ 127)
ลักษณะ ธงพื้นสีขาว รูปวงกลมสีแดงในธงอยู่กลางธงพอดี
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
การใช้ ธงพลเรือนและธงเรือราษฎร์
สัดส่วนธง 2:3[3]
ลักษณะ ลักษณะคล้ายธงชาติ แต่วงกลมสีแดงนั้นค่อนมาทางคันธง 1%

ธงชาติญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本の国旗โรมาจิNipponnokokki) หรือรู้จักในชื่อ นิชโชกิ (ญี่ปุ่น: 日章旗โรมาจิNisshōkiทับศัพท์: ธงพระอาทิตย์) หรือชื่อ ฮิโนมารุ (ญี่ปุ่น: 日の丸โรมาจิHinomaruทับศัพท์: วงกลมดวงอาทิตย์) เป็นธงประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีขาว กึ่งกลางธงเป็นรูปวงกลมสีแดง หมายถึง พระอาทิตย์เรียกญี่ปุ่นชื่อว่าดินแดนอาทิอุทัยก็ได้เหมือนกัน

ประวัติธงฮิโนมารุ[แก้]

มีตำนานเล่าว่าธงฮิโนมารุถือกำเนิดขึ้นในระยะที่มองโกลรุกรานญี่ปุ่นช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 โดยพระภิกษุในพระพุทธศาสนารูปหนึ่งชื่อนิจิเร็ง ได้คิดแบบธงพระอาทิตย์นึ้ขึ้นถวายสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่นับถือจากชาวญี่ปุ่นว่าทรงสืบเชื้อสายมาจากสุริยเทวีอามาเทราสุ ในความจริงแล้ว เป็นที่รู้กันว่าสัญลักษณ์รูปพระอาทิตย์มีอยู่ในพัดญี่ปุ่นของพวกซามูไรช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 และใช้กันทั่วไปในธงรบของซามูไรในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ซึ่งเป็นยุครณรัฐ (ยุคเซ็งโงกุุ) เมื่อประเทศญี่ปุ่นเปิดประเทศค้าขายกับชาติตะวันตกในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2397 ธงฮิโนมารุจึงเริ่มมีฐานะเป็นธงราชการที่ใช้ชักบนเรือญี่ปุ่นทั้งหมด

ต่อมาใน พ.ศ. 2411 ตรงกับรัชสมัยเมจิ ธงฮิโนมารุก็ได้รับการพิจารณาให้ใช้เป็นธงชาติในเชิงปฏิบัติ (de facto national flag) และมีการรับรองให้ใช้เป็นธงสำหรับเรือค้าขายของเอกชน (civil ensign) ตามพระบรมราชโองการเลขที่ 57 ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2413 อย่างไรก็ตาม ธงนี้ก็ยังมิได้มีการรับรองเป็นธงชาติอย่างเป็นทางการ ตราบจนวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542 จึงได้มีพระบรมราชโองการเลขที่ 127 รับรองให้ใช้ธงฮิโนมารุเป็นธงชาติตามกฎหมาย และกำหนดสัดส่วนธงไว้ว่า เป็นธงรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีขาว กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางเป็นรูปวงกลมสีแดง มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 3 ใน 5 ส่วน ตามความกว้างของธง

การออกแบบ[แก้]

เป็นธงรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีขาว กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน. ตรงกลางเป็นรูปวงกลมสีแดง มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 3 ใน 5 ส่วน ตามความกว้างของธง.
สีธงอย่างเป็นทางการ (สีขาว) สีธงอย่างเป็นทางการ (สีแดง) ระบบสี อ้างอิง ปี URL
  N9 [4]   5R 4/12 [4] Munsell DSP Z 8701C 1973 [5]
N/A   156 [6] DIC ODA Symbol Mark Guidelines 1995 [7]
N/A   0-100-90-0 CMYK ODA Symbol Mark Guidelines 1995 [7]
N/A   186 Coated [8] Pantone Album des pavillons nationaux et des marques distinctives 2000 [9]
N/A   0-90-80-5[8] CMYK Album des pavillons nationaux et des marques distinctives 2000 [9]
  N9.4 (Acrylic) [4]   5.7R 3.7/15.5 (Acrylic) [4] Munsell DSP Z 8701E 2008 [5]
  N9.2 (Nylon) [4]   6.2R 4/15.2 (Nylon) [4] Munsell DSP Z 8701E 2008 [5]
N/A   032 Coated[8] Pantone 2008 Summer Olympics Protocol Guide – Flag Manual 2008 [10]

ธงพระอิสริยยศ[แก้]

ธงสมเด็จพระจักรพรรดิ ธงสมเด็จพระจักรพรรดินี และสมเด็จพระจักรพรรดินีพันปีหลวง ธงพระองค์มกุฎราชกุมาร และพระราชวงศ์ชั้นหลานหลวง ธงพระองค์มกุฎราชกุมารี และพระชายาในพระราชวงศ์ชั้นหลานหลวง ธงประจำพระองค์สำหรับราชตระกูลพระองค์อื่นๆ

ธงพระจักรพรรดิญี่ปุ่นสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2412 เพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระจักรพรรดิ พระจักรพรรดินี และสมาชิกอื่นๆ ในพระราชวงศ์ตามธรรมเนียมสากล

ธงพระจักรพรรดิญี่ปุ่นแบบปัจจุบันมีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน กลางเป็นตราพระราชลัญจกรดอกเบญจมาศสีทอง 16 กลีบ ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำราชวงศ์ ธงสำหรับพระจักรพรรดินีนั้นมีลักษณะคล้ายธงพระจักรพรรดิ หากแต่ที่ด้านปลายธงนั้นตัดชายเป็นรูปหางนกแซงแซว ส่วนธงสำหรับมกุฎราชกุมารและพระวรชายาใช้ธงแบบเดียวกับธงพระจักรพรรดิและธงพระจักรพรรดินีตามลำดับ แต่ขนาดของดอกเบญจมาศจะเล็กกว่าและจะมีกรอบสีขาวล้อมรอบรูปดอกเบญจมาศด้วย

ธงสำคัญ[แก้]

ธงทหาร[แก้]

ธงกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ธงกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดิน ธงกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ธงกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล ธงกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ

ธงทหารที่สำคัญของญี่ปุ่นและเป็นธงญี่ปุ่นที่รู้จักกันดีทั่วโลกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกว่าธงอาทิตย์อุทัย (ญี่ปุ่น: 旭日旗โรมาจิKyokujitsuki) ได้แก่ ธงกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น ลักษณะคล้ายธงชาติ มีรูปพระอาทิตย์สีแดงรัศมี 16 แฉก อยู่ตรงกลางธง และ ธงจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น ลักษณะอย่างเดียวกันกับธงกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น แต่ดวงกลมพระอาทิตย์นั้นค่อนมาทางต้นธง และเปล่งรัศมีสีแดง 16 แฉก ปลายรัศมีนั้นจดปลายธงทุกด้าน ธงนี้ออกใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2432 และใช้มาจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลังได้นำกลับมาใช้อีกครั้งในฐานะธงของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2497 สำหรับคนที่อยู่นอกประเทศญี่ปุ่นแล้วล้วนมีความรู้สึกกับธงนี้ในแง่ลบ จากความรุนแรงที่กองทัพญี่ปุ่นก่อขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เคยต่อสู้หรือถูกทารุณกรรมโดยทหารญี่ปุ่น และประเทศที่เคยถูกญี่ปุ่นยึดครอง

ธงอีกอย่างหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกันกับธงจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น คือ ธงของกองกำลังป้องกันตนเองทางบก (Japan Ground Self-Defense Force) ธงนี้มีชื่อในภาษาญี่ปุ่นว่า "ธงฮาจิโจเกียวกูจิตสึกิ" (ญี่ปุ่น: 八条旭日旗โรมาจิHachijō-Kyokujitsuki) ลักษณะเป็นธงพื้นสีขาว มีรูปพระอาทิตย์เปล่งรัศมี 8 แฉกอยู่กลาง ขอบธงเป็นสีทอง

ธงราชการ[แก้]

กองกำลังป้องกันชายฝั่งของญี่ปุ่น ธงเจ้าพนักงาน ธงเจ้าพนักงานไปรษณีย์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 国旗及び国歌に関する法律
  2. Consulate-General of Japan in San Francisco. Basic / General Information on Japan; 2008-01-01 [archived 2012-12-11; cited 2009-11-19].
  3. 自衛隊法施行令
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Hexadecimal obtained by placing the colors in Feelimage Analyzer เก็บถาวร 2010-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. 5.0 5.1 5.2 Ministry of Defense. Defense Specification Z 8701C (DSPZ8701C) [PDF]; 1973-11-27 [archived 2019-06-17; cited 2009-07-09]. (ญี่ปุ่น).
  6. DIC Corporation. DICカラーガイド情報検索 (ver 1.4) [DIC Color Guide Information Retrieval (version 1.4)] [cited 2009-09-15]. (ญี่ปุ่น).
  7. 7.0 7.1 Office of Developmental Assistance. 日章旗のマーク、ODAシンボルマーク [National flag mark, ODA Symbol] [PDF]; 1995-09-01 [archived 2011-09-28; cited 2009-09-06]. (ญี่ปุ่น).
  8. 8.0 8.1 8.2 Find a PANTONE color. Pantone LLC. Pantone Color Picker [cited 2009-12-09].
  9. 9.0 9.1 du Payrat, Armand (2000). Album des pavillons nationaux et des marques distinctive (ภาษาเยอรมัน). France: Service Hydrographique et Océanographique de la Marine. pp. JA 2.1. ISBN 2-11-088247-6.
  10. Flag Manual. Beijing, China: Beijing Organizing Committee for the Games of the XXIX Olympiad – Protocol Division; 2008. p. B5.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]