ผู้ใช้:ผู้บ่าวไทบ้าน/กระบะทราย/ทีมฟุตซอล

พิกัด: 13°21′44″N 103°51′35″E / 13.36222°N 103.85972°E / 13.36222; 103.85972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสียมราฐ

សៀមរាប

เสียมเรียบ
ถนนเมืองเสียมราฐยามค่ำคืน
ถนนเมืองเสียมราฐยามค่ำคืน
สมญา: 
Temple Town [1]
เสียมราฐตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา
เสียมราฐ
เสียมราฐ
ตำแหน่งของเมืองเสียมเรียบ
พิกัด: 13°21′44″N 103°51′35″E / 13.36222°N 103.85972°E / 13.36222; 103.85972
ประเทศ กัมพูชา
จังหวัดเสียมราฐ
ก่อตั้ง802
อย่างเป็นอย่างการ1907
การปกครอง
 • หัวหน้าเขตและผู้ว่าราชการKhim Bunsong (พรรคประชาชนกัมพูชา)
 • รองผู้ว่าราชการKim Chay Hieng (พรรคประชาชนกัมพูชา)
ความสูง18 เมตร (59 ฟุต)
ประชากร
 (2008)[2]
 • ทั้งหมด230,714 คน
เขตเวลาUTC+7 (กัมพูชา)
เว็บไซต์เว็บไซต์

เสียมราฐ หรือชื่อท้องถิ่นว่า เสียมเรียบ (เขมร: សៀមរាប) เป็นเมืองในประเทศกัมพูชา มีฐานะเป็นเมืองเอกของจังหวัดเสียมราฐ (เทียบได้กับอำเภอเมืองของจังหวัดในประเทศไทย) มีประชากรประมาณ 171,800 คน[3] เมืองเสียมราฐเป็นที่รู้จักกันดีเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้นครวัด นครธม และปราสาทขอมอื่น ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของเมืองพระนคร แหล่งมรดกโลกของกัมพูชา

ประวัติ[แก้]

เมืองเสียบเรียบ หรือเสียมราฐ เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเสียมเรียบทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา ถือเป็นประตูสู่พระนคร ชื่อเสียมเรียบ หมายความถึง สยามพ่ายแพ้ โดยผู้ที่ตั้งชื่อเมืองแห่งนี้ คือ สมเด็จพระอุทัยราชา (นักองค์จัน) ผู้มีพระทัยฝักใฝ่กับเวียดนามในยามที่เขมรยังมีสถานะเป็นเมืองขึ้นของสยามในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เดิมเสียมเรียบเป็นเพียงเมืองเล็กๆ ในชนบท และแม้จะอยู่ไม่ไกลจากเมืองพระนคร แต่พื้นที่แทบนี้จะไม่มีโบราณสถานใดๆ ฝรั่งเศส เริ่มรู้จักเสียมเรียบในปี ค.ศ. 1907 หลังจากนั้นเสียมเรียบก็เติมโตขึ้นเรื่อยๆ โดยทำหน้าที่เป็นเมืองต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยี่ยมเยือนเมืองพระนคร เพราะเสียมเรียบมีโรงแรมใหญ่มาตั้งเป็นแห่งแรกๆ ในปี ค.ศ. 1929 ได้แก่ Grand Hotel d’Angkor มีคนดังระดับโลกมาพักมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแจ็คเกอลีน เคนเนดี้ โอนาสซิส หรือชาร์ลี แชปลิน ฯลฯ หลังปี ค.ศ. 1975 ในยุครัฐบาลเขมรแดง คนในเสียมเรียบ ถูกกวาดต้อนออกไปทำไร่ไถนาในท้องถิ่นชนบท ทำให้เสียมเรียบกลายเป็นเมืองร้างอยู่หลายปี กระทั่งเขมรแดงหมดอำนาจ เสียมเรียบจึงกลับมามีบทบาทในฐานะเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของกัมพูชาอีกครั้ง มีที่พักทุกระดับเปิดให้บริการ รวมทั้งสิ่งที่รองรับนักท่องเที่ยวอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ย่านชอปปิง และท่าอากาศยานนานาชาติ

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

เมืองพระนคร[แก้]

เมืองพระนคร (เขมร: ក្រុងអង្គរ) ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดเสียมเรียบ ห่างจากกรุงพนมเปญไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 310 กิโลเมตร ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางแห่งอาณาจักรเขมรอันรุ่งเรือง ซึ่งเริ่มก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก่อนจะถูกทับสยามรุกรานในคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนต้องมีการอพยพยกย้ายไปตั้งนครหลวงแห่งใหม่ กุญแจสำคัญในความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรแห่งนี้คือ การที่กษัตริย์เขมรสามารถ วางระบบการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนจึงพากันมาอยู่อาศัยทำกิน ทำให้อำนาจ และมีบารมีของกษัตริย์หลายรัชสมัยมีความมั่นคงและแผ่ขยายออกไป สิ่งที่ยืนยันความรุ่งเรืองของดินแดนเขมรและอำนาจอันไพศาลของกษัตริย์คือ หมู่เทวสถานที่สร้างขึ้นอย่างหนาแน่น ในปี ค.ศ. 1992 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกยกย่องให้เมืองแห่งนี้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยในเขตเมืองพระนคร ประกอบด้วย โบราณสถานที่สำคัญหลายแห่ง

นครวัด[แก้]

พระภิกษุสงฆ์อยู่บริเวณด้านหน้านครวัด

นครวัด (เขมร: អង្គរវត្ត) เป็นศาสนสถาน เริ่มสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2[4] ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิมนครวัดเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดูซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธ[5] นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา[6] โดยปรากฏในธงชาติกัมพูชาและเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลก ภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในช่วงยุครุ่งเรืองของอาณาจักรขะแมร์โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก[7]

นครธม[แก้]

หอใจกลางปราสาทบายนที่นครธม

นครธม (เขมร: អង្គរធំ) ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเสียมเรียบ เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรกๆ และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่สำคัญอื่นๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือ

ปราสาทบายน[แก้]

ปราสาทบายน (เขมร: ប្រាសាទបាយ័ន) เป็นศูนย์กลางของนครธม เป็นปราสาทหลวงประจำรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7และเป็นการพลิกรูปแบบของการสร้างปราสาทในกัมพูชา ด้วยปราสาทบายนแสดงถึงความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแบบมหายานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งแผกไปจากกษัตริย์พระองค์ก่อน แห่งอาณาจักรนี้ที่สร้างศาสนสถานเพื่อแสดงถึงศรัทธาในศาสนาฮินดู ปราทสาทบายนประกอบด้วยองค์ปราสาท ตั้งอยู่บนฐานซ้อนสามชั้น สมมุติให้เป็นทิพยสถานของเทพเจ้าบนยอดเขาพระสุเมรุด้วยปรางค์จตุรมุข สลักเป็นรูปพระพักตร์พระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวรขนาดใหญ่กว่า 200 พักตร์ รวม 54 ปรางค์ หันพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศ เพื่อสอดส่องดูแลความทุกข์ของเหล่าพสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข รอยยิ้มบนพระพักตร์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเรียกว่า ยิ้มแบบบายน ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา ภาพจำหลักในปราสาทบายน แสดงเรื่องราวในชีวิตประจำวัน สงครามกับจามปา รวมทั้งเทพเจ้าอินเดีย ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของศิลปะแบบบายน คือการที่ภาพจำหลักมีการแสดงเรื่องราวในประวัติศาสตร์กัมพูชา แทนที่จะเป็นเหตุการณ์จากมหากาพย์รามยณะหรือวรรณกรรมอื่น อย่างปราสาทแห่งอื่นๆ ทำให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงชีวิตของผู้คนในยุคนั้น เช่น ภาพชาวบ้านกำลังค้าขาย กินอาหาร เล่นการพนัน เลี้ยงเด็ก ดูแลคนแก่ ขี่เกวียน วัฒนธรรมประเพณี รวมทั้งเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ยังคงพบเห็นได้ในชนบทของกัมพูชาในปัจจุบัน

ภูมิอากาศ[แก้]

เมืองเสียมราฐตั้งอยู่ในเขตร้อน มีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ตามเกณฑ์การแบ่งภูมิอากาศโลกของการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน เป็นเมืองที่ร้อนตลอดปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดไม่ต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียสในทุกเดือน เสียมราฐมีฤดูฝนที่ยาวมากซึ่งเริ่มในเดือนเมษายนและสิ้นสุดในเดือนพฤศจิกายน ฤดูแล้งครอบคลุมสี่เดือนที่เหลือ เมืองมีฝนตกประมาณ 1500 มิลลิเมตรต่อปี

ข้อมูลภูมิอากาศของเมืองเสียมราฐ (ปี 1997-2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 35.0
(95)
36.7
(98.1)
38.9
(102)
39.4
(102.9)
40.6
(105.1)
38.9
(102)
35.6
(96.1)
35.0
(95)
34.4
(93.9)
33.9
(93)
34.4
(93.9)
34.4
(93.9)
40.6
(105.1)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.7
(89.1)
33.5
(92.3)
34.9
(94.8)
35.8
(96.4)
34.8
(94.6)
33.6
(92.5)
32.9
(91.2)
32.4
(90.3)
31.7
(89.1)
31.5
(88.7)
31.2
(88.2)
30.6
(87.1)
32.9
(91.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 26.0
(78.8)
27.8
(82)
29.5
(85.1)
30.5
(86.9)
29.9
(85.8)
29.2
(84.6)
28.9
(84)
28.8
(83.8)
28.1
(82.6)
28.0
(82.4)
26.9
(80.4)
25.6
(78.1)
28.3
(82.9)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 20.4
(68.7)
22.4
(72.3)
24.1
(75.4)
25.4
(77.7)
25.4
(77.7)
25.1
(77.2)
24.9
(76.8)
25.1
(77.2)
24.7
(76.5)
24.5
(76.1)
22.6
(72.7)
20.7
(69.3)
23.8
(74.8)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 9.4
(48.9)
12.8
(55)
15.0
(59)
17.8
(64)
18.9
(66)
17.8
(64)
18.9
(66)
18.9
(66)
20.0
(68)
17.2
(63)
12.2
(54)
10.0
(50)
9.4
(48.9)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 3.7
(0.146)
4.7
(0.185)
29.0
(1.142)
57.3
(2.256)
149.7
(5.894)
214.1
(8.429)
192.6
(7.583)
208.9
(8.224)
287.7
(11.327)
199.6
(7.858)
51.3
(2.02)
7.3
(0.287)
1,405.9
(55.35)
ความชื้นร้อยละ 59 59 58 59 66 70 71 73 75 75 68 64 66.4
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 1.5 0.7 3.2 7.6 17.0 18.0 17.6 17.6 17.4 15.4 6.4 2.0 124.4
แหล่งที่มา: Deutscher Wetterdienst[8]

การเดินทาง[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ

เมืองนี้อยู่ห่างจากท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ 7 กิโลเมตร และสามารถเดินทางไปได้ด้วยเที่ยวบินตรงจากเมืองในเอเชีย จากกรุงพนมเปญ หรือจากชายแดนไทย นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางโดยเรือผ่านโตนเลสาป และรถบัสจากพนมเปญและพระตะบอง หรือเดินทางจากกรุงเทพฯไปเสียมราฐผ่านอำเภออรัญประเทศเข้าด่านปอยเปต แล้วเดินทางจากปอตเปตไปยังเสียมราฐ[9]

ผับในเมืองเสียมราฐ
การส่งมอบศรีโสภณ พระตะบอง และนครวัด ให้กับพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ ปี 1907

เมืองพี่น้อง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Glasser, Miranda (14 September 2012). "Temple Town, Cambodia's new ladyboy capital". Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 14 December 2015.
  2. "Chapter 2: Spatial Distribution and Density of Population" (PDF). Statistics Japan.
  3. [1] จากเว็บไซต์ประจำเมืองเสียมราฐ
  4. Higham, C. (2014). Early Mainland Southeast Asia. Bangkok: River Books Co., Ltd. pp. 372, 378–379. ISBN 978-616-7339-44-3.
  5. Ashley M. Richter (8 September 2009). "Recycling Monuments: The Hinduism/Buddhism Switch at Angkor". CyArk. สืบค้นเมื่อ 7 June 2015.
  6. "Government ::Cambodia". CIA World Factbook.
  7. "Cambodia's Angkor Wat Breaking Records for Visitors Again | News from Tourism Cambodia". Tourism of Cambodia.
  8. "Klimatafel von Siemreap-Angkor / Kambodscha" (PDF). Baseline climate means (1961-1990) from stations all over the world (ภาษาเยอรมัน). Deutscher Wetterdienst. สืบค้นเมื่อ 23 January 2016.
  9. "Cambodia eyes new airport for Siem Reap". สืบค้นเมื่อ 2010-09-22.
  10. "?". Myanmar.gov.mm.
  11. "Local Government International Exchange: Sister city information Database". Council of Local Authorities for International Relations (CLAIR). สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เสียมราฐ

(อังกฤษ)