ปฐมบรรพบุรุษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อับราฮัม ซาราห์ และฮาการ์ ภาพวาดจินตนาการในคัมภีร์ไบเบิลเมื่อ ค.ศ. 1897
อิสอัคให้พรแก่ลูกชาย วาดโดยจอตโต ดี บอนโดเน
ยาโคบปล้ำสู้กับทูตสวรรค์ โดยเออแฌน เดอลาครัว

ในคัมภีร์ไบเบิล ปฐมบรรพบุรุษ[1] (ฮีบรู: אבות ʾAvot, "บรรดาบิดา") หมายถึง อับราฮัม อิสอัค ลูกชายอับราฮัม และยาโคบ ลูกชายอิสอัค ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์ถือว่าทั้งสามคนนี้เป็นอัครบิดรและเรียกยุคที่พวกเขามีชีวิตอยู่ว่าสมัยปฐมบรรพบุรุษ เชื่อว่าทั้งสามเป็นผู้ที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกให้เป็นตัวแทนมนุษยชาติรับการเผยแสดง[2]และทำพันธสัญญากับพระองค์[3] พวกเขาจึงถือเป็นแบบอย่างให้กับประชาชนทั้งในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่และแม้เมื่อล่วงลับไปแล้ว ศาสนาที่ได้รับอิทธิพลจากพวกเขาเรียกว่าศาสนาอับราฮัม (คือศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม) ในบางกรณีคำว่าปฐมบรรพบุรุษยังหมายรวมถึงบรรพบุรุษทั้งยี่สิบคนตั้งแต่อาดัมถึงอับราฮัมด้วย

นอกจากนี้ชาวยิวและชาวมุสลิมยังนับถือภรรยาเอกของทั้งสามคนคือ ซาราห์ (ภรรยาของอับราฮัม) เรเบคาห์ (ภรรยาของอิสอัค) และเลอาห์ (ภรรยาของยาโคบ) ว่าเป็นปฐมบรรพสตรี และเชื่อว่าร่างของพวกเขาทั้งหมดถูกเก็บไว้ในถ้ำเดียวกันในเมืองฮีบรอน ที่แห่งนี้จึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของทั้งสามศาสนา

ในคริสต์ทศวรรษ 1970 ข้อโต้แย้งใหม่เกี่ยวกับอดีตของอิสราเอลและข้อมูลพระคัมภีร์ท้าทายมุมมองแบบดั้งเดิม โดยข้อโต้แย้งนี้พบได้ใน The Historicity of the Patriarchal Narratives โดยทอมัส แอล. ทอมป์สัน[4] และ Abraham in History and Tradition โดย John van Seters[5] ทอมป์สัน นักวิชาการด้านวรรณกรรม โต้แย้งถึงการไม่มีหลักฐานที่น่าสนใจว่าปฐมบรรพบุรุษมีชีวิตในสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช และตั้งข้อสังเกตว่าข้อความในพระคัมภีร์บางส่วนสะท้อนถึงเงื่อนไขและความสัมพันธ์กันในสหัสวรรษที่ 1 อย่างไร ส่วน Van Seters ตรวจสอบเรื่องราวของปฐมบรรพบุรุษและโต้แย้งว่าชื่อของทั้งหมด สภาพแวดล้อมทางสังคม และข้อความ ต่างทำให้มีการเสนอแนะอย่างมากว่ามาจากยุคเหล็ก[6] ผลงานของ Van Seter และทอมป์สันเป็นการเปลี่ยนผ่านกระบวนทัศน์ในด้านการศึกษาพระคัมภีร์และโบราณคดี ซึ่งภายหลังทำให้นักวิชาการไม่ถือว่ารายงานเกี่ยวกับปฐมบรรพบุรุษเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์[7] นักวิชาการอนุรักษ์นิยมบางส่วนพยายามปกป้องรายงานปฐมบรรพบุรุษในช่วงปีถัดมา[8][9] แต่ไม่ได้รับการยอมรับในกลุ่มนักวิชาการ[10][11] ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 นักโบราณคดีเลิกหวังที่จะฟื้นฟูในบริบทใด ๆ ก็ตามที่ให้อับราฮัม อิสอัค หรือยาโคบเป็นบุคคลทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ[12][13]

ช่วงชีวิต[แก้]

ปฐมบรรพสตรี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 417
  2. อพยพ 3:6
  3. เลวีนิติ 26:42
  4. Thompson, Thomas L. (1974). The Historicity of the Patriarchal Narratives: The Quest for the Historical Abraham. Text (ภาษาอังกฤษ).
  5. Seters, John Van (1975). Abraham in History and Tradition (ภาษาอังกฤษ). Echo Point Books and Media. ISBN 978-1-62654-910-4.
  6. Moore & Kelle 2011, pp. 18–19.
  7. Moorey, Peter Roger Stuart (1991-01-01). A Century of Biblical Archaeology (ภาษาอังกฤษ). Westminster John Knox Press. ISBN 978-0-664-25392-9.
  8. Kitchen, Kenneth (1995). "The Patriarchal Age: Myth or History?". Biblical Archaeology Review (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-12.
  9. Kitchen, K. A. (2006-06-09). On the Reliability of the Old Testament (ภาษาอังกฤษ). Wm. B. Eerdmans Publishing. p. 313. ISBN 978-0-8028-0396-2.
  10. Dever, William G. (2001-05-10). What Did the Biblical Writers Know and When Did They Know It?: What Archeology Can Tell Us About the Reality of Ancient Israel (ภาษาอังกฤษ). Wm. B. Eerdmans Publishing. p. 98. ISBN 978-0-8028-2126-3. There are a few sporadic attempts by conservative scholars to "save" the patriarchal narratives as history, such as Kenneth Kitchen [...] By and large, however, the minimalist view of Thompson's pioneering work, The Historicity of the Patriarchal Narratives, prevails.
  11. Grabbe, Lester L. (2007). Williamson, H. G. M (บ.ก.). Some Recent Issues in the Study of the History of Israel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). British Academy. doi:10.5871/bacad/9780197264010.001.0001. ISBN 978-0-19-173494-6. The fact is that we are all minimalists -- at least, when it comes to the patriarchal period and the settlement. When I began my PhD studies more than three decades ago in the USA, the 'substantial historicity' of the patriarchs was widely accepted as was the unified conquest of the land. These days it is quite difficult to find anyone who takes this view.
  12. Dever 2002, p. 98 and fn.2.
  13. Dever, William G. (2020). Has Archaeology Buried the Bible? (ภาษาอังกฤษ). Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 978-1-4674-5949-5. All these stories reflect the geopolitical situation of the Israelite monarchy in the Late Iron Age, not any historical situation in the "Age of Abraham". To be sure, these stories are set in an earlier theoretical context that may have some historical verisimilitude; but in their present form, they are clearly fictitious.
บรรณานุกรม