ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)
ถนนราชวิถี (อักษรโรมัน: Thanon Ratchawithi) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากทางแยกสามเหลี่ยมดินแดง (จุดบรรจบกับถนนราชปรารภกับถนนดินแดง) ในพื้นที่แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพญาไทและถนนพหลโยธินที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เข้าสู่แขวงทุ่งพญาไท ตัดกับถนนพระรามที่ 6 (ทางแยกตึกชัย) ตัดกับถนนกำแพงเพชร 5 และทางรถไฟสายเหนือ เข้าสู่ท้องที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต ตัดกับถนนสวรรคโลก (ทางแยกอุภัยเจษฎุทิศ) และถนนพระรามที่ 5 (ทางแยกราชวิถี) เข้าสู่ท้องที่แขวงดุสิต จากนั้นตัดกับถนนอู่ทองใน (ทางแยกอู่ทองใน) ถนนนครราชสีมา (ทางแยกการเรือน) และถนนสามเสน (ทางแยกซังฮี้) เข้าสู่ท้องที่แขวงวชิรพยาบาล จากนั้นปรับเป็นทางเดียว เปิดให้รถวิ่งได้เฉพาะขาออกเมือง ก่อนปรับเป็นทางคู่อีกครั้งหลังตัดกับถนนขาว จากนั้นข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานกรุงธนเข้าสู่เขตบางพลัด โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางพลัดกับแขวงบางยี่ขันไปจนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ (ทางแยกบางพลัด) โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนสิรินธร และได้รับการกำหนดเป็นทางหลวงเอเชียสาย 123 ต่อเนื่องจากถนนสิรินธร
ถนนราชวิถีเดิมชื่อ ถนนซางฮี้ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิตบริเวณพื้นที่ระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมและคลองสามเสน โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนรอบพระราชวังดุสิต 3 สาย คือ ถนนลก (ปัจจุบันคือถนนพระรามที่ 5) ถนนดวงตะวัน (ปัจจุบันคือถนนศรีอยุธยา) และถนนซางฮี้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าซังฮี้ (ปัจจุบันคือถนนราชวิถี)
นามถนนทั้ง 3 สายนี้ พระราชทานตามชื่อเครื่องกิมตึ๋งคือภาพเครื่องลายครามจีน "ซางฮี้" (อักษรจีน: 雙喜) ในภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋ว แปลว่า มงคลคู่ หมายความว่า สุข สนุก สบาย อักษรซางฮี้ใช้เป็นเครื่องหมายในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน และใช้เป็นลวดลายประดับสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนซางฮี้เป็น "ถนนราชวิถี"
รายชื่อทางแยก
[แก้]สถานที่สำคัญบนเส้นทาง
[แก้]
|
แนวเส้นทางรถไฟฟ้า
[แก้]- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท แนวเส้นทางผ่านบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม แนวเส้นทางผ่านบริเวณทางแยกสามเหลี่ยมดินแดง
- รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน, สายสีแดงเข้ม, แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ แนวเส้นทางผ่านบริเวณทางแยกอุภัยเจษฎุทิศ
- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน แนวเส้นทางผ่านบริเวณทางแยกบางพลัด
อ้างอิง
[แก้]- อรณี แน่นหนา, 2002. นามนี้มีที่มา. ประพันธ์สาส์น: กรุงเทพฯ.