ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)

พิกัด: 13°46′25″N 100°31′08″E / 13.77361°N 100.51889°E / 13.77361; 100.51889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถนนราชวิถี บริเวณด้านหน้าพระราชวังพญาไท เขตราชเทวี

ถนนราชวิถี (อักษรโรมัน: Thanon Ratchawithi) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากทางแยกสามเหลี่ยมดินแดง (จุดบรรจบกับถนนราชปรารภกับถนนดินแดง) ในพื้นที่แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพญาไทและถนนพหลโยธินที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เข้าสู่แขวงทุ่งพญาไท ตัดกับถนนพระรามที่ 6 (ทางแยกตึกชัย) ตัดกับถนนกำแพงเพชร 5 และทางรถไฟสายเหนือ เข้าสู่ท้องที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต ตัดกับถนนสวรรคโลก (ทางแยกอุภัยเจษฎุทิศ) และถนนพระรามที่ 5 (ทางแยกราชวิถี) เข้าสู่ท้องที่แขวงดุสิต จากนั้นตัดกับถนนอู่ทองใน (ทางแยกอู่ทองใน) ถนนนครราชสีมา (ทางแยกการเรือน) และถนนสามเสน (ทางแยกซังฮี้) เข้าสู่ท้องที่แขวงวชิรพยาบาล จากนั้นปรับเป็นทางเดียว เปิดให้รถวิ่งได้เฉพาะขาออกเมือง ก่อนปรับเป็นทางคู่อีกครั้งหลังตัดกับถนนขาว จากนั้นข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานกรุงธนเข้าสู่เขตบางพลัด โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางพลัดกับแขวงบางยี่ขันไปจนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ (ทางแยกบางพลัด) โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนสิรินธร และได้รับการกำหนดเป็นทางหลวงเอเชียสาย 123 ต่อเนื่องจากถนนสิรินธร

ถนนราชวิถีเดิมชื่อ ถนนซางฮี้ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิตบริเวณพื้นที่ระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมและคลองสามเสน โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนรอบพระราชวังดุสิต 3 สาย คือ ถนนลก (ปัจจุบันคือถนนพระรามที่ 5) ถนนดวงตะวัน (ปัจจุบันคือถนนศรีอยุธยา) และถนนซางฮี้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าซังฮี้ (ปัจจุบันคือถนนราชวิถี)

นามถนนทั้ง 3 สายนี้ พระราชทานตามชื่อเครื่องกิมตึ๋งคือภาพเครื่องลายครามจีน "ซางฮี้" (อักษรจีน: 雙喜) ในภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋ว แปลว่า มงคลคู่ หมายความว่า สุข สนุก สบาย อักษรซางฮี้ใช้เป็นเครื่องหมายในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน และใช้เป็นลวดลายประดับสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนซางฮี้เป็น "ถนนราชวิถี"

รายชื่อทางแยก[แก้]

รายชื่อทางแยกบน ถนนราชวิถี ทิศทาง: แยกสามเหลี่ยมดินแดง-แยกบางพลัด
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ถนนราชวิถี ถนนราชวิถี (แยกสามเหลี่ยมดินแดง-แยกบางพลัด)
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกสามเหลี่ยมดินแดง เชื่อมต่อจาก: ถนนดินแดง ถนนดินแดง
ถนนราชปรารภ ไปประตูน้ำ ถนนอรรถวิมล (ซอยราชวิถี 2) ไปกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์
0+546 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถนนพญาไท ไปราชเทวี ถนนพหลโยธิน ไปสะพานควาย
แยกตึกชัย ถนนพระรามที่ 6 ไปศรีอยุธยา ถนนพระรามที่ 6 ไปประดิพัทธ์
ถนนกำแพงเพชร 5 ไปแยกเสาวนี ถนนกำแพงเพชร 5 ไปแยกสามเสน
ตรงไป: ข้ามทางรถไฟสายเหนือ,ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ,ทางรถไฟสายใต้
สะพานอุภัยเจษฎุทิศ
แยกอุภัยเจษฎุทิศ ถนนสวรรคโลก ไปแยกเสาวนี ถนนสวรรคโลก ไปแยกสามเสน
แยกราชวิถี ถนนพระรามที่ 5 ไปวัดเบญจมบพิตรฯ ถนนพระรามที่ 5 ไปราชวัตร
แยกอู่ทองใน ถนนอู่ทอง(ใน) ไปลานพระบรมรูปทรงม้า ไม่มี
ไม่มี ถนนพิชัย ไปแยกขัตติยานี
แยกการเรือน ถนนนครราชสีมา ไปแยกอู่ทองนอก ถนนนครราชสีมา ไปแยกร่วมจิตต์
แยกซังฮี้ ถนนสามเสน ไปเทเวศร์ ถนนสามเสน ไปวชิรพยาบาล
สะพานกรุงธนบุรี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
แยกบางพลัด ถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปปิ่นเกล้า ถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปสะพานพระราม 7
ตรงไป: ถนนสิรินธร ไป ถนนบรมราชชนนี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญบนเส้นทาง[แก้]

แนวเส้นทางรถไฟฟ้า[แก้]

  1. รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท แนวเส้นทางผ่านบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  2. รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม แนวเส้นทางผ่านบริเวณทางแยกสามเหลี่ยมดินแดง
  3. รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน, สายสีแดงเข้ม, แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ แนวเส้นทางผ่านบริเวณทางแยกอุภัยเจษฎุทิศ
  4. รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน แนวเส้นทางผ่านบริเวณทางแยกบางพลัด

อ้างอิง[แก้]

  • อรณี แน่นหนา, 2002. นามนี้มีที่มา. ประพันธ์สาส์น: กรุงเทพฯ.

13°46′25″N 100°31′08″E / 13.77361°N 100.51889°E / 13.77361; 100.51889