จันทรุปราคา มกราคม พ.ศ. 2561

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จันทรุปราคาเต็มดวง
31 มกราคม พ.ศ. 2561
คราสบดบังด้านเหนือข้างบน
ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเงาของโลกจากขวาไปซ้าย (ตะวันตกไปตะวันออก)
ประเภทของอุปราคา
ประเภทเต็มดวง
แกมมา−0.3014
ความส่องสว่างเงามัว2.2941
ความส่องสว่างเงามืด1.3155
ระยะเวลา (ชั่วโมง:นาที:วินาที)
เต็มดวง01:16:04
บางส่วน03:22:44
เงามัว05:17:12
เวลา (UTC)
(P1) เริ่มจันทรุปราคาเงามัว10:51:15
(U1) เริ่มจันทรุปราคาบางส่วน11:48:27
(U2) เริ่มจันทรุปราคาเต็มดวง12:51:47
บดบังมากที่สุด13:29:50
(U3) สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง14:07:51
(U4) สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน15:11:11
(P4) สิ้นสุดจันทรุปราคาเงามัว16:08:27
แหล่งอ้างอิง
แซรอส124 (49 จาก 73)
บัญชี # (LE5000)9690

จันทรุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561 เนื่องจากดวงจันทร์อยู่ใกล้จุดปลายระยะทางวงโคจร เมื่อวันที่ 30 มกราคม จึงเรียกได้ว่า "ซูเปอร์มูน" โดยซูเปอร์มูนครั้งก่อน เกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.​ 2558[1]

นอกจากนี้ปรากฏการณ์ดังกล่าวยังเรียกว่าบลูมูน ซึ่งเป็นวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือนมกราคม พ.ศ.​ 2561 นอกจากนั้น ยังได้รับการกล่าวถึงในสื่อมวลชนว่า "ซูเปอร์บลูบลัดมูน" (Super Blue Blood Moon)คำว่า "บลัด (blood)" มีนัยยะสื่อถึงสีแดงดั่งโลหิตของดวงจันทร์ระหว่างปรากฎการณ์จันทรุปราคา[2] ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อวันที 30 ธันวาคม พ.ศ. 2409 สำหรับซีกโลกตะวันออก[a] และก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2409[3][4] ครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2580 ในอีกหนึ่งรอบวัฏจักรเมตอน (19 ปี)

 ภูมิหลัง[แก้]

จันทรุปราคาเกิดขึ้นเมื่อพระจันทร์เคลื่อนตัวผ่านระหว่างเงาของโลก เริ่มด้วยการที่เงาของโลกทำให้พระจันทร์มีสีเข้มขึ้นเล็กน้อย ต่อมาเงาเริ่ม "บดบัง" ส่วนของดวงจันทร์ทำให้เกิดสีแดง-น้ำตาล (สีมักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นบรรยากาศ พระจันทร์ดูเหมือนมีสีแดงเพราะการกระเจิงแบบเรเลห์ (Rayleigh scattering) ซึ่งเป็นปรากฏการเดียวกันกับที่ทำให้เกิดสีแดงขณะพระอาทิตย์ตกดิน และการหักเหของแสงนั้นโดยชั้นบรรยากาศโลกไปยังเงา[5]

การจำลองต่อไปนี้แสดงถึงลักษณะคร่าว ๆ ของดวงจันทร์ขณะผ่านเงาของโลก ส่วนเหนือของดวงจันทร์ใกล้กับตรงกลางของเงามากที่สุด จึงเป็นจุดที่มีสีเข้มและแดงที่สุด

"ซูเปอร์บลูบลัดมูน"[แก้]

ปรากฎการณ์นี้เป็น "ซูเปอร์มูน" (Super Moon) ด้วยความที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้ระยะทางที่ใกล้ที่สุดจากโลกในวงโคจรทำให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างขึ้น 7% หรือมีพื้นที่ใหญ่ขึ้น 14% เมื่อเทียบกับขนาดเฉลี่ยของดวงจันทร์ จันทรุปราคาซูเปอร์มูนครั้งก่อนเกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.​ 2558[1]

พระจันทร์เต็มดวงของวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.​ 2561 เป็นพระจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน (ในเขตเวลาส่วนใหญ่) ทำให้เรียกได้ว่าเป็น "บลูมูน"

นอกจากนี้ด้วยความที่มีสีส้มหรือสีแดง "เลือด" ระหว่างที่เกิดจันทรุปราคา สื่อจึงมักเรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็น "ซูเปอร์บลูบลัดมูน"

ภาพรวม[แก้]

การมองเห็น[แก้]

มหาสมุทรแปซิฟิกหันเข้าหาดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคา เอเชียกลางและตะวันออก (รวมถึงส่วนใหญ่ของไซบีเรีย, ฟิลิปินส์, อินโดนีเซีย, นิวซีแลนด์ และส่วนใหญ่ของออสเตรเลีย มองเห็นดวงจันทร์ได้อย่างชัดเจนในท้องฟ้ายามค่ำ สำหรับเอเชียตะวันตก, เอเชียใต้, ตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันออก จันทรุปราคาเกิดขึ้นขณะพระจันทร์กำลังขึ้น[6]

เวลา[แก้]

มุมมองของโลกจากดวงจันทร์ระหว่างจุดสูงสุดของจันทรุปราคา
เวลาเหตุการณ์ในแต่ละเขตเวลา
Eclipse HST AKST PST MST CST EST UTC MSK IST ICT CST JSTi AEDT NZDT
เขตเวลาจาก UTC −10 h −9 h −8 h −7 h −6 h −5 h 0 h +3 h +5½ h +7 h +8 h +9 h +11 h +13 h
เริ่มจันทรุปราคาเงามัว 00:51 01:51 02:51 03:51 04:51 05:51 10:51 13:51 17:51 18:51 19:51 21:51 23:51
เริ่มจันทรุปราคาบางส่วน 01:48 02:48 03:48 04:48 05:48 06:48 11:48 14:48 17:18 18:48 19:48 20:48 22:48 00:48
เริ่มจันทรุปราคาเต็มดวง 02:52 03:52 04:52 05:52 06:52 12:52 15:52 18:22 19:52 20:52 21:52 23:52 01:52
กลางจันทรุปราคา 03:30 04:30 05:30 06:30 13:30 16:30 19:00 20:30 21:30 22:30 00:30 02:30
สิ้นสุดจันทรุปราคา 04:08 05:08 06:08 07:08 14:08 17:08 19:38 21:08 22:08 23:08 01:08 03:08
สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 05:11 06:11 07:11 15:11 18:11 20:41 22:11 23:11 00:11 02:11 04:11
สิ้นสุดจันทรุปราคาเงามัว 06:08 07:08 16:08 19:08 21:38 23:08 00:08 01:08 03:08 05:08

ภาพถ่าย[แก้]

แผนที่การมองเห็น

เต็มดวงหรือเกือบเต็มดวง

ภาพ montage

บางส่วน

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง[แก้]

ชุดปีจันทรคติ[แก้]

ชุดอนุกรมจันทรุปราคา พ.ศ. 2559–2563
โหนดลง   โหนดขึ้น
ซารอส วันที่มองเห็น ประเภท ซารอส วันที่มองเห็น ประเภท
109 18 ส.ค. 2559
เงามัว
114
11 ก.พ. 2560
เงามัว
119
07 ส.ค. 2560
บางส่วน
124
31 ม.ค. 2561
เต็มดวง
129
27 ก.ค. 2561
เต็มดวง
134
21 ม.ค. 2562
เต็มดวง
139
16 ก.ค. 2562
บางส่วน
144 10 ม.ค. 2563
เงามัว
149 05 ก.ค. 2563
เงามัว
ชุดก่อนหน้า 16 ก.ย. 2559 ชุดก่อนหน้า 23 มี.ค. 2559
ชุดถัดไป 05 มิ.ย. 2563 ชุดถัดไป 30 พ.ย. 2563

ชุดซารอส[แก้]

อุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดซารอสที่ 124

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. การเกิดบลูมูนขึ้นอยู่กับพระจันทร์เต็มดวงครั้งก่อน เช่นที่เกิดในวันที่ 30 พฤศจิกายน หรือ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2525 (ตามเขตเวลา)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Super Blue Moon eclipse on January 31. Earthsky.org. 30 มกราคม 2018.
  2. "'Super Blue Blood Moon' Coming Jan. 31, 2018". NASA. 18 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2018.
  3. Rare 'Super Blue Blood Moon' Coming—First in 35 Years, National Geographic, 29 มกราคม 2018
  4. Mathewson, Samantha (30 มกราคม 2018). "The Super Blue Blood Moon Wednesday Is Something the US Hasn't Seen Since 1866". Space.com. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2018.
  5. Fred Espenak & Jean Meeus. "Visual Appearance of Lunar Eclipses". NASA. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2014.
  6. Rao, Joe. "First Blue Moon Total Lunar Eclipse in 150 Years Coming This Month". Space.com. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]