จันทรุปราคา กรกฎาคม พ.ศ. 2561

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จันทรุปราคาเต็มดวง
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
คราสบดบังด้านเหนือข้างบน
ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านศูนย์กลางเงาของโลก
ประเภทของอุปราคา
ประเภทเต็มดวง
แกมมา+0.1168
ระยะเวลา (ชั่วโมง:นาที:วินาที)
เต็มดวง01:42:57
บางส่วน03:54:32
เงามัว06:13:48
เวลา (UTC)
(P1) เริ่มจันทรุปราคาเงามัว17:14:49
(U1) เริ่มจันทรุปราคาบางส่วน18:24:27
(U2) เริ่มจันทรุปราคาเต็มดวง19:30:15
บดบังมากที่สุด20:21:44
(U3) สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง21:13:12
(U4) สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน22:19:00
(P4) สิ้นสุดจันทรุปราคาเงามัว23:28:37
แหล่งอ้างอิง
แซรอส129 (38 จาก 71)
บัญชี # (LE5000)9691

จันทรุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 โดยดวงจันทร์เคลื่อนผ่านที่ศูนย์กลางของเงาของโลก ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกของปรากฏการณ์จันทรุปราคาศูนย์กลาง นับตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เนื่องจากจันทรุปราคาครั้งนี้เกิดขึ้นใกล้กับจุดจุดไกลที่สุดของระนาบวงโคจร อุปราคาครั้งนี้จึงจะกลายเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 ซึ่งคราสจะใช้เวลาประมาณ 103 นาที[1]

อุปราคาครั้งนี้เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่สองของปี 2561 โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนมกราคม และอุปราคาครั้งนี้ยังจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับปรากฏการณ์ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องบังเอิญที่จะเกิดขึ้นในทุก ๆ 25,000 ปี[2]

การมองเห็น[แก้]

จันทรุปราคานี้มองเห็นได้อย่างสมบูรณ์ในด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชียกลาง เห็นในขณะดวงจันทร์กำลังขึ้นในทวีปอเมริกาใต้ ด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกาและทวีปยุโรป และเห็นในขณะดวงจันทร์กำลังตกในทวีปเอเชียตะวันออกและทวีปออสเตรเลีย[3]


มุมมองของโลกจากดวงจันทร์ที่กึ่งกลางของอุปราคา

แผนที่การมองเห็น

เบื้องหลัง[แก้]

จันทรุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนผ่านภายในเงามืด (เงา) ของโลก ขณะที่เริ่มอุปราคา เงาแรกของโลกจะทำให้ดวงจันทร์มืดลงเล็กน้อย หลังจากนั้น เงาจะเริ่ม "ปกคลุม" ส่วนของดวงจันทร์ เปลี่ยนแปลงให้มันเริ่มมีสีน้ำตาลอมแดงเข้ม (โดยปกติ สีสามารถปรวนแปรได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในชั้นบรรยากาศ) ดวงจันทร์จะปรากฏเป็นสีแดงเนื่องจากการกระจัดกระจายของเรย์ลี (เป็นปรากกฎการณ์เดียวกันกับที่ทำให้ดวงอาทิตย์เป็นสีแดงขณะตก) และการหักเหแสงนั้นโดยชั้นบรรยากาศของโลกเข้าสู่เงามืด[4]

ตามการจำลองแสดงให้เห็นถึงลักษณะภายนอกโดยประมาณของดวงจันทร์ ขณะกำลังเคลื่อนที่ผ่านเงาของโลก ความสว่างของดวงจันทร์เพิ่มขึ้นภายในเงามัว บางส่วนตอนเหนือของดวงจันทร์เคลื่อนเข้าใกล้ศูนย์กลางเงา ทำให้บริเวณนั้นมืดที่สุด และมีลักษณะภายนอกโดยมากเป็นสีแดง

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง[แก้]

ชุดปีจันทรคติ[แก้]

ชุดอนุกรมจันทรุปราคา พ.ศ. 2559–2563
โหนดลง   โหนดขึ้น
ซารอส วันที่มองเห็น ประเภท ซารอส วันที่มองเห็น ประเภท
109 18 ส.ค. 2559
เงามัว
114
11 ก.พ. 2560
เงามัว
119
07 ส.ค. 2560
บางส่วน
124
31 ม.ค. 2561
เต็มดวง
129
27 ก.ค. 2561
เต็มดวง
134
21 ม.ค. 2562
เต็มดวง
139
16 ก.ค. 2562
บางส่วน
144 10 ม.ค. 2563
เงามัว
149 05 ก.ค. 2563
เงามัว
ชุดก่อนหน้า 16 ก.ย. 2559 ชุดก่อนหน้า 23 มี.ค. 2559
ชุดถัดไป 05 มิ.ย. 2563 ชุดถัดไป 30 พ.ย. 2563

ชุดแซรอส[แก้]

ชุดแซรอสจันทรุปราคาที่ 129 จะเกิดขึ้นซ้ำทุก 18 ปี 11 วัน มีจันทรุปราคาทั้งหมด 71 ครั้ง เป็นจันทรุปราคาเต็มดวง 11 ครั้ง

กึ่งกลาง ครั้งแรก

กึ่งกลางอุปราคาของชุดเกิดขึ้นในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 กินระยะเวลา 106 นาที[5]
เงามัว บางส่วน เต็มดวง ศูนย์กลาง
10 มิ.ย. 1894 15 ก.ย. 2056 24 พ.ค. 2453 14 มิ.ย. 2489
ครั้งสุดท้าย
ศูนย์กลาง เต็มดวง บางส่วน เงามัว
7 ส.ค. 2579 8 ก.ย. 2633 26 เม.ย. 3012 24 ก.ค. 3156
2501–2650
25 มิ.ย. 2507 6 ก.ค. 2525 16 ก.ค. 2543
28 ก.ค. 2561 7 ส.ค. 2579 18 ส.ค. 2597
28 ส.ค. 2615 8 ก.ย. 2633

อ่างอิง[แก้]

  1. https://earth-chronicles.com/space/in-2018-the-longest-lunar-eclipse-will-take-place-in-100-years.html
  2. "Два редких астрономических явления можно будет наблюдать 27 июля" (ภาษารัสเซีย). TASS. 26 July 2018. สืบค้นเมื่อ 26 July 2018.
  3. "Eclipse Map — July 27, 2018 Total Lunar Eclipse" (ภาษาอังกฤษ).
  4. Espenak, Fred; Meeus, Jean (27 July 2018). "Visual Appearance of Lunar Eclipses". NASA Eclipse Web Site. National Aeronautics and Space Administration. สืบค้นเมื่อ 27 July 2018.
  5. Listing of Eclipses of cycle 129

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]