จันทรุปราคาเต็มดวง มิถุนายน พ.ศ. 2554

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จันทรุปราคาเต็มดวง
16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ปรากฏการณ์อุปราคาเมื่อมองจาก แทนซาเนีย

ภาพแสดงลำดับปรากฏการณ์โดยดวงจันทร์ค่อยๆโคจรเข้าไปในเงาของโลก
แกมม่า 0.0897
ระยะเวลา (ชั่วโมง:นาที:วินาที)
คราสเต็มดวง 01:40:52
บางส่วน 3:39:58
เงามัว 5:39:10
สัมผัส (UTC) (15 มิถุนายน 2554)
P1 17:23:05
U1 18:22:37
U2 19:22:11
ลึกที่สุด 20:12:37
U3 21:03:22
U4 22:02:35
P4 23:02:15

การเดินทางของดวงจันทร์ขณะเดินทางอยู่ใน กลุ่มดาวคนแบกงู (ทางเหนือของ กลุ่มดาวแมงป่อง)

จันทรุปราคาเต็มดวง มิถุนายน พ.ศ. 2554 เกิดระหว่างเวลา 01.22.37 น. ถึง 04.03.22 น. ของวันที่ 16 มิถุนายน ตามเวลาในประเทศไทย สามารถสังเกตได้ในทวีปเอเชีย, ทวีปออสเตรเลีย, ทวีปยุโรป, ทวีปแอฟริกา, ทวีปอเมริกาใต้

การเกิด[แก้]

เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งแรกที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2554 โดยครั้งต่อไปจะเกิดในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ขณะเกิดจันทรุปราคา[แก้]

ในช่วงที่เกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์จะโคจรอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู ระหว่างกลางกลุ่มดาวแมงป่องกับกลุ่มดาวคนยิงธนู และถ้าหากอยู่ในที่มืดและไม่มีแสงไฟรบกวน อาจเห็นทางช้างเผือกหลังดวงจันทร์ขณะเกิดจัทรุปราคาเต็มดวงได้

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง[แก้]

  • สุริยุปราคาบางส่วน 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ไม่สามารถเห็นได้ในประเทศไทย

การสังเกต[แก้]

จันทรุปราคาบางส่วนเริ่มขึ้นเวลา 01:23 น. เป็นจังหวะที่เริ่มเห็นขอบดวงจันทร์แหว่ง ขณะนั้นดวงจันทร์อยู่บนท้องฟ้าทิศใต้ เยื้องไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ดาวเสาร์ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวใกล้จะตกลับขอบฟ้าหรือตกลับขอบฟ้าไปแล้วสำหรับบางพื้นที่ เมื่อเวลาผ่านไป ดวงจันทร์จะเข้าไปในเงามืดลึกมากขึ้นเรื่อย ๆ เวลาเกือบตี 2 จะเห็นดวงจันทร์ถูกบังครึ่งดวง จากนั้นเริ่มบังหมดทั้งดวงในเวลา 02:22 น.

เวลา 03:13 น. ดวงจันทร์เข้าใกล้ศูนย์กลางเงาโลกมากที่สุด จากนั้นเวลา 04:03 น. เป็นเวลาที่จันทรุปราคาเต็มดวงสิ้นสุดลง รวมเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงยาวนานถึง 1 ชั่วโมง 40 นาที ขณะสิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

การสังเกตในประเทศไทย[แก้]

เนื่องจากในช่วงเวลาที่เกิดปรากฏการณ์ตรงกับฤดูฝนของประเทศไทยพอดีทำให้ตลอดปรากฏการณ์มีเมฆปกคลุมอยู่บนท้องฟ้าจะมีเพียงบางพื้นที่เท่านั้นที่สังเกตเห็นได้

อ้างอิง[แก้]