คุยกับผู้ใช้:Rattakorn c

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กรณีบทความ"มุขนายก" และ "เขตมิสซัง"[แก้]

ต้องขออภัยที่ไม่อาจให้ใช้คำว่าพระสังฆราช และสังฆมณฑลนะครับ เพราะปัญหานี้สร้างความขุ่นข้องหมองใจระหว่างศาสนามาแล้ว ผมไม่อยากให้วิกิซึ่งเป็นสารานุกรม กลายมาเป็นเวทีให้มาทะเลาะกันเรื่องนี้ ถ้าเป็นการใช้กันภายในย่อมเป็นสิทธิ์ของท่าน ผมไม่ขัดขวางเลย ส่วนในบทความอื่นๆที่ใช้ศัพท์นั้น ผมตั้งใจจะแก้ไขภายหลัง เตรียมใจไว้แล้วว่าอาจทำให้ชาวคาทอลิกไม่พอใจ แต่จำเป็นด้วยนโยบายของวิกิ จึงหวังว่าท่านและชาวไทยคาทอลิกท่านอื่นๆจะเข้าใจครับ ด้วยความเคารพ--พุทธามาตย์ 17:17, 23 ธันวาคม 2553 (ICT)

ที่ว่ากลัวจะเป็นที่ทะเลาะ เพราะผมเห็นในเว็บไซต์อื่นๆ มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องคำศัพท์ซ้ำซ้อนแล้ว ในวิกิเอง ผมเคยเข้าไปดูในหน้าพูดคุยของผู้ใช้ท่านอื่นๆ ก็มีการแสดงความไม่พอใจที่มีการใช้คำศัพท์ซ้ำซ้อน แต่เขาก็ไม่ได้แก้ไขอะไร แต่ผมไม่อยากให้คาราคาซัง จึงออกหน้าแก้เอง ถ้าคุณรัตตกรได้ดูประวัติบางบทความ เช่น เปลี่ยน สังฆมณฑล (คริสต์ศาสนา) เป็น เขตมิสซัง (ดังที่คุณเห็น) ก็เป็นผมที่เป้นคนแก้

จริงๆ แล้วบางบทความ ผมก็ยึดศัพท์คาทอลิกด้วยซ้ำไป เช่น monastery ในภาษาไทยกลับมีผู้ตั้งชื่อเป็น สำนักสงฆ์ ผมต้องเปลี่ยนให้เป็น อาราม เพื่อให้ตรงตามที่ชาวคาทอลิกใช้จริง การใช้คำว่าอารามในคาทอลิกนี่เมื่อก่อนผมก็ไม่เห็นด้วย แต่ค้นในพจนานุกรมศัพท์ศาสนาของราชบัณฑิตแล้ว ปรากฏว่าเขาอนุญาตผมจึงยึดตาม ที่พูดไปนี้เพื่อให้เห็นว่าผมทำตามเนื้อผ้า ไม่ได้เอาอารมณ์ส่วนตัวมาเป็นหลัก

กรณี พระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ผมพบว่ามีบทความซ้ำกัน 2 บทความ ผมจึงกะรอให้ผู้ดูแลระบบลบออกไปอันหนึ่งก่อน แล้วจะเข้าไปเปลี่ยนชื่อบทความให้ตรงตามราชการ

ยังมีศัพท์คาทอลิกหลายคำที่ราชการไทยไม่ได้บัญญัติเป็นศัพท์อื่น ฉะนั้น ชาวคาทอลิกมีสิทธิ์ยึดศัพท์นั้น และปรากฏว่ามีการใช้ผิดในหลายบทความในวิกิ เช่น Ascension of Jesus มีผู้แปลว่า อัสสัมชัญของพระเยซู ทั้งที่อัสสัมชัญใช้กับพระแม่มารีเท่านั้น และที่จริงต้องแปลว่า พระเยซูเสด็จขึ้นสวรรค์ (หรืออย่างน้อยก็การเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซู) และ Immaculate Conception ในบทความ มูรีโย มีผู้แปลว่า กำเนิดปาฏิหาริย์ ทั้งที่จริงต้องแปลว่า การปฏิสนธินิรมล หรือการเรียกคณะนักบวชคาทอลิกผิดเป็นลัทธิ เช่น คณะฟรังซิสกัน แต่มีผู้ใช้ชื่อบทความว่า ลัทธิฟรานซิสกัน

ถ้าคุณ Rattakorn c ยินดีช่วยผม ก็ลองเข้าไปตรวจสอบบทความเหล่านี้ดูได้ครับ--พุทธามาตย์ 17:46, 24 ธันวาคม 2553 (ICT)

ตอบคำปรึกษาเรื่องเทศกาล[แก้]

  1. ตอบ
    1. ผมได้ค้นจาก พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๓ (แก้ไขเพิ่มเติม) จึงได้คำแปลตามราชบัณฑิตดังนี้ครับ
      • Advent แปลว่า เทศกาลเตรียมรับเสด็จ
      • Pentecost แปลว่า เทศกาลเพนเทคอสต์
      • Easter แปลว่า วันพระเยซูคริสต์ทรงคืนพระชนม์
      • Christmas แปลว่า คริสต์มาส
    2. เนื่องจากชื่อบทความในวิกิต้องเป็นชื่อล้วนๆ ด้วยเหตุนี้ คำว่า วัน... เทศกาล... จึงต้องถูกตัดออก (เหมือนบทความบุคคล ก็ต้องตัดยศ เช่น พลเอก... นายแพทย์... ออกเช่นกัน) แต่ปัญหาเป็นอย่างที่คุณ Rattakorn ว่า คือถ้าตัดออกจะดูแปลกๆ ผมจึงเสนอวิธีแก้ดังนี้ครับ
    3. กฎดังกล่าวบังคับใช้เฉพาะชื่อบทความเท่านั้น ไม่รวมศัพท์ในเนื้อหา ฉะนั้นชื่อบทความควรทับศัพท์เป็น แอดเวนท์ ฯลฯ เพื่อให้สอดคล้องกับ คริสต์มาส เพนเทคอสต์ ที่ต้องทับศัพท์อยู่แล้ว ส่วนในเนื้อหาให้ยึดตามศัพท์ที่ราชบัณฑิตบัญญัติไว้ทุกตำแหน่ง กรณีที่คริสตังใช้คำว่า วันสมโภชพระจิตเจ้า (Pentecost) วันสมโภชพระคริสตสมภพ (Christmas) ก็ให้ระบุไปด้วย แต่แค่เฉพาะตอนต้นของบทความ (เพื่อเคารพมติของราชบัณฑิตยสถาน) เหมือนที่ผมระบุในต้นบทความเขตมิสซังว่าชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าสังฆมณฑล
    4. ที่มีการทับศัพท์เพนเทคอสต์ ผมเข้าใจว่าเขาคงยึดศัพท์คริสเตียน เพราะคริสเตียนทับศัพท์คำนี้กันอยู่แล้ว ไม่มีการแปลว่าวันสมโภชพระวิญญาณบริสุทธิ์แต่อย่างใด
    5. ผมดูหน้าผู้ใช้ของคุณ ได้พบศัพท์ชื่อบทความที่ผิดอีก ตามราชบัณฑิตต้องแปลดังนี้ครับ
      • Canon law แปลว่า กฎบัญญัติของคริสตจักร
    6. ส่วน Gnosticism จำได้ลางๆว่า แปลว่า ไญยนิยม อันนี้ขอตรวจอีกทีนะครับ แต่ที่แน่ๆ ไม่ใช่ ประสานญาณนิยม
    7. สุดท้ายนี้ผมขอฝากอีกเรื่องหนึ่ง คือบทความคาทอลิกส่วนใหญ่ในวิกิถูกสร้างโดยคุณ Mattis เธอมีความรู้กว้างขวางมาก แต่เข้าใจว่าคงจะแปลตรงจากภาษาอังกฤษด้วยวินิจฉัยส่วนตัว ทำให้ศัพท์ส่วนมากผิดจากที่พระศาสนจักรและราชบัณฑิตกำหนดไว้ หากจะแก้ไขศัพท์ในบทความของเธอต้องมีอ้างอิงชัดๆ มิฉะนั้นการแก้ไขจะถูกย้อนกลับครับ (เพราะผมโดนมาแล้ว)
    --พุทธามาตย์ 23:51, 27 ธันวาคม 2553 (ICT)
  2. เข้าใจผิดแล้ว
    1. นโยบายนั้นใช้สำหรับชื่อบุคคลเท่านั้น (เช่น "คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันทน์" ชื่อบทความให้ใช้ว่า "พรทิพย์ โรจนสุนันทน์") ส่วนอื่น ๆ ไม่เกี่ยว (เช่น "วันฉลองรัฐธรรมนูญไทย" ก็ไม่ต้องตัดว่า "ฉลองรัฐธรรมนูญไทย")
    2. "canon law" เอามาจากไหนว่า ราชบัณฑิตว่า "กฎบัญญัติของคริสตจักร" ราชบัณฑิตบัญญัติว่า "ประมวลกฎหมายโรมันเกี่ยวกับศาสนา" ต่างหาก
    3. "gnosticism" ว่า "ไญยนิยม" ถูกต้องแล้ว
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๑๒.๒๘, ๐๐:๐๔ นาฬิกา (ICT)
  3. อนึ่ง ที่ว่า บทความให้ทับศัพท์ เนื้อความให้อีกแบบนั้น ขัดนโยบายวิกิพีเดียอย่างร้ายแรง วิกิพีเดียต้องการความเป็นเอกภาพในทางเนื้อหา เพื่อความน่าเชื่อถือของบทความ ไม่ควรที่จะใช้สลับกันไปมา ดังนั้น ถ้าจะเลือกทับศัพท์ ก็พึงใช้คำทับศัพท์ในบทความด้วย ถ้าจะเลือกศัพท์อื่น ก็พึงตั้งชื่อบทความด้วยศัพท์นั้น และใช้ศัพท์นั้นในเนื้อความด้วย
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๑๒.๒๘, ๐๐:๐๖ นาฬิกา (ICT)
    ตามปกติแล้ว การเขียนงานวิชาการ ต้องใช้ศัพท์เดียวกันตลอดบทความ ถ้าไม่ได้หมายถึงคำอื่น ไม่ได้ร้ายแรงถึงขนาดนั้น --octahedron80 18:52, 10 มกราคม 2554 (ICT)
  4. Pentecost
    1. ภาคพันธสัญญาใหม่, กิิจการ, บทที่ ๒, ข้อที่ ๑:
      "เมื่อวันเทศกาลเพ็นเทคศเต (แปลว่าที่ห้าสิบ เป็นเทศกาลภายหลังวันเริ่มเทศกาลขนมปังไร้เชื้อวัน) มาถึงจำพวกศิษย์จึง รวมอยู่ในที่แห่งเดียวกัน"
    2. New Testament, Acts, Chapter 2, Paragraph 1:
      "And when the day of Pentecost was fully come, they were all with one accord in one place"
    3. ภาคพันธสัญญาใหม่, กิิจการ, บทที่ ๒๐, ข้อที่ ๑๖:
      "ด้วยว่าเปาโลได้ตั้งใจว่าจะแล่นเลยเมืองเอเฟซัสไป เพื่อจะไม่ต้องค้างอยู่นานในแคว้นเอเชีย เพราะท่านรีบให้ถึงกรุงเยรูซาเล็ม ถ้าเป็นได้ ให้ทันวันเทศกาลวันเพ็นเทคศเต"
    4. New Testament, Acts, Chapter 20, Paragraph 16:
      "For Paul had determined to sail by Ephesus, because he would not spend the time in Asia: for he hasted, if it were possible for him, to be at Jerusalem the day of Pentecost"
    5. ภาคพันธสัญญาใหม่, โครินธ์, เล่ม ๑, บทที่ ๑๖, ข้อที่ ๑๘:
      "แต่ข้าพเจ้าจะอยู่ที่เมืองเอเฟซัสจนถึงเทศกาลเพ็นเทคศเต"
    6. New Testament, Corinthians, Book 1, Chapter 16, Paragraph 18:
      "But I will tarry at Ephesus until Pentecost"
    7. ดูเหมือนว่า จะทับศัพท์ แต่เป็นสำเนียงโปรตุเกส ("เพ็นเทคศเต" น่าจะอ่านว่า "เพ็น-เท-คด-สะ-เต")
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๑๒.๒๘, ๐๐:๒๐ นาฬิกา (ICT)
  5. Easter
    1. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๘). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน. ISBN 9749588339. หน้า ๑๘๒.
      "Easter วันพระเยซูคริสต์ทรงคืนพระชนม์ : (ค.) วันที่คริสตชนฉลองชัยชนะของพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย..."
    2. ภาคพันธสัญญาใหม่, กิิจการ, บทที่ ๑๒, ข้อที่ ๔:
      "เมื่อจับเปโตรแล้ว จึงให้จำคุก ให้ทหารสี่หมู่ ๆ ละสี่คนคุมไว้ ตั้งใจว่า เมื่อสิ้นเทศกาลปัสกาแล้ว จะพาออกมาให้แก่คนทั้งหลาย"
    3. New Testament, Acts, Chapter 12, Paragraph 4:
      "And when he had apprehended him, he put him in prison, and delivered him to four quaternions of soldiers to keep him; intending after Easter to bring him forth to the people"
    4. ไม่รู้ไบเบิลแปลผิดหรือเปล่า เพราะราชบัณฑิตว่า (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘ : ๓๗๐)
      "passover ปัสคา : (ย.; ค.) มาจากคำในภาษาฮีบรูว่า pesach แปลว่า เว้น, ผ่านไป..."
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๑๒.๒๘, ๐๐:๒๗ นาฬิกา (ICT)
  6. Advent ถ้าจะทับศัพท์ ต้องว่า "แอดเวนต์" มิใช่ "แอดเวนท์"
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๑๒.๒๘, ๐๐:๓๐ นาฬิกา (ICT)
  7. มึนครับผม O_O เอาเข้าสภากาแฟไหมครับ
    --Rattakorn 08:38, 28 ธันวาคม 2553 (ICT)
  8. สรุปเรื่องที่ข้าพเจ้าอภิปราย คือว่า
    1. นโยบายเรื่องชื่อบทความก็เอ่ยถึง ใช้สำหรับบุคคลเท่านั้น (เช่น "คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันทน์" ชื่อบทความให้ใช้ว่า "พรทิพย์ โรจนสุนันทน์") อื่น ๆ ไม่เกี่ยว (เช่น "วันฉลองรัฐธรรมนูญไทย" ก็ไม่ต้องตัดว่า "ฉลองรัฐธรรมนูญไทย")
    2. ที่คุยกันว่า บทความให้ทับศัพท์ ส่วนเนื้อความให้อีกแบบนั้น ขัดนโยบายวิกิพีเดียอย่างร้ายแรง วิกิพีเดียต้องการความเป็นเอกภาพในทางเนื้อหา เพื่อความน่าเชื่อถือของบทความ ไม่ควรที่จะใช้สลับกันไปมา ดังนั้น ถ้าจะเลือกทับศัพท์ ก็พึงใช้คำทับศัพท์ในบทความด้วย ถ้าจะเลือกศัพท์อื่น ก็พึงตั้งชื่อบทความด้วยศัพท์นั้น และใช้ศัพท์นั้นในเนื้อความด้วย
    3. "Pentecost" ในไบเบิลใช้ว่า "เพ็นเทคศเต" (""เพ็น-เท-คด-สะ-เต")
    4. "canon law" ราชบัณฑิตบัญญัติว่า "ประมวลกฎหมายโรมันเกี่ยวกับศาสนา"
    5. "Easter" ไบเบิลว่า "ปัสกา" แต่ดูเหมือนจะผิด เพราะ "ปัสกา" = "passover"
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๑๒.๒๘, ๐๙:๕๑ นาฬิกา (ICT)
  9. จากที่อภิปราย
    1. นโยบายเรื่องชื่อบทความก็เอ่ยถึง ใช้สำหรับบุคคลเท่านั้น (เช่น "คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันทน์" ชื่อบทความให้ใช้ว่า "พรทิพย์ โรจนสุนันทน์") อื่น ๆ ไม่เกี่ยว (เช่น "วันฉลองรัฐธรรมนูญไทย" ก็ไม่ต้องตัดว่า "ฉลองรัฐธรรมนูญไทย")
    2. ที่คุยกันว่า บทความให้ทับศัพท์ ส่วนเนื้อความให้อีกแบบนั้น ขัดนโยบายวิกิพีเดียอย่างร้ายแรง วิกิพีเดียต้องการความเป็นเอกภาพในทางเนื้อหา เพื่อความน่าเชื่อถือของบทความ ไม่ควรที่จะใช้สลับกันไปมา ดังนั้น ถ้าจะเลือกทับศัพท์ ก็พึงใช้คำทับศัพท์ในบทความด้วย ถ้าจะเลือกศัพท์อื่น ก็พึงตั้งชื่อบทความด้วยศัพท์นั้น และใช้ศัพท์นั้นในเนื้อความด้วย
      • ข้อนี้รับทราบ
    3. "Pentecost" ในไบเบิลใช้ว่า "เพ็นเทคศเต" (""เพ็น-เท-คด-สะ-เต")
      • ไบเบิลของผมใช้ เปนเตกอสเต -- อาจเป็นเพราะคนถอดเสียงต่างคน ทางที่ดีใช้ภาษาไทยดีไหม? แต่ถ้าใช้ภาษาไทย คำที่คุ้นหูเช่น คริสต์มาส อีสเตอร์ ต้องเปลี่ยนเป็นไทยด้วยไหม? ไม่อยากให้เปลี่ยนเพราะคนอ่านเข้าใจดีอยู่แล้ว
    4. "canon law" ราชบัณฑิตบัญญัติว่า "ประมวลกฎหมายโรมันเกี่ยวกับศาสนา"
      • แล้วกฎหมายเกี่ยวกับศาสนาที่บังคับใช้ในจักรวรรดิโรมันโบราณ จะเรียกว่าอย่างไร?
    5. "Easter" ไบเบิลว่า "ปัสกา" แต่ดูเหมือนจะผิด เพราะ "ปัสกา" = "passover"
      • ปัสกาคือ passover ครับ [1]
    --Rattakorn 11:03, 28 ธันวาคม 2553 (ICT)
  10. ฟรานซิสโก ฆาเบียร์
    1. เทียบกับ "ไมเคิลแอนเจโล" ที่ใช้ "มีเกลันเจโล" และ "วินเซ้นต์ แวน โก๊ะ" ที่ใช้ "ฟินเซนต์ ฟาน ก็อกฮ์" ได้ เนื่องจากไม่มีปรากฏในคัมภีร์หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างแน่นอน
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๑๒.๒๘, ๑๑:๒๔ นาฬิกา (ICT)

Re:เพิ่มเติม[แก้]

  • ผมก็ทราบว่า "แคนเทอร์เบอรี" อาจไม่ตรงกับการออกเสียงที่แท้จริง แต่การออกเสียงในภาษาอังกฤษหลายคำก็ต่างกันอยู่แล้ว ตามแต่ภูมิภาคและบุคคล และตามกฎของวิกิในหน้า วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ#การทับศัพท์ชื่อ ได้กำหนดให้ยึดตามที่มีบัญญัติในพจนานุกรมราชบัณฑิตฯก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนการทับศัพท์ตามเสียงนั้นมาเป็นข้อ 4 ดังนั้นผมจึงจำเป็นต้องใช้ "แคนเทอร์เบอรี" ตามกฎนี้
  • ที่แจ้งมาในข้อ 2 และ 3 ผมเห็นด้วยครับ และต่อไปแจ้งให้ทราบก่อน
  • ผมไม่พบ religious freedom ในพจนานุกรมศัพท์ศาสนา แต่ในพจนานุกรมศัพท์ปรัชญา ราชบัณฑิตฯให้แปล freedom ว่า เสรีภาพ ฉะนั้น ถ้าจะแปลคำดังกล่าวว่า เสรีภาพทางศาสนา ก็คือว่าไม่ขัดกับราชบัณฑิตฯครับ
  • evangelism ไม่พบ แต่พบคำว่า evangelist ให้แปลว่า "ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ, ผู้แผยแพร่ข่าวประเสริฐ, ผู้ประกาศพระกิตติคุณ" (หน้า 203) สำหรับฝ่ายโปรเตสแตนต์ หรือ "ผู้นิพนธ์พระวรสาร ๔ ท่าน" (หน้า 204) สำหรับฝ่ายคาทอลิก
  • ผมไม่พบการแปลคำว่า Christian โดยตรง แต่ในพจนานุกรมศัพท์ศาสนา มีการใช้คำว่า "คริสต์ศาสนิกชน" (หน้า 166 เป็นต้น) "คริสตชน" (หน้า 177, 199 เป็นต้น) และทับศัพท์ว่า "คริสเตียน" ในพจนานุกรม (ภาษาไทย) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
  • minister เฉยๆ ไม่พบ แต่พบคำว่า ordained minister ให้แปลว่า ศาสนาจารย์ (หน้า 415 เป็นต้น)
  • clergy เฉยๆ ไม่พบ แต่พบคำว่า secular clergyman ให้แปลว่า นักบวชสามัญ (หน้า 175) จึงเข้าใจได้ว่า clergyman ควรแปลว่า นักบวช
  • priest ให้แปลว่า บาทหลวง (หน้า 432) บทความนี้ในภาษาไทยผมสร้้างเอง และมีผู้ทำลิงก์ไปที่ priesthood (catholic) เพราะบทความ priest ในวิกิอ้างถึงนักบวชในศาสนาอื่นด้วยจึงใช้ควรคำแปลว่านักบวชแทน
  • pastor ให้แปลว่า ศิษยาภิบาล (หน้า 415) คำนี้ราชบัณฑิตยึดตามฝ่ายโปรเตสแตนต์

คำที่เหลือไม่พบครับ--พุทธามาตย์ 21:22, 9 มกราคม 2554 (ICT)

ขอเรียนให้ทราบเพิ่มเติมครับ เพราะเพิ่งค้นเจอ

  • vicar ให้ทับศัพท์ว่า วิคาร์ (หน้า 323)
  • ส่วนคำว่า ordained minister ผมคิดว่าเป็นการเรียกให้เห็นความแตกต่างจาก minister ที่หมายถึง รัฐมนตรี หรืออัครราชทูต ผมได้ดูในบทความภาษาอังกฤษ พบว่า Minister (Christianity) และ Ordained Minister เป็นบทความเดียวกัน คำว่า minister ที่คุณ Rattakorn ถามมา ผมคิดว่ามีความหมายเดียวกับ ordained minister (ศาสนาจารย์) ที่พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากลระบุไว้ครับ--พุทธามาตย์ 16:28, 11 มกราคม 2554 (ICT)

เพิ่มเติม[แก้]

  • ใช้คำว่า ครูคำสอน และ หนังสือคำสอน ก็ได้ครับ เพราะราชบัณฑิตฯไม่ได้บัญญัติศัพท์ไว้
  • ศัพท์ราชบัณฑิตฯหลายคำเป็นคำที่เราไม่คุ้นหูเป็นปกติอยู่แล้วครับ ถ้าเราใช้ในวิกิ ก็จะได้ช่วยเผยแพร่คำที่ถูกต้องและเป็นแบบแผน ถ้าเกรงคนทั่วไปจะไม่รู้ศัพท์คาทอลิกไทย ผมแนะนำไปแล้วว่าให้แจ้งในบทความไปด้วยเหมือนเขตมิสซัง เรื่องที่จะใส่คำว่าคาทอลิกหลังเขตมิสซัง ส่วนตัวผมพิจารณาเรื่องนี้มานานแล้ว แล้วตัดสินใจไม่ใส่เพราะ 1. นิกายแองกลิคันและออร์ทอดอกซ์ยังไม่ได้ตั้งกรุงเทพฯเป็นเขตมิสซัง ฉะนั้นเมื่อบอกว่าเขตมิสซังกรุงเทพฯก็เป็นอันเข้าใจอยู่แล้วว่าเป็นเขตมิสซังคาทอลิก (หรือถ้าตอนแรกไม่รู้จริงๆเมื่ออ่านบทความก็รู้ได้) 2.คำว่า เขตมิสซังกรุงเทพฯ เป็นคำที่ราชการใช้ ซึ่งเราตกลงกันแล้วว่าจะยึดตามราชการ
  • คำว่า ecclesiastical province ผมทิ้งไว้เพราะรวมหลักฐานอยู่ และสรุปได้ว่า province พจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ให้แปลว่า จังหวัด หรือมณฑล ส่วน ecclesiastical เป็น adjective ของ church ซึ่งพจนานุกรมศัพท์ศาสนาให้แปลว่า คริสตจักร ดังนั้นคำแปลตามราชบัณฑิตฯจึงควรอนุโลมว่าเป็น มณฑลทาง (หรือของ) คริสตจักร ส่วนคาทอลิกในไทยก็ไม่ได้ใช้คำว่าสังฆเขตอยู่แล้ว คาทอลิกแปล province ว่า แขวง เช่น provincial แปลว่า เจ้าคณะแขวงคณะนักบวช และ ecclesiastical province แปลว่า แขวงฝ่ายพระศาสนจักร (จากกฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก) การใช้คำว่าสังฆเขตจึงผิดทั้งสองฝ่าย
  • คำว่า deacon ให้ทับศัพท์ว่า ดีคัน หรือแปลว่า พันธบริกร และมัคนายก (เลขหน้าจะแจ้งทีหลัง เพราะไม่ได้ถือหนังสืออยู่)
  • คำว่า apostasy ยังไม่เคยพบครับ--พุทธามาตย์ 17:30, 16 มกราคม 2554 (ICT)

ในวิกิภาษาอังกฤษ archdiocese เป็นหน้าเดียวกับ archbishop ตอนนี้ผมจึงแก้หน้าเปลี่ยนทางอัครมุขมณฑลไปที่อัครมุขนายกเรียบร้อยแล้วครับ--พุทธามาตย์ 17:34, 16 มกราคม 2554 (ICT)

  • ถ้าเป็นเขตมิสซังในต่างประเทศ จะใช้ว่าเขตมิสซังคาทอลิก เขตมิสซังแองกลิคัน ก็ได้ครับ ขอย้ำนะครับว่า แองกลิคัน เพราะพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากลใช้แบบนี้ (หน้า 43-5)
  • ตอนนี้ผมก็งงเหมือนกันครับ เพิ่งสังเกตว่ากรมการศาสนาใช้คำว่า ภาค ถ้าเป็นแบบนี้ก็ต้องยึดตามศัพท์ราชการ คือเป็นภาคแคนเทอร์เบอรี ฯลฯ แต่ถ้าจะสร้างบทความ Ecclesiastical province ในภาษาไทยจะเรียกว่า ภาค เฉยๆคงไม่เหมาะเพราะจะสับสนกับภาคแบบอื่นๆ อาจจะเรียกว่า ภาคคริสตจักร หรือ ภาค (ศาสนาคริสต์)
  • คำว่า deacon ให้ทับศัพท์ว่า ดีกัน(หน้า 201) หรือแปลว่า พันธบริกร(หน้า 250) และมัคนายก(หน้า 251)

--พุทธามาตย์ 17:02, 17 มกราคม 2554 (ICT)

  • ผมว่าปัญหาศัพท์ "เขตมิสซัง" เป็นปัญหาเดียวกับคำว่าราชรัฐ คือ เขตมิสซังทางราชการให้ใช้หมายถึงทั้ง archdiocese และ diocese ราชรัฐทางราชการก็ใช้หมายถึงทั้ง principality และ grand duchy (ดูเพิ่มเติม) ทำให้เกิดปัญหาในการสร้า้งบทความในวิกิ เพราะทั้งสองศัพท์สื่อเขตปกครองที่ต่างกัน เนื่องจากชื่อ diocese ในประเทศไทยมีแบบของราชการกำหนดไว้อยู่ดังนั้น จึงต้องใช้ว่า เขตมิสซังกรุงเทพฯ เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง ฯลฯ ตามที่ราชการว่า

อีกอย่างหนึ่ง ผมอยากให้คุณรัตตกรลองดูวิธีการแก้ปัญหาความกำกวมของศัพท์ "ราชรัฐ" ในตำราของราชบัณฑิตยสถาน ดังนี้ครับ

  1. สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หน้า 475:
    "นัดดาของโอโนเรที่ ๑ ก็ประกาศตนเป็น "เจ้าชายและลอร์ดแห่งโมนาโก" ซึ่งทั้งกษัตริย์แห่งสเปนและกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสก็ทรงให้การรับรอง และทำให้โมนาโกมีสถานะเป็นราชรัฐชั้นพรินซิพาลิตี (Principality)"
  2. หน้า 425:
    "ที่ประชุมใหญ่แห่งเวียนนาเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๑๕ ได้สถาปนาลักเซมเบิร์กขึ้นเป็นรัฐชั้น "แกรนด์ดัชชี" และให้ราชรัฐลักเซมเบิร์กอยู่ในอำนาจปกครองของวิลเลียมที่ ๑"

จะเห็นว่าราชบัณฑิตฯอธิบายราชรัฐว่ามีลำดับขั้น มีราชรัฐชั้นพรินซิพาลิตี ราชรัฐชั้นแกรนด์ดัชชี ถ้าเราจะอนุโลมมาใช้แก้ปัญหาศัพท์ archdiocese และ diocese ก็น่าจะเรียกว่า เขตมิสซังชั้นอัครมุขมณฑล เขตมิสซังชั้นมุขมณฑล แต่เวลาราชการออกชื่อก็เรียกแค่ ราชรัฐลักเซมเบิร์ก ไม่ได้เรียกว่า ราชรัฐชั้นแกรนด์ดัชชีลักเซมเบิร์ก ดังนั้นเวลาเราออกชื่อ diocese เราก็อาจเรียกแค่ เขตมิสซังแคนเทอร์เบอรรี เขตมิสซังยอร์ค เท่านั้น ส่วนว่าเป็น archdiocese และ diocese คงต้องไประบุในบทความ อันนี้เป็นแค่ข้อเสนอของผมนะครับ ให้ลองพิจารณาดู : )

  • คำว่า บิชอป และ มุขนายก เป็นคำที่ราชบัณฑิตฯอนุญาตทั้งสองคำ และผมก็พบการใช้ทั้งสองคำคละกันไปมาตลอดทั้งเล่มของพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อันนี้เป็นหลักฐานว่าการใช้ 2 คำควบคู่กันไม่ได้ทำให้เนื้อหาไม่เป็นเอกภาพดังที่บางท่านวิตก เพราะพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯก็ทำแบบนี้ นอกจากนี้ก็มีผู้ทำหน้าเปลี่ยนทาง บิชอปไปที่มุขนายก ผมก็ทำหน้าอาร์ชบิชอปไปที่อัครมุขนายก ทำให้ในวิกินี้คำทั้งสองคู่สามารถเลือกใช้ควบคู่กันได้ (คือจะทับศัพท์หรือแปล ถ้ากดลิงก์จะมาที่หน้าเดียวกัน) ผมสังเกตอย่างหนึ่งว่าราชบัณฑิตฯมักจะนิยมทับศัพท์ว่าบิชอปมากกว่า เพราะปรากฏการทับศัพท์นี้ในตำราอื่นๆของราชบัณฑิตด้วย (รวมทั้งสารานุกรมข้างต้น) การใช้คำว่ามุขนายกในพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ผมสังเกตว่าจะใช้เมื่อพูดถึงตำแหน่งเฉยๆ แต่เวลาบอกว่ามุขนายกที่ไหนจะใช้ทับศัพท์ เช่น อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี (หน้า 43) บิชอปแห่งกรุงโรม (หน้า 468) ส่วนสารานุกรมประเทศในทวีปยุโรปผมดูแล้วไม่ใช้คำว่ามุขนายกเลย ทับศัพท์ว่าบิชอป อาร์ชบิชอป อย่างเดียวทั้งเล่ม

ยินดีถูกรบกวน--พุทธามาตย์ 18:21, 18 มกราคม 2554 (ICT)

ศัพท์บัญญัติศาสนา[แก้]

จำเป็นต้องขึ้นป้ายใหญ่โตด้วยหรือครับ บทความทั้งหลายจะรกโดยใช่เหตุ (ป้ายมิได้เป็นส่วนหนึ่งของสารานุกรม) ภายหน้าจะมีคนทำเลียนแบบในสาขาอื่นขึ้นมาอีก ผมเห็นว่าทำแม่แบบข้อความเล็กๆสำหรับใส่ในส่วนอ้างอิงก็พอแล้ว --octahedron80 18:48, 10 มกราคม 2554 (ICT)

ผมว่าจะให้ใช้วางในส่วนอ้างอิงครับ (บรรณานุกรมธรรมดา) ถ้าวางในหน้าพูดคุยคนอาจมองข้าม --octahedron80 18:54, 10 มกราคม 2554 (ICT)

ถ้าทำใส่หน้าอภิปรายผมก็ไม่ห้ามครับ เช่นนั้นก็ควรมีรายชื่อคำศัพท์เรียงไว้ด้วยประกอบกัน --octahedron80 19:00, 10 มกราคม 2554 (ICT)

บทความที่ควรเปลี่ยนชื่อ[แก้]

ตามที่สัญญาไว้ครับ บทความที่ควรเปลี่ยนชื่อ (ตามทัศนะของผม) มีดังนี้ครับ

ลำดับที่ ชื่อในวิกิอังกฤษ ชื่อในวิกิไทย ชื่อที่ควรใช้ เหตุผล
1 en:Eastern Orthodox อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป หน้า 460
2 en:Russian Orthodox รัสเซียออร์โธด็อกซ์ รัสเซียออร์ทอดอกซ์ สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป หน้า 482
3 en:Anglicanism อังกลิคัน แองกลิคัน พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล หน้า 43
4 en:Lutheranism ลูเทอรัน ลูเทอแรน พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล หน้า 323
5 en:Carthusian ลัทธิคาร์ทูเซียน คณะคาร์ทูเซียน order=คณะ ตามพจนานุกรมฯ หน้า 174
6 en:Cistercian ลัทธิซิสเตอร์เชียน คณะซิสเตอร์เชียน order=คณะ ตามพจนานุกรมฯ หน้า 174
7 en:Franciscan ลัทธิฟรานซิสกัน คณะฟรันซิสกัน เว็บไซต์คณะฟรันซิสกันประเทศไทย
8 en:Protestant Reformation การปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ การปฏิรูปคริสต์ศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล หน้า 458
9 en:Ecumenical council การประชุมสภาสงฆ์ สังคายนาสากล Council=สังคายนา*
10 en:Council of Trent การประชุมสภาสงฆ์แห่งเทร้นต์ สังคายนาแห่งเทรนต์ พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล หน้า 149
11 en:Fall of Man ขับจากสวรรค์ การตกในบาป พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล หน้า 209


  • คำว่า Council ที่ใช้ในคริสต์ศาสนา พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตฯ ให้แปลว่า สังคายนา ได้ และเคยเห็นคำว่า สากลคริสจักร ในหน้า 35 ซึ่งคาดว่าจะแปลมาจาก Ecumenical Church ดังนั้น Ecumenical council ก็ควรแปลว่า สากลสังคายนา แต่ตรวจดูฝ่ายคาทอลิกแล้วเห็นใช้คำว่า สังคายนาสากล ผมคิดว่าไม่ต่างกัน ควรถือตามฝ่ายคาทอลิกได้ (เพราะราชบัณฑิตไม่ได้บัญญัติไว้โดยตรง)

อย่าเพิ่งท้อกับการทำงานในวิกินะครับ ขอเป็นกำลังใจให้ Dóminus técum--พุทธามาตย์ 16:25, 28 มกราคม 2554 (ICT)

มีเพิ่มเติมครับข้อ 11 ครับ--พุทธามาตย์ 16:28, 28 มกราคม 2554 (ICT)

  • Trinity ใช้คำแปลได้ทั้ง ตรีเอกภาพ และ ตรีเอกานุภาพ (หน้า ๕๙๗)
  • Bible แปลว่า คัมภีร์ไบเบิล อย่างเดียว (หน้า ๙๙)
  • ไม่พบการแปลคำว่า Holy Spirit โดยตรง แต่มีการใช้คำว่า พระจิต (ไม่มีำว่าเจ้า) และ พระวิญญาณบริสุทธิ์ ทั้งสองคำ (ในหน้า ๕๙๗) ครับ

--พุทธามาตย์ 01:06, 31 มกราคม 2554 (ICT)

  • ผมเห็นด้วยกับคำว่า มาตรฐานเดียวกัน แต่ในความหมายที่ว่าทั้งศัพท์โปรเตสแตนต์และคาทอลิก มีมาตรฐานเดียวกันที่จะใช้เป็นชื่อบทความ ถ้ายึดศัพท์คาทอลิกอย่างเดียว ชาวคริสเตียนจะมองว่าวิกิใช้สองมาตรฐาน ในกรณีที่ราชบัณฑิตรับรองศัพท์ทั้งสองนิกาย ผมคิดว่าพึงเป็นสิทธิ์ของคนแรกที่เขียนบทความนั้นว่าจะใช้ศัพท์ไหน (ถ้าคุณอยากให้มีศัพท์คาทอลิกมากกว่า ก็สร้างบทความใหม่ให้มากๆ คนที่เข้ามาพบทีหลังถ้าเห็นว่าราชบัณฑิตฯรับรอง อย่างไรเขาก็ไม่แก้)
  • คำว่า คริสตจักร (หน้า 166) เป็นคำที่ราชบัณฑิตรับรองให้เป็นคำแปลของคำว่า church ในความหมายที่เป็นประชาคมของชาวคริสต์ (ซึ่งก็คือความหมายที่สอง) แต่ถ้าเป็นตัวศาสนสถาน จะใช้คำว่า โบสถ์ (หน้า้ 199 เป็นต้น) แต่เนื่องการแก้คำกำกวมในวิกิ ทำให้ church ในความหมายที่สองถูกตั้งชื่อเป็น en:Christian church แทน ลิงก์ข้ามภาษาจึงออกมาเป็นแบบนั้น (พึงเข้าใจว่าตามพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ใช้คำว่า church เฉยๆ) คำว่า ศาสนจักร ก็พบว่าใช้ในพจนานุกรมดังกล่าวเหมือนกัน แต่น้อยมาก และเฉพาะในบริบทของคาทอลิก ขณะที่ คริสตจักร เป็นคำแปลเดียวในหัวข้อศัพท์ Church ผมจึงใช้คำว่า คริสตจักร เป็นชื่อบทความครับ--พุทธามาตย์ 00:08, 2 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

ศาลาชุมชน[แก้]

ประกาศทุกอย่างต้องพยายามคงไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ครับ เป็นประเพณีปฏิบัติมาแต่เดิมเพื่อให้ทุกคนได้รับรู้รับทราบกันทั่วถึง (หลังจากพ้นเวลานี้ไปแล้วใครโผล่มาบอกไม่รู้ไม่ได้) --taweethaも 08:30, 19 มีนาคม 2554 (ICT)

เข้าใจแล้วครับ --Rattakorn 08:32, 19 มีนาคม 2554 (ICT)

Re:Baptist[แก้]

  • เป็นอย่างนั้นครับ ในพจนานุกรมระบุว่า Baptist Church แปลว่า คริสตจักรแบปทิสต์ (หน้า 88) ในตอนท้ายก็ระบุเช่นกันว่า คำว่า "แบปทิสต์" ทางคริสตจักรโปรเตสแตนต์นิยมเขียนเป็น "แบ๊บติสต์" (หน้า 89) ถ้ามีเอกสารของกรมการศาสนาใช้อย่างหลัง จะเลือกอย่างหลังเป็นชื่อบทความก็ได้ครับ แต่ในวิกิน่าจะใช้ได้ทั้งสองอย่างเพราะอันหนึ่งเป็นชื่อที่ราชบัณฑิตฯใช้ อีกอันองค์กรเขาใช้
  • ขอบคุณมากครับที่เปลี่ยนให้ กรณี ออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และ ลูเทอแรน นั้นพจนานุกรมได้ระบุไว้เช่นนั้น เลขหน้าผมก็แจ้งไปแล้ว ตรวจใน Oxford Dict พบว่า 2 คำแรกนั้นคล้ายสำเนียงตามพจนานุกรมมาก ส่วนคำสุดท้ายคล้ายจะเป็นลูเทอรันมากกว่า แต่ตามกฎวิกิให้เอาตามราชบัณฑิตฯ องค์กรเขาก็เรียกตนเองว่า ลูเธอร์แรน ดูจาก สภาคริสตจักรลูเธอร์แรน ถือว่าใกล้เคียงกัน ผมไม่แน่ใจว่าเอกสารของกรมการศาสนาใช้แบบไหน แต่เมื่อยังไม่รู้ก็ควรเอาตามราชบัณฑิตไปก่อน : )
  • คำว่า "คริสตจักรตะวันตก" "คริสตจักรตะวันออก" ปรากฏในพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล แต่เสียดายไม่วงเล็บภาษาอังกฤษไว้ Christianity มีระบุให้แปลว่า คริสต์ศาสนา หรือศาสนาคริสต์ก็ได้ ดังนั้นที่คุณอยากใช้ ศาสนาคริสต์ตะวันตก ก็ถือว่าไม่ผิดนะครับ (เพียงแต่ในพจนานุกรมเขาไม่ใช้คำนี้)
  • คำว่า Easter แม้จะให้แปลว่า วันพระเยซูคริสต์ทรงคืนพระชนม์ แต่พออ่านคำอธิบาย กลับพบการทับศัพท์ อีสเตอร์ ด้วย แสดงว่ารับรองทั้งสองคำ จึงเห็นด้วยที่เอาคำคุ้นเคยเป็นหลัก ส่วน Passover นั้นให้แปลว่า ปัสคา (ใช้ ค ควาย หน้า 414) เมื่อดูเนื้อหา พบว่าเน้นข้อมูลจารีตยิว ขณะที่อีสเตอร์เน้นข้อมูลฝ่ายคริสต์ จึงควรแยกชื่อตามราชบัณฑิตฯเพื่อไม่ให้สับสน แต่เนื้อหาจะเชื่อมโยงกันก็ได้ครับ ปฏิทินคาทอลิกที่ผมถืออยู่ระบุว่า วันที่ 24 มี.ค. เป็น สมโภชปัสกา และบรรทัดถัดลงมาว่า พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ แสดงว่าใช้ได้ทั้งสองคำ การที่คาทอลิกเรียกว่าสมโภชปัสกาเหมือนยิวก็เพื่อเชื่อมโยงทั้งสองเหตุการณ์ว่าเนื่องกันเท่านั้น ส่วนคำว่า Eastertide ไม่พบในพจนานุกรมครับ
  • Palm Sunday พจนานุกรมให้แปลได้ทั้งสามอย่าง คือ วันอาทิตย์ทางตาล วันอาทิตย์ใบปาล์ม (โปรเตสแตนต์) และวันอาทิตย์ใบลาน (คาทอลิก) (หน้า 395) นะครับ : D--พุทธามาตย์ 00:12, 20 มีนาคม 2554 (ICT)

อ้อ...ลืมไปยังไม่ครบ

  • บทความ การคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ นี่ลิงก์ข้ามภาษาผิดเป็น en:Virgin birth of Jesus !!! เรื่องที่พจนานุกรมใช้คำว่าพระเยซูคริสต์ เพราะเขาแปลมาจาก Resurrection of Jesus Christ แต่วิกิอังกฤษใช้แค่ Resurrection of Jesus ฉะนั้นจะเรียกว่าพระเยซูเฉยๆ ก็ได้ครับ (ไม่ใช่เรื่องมาตรฐานเดียวกัน แต่เป็นเรื่องแปลให้ตรงกัน)
  • บทความที่เกี่ยวกับพระธรรมเล่มต่างๆ ในคัมภีร์ไบเบิล พบว่าลิงก์ข้ามภาษาผิดพลาดหลายบทความ อีกอย่างหนึ่งวิกิอังกฤษเขาเรียกด้วยชื่อเต็ม เช่น Epistle to the Romans ไม่ใช่ (the Book of) Romans (พระธรรมโรม) เฉยๆ จึงเห็นว่าควรเปลี่ยนให้เป็นชื่อเต็ม (ส่วนในแม่แบบใช้ชื่อย่อก็สมควร) ไม่ทราบว่าคุณ Rattakorn c เห็นอย่างไร--พุทธามาตย์ 00:42, 20 มีนาคม 2554 (ICT)

ยินดีด้วยนะครับที่ได้รางวัล

  • Counter-Reformation ให้แปลว่าการปฏิรูปคู่เคียง และถือว่ามีความหมายเดียวกับการปฏิรูปคาทอลิก (Catholic Reformation) ในพจนานุกรมให้ใช้แทนกันได้ ในบทความดังกล่าวผมได้ระบุเลขหน้าไว้แล้วครับ
  • ในกล่องข้อมูล นักบุญ มีการแปล patron ว่าผู้พิทักษ์ แต่ราชบัณฑิตฯให้แปลว่าผู้อุปถัมภ์ ผมว่าใช้องค์อุปถัมภ์ตามอย่างคาทอลิกก็ได้ เพราะมีอุปถัมภ์เหมือนกัน--พุทธามาตย์ 09:42, 25 มีนาคม 2554 (ICT)
  • ถ้าเป็นชื่อบทความ ผมเห็นว่าควรเป็น ดีกันอย่างเดียว เพราะเป็นการทับศัพท์ตามราชบัณฑิตยสถาน และดูเป็นกลาง แต่หากระบุถึงดีกันในศาสนจักรที่มีนักบวช เช่น คาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน เขาให้คำว่าพันธบริกร ส่วนคริสตจักรโปรเตสแตนต์ ก็ให้ใช้คำว่ามัคนายก สองชื่อหลังนี้สมควรใช้เป็นการเฉพาะในเนื้อหา ตามแต่นิกาย ดังที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนดไว้ คิดว่าไม่น่าสับสนนะครับ เพราะในบทความผมอธิบายและใช้คำแยกแยะค่อนข้างชัดแล้ว--พุทธามาตย์ 22:58, 8 เมษายน 2554 (ICT)


  • ครับ ถ้าเช่นนั้นเอา ออร์โธดอกซ์ ก็ได้ครับ อีกอย่างหนึ่ง เขาใช้ ออร์โธดอกซ์รัสเซีย จึงก็ควรปรับให้เป็นตามนั้นด้วย ส่วน ออร์ทอดอกซ์ นั้นใช้ในตำราของราชบัณฑิตฯ ทุกเล่ม มีแบบแผนดังที่ผมแจ้งแล้ว จึงสมควรให้ใช้ควบคู่กันไปได้
  • มีการแปล patriarch ว่า สมเด็จพระสังฆราช เข้าใจว่าเพื่อเทียบกับสมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราชในพุทธจักรไทยซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า supreme patriarch คือใช้ patriarch เหมือนกัน แต่เนื่องจากราชบัณฑิตฯ ใช้อัครบิดร และให้ patriarchate แปลว่า เขตอัครบิดร จึงควรใช้ตามราชบัณฑิตฯเพื่อให้ศัพท์สอดคล้องกัน
  • Calvinism ผมว่าควรแปลว่า ลัทธิคาลวินิสต์หรือลัทธิคาลวินมากกว่า ทั้งนี้อิงจากพจนานุกรมที่ให้แปล Marxism ว่า ลัทธิมากซ์หรือลัทธิมาร์กซิสต์ คำว่านิกายคาลวินนั้นไม่ถูกต้อง เพราะ Calvinism ไม่ใช่นิกาย (denomination) แต่เป็นระบบเทววิทยาและทัศนะว่าด้วยชีวิตแบบคริสเตียน ซึ่งปัจจุบันใช้ในนิกายโปรเตสแตนต์กลุ่มคริสตจักรปฏิรูป (ดูจากคำอธิบายในวิกิอังกฤษ)ครับ :)--พุทธามาตย์ 00:06, 11 เมษายน 2554 (ICT)


  • หาในพจนานุกรมไม่เจอครับ แต่ถ้าจะทับศัพท์ตามเสียงอ่านจริงๆ ผมว่าฟังเป็น แรไบ มากกว่า ยิ่งดูคำอ่านในวิกิอังกฤษ /ˈræbaɪ/ นี่ชัดเลยครับ ว่าเป็นแรไบ เพราะ æ อ่านว่า แอ ไม่ใช่ อา แต่ผมดูในพระคัมภีร์ เขาทับศัพท์เป็น รับบี (ยอห์น ๓:๒) ดังนั้นชื่อที่ควรเป็นชื่อบทความได้ ควรจะเป็นหนึ่งในสองอย่างนี้ ลองพิจารณาดูแล้วกันครับ
  • ผมยังคิดเรื่องจะเปลี่ยนชื่อบทความพระธรรมต่างๆ ในพระคัมภีร์ให้เป็นชื่อเต็ม (แม้จะยาวแต่ก็เป็นชื่อทางการ ชื่อจริง และในวิกิอังกฤษก็ใช้) ส่วนว่าจะ version ไหน ผมว่าควรยึดฉบับของสมาคมพระคริสตธรรมไทย เพราะเป็นฉบับที่ฝ่ายคาทอลิกก็รับรอง ไม่ทราบว่าคุณ Rattakorn c คิดเห็นอย่างไร--พุทธามาตย์ 19:15, 19 เมษายน 2554 (ICT)


  • สงสัยต้องดูที่ฉบับของ oxford ด้วยล่ะครับ เพราะถ้าเป็นหนังสือ (ที่ผมมี) จะใช้ /ˈræbaɪ/ เหมือนวิกิ และถ้าจะคิดว่า เป็นชื่อของศาสนายิวดังนั้นคิดว่าควรใช้แบบเป็นกลาง คือตามการออกเสียงจริงมากที่สุด ก็ควรเป็น รับบี (רַבִּי rabbī ) เพราะเป็นการออกเสียงตามภาษาฮีบรูสำเนียงยิว พระคัมภีร์ที่เรียกรับบีก็เพราะยึดตามสำเนียงยิว ผมคิดว่าอย่างนี้นะครับ--พุทธามาตย์ 01:46, 20 เมษายน 2554 (ICT)
  • อักษรฮีบรูโบราณเป็นอักษรที่ไม่มีสระ รูปคำจึงเหมือนกันเป็นเรื่องปกติ แต่ชาวยิวเขาจะรู้วิธีอ่านว่าคำนั้นออกเสียงอย่างไร ประเด็นตอนนี้คือคุณอย่างรู้วิธีการอ่านคำว่า rabbi มิใช่หรือ ดังนั้นคำอ่าน rav มันก็ไม่ใช่อยู่แล้ว เหลือแต่จะทับศัพท์ rabbi อย่างไร /ˈræbaɪ/ /ˈrabʌɪ/ หรือ /rabbī / ผมก็แนะไปแล้วในข้อความข้างบน จึงแล้วแต่คุณจะเลือกครับ --พุทธามาตย์ 09:04, 21 เมษายน 2554 (ICT)
  • เท่าที่ดูวิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ#การทับศัพท์ชื่อ ข้อหนึ่งยึดตามพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ ตอนนี้เราก็ค้นไม่พบ ข้อสองให้เอาตามที่คุ้นผมว่าคนไทยส่วนใหญ่ก็ไม่คุ้นการออกเสียงคำนี้ ข้อสามให้ถอดเสียงอ่านจากภาษาเดิม โดยกฎข้อนี้น่าจะเอารับบีตามพระคัมภีร์ได้ การออกเสียงแบบนี้มีทั้งในพระคัมภีร์และวิกิอังกฤษ อ้างอิงน่าจะแน่นพอไม่ให้มีคนมาเปลี่ยน ถ้าสักวันราชบัณฑิตฯบัญญัติเป็นอย่างอื่น ก็ไม่มีปัญหา การทำบทความในวิกิผมเองก็ทำใจรับเรื่องนี้อยู่แล้ว
  • ตอนนี้ผมอึดอัดใจกับมหาวิหาร อาสนวิหาร ไม่มีการบัญญัติจากราชบัณฑิตฯ เลยอยากให้ยึดตามคาทอลิก แต่ก็เปลี่ยนชื่อไม่ได้เพราะคุณ Mattis ทำเป็นหน้าเปลี่ยนทางไว้แล้ว ไม่ทราบว่าคุณ Rattakorn จะทำอย่างไร--พุทธามาตย์ 20:47, 22 เมษายน 2554 (ICT)
  • จะขอความช่วยเหลือ ให้ใช้สคริปต์แก้คำว่าอัครมุขนายกแห่งแคนเทอร์เบอรีในหลายบทความ กลับไปเป็นอาร์ชบิชอป... เพราะตามที่คุยกับคุณ Aristitleism เขาก็ไม่ขัดข้อง จะได้ตรงกับที่อ้างอิงไว้ด้วยครับ--พุทธามาตย์ 16:16, 3 พฤษภาคม 2554 (ICT)

ดาวสองดวง[แก้]

เหรียญรางวัลวิกิ
เห็นผลงานของคุณ Rattakorn c มาระยะหนึ่งแล้ว เลยมอบให้สำหรับการเก็บกวาด ตลอดจนการช่วยเหลือในส่วนต่างๆของวิกิพีเดียครับ --B20180 21:26, 23 มีนาคม 2554 (ICT)
รางวัลผู้มาใหม่สุดเจ๋ง
มอบให้สำหรับการมีส่วนร่วม ช่วยเหลือพัฒนาในส่วนต่างๆของวิกิพีเดียอย่างมีนัยยะสำคัญครับ --B20180 21:26, 23 มีนาคม 2554 (ICT)

แอบขโมยแบบครับ[แก้]

ผมได้เอาแบบของคุณไปใช้โดยไม่ได้ขอล่วงหน้า โปรดพิจารณาย้อนหลังให้ด้วยครับ

โล่งไปที หวังว่าเราน่าจะออกแนวเดียวกันนะครับ เดี๋ยวจะทำกล่องเองซักกล่อง กำลังหารูปที่เหมาะสมครับ--笹久保1717 19:17, 14 เมษายน 2554 (ICT)

ประเด็นใหม่ที่เสนอนั้นไม่มีอ้างอิงในบทความเลยนี่ครับ อีกประการหนึ่งถ้าจะกล่าวถึงแค่ว่า "มันคืออะไร" ดูจะไม่ค่อยน่าสนใจสักเท่าไหร่ครับ --Horus | พูดคุย 11:31, 17 เมษายน 2554 (ICT)

ภาษาญี่ปุ่น[แก้]

เรื่องชินกันเซ็น新幹線ครับ ต้องออกว่า ชิงกันเซ็ง ขอยกตัวอย่างนะครับ 新日本橋 SHIN-NI-HON-BA-SHI/ชิน-นิ-ฮม-บะ-ชิ หรือ SHIN-NI-HON-HA-SHI/ชิน-นิ-ฮง-ฮะ-ชิ สามารถออกเสียงได้ทั้งสองแบบครับแต่คนญี่ปุ่นจะพูดคำแรกมากกว่า หรือเลขสาม (3)三/SAN/ซัง 3อัน อ่านว่า ซังโกะ 3บาท อ่านว่าซัมบาทสึ 3คน อ่านว่าซันนิง สังเกตุเห็นว่าตัว BกับH หรือ บ กับ ฮ ครับ ตัวนี้มันดิ้นได้โดยที่ความหมายคงเดิมขึ้นอยู่กับตัวที่อยู่หน้ามันครับเป็นได้ทั้ง บ ป และ ฮ (ผมเห็นคุณแสดงความเห็นไว้หน้าอื่นเลยมาเขียนไว้ตรงนี้อีกที)--知ったか振り 00:09, 18 เมษายน 2554 (ICT)

กล่องทำเองครับ[แก้]

ไฟล์:King Bhumibol Adulyadej Portrait.jpgผู้ใช้คนนี้รักพระเจ้าอยู่หัว
この利用者はプーミポンアドゥンラヤデート国王を心から尊敬しています

มีกล่องทำเองมาให้ดูครับ คัดลอกไปได้เลยถ้าสนใจ--知ったか振り 15:22, 19 เมษายน 2554 (ICT)

สนับสนุนความตั้งใจ[แก้]

ที่หน้าของคุณ ความตั้งใจที่จะทำให้วิกิพีเดีย เป็นอิสระจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ผมขอสนับสนุนครับ เพราะอ่านบางบทความคัดลอกมาจากวิกิอังกฤษ แล้วแปลแบบตรงๆเลยก็มี คล้ายใช้ตัวแปลอัตโนมัติ อ่านแล้วไม่เข้าใจก็มี --泰和 20:26, 25 เมษายน 2554 (ICT)

ผมว่าคุณช่วยเป็นหูเป็นตาให้จะดีกว่าไหมครับ เพราะอย่างที่บอก คนเราหูตาไม่ทั่วถึงอยู่แล้ว แล้วก็ขอช่วยดูอะไรหน่อยเถอะครับ ผมลบการเขียนของคนผู้นั้นไปแล้วเหมือนกัน --Horus | พูดคุย 18:12, 27 เมษายน 2554 (ICT)

สนใจเป็นผู้ดูแลระบบวิกิพีเดียไทยไหมครับ[แก้]

ตามหัวข้อครับ ถ้าสนใจผมจะเสนอชื่อและสนับสนุน ผู้ดูแลที่ active จริงๆ มีน้อย ตอนนี้คุณ​ Rattakorn c กำลังแรงดีน่าจะช่วยเหลือชุมชนวิกิพีเดียไทยได้มาก --taweethaも 08:54, 4 พฤษภาคม 2554 (ICT)

  • ผมสนับสนุนคุณเต็มที่เลยครับ ลงคะแนนล่วงหน้าให้เลย--泰和 21:49, 4 พฤษภาคม 2554 (ICT)

ช่วยสร้างบทความนี้หน่อยครับ[แก้]

DOHC OHC OHV SOHC มีในวิกิอังกฤษ ผมแปลแล้วไม่เอาอ่าวเลย ก็เลยพักไว้ก่อน และขอขอบคุณที่ช่วยแก้ไขครับ และรบกวนแก้หน้านี้ด้วยครับ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว--泰和 19:46, 5 พฤษภาคม 2554 (ICT)

ศีลอนุกรม[แก้]

เท่าที่ผมทราบมา การขึ้นเป็นอาร์ชบิชอป ไม่นับว่าเป็นศีลบวชนะครับ เพราะศีลบวชขั้นสูงสุดอยู่ที่บิชอปอยู่แล้ว การเป็นอาร์ชบิชอปจึงทำเพียงพิธีรับตำแหน่งเท่านั้น (ดูที่พิธีเข้ารับตำแหน่งพระอัครสังฆราช อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ) ไม่เรียกว่าพิธีอภิเษกอย่างที่บิชอปใหม่ได้ (ดูที่กำหนดการพิธีอภิเษกพระสังฆราช) อันนี้เป็นข้อมูลเท่าที่ผมทราบ ในบทความอัครมุขนายกข้อมูลก็ว่าแบบเดียวกัน คุณ Rattakorn c คิดว่าอย่างไร --พุทธามาตย์ 10:06, 8 พฤษภาคม 2554 (ICT)

แต่ตามกฎหมายศาสนจักรเขาไม่ได้ระบุอย่างที่คุณใส่น่ะสิครับ เพราะตัวบทบอกว่า Can. 1009 §1 The orders are the episcopate, the priesthood and the diaconate ซึ่งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายพระศาสนจักรภายใต้สภาประมุขบาทหลวงฯ เขาก็แปลว่า "ลำดับฐานันดรสงฆ์ ได้แก่ พระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร" ผมว่าใสไปอย่างนั้นจะไม่ตรงกับตัวบทที่ลงอ้างอิงไว้ (พูดถึงปัญหาเนื้อความนะครับ ไม่ใช่คำแปล)--พุทธามาตย์ 15:20, 8 พฤษภาคม 2554 (ICT)

OK ครับ แต่เอาไว้ในวงเล็บแล้วกัน จะได้เห็นชัดว่าเป็นส่วนเสริมจากตัวบทกฎหมาย--พุทธามาตย์ 11:31, 9 พฤษภาคม 2554 (ICT)

ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร[แก้]

กรุณาทบทวนชื่อบทความนี้อีกทีนะครับ ผมคิดว่าคุณคงแปลผิด

ที่เขตมิสซังกรุงเทพฯ ใช้คำว่า ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร เพราะแปลมาจาก Code of Canon law (ดูที่ [2]) แต่บทความในวิกิ หมายถึงเฉพาะ Canon law ดังนั้นน่าจะต้องตัดคำว่า ประมวล (code) ออก

คำว่า "พระศาสนจักร" เป็นคำที่ชาวคาทอลิกใช้ แต่ในสารจากกรมการศาสนาที่คุณเคยเอาให้ผมดู (ดูที่ [3]) เขาใช้แค่ศาสนจักรเฉยๆ ในพจนานุกรมก็ใช้แค่ศาสนจักร (ขออภัยจำหน้าไม่ได้) ในเว็บออร์โธดอกซ์ในประเทศไทยก็ใช้ศาสนจักร (หรือคริสต์ศาสนจักร) ยิ่งแองกลิคันเป็นโปรเตสแตนต์ก็ใช้คริสตจักรอย่างเดียว เมื่อบทความนี้พูดถึงกฎหมายศาสนจักรโดยรวมที่มีในหลายๆ นิกายชื่อก็น่าจะเป็นกลาง คือไม่ "กฎหมายศาสนจักร" ก็ "กฎหมายคริสตจักร" คุณเห็นว่าอย่างไร

อีกเรื่องครับ ศัพท์ออร์โธด็อกซ์ ในกรมการศาสนาและองค์การเขาเองนั้นใช้ ออร์โธดอกซ์ ไม่มีไม้ไต่คู้ ถ้าคุณไม่ว่างผมจะขอเปลี่ยนเอง จะได้แก้ศัพท์อื่นๆ ไปด้วยครับ --พุทธามาตย์ 11:53, 10 พฤษภาคม 2554 (ICT)

รบกวนตรวจสอบบทความหน่อยครับ[แก้]

ผมกำลังจะสร้างหน้า ทะนะกะ ยูโกะ รบกวนพิจารณาด้วยครับ ตรวจสอบที่หน้านี้--Wtf 21:36, 13 กันยายน 2554 (ICT)

2555[แก้]

สวัสดีปีใหม่--Sasakubo1717 11:55, 1 มกราคม 2555 (ICT)

สวัสดีปีใหม่ 2555[แก้]



…สวัสดีปีใหม่ครับ !!!…

— B20180

--B20180 15:40, 2 มกราคม 2555 (ICT)

ผู้ดูแลในโครงการพี่น้อง[แก้]

ขอเชิญชวนไปลงคะแนนในโครงการพี่น้องด้วยครับ --taweethaも (พูดคุย) 20:43, 31 มีนาคม 2555 (ICT)

Curse you![แก้]

Bwahahahaha!!! you gay!


ขอรบกวนเกี่ยวกับการศึกษาวิกิพีเดียภาษาไทยครับ[แก้]

มีเรื่องมารบกวนคุณ Rattakorn c ถ้าสะดวกครับ

[รบกวนทำแบบสอบถามครับ] เป็นการศึกษาในหัวข้อ 'ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมเพิ่มเติม/แก้ไขเนื้อหาบนวิกิพีเดียภาษาไทย' ในระดับ ป.โท สาขาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์ครับ ทุกท่านที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตสามารถทำแบบสอบถามได้ครับ (และท่านใดสะดวกกระจายแบบสอบถามในหมู่คนรู้จัก ก็ขอรบกวนด้วยนะครับ แบบสอบถามจะมี 2 ชุดแยกกัน สำหรับคนที่เคยแก้วิกิพีเดีย และคนทั่วไปครับ ขอขอบคุณมากๆเลยครับ) ท่านที่เป็นชาววิกิพีเดีย หรือเคยเพิ่มหรือแก้เนื้อหาในวิกิพีเดียขอช่วยทำแบบสอบถามที่ตามลิงค์นี้เลยครับ >> https://docs.google.com/forms/d/1V1JfNiLHeQPuA22aw1TfYeWrgL0tWcmRkejJBUJfnIY/viewform

(สำหรับท่านที่เข้ามาอ่าน และเคยใช้วิกิพีเดียเพียงในด้านการค้นหาข้อมูล ขอช่วยทำแบบสอบถามที่ลิงค์นี้แทนนะครับ >> https://docs.google.com/forms/d/1cj_TLFSVd70cuFK9XbLl9-GiwlS16B5HdbprNeZNzhI/viewform )

อาจจะยาวนิดนึง ขอขอบคุณที่สละเวลาช่วยตอบมากๆเลยครับ :) --BlueJAck (พูดคุย) 05:30, 8 พฤษภาคม 2558 (ICT)

ชาววิกิพีเดียที่หายไป[แก้]

สวัสดีครับ เพื่อระลึกถึงผู้ใช้ที่หยุดการเคลื่อนไหวจากวิกิพีเดียผมได้เพิ่มชื่อคุณ Rattakorn c ลงในหน้า วิกิพีเดีย:ชาววิกิพีเดียที่หายไป เพื่อแสดงรายชื่อชาววิกิพีเดียที่ไม่ได้ทำการแก้ไขในวิกิพีเดียภาษาไทยเป็นระยะเวลาหนึ่งและได้รับการพิจารณาว่าหายไปจากชุมชน ทั้งนี้ หากคุณ Rattakorn c กลับมามีส่วนร่วมกับวิกิพีเดียหรือไม่ต้องการให้มีชื่อผู้ใช้ของตัวเองอยู่ในหน้าดังกล่าวสามารถนำชื่อออกได้ครับ

ขอบคุณที่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์วิกิพีเดียภาษาไทยและหวังว่าจะกลับมามีส่วนร่วมอีกครั้งในภายภาคหน้าครับ

หมายเหตุ: สารนี้ส่งโดยบอตของ Geonuch (พูดคุย) คุณไม่จำเป็นต้องตอบกลับสารนี้ --GeonuchBot (คุย) 16:55, 28 ธันวาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]