การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551

← พ.ศ. 2547 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2552 →
ลงทะเบียน2,214,320
ผู้ใช้สิทธิ54.18% (ลดลง 8.32 จุด)
 
ผู้สมัคร อภิรักษ์ โกษะโยธิน ประภัสร์ จงสงวน
พรรค ประชาธิปัตย์ พลังประชาชน
คะแนนเสียง 991,018 543,488
% 45.93% 25.19%

 
ผู้สมัคร ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
พรรค อิสระ อิสระ
คะแนนเสียง 340,616 260,051
% 15.79% 12.05%


ผู้ว่าราชการก่อนการเลือกตั้ง

อภิรักษ์ โกษะโยธิน
ประชาธิปัตย์

ว่าที่ผู้ว่าราชการ

อภิรักษ์ โกษะโยธิน
ประชาธิปัตย์

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551 เป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 8 โดยจัดขึ้นในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เนื่องจากอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนเดิม นายอภิรักษ์ โกษะโยธินดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี

ที่มา[แก้]

โปสเตอร์รณรงค์การเลือกตั้ง

เมื่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยมีผู้สมัครเปิดตัวกันหลายคน เช่น ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล, นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ และนางลีนา จังจรรจา ในนามผู้สมัครอิสระ ทั้งนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์มีมติให้ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งเป็นสมัยที่ 2 อีกด้วย โดยนายอภิรักษ์ได้ยื่นหนังสือลาออกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551 โดยให้ นายพงษ์ศักดิ์ เสมสันต์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติหน้าที่แทน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน

ต่อมา ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ได้ถอนตัวไปเนื่องจากอ้างถึงผลสำรวจว่าคะแนนนิยมยังห่างจากนายอภิรักษ์มาก และการเปิดรับสมัครวันแรก มีขึ้นในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551 ทั้งนี้มีผู้สมัครหลายรายได้ไปยื่นสมัครเช่น นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน, นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์, นางลีนา จังจรรจา เป็นต้น ในขณะเดียวกัน นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อรับสมัครเลือกตั้งในสังกัดพรรคพลังประชาชน ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 ด้วย

รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง[แก้]

หมายเลข รายนามผู้สมัคร พรรคการเมือง เว็บไซต์
1 นายกิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฎ์ ผู้สมัครอิสระ
2 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ผู้สมัครอิสระ DrDanCanDo.com
3 ร้อยเอกเมตตา เต็มชำนาญ ผู้สมัครอิสระ
4 นายวราวุธ ฐานังกรณ์ ผู้สมัครอิสระ Warawoot.com เก็บถาวร 2008-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
5 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ประชาธิปัตย์ FutureBangkok.net เก็บถาวร 2008-09-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
6 นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล ผู้สมัครอิสระ
7 นางลีนา จังจรรจา ผู้สมัครอิสระ Hi-SoLeena.com เก็บถาวร 2008-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
8 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ผู้สมัครอิสระ ChuvitBangkok.com เก็บถาวร 2008-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
9 นายวิทยา จังกอบพัฒนา ผู้สมัครอิสระ
10 นายประภัสร์ จงสงวน พลังประชาชน Prapat10.com เก็บถาวร 2008-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
11 นายภพศักดิ์ ปานสีทอง ผู้สมัครอิสระ
12 นางธรณี ฤทธีธรรมรงค์ ผู้สมัครอิสระ
13 นายอุดม วิบูลเทพาชาติ ผู้สมัครอิสระ
14 น.ส.วชิราภรณ์ อายุยืน สาธารณชน PublicParty.or.th เก็บถาวร 2008-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
15 นายสมชาย ไพบูลย์ ผู้สมัครอิสระ
16 ว่าที่ พ.ต.นิพนธ์ ซิ้มประยูร ผู้สมัครอิสระ

ผลการสำรวจ[แก้]

ก่อนการรับสมัคร[แก้]

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจสอบกระแสความนิยมที่มีต่อว่าที่ผู้สมัครและเพื่อให้ได้ข้อมูลในการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งที่เป็นความต้องการของคนกรุงเทพฯ โดยสำรวจจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำนวน 1,254 คน ระหว่างวันที่ 27 - 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551 สรุปผลได้ดังนี้

คำถาม : 1. ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่คนกรุงเทพฯ อยากได้
อันดับ รายนามผู้สมัคร ผลสำรวจ
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 43.30
2 หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล 13.16
3 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 6.94
4 นายปลอดประสพ สุรัสวดี 3.35
5 ร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ 2.87
6 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 1.67
7 นายปานปรีย์ พหิทธานุกร 1.09
8 นายประภัสร์ จงสงวน 0.88
- ไม่ระบุ 26.74
คำถาม : 2. คนกรุงเทพฯ ทราบว่าจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 นี้หรือไม่
อันดับ คำตอบ ผลสำรวจ
1 ไม่ทราบ 83.97
2 ทราบ 16.03
คำถาม : 3. สิ่งใดที่คนกรุงเทพฯ อยากทราบมากที่สุด
อันดับ คำตอบ ผลสำรวจ
1 นโยบายและแผนการทำงานของผู้สมัครฯ 31.46
2 ประวัติผู้สมัครและคุณสมบัติต่างๆ 25.56
3 หมายเลขของผู้สมัครฯ 24.72
4 เวลาในการเลือกตั้ง 9.55
5 ผลงานที่โดดเด่นของผู้สมัครฯ 8.71
คำถาม : 4. คุณลักษณะของผู้ว่าฯ กทม. ที่คนกรุงเทพฯ ต้องการ
อันดับ คำตอบ ผลสำรวจ
1 พูดจริงทำจริง ทำตามคำสัญญาที่ให้ไว้ได้ 28.82
2 ซื่อสัตย์ เป็นคนดี 24.6
3 มีคุณธรรม จริยธรรมร้อย 16.19
4 เป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ในการทำงาน 15.30
5 รู้และเข้าใจถึงปัญหาของ กทม.อย่างแท้จริง 15.08

หลังปิดรับสมัคร[แก้]

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขตเลือกตั้งระหว่างวันที่ 10 - 14 กันยายน พ.ศ. 2551 จำนวน 4,044 คน โดยแบ่งเป็นชาย 1,515 คน (37.46%) และหญิง 2,529 คน (62.54%) สรุปผลได้ดังนี้

คำถาม : 1. ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่คนกรุงเทพฯ อยากได้
อันดับ รายนามผู้สมัคร ผลสำรวจ
ชาย หญิง ร้อยละ
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 63.35 57.82 61.28
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 11.86 16.57 13.63
3 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 11.86 12.87 12.24
4 นายประภัสร์ จงสงวน 6.29 6.60 6.40
5 นางลีนา จังจรรจา 0.55 1.32 0.84
6 นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล 0.12 0.20 0.15
- ไม่ระบุ 5.97 4.62 5.46
คำถาม : 2. การพิจารณาเลือกผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร แตกต่างจากการเลือก ส.ส. หรือ ส.ว. หรือไม่
อันดับ คำตอบ ผลสำรวจ เหตุผล
ชาย หญิง ร้อยละ
1 แตกต่าง 58.39 47.36 51.72 • การเลือกตั้งผู้ว่าเป็นการเมืองระดับท้องถิ่นไม่ใช่ระดับประเทศ
• สส.จะทำงานในส่วนเขต แต่ผู้ว่าฯ กทม.ทำงานในส่วนกทม.ทั้งหมด
• ทำหน้าที่คนละแบบกันการแก้ปัญหาต่างกันจึงเลือก
• ผู้สมัครต่างกัน
• ฯลฯ
2 ไม่แตกต่าง 41.61 52.64 48.28 • เป็นการพิจารณาตัวบุคคล คือ เลือกคนดี มีความสามารถที่จะทำงานได้
• เป็นระบบการเลือกตั้งที่ต้องออกไปใช้สิทธิ์ออกเสียงเหมือนกัน
• เป็นวิธีการเลือกคนเข้ามาทำงานแทนประชาชน แค่ต่างกันที่ภาระงานเท่านั้น
• ฯลฯ
คำถาม : 3. การเมืองระดับประเทศที่วุ่นวายอยู่ในขณะนี้ กระทบต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.หรือไม่
อันดับ คำตอบ ผลสำรวจ เหตุผล
ชาย หญิง ร้อยละ
1 ไม่กระทบ 77.78 71.43 51.21 • เป็นการเมืองท้องถิ่นไม่ใช่ระดับประเทศ
• เป็นคนละส่วนกันไม่เกี่ยวกัน เป็นการเมืองคนละระดับ
• เป็นคนกลางไม่ได้ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
• ไม่มีเรื่องอะไรแล้ว ไม่มีปัญหาอะไร
• ไม่ได้อยู่ใกล้บริเวณที่วุ่นวาย
• ฯลฯ
2 กระทบ 22.22 28.57 48.79 • ประชาชนเบื่อการเมืองไทย อาจจะไปใช้สิทธิ์น้อยลง
• การเมืองวุ่นวายแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน
• การประกาศพรก. ฉุกเฉินมีผลต่อการหาเสียง
• อาจกระทบในเรื่องการเดินทางไปเลือกตั้งที่ต้องเสี่ยงกับม๊อบและรถติด
• ฯลฯ

การสำรวจความนิยมหน้าหน่วยเลือกตั้ง (Exit Poll)[แก้]

หลังจากปิดหีบเลือกตั้งเมื่อเวลา 15.00 น. ของวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ทาง เอเบคโพลล์ (มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ)ได้มีการประกาศผลการสำรวจความนิยมหน้าหน่วยเลือกตั้ง (Exit Poll) ขึ้น โดยผลการสำรวจเป็นดังนี้

อันดับ รายนามผู้สมัคร ความนิยม (%)
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 44.07
2 นายประภัสร์ จงสงวน 23.90
3 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 14.18
4 ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 12.64
5 อื่นๆ 5.21

ผลการเลือกตั้ง[แก้]

· ·
ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551
อันดับที่ ผู้สมัครเลือกตั้ง พรรค / กลุ่มการเมือง คะแนนเสียง เปอร์เซนต์
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน พรรคประชาธิปัตย์ 991,018 45.93%
2 นายประภัสร์ จงสงวน พรรคพลังประชาชน 543,488 25.19%
3 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ผู้สมัครอิสระ 340,616 15.79%
4 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ผู้สมัครอิสระ 260,051 12.05%
5 นางลีนา จังจรรจา ผู้สมัครอิสระ 6,267 0.29%
6 นายวิทยา จังกอบพัฒนา ผู้สมัครอิสระ 3,759 0.17%
7 นายวราวุธ ฐานังกรณ์ ผู้สมัครอิสระ 2,771 0.13%
8 ร้อยเอกเมตตา เต็มชำนาญ กลุ่มเมตตาธรรม 2,105 0.10%
9 นายกิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฎ์ ผู้สมัครอิสระ 2,102 0.10%
10 นางสาววชิราภรณ์ อายุยืน พรรคสาธารณชน 1,140 0.05%
11 นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล ทีมกรุงเทพ ฯ พัฒนา 1,079 0.05%
12 นางธรณี ฤทธีธรรมรงค์ ผู้สมัครอิสระ 852 0.04%
13 นายภพศักดิ์ ปานสีทอง ผู้สมัครอิสระ 811 0.04%
14 นายอุดม วิบูลเทพาชาติ ผู้สมัครอิสระ 617 0.03%
15 นายสมชาย ไพบูลย์ ผู้สมัครอิสระ 503 0.02%
16 ว่าที่ พ.ต.นิพนธ์ ซิ้มประยูร ผู้สมัครอิสระ 421 0.02%
ผลรวม 2,157,599
 
บัตรดี 2,157,599 97.44%
บัตรเสีย 19,376 0.87%
บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 37,345 1.69%
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ 2,214,320 54.18%
จำนวนผู้งดออกเสียงเลือกตั้ง 1,873,009 45.82%
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,087,329 100%

หมายเหตุ[แก้]

การเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดขึ้นในช่วงที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ชุมนุมใหญ่อยู่ด้วย ซึ่งขณะนั้นทางกลุ่ม พธม.ได้ทำการบุกยึดทำเนียบรัฐบาลไว้ได้แล้ว และมีหมายจับแกนนำต่าง ๆ ทั้งหมด 9 คน ในเวลา 08.00 น. ของวันเลือกตั้ง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หนึ่งในแกนนำได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในหน่วยเลือกตั้งที่ 12 ภายในโรงเรียนเศรษฐเสถียร ถนนพระราม 5 เขตดุสิต และถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับ จึงหวั่นเกรงว่าอาจจะมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น แต่ทว่าการเลือกตั้งก็ดำเนินต่อไปได้อย่างเรียบร้อยจนเสร็จสิ้น

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551 ถัดไป
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2547

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2551

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2552