การรุกชีนยาวินสโคเย (ค.ศ. 1942)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การรุกชีนยาวินสโคเย
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง

ถนนทั่วไปสำหรับยานพาหนะของแนวรบวอลคอฟ
วันที่19 สิงหาคม – 10 ตุลาคม ค.ศ. 1942
สถานที่
ชายฝั่งทางใต้ของทะเลสาบลาโดกา, ใกล้กับ ชีนยาวินสโคเยในปัจจุบัน และ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก, รัสเซีย
ผล ไม่เด็ดขาด. การรุกของโซเวียตล้มเหลว, การรุกของเยอรมันได้ถูกยกเลิก
คู่สงคราม
นาซีเยอรมนี เยอรมนี  สหภาพโซเวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นาซีเยอรมนี เอริช ฟ็อน มันชไตน์
นาซีเยอรมนี เกออร์ค ฟ็อน คึชเลอร์
สหภาพโซเวียต คีริลล์ เมเรตสคอฟ
สหภาพโซเวียต Leonid Govorov
กำลัง
18th Army
Reinforcements:
11th Army
2nd Shock Army
8th Army
Elements of Leningrad Front
Total 190,000 men
ความสูญเสีย
(Only between August 28–September 30)
5,893 dead,
Total 26,000[1][2]
40,085 dead and missing
(including 12,000 captured)
73,589 wounded and sick
Total 113,674[3]
แม่แบบ:Campaignbox Leningrad and Baltics 1941-1944

การรุกชีนยาวินสโคเย เป็นแผนปฏิบัติการโดยสหภาพโซเวียตในช่วงฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1942 โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรเทาวงล้อมเลนินกราด ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อช่วงฤดูร้อนที่แล้ว และสร้างแนวส่งกำลังบำรุงที่น่าเชื่อถือไปยังเลนินกราด ในช่วงเวลาเดียวกัน กองกำลังเยอรมันได้วางแผนในปฏิบัติการแสงเหนือ(เยอรมัน: Nordlicht) เพื่อเข้ายึดเมืองและเชื่อมต่อกับกองกำลังฟินแลนด์ เพื่อบรรลุในได้รับกำลังเสริมอย่างหนักที่เดินทางจากเซวัสโตปอล ซึ่งกองกำลังเยอรมันได้เข้ายึดครอง เมื่อเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1942 ทั้งสองฝ่ายต่างไม่รู้ถึงการเตรียมพร้อมของอีกฝ่าย และนี่ทำให้การสู้รบได้แผ่ขยายในลักษณะที่ไม่คาดคิดสำหรับทั้งสองฝ่าย

การรุกของโซเวียตได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงที่สอง แนวรบเลนินกราดได้เริ่มการรุก เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม และแนวรบวอลคอฟได้เปิดฉากการรุกหลัก เมื่อวันที 27 สิงหาคม จากวันที่ 28 สิงหาคม ฝ่ายเยอรมันได้เคลื่อนกำลังซึ่งได้สร้างการรุกของตนเองเพื่อสกัดกั้นการรุกของโซเวียต การโจมตีตอบโต้กลับของเยอรมันในช่วงแรกล้มเหลว แต่กองกำลังโซเวียตไม่สามารถบุกทะลวงได้เช่นกัน ภายหลังสิบวันที่กำลังคุมเชิงอยู่ จากที่ได้รับการเสริมกำลังทำให้เยอรมันเปิดฉากโจมตีตอบโต้กลับต่อกองกำลังโซเวียตเมื่อวันที่ 21 กันยายน ภายหลังห้าวันของการสู้รบอย่างหนัก กองกำลังเยอรมันได้เชื่อมต่อและตัดส่วนที่ยื่นออกที่เกิดจากการรุกของโซเวียต เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม แนวหน้าได้กลับมาสู่ตำแหน่งก่อนการสู้รบครั้งนี้ การสู้รบอย่างหนักยังคงต่อเนื่องจนกระทั่งวันที่ 15 ตุลาคม เป็นวงล้อมครั้งสุดท้ายของการต่อต้านของโซเวียตได้ถูกทำลายหรือหนีรอดไปได้

ในช่วงสิ้นสุดลง การรุกของโซเวียตล้มเหลว แต่ความสูญเสียอย่างหนักทำให้เยอรมันออกคำสั่งให้กองกำลังเพื่อเชิงป้องกัน ในเดือนพฤศจิกายน เยอรมันได้รับการเสริมกำลังและหน่วยอื่นๆได้ถูกถอนตัวออกจากกลุ่มกองทัพเหนือเพื่อรับมือกับการรุกครั้งสำคัญของโซเวียตที่สตาลินกราดและปฏิบัติการแสงเหนือได้ถูกยกเลิก[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Glantz p. 226
  2. Isayev p. 142, only between August 28–September 30
  3. Glantz (1995), p. 295
  4. Glantz p. 230