ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พายุหมุนเขตร้อน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 75: บรรทัด 75:


นักวิทยาศาสตร์คาดว่าพายุหมุนเขตร้อน แพร่พลังงานความร้อนออกในอัตรา 50 ถึง 200 [[จูล|เอ็กซ์ซาจูล]] (10<sup>18</sup>&nbsp;จูล) ต่อวัน<ref name="NOAA Question of the Month">{{cite web|url=http://www.aoml.noaa.gov/hrd/tcfaq/D7.html|title=NOAA FAQ: How much energy does a hurricane release?|date=August 2001|accessdate=June 30, 2009|publisher=[[National Oceanic & Atmospheric Administration]]}}</ref> เทียบเท่ากับประมาณ 1 เพตะวัตต์ (10<sup>15</sup>&nbsp;วัตต์) ซึ่งอัตราการปล่อยพลังงานนี้ 70 ครั้ง จะเทียบเท่ากับ[[การใช้พลังงานของโลก]]ของมนุษย์ 200 ครั้งของความสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าทั่วโลก หรือเทียบได้กับการระเบิดของ[[ระเบิดนิวเคลียร์]]ขนาด 10 [[สมมูลทีเอ็นที|เมกะตัน]] ในทุกๆ 20 นาที<ref name="NOAA Question of the Month"/><ref name="UCAR">{{cite web|url=http://www.ucar.edu/news/features/hurricanes/index.jsp|title=Hurricanes: Keeping an eye on weather's biggest bullies.|date=March 31, 2006|publisher=[[University Corporation for Atmospheric Research]]|accessdate=May 7, 2009}}</ref>
นักวิทยาศาสตร์คาดว่าพายุหมุนเขตร้อน แพร่พลังงานความร้อนออกในอัตรา 50 ถึง 200 [[จูล|เอ็กซ์ซาจูล]] (10<sup>18</sup>&nbsp;จูล) ต่อวัน<ref name="NOAA Question of the Month">{{cite web|url=http://www.aoml.noaa.gov/hrd/tcfaq/D7.html|title=NOAA FAQ: How much energy does a hurricane release?|date=August 2001|accessdate=June 30, 2009|publisher=[[National Oceanic & Atmospheric Administration]]}}</ref> เทียบเท่ากับประมาณ 1 เพตะวัตต์ (10<sup>15</sup>&nbsp;วัตต์) ซึ่งอัตราการปล่อยพลังงานนี้ 70 ครั้ง จะเทียบเท่ากับ[[การใช้พลังงานของโลก]]ของมนุษย์ 200 ครั้งของความสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าทั่วโลก หรือเทียบได้กับการระเบิดของ[[ระเบิดนิวเคลียร์]]ขนาด 10 [[สมมูลทีเอ็นที|เมกะตัน]] ในทุกๆ 20 นาที<ref name="NOAA Question of the Month"/><ref name="UCAR">{{cite web|url=http://www.ucar.edu/news/features/hurricanes/index.jsp|title=Hurricanes: Keeping an eye on weather's biggest bullies.|date=March 31, 2006|publisher=[[University Corporation for Atmospheric Research]]|accessdate=May 7, 2009}}</ref>

=== การไหลเวียนปฐมภูมิ: การไหลเวียนของลม ===
กระแสการไหลเวียนปฐมภูมิในพายุหมุนเขตร้อนเป็นผลมาจาก[[โมเมนตัมเชิงมุม|การอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม]]โดยการไหลเวียนทุติยภูมิ [[โมเมนตัมเชิงมุมสัมบูรณ์]]ของการหมุนของโลกคือ <math>M</math> โดย
:<math>M = \frac{1}{2}fr^2 + vr</math>
เมื่อ <math>f</math> คือค่า[[ความถี่คอริโอลิส]], <math>v</math> คือค่ามุมทิศ (กล่าวคือ การหมุน) ความเร็วลม และ <math>r</math> คือค่ารัศมีถึงแกนของการหมุน ในระยะแรกเริ่มที่ด้านขวามือเป็นส่วนประกอบของโมเมนตัมเชิงมุมของดาวเคราะห์ที่โครงการไปยังแนวตั้งท้องถิ่น (กล่าวคือ แกนของการหมุน) ระยะที่สองบนด้านขวามือเป็นโมเมนตัมเชิงมุมสัมพันธ์ของการไหลเวียนของมันเอง ที่เกี่ยวข้องกับแกนของการหมุนเวียน เพราะว่า ระยะโมเมนตัมเชิงมุมของดางเคราะห์จะหายไปที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร (เมื่อ <math>f=0</math> ) พายุหมุนเขตร้อนจึงไม่ค่อย[[พายุหมุนเขตร้อน#การก่อตัว|ก่อตัว]]ภายในระยะ 5° จากศูนย์สูตร<ref name="BAMS Zhang 1988" /><ref>{{cite web|url=http://www.soest.hawaii.edu/GG/ASK/hurricanes.html|title=Hurricanes and the equator|author=Barnes, Gary|publisher=[[University of Hawaii]]|accessdate=August 30, 2013}}</ref>

ที่อากาศ ณ กระแสไหลเวียนขาเข้าระดับต่ำ มันจะเริ่มหมุนในลักษณะแบบพายุหมุน ตามกฎการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ในทำนองเดียวกันนี้ ขณะที่กระแสอากาศที่หมุนอย่างเร็วในกระแสขาออกจะไหลออกไปใกล้กับโทรโพพอส มันจะมีการหมุนในลักษณะพายุหมุนที่ลดลง และในที่สุดจะมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่รัศมีที่มีขนาดใหญ่พอ ส่งผลกับ[[แอนไทไซโคลน]]ในระดับบน ผลที่ได้คือ โครงสร้างแนวตั้งที่โดดเด่นของ[[พายุหมุน]]ที่แข็งแกร่ง ณ ระดับต่ำ และ[[แอนไทไซโคลน]]ที่แข็งแกร่งในระดับบนใกล้กับ[[โทรโพพอส]] จาก[[ลมร้อน|สมดุลลมร้อน]] นี้สอดคล้องกับระบบอบอุ่นในศูนย์กลางพายุในสภาพแวดล้อมที่ระดับความสูงทั้งหมด (กล่าวคือ "แกนอบอุ่น") จาก[[สภาวะสมดุลอุทกสถิต|สมดุลอุทกสถิต]] แกนอบอุ่นจะแปลตัวเป็นความกดอากาศที่ต่ำกว่า ณ ศูนย์กลางที่ทุกระดับความสูง ด้วยความกดอากาศสูงสุดที่อยู่ ณ พื้นผิว<ref name="MWR Frank 1977" />

=== ความรุนแรงสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้น ===
เนื่องจากแรงเสียดทานที่พื้นผิว กระแสอากาศจึงไหลเข้ามาเพียงบางส่วนด้วยการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ดังนั้น พื้นผิวน้ำทะเลจะมีการกระทำที่ขอบล่าง จึงเป็นทั้งแหล่ง (การระเหยของน้ำ) และอ่าง (แรงเสียดทาน) ของพลังงานของระบบ ความจริงสิ่งนี้จะนำไปสู่การดำรงอยู่ได้ของพายุโดยโยงไว้กับทฤษฎีเรื่องความเร็วลมอย่างรุนแรงที่พายุหมุนเขตร้อนสามารถบรรลุได้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการระเหยเป็นเส้นตรงกับความเร็วลม (เช่นเดียวกับการขึ้นจากสระว่ายน้ำในวันที่อากาศหนาวมากและมีลมพัดแรง) มีการเสนอข้อเสนอแนะในเชิงบวกต่อการป้อนพลังงานกับระบบของพายุ ที่เรียกว่า ข้อเสนอแนะการแลกเปลี่ยนความร้อนที่พื้นผิวชักนำให้เกิดลม ({{ภาษาอังกฤษ|Wind-Induced Surface Heat Exchange (WISHE)}})<ref name="JAS Emanuel 1986" /> ข้อเสนอนี้บอกว่าจะมีการชดเชยเมื่อมีการกระจายแรงเสียดทาน ซึ่งเพิ่มขึ้นกับลูกบาศก์ของความเร็วลมซึ่งจะมีขนาดใหญ่พอสมควร ขีดด้านบนจะเรียกว่า "ความรุนแรงสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้น" คือ <math>v_p</math> ตามสมการ
:<math>v_p^2 = \frac{C_k}{C_d}\frac{T_s - T_o}{T_o}\Delta k</math>
เมื่อ <math>T_s</math> คือ อุณหภูมิของพื้นผิวทะเล, <math>T_o</math> คือ อุณหภูมิของกระแสอากาศขาออก (เคลวิน), <math>\Delta k</math> คือ ความแตกต่างระหว่างเอนทัลปีพื้นผิวและอากาศที่อยูู่เหนือผิวน้ำ (จูล/กิโลกรัม), และ <math>C_k</math> และ <math>C_d</math> คือ [[ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน|ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเท]] ของเอนทัลปีและโมเมนตัม ตามลำดับ<ref name="Bister_Emanuel_1998_MAP">{{Cite journal | doi = 10.1007/BF01030791| title = Dissipative heating and hurricane intensity| journal = Meteorology and Atmospheric Physics| volume = 65| issue = 3–4| pages = 233| year = 1998| last1 = Bister | first1 = M.| last2 = Emanuel | first2 = K. A.}}</ref> ค่าความแตกต่างของเอนทัลปีของอากาศที่พื้นผิวหาได้จาก <math>\Delta k = k^*_s-k</math> เมื่อ <math>k^*_s</math> คือ เอนทัลปีของอากาศที่อิ่มตัวที่อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลและระดับความกอากาศที่ระดับน้ำทะเล และ <math>k</math> คือ เอนทัลปีของอากาศบริเวณชั้นที่อยูู่เหนือผิวน้ำ

ความรุนแรงสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นฟังก์ชันของสภาพแวดล้อมพื้นหลังเพียงอย่างเดียว (กล่าวคือ ไม่รวมตัวพายุหมุนเขตร้อนเองด้วย) ทำให้ปริมาณนี้สามารถใช้ในการตรวจสอบว่าภูมิภาคบนโลก สามารถนำไปสู่การพัฒนาของพายุหมุนเขตร้อนและไปถึงความรุนแรงที่กำหนดหรือไม่ และวิธีการที่ภูมิภาคเหล่านี้อาจนำไปสู่การพัฒนาในเวลาที่กำหนด<ref name="Emanuel_2000_MWR">{{cite doi | 10.1175/1520-0493(2000)128<1139:ASAOTC>2.0.CO;2}}</ref><ref name="Knutson_etal_2010_NG">{{Cite journal | doi = 10.1038/ngeo779| title = Tropical cyclones and climate change| journal = Nature Geoscience| volume = 3| issue = 3| pages = 157| year = 2010| last1 = Knutson | first1 = T. R. | last2 = McBride | first2 = J. L. | last3 = Chan | first3 = J. | last4 = Emanuel | first4 = K. | last5 = Holland | first5 = G. | last6 = Landsea | first6 = C. | last7 = Held | first7 = I. | last8 = Kossin | first8 = J. P. | last9 = Srivastava | first9 = A. K.| last10 = Sugi | first10 = M. }}</ref> โดยเฉพาะ ความรุนแรงสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้น มีทั้งหมดสามองค์ประกอบ แต่มัน[[พายุหมุนเขตร้อน#ค่าคุณลักษณะและความแปรปรวนในโลก|แปรปรวนในพื้นที่และเวลา]] คือ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความแปรปรวนของอากาศพื้นผิวตามองประกอบที่ต่างกันของเอนปิทัล (<math>\Delta k</math>)


== ชนิดและการกำหนดชื่อพายุเขตร้อน ==
== ชนิดและการกำหนดชื่อพายุเขตร้อน ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:48, 14 กันยายน 2558

พายุเฮอร์ริเคนอิสซาเบล (พ.ศ. 2546) สังเกตจากสถานีอวกาศนานาชาติ แสดงให้เห็นถึงตาพายุ, กำแพงตา, และเรนแบนด์โดยรอบ, และลักษณะของพายุหมุนเขตร้อน ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากจากอวกาศ

พายุหมุนเขตร้อน คือ ระบบพายุที่พัฒนามาจากศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ, ลมแรง และการจัดเกลียวของพายุฝนฟ้าคะนอง ทั้งนี้ขึ้นกับสถานที่และความรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณเขตร้อนของโลก ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น พายุเฮอร์ริเคน, พายุโซนร้อน, พายุไซโคลน, พายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุไซโคลนอย่างง่าย[1]

โดยทั่วไปรูปแบบพายุหมุนเขตร้อนจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกับความสัมพันธ์กับน้ำอุ่น โดยพายุจะได้รับพลังงานผ่านการระเหยของน้ำบริเวณพื้นผิวมหาสมุทร ซึ่งในที่สุดน้ำเหล่านั้นจะควบแน่นอีกครั้งและเข้าไปอยู่ในกลุ่มเมฆและฝน เมื่ออากาศชื้นและความเย็นอิ่มตัว ซึ่งแหล่งพลังงานนี้จะแตกต่างกับพายุหมุนละติจูดกลาง ตัวอย่างเช่น นอร์อิสเทิร์น และพายุลมยุโรป ซึ่งได้รับพลังพลักดันหลักจากความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวนอน โดยลมหมุนวนรอบอย่างรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนนั้นเป็นผลมาจากการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ซึ่งเกิดจากสภาวะการหมุนรอบตัวเองของโลก ขณะที่อากาศไหลเข้ามาสู่แกนกลางของการหมุน ผลที่ตามมา คือ พายุมักไม่ค่อยเกิดขึ้นภายใน 5° จากศูนย์สูตร[2] พายุหมุนเขตร้อนโดยทั่วไปเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 100 - 4,000 กิโลเมตร

คำว่า พายุหมุน (หรือไซโคลน) หมายถึง พายุหมุนตามธรรมชาติ ซึ่งลมจะพัดหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และจะพัดหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ ซึ่งทิศทางตรงข้ามการของการไหลเวียนลม เป็นผลมาจากคอริโอลิส ส่วนคำว่า เขตร้อน หมายถึง แหล่งกำเนิดของพายุทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นรูปแบบพิเศษของทะเลในเขตร้อน

นอกจากลมแรงและฝนตก พายุหมุนเขตร้อนมีความสามารถในการสร้างคลื่นสูง และก่อให้เกิดความเสียหายจากน้ำขึ้นจากพายุ และทอร์นาโด ซึ่งมักจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงที่พายุอยู่บนแผ่นดิน เนื่องจากถูกตัดขาดจากแหล่งพลังงานหลักของมัน จากเหตุผลนี้ ทำให้บริเวณชายฝั่งทะเล มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากพายุหมุนเขตร้อนมากกว่า เมื่อเทียบกับในแผ่นดิน อย่างไรก็ตามในแผ่นดินเองก็เกิดความเสียหายได้จากน้ำท่วมบนแผ่นดิน จากฝนตกหนัก และน้ำขึ้นจากพายุสามารถก่อให้เกิดน้ำท่วมบนแผ่นดินได้กว้างถึง 40 กิโลเมตร จากชายฝั่งทะเล แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนจะส่งผลกระทบต่อประชากรมนุษย์มหาศาล แต่พายุยังสามารถช่วยบรรเทาภาวะภัยแล้งได้ พวกมันยังพาพลังงานความร้อนออกไปจากเขตร้อน ข้ามผ่านไปยังละติจูดในเขตอบอุ่น ซึ่งอาจมีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนสภาวะภูมิอากาศในระดับภูมิภาคและระดับโลก

โครงสร้างทางกายภาพ

พายุไต้ฝุ่นนาบี สังเกตจากสถานีอวกาศนานาชาติ เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2548

พายุหมุนเขตร้อนเป็นพื้นที่ของหย่อมความกดอากาศต่ำในบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ ด้วยความกดอากาศขนาดใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในละติจูดต่ำใกล้พื้นผิว บนโลก ความกดอากาศจะถูกบันทึกไว้ที่ศูนย์กลางของพายุหมุนเขตร้อน โดยให้ที่ต่ำที่สุดที่สังเกตได้บริเวณเหนือระดับน้ำทะเล[3] สภาพแวดล้อมใกล้กับศูนย์กลางของพายุหมุนเขตร้อนจะอุ่นกว่าโดยรอบในทุกละติจูด ทำให้พวกมันมีลักษณะเป็น ระบบ"แกนอบอุ่น"[4]

สนามของลม

ที่บริเวณใกล้พื้นผิว สนามของลมของพายุหมุนเขตร้อน มีลักษณะเป็นลมที่หมุนวนรอบศูนย์กลางหมุนเวียน ในขณะที่ไหลเข้ามาตามแนวรัศมี ที่ขอบด้านนอกของพายุ อากาศอาจจะค่อนข้างสงบ อย่างไรก็ตาม เนื่องมาจากการหมุนของโลก อากาศจึงจะไม่เป็นศูนย์จากโมเมนตัมเชิงมุมสัมบูรณ์

ที่กระแสอากาศขาเข้า เริ่มจากการหมุน (ทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้) ตามหลักโมเมนตัมเชิงมุม ที่รัศมีด้านใน อากาศจะไหลขึ้นไปด้านบนของชั้นโทรโพสเฟียร์ ซึ่งรัศมีนี้มักจะไปประจวบกันที่ภายในตาพายุ และมีลมที่รุนแรงที่ใกล้พื้นผิวของพายุ จึงรู้จักกันในชื่อ รัศมีของความเร็วลมสูงสุด (อังกฤษ: radius of maximum winds)[5] เมื่ออากาศที่เบื้องบนไหลออกจากศูนย์กลางของพายุ จะกลายเป็นเมฆซีร์รัส[6]

กระบวนการดังกล่าวก่อนหน้าก่อนหน้าส่งผลลมในสนามลม เป็นลักษณะเกือบสมมาตรตามแนวแกน ความเร็วลมจะอยู่ในระดับต่ำที่ศูนย์กลางพายุ และจะเพื่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อออกไปถึงรัศมีของความเร็วลมสูงสุด และค่อยๆ สลายตัวออกไปตามรัศมีที่มีขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม สนามของลมมักจะแสดงความแปรปรวนเชิงพื้นที่และเวลาที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากผลกระทบของกระบวนการโลเคไลซ์ อย่างเช่น กิจกรรมพายุฝนฟ้าคะนอง และความไม่เสถียรการไหลในแนวนอน ส่วนในแนวตั้งความรุนแรงของลมจะอยู่พื้นผิว และค่อยๆ สลายไปตามความสูงของโทรโพสเฟียร์[7]

ตาและศูนย์กลาง

แผนภาพแสดงโครงสร้างของพายุเฮอร์ริเคนในซีกโลกเหนือ
ภาพแอนิเมชัน NASA ของพายุเฮอร์ริเคนอูร์เทอร์เมื่อปี พ.ศ. 2557 แสดงถึงอัตราของฝนและโครงสร้างภายในจากข้อมูลทางดาวเทียมGPM

ที่ศูนย์กลางของพายุหมุนเขตร้อนที่โตเต็มที่ อ่างของอากาศจะเพิ่มขึ้นมากกว่า สำหรับพายุที่มีความแข็งแกร่งเพียงพอ อากาศอาจจะจมลงในชั้นที่ลึกพอที่จะระงับการก่อตัวของเมฆ ดังนั้นจึงเกิด "ตา" ที่ชัดเจนขึ้น สภาพอากาศในตาพายุจะสงบเป็นปกติ และปราศจากเมฆ แม้ว่าน้ำทะเลที่อยู่ข้างล่างอาจจะมีความรุนแรงมาก[8] ลักษณะของตาปกติจะเป็นรูปทรงกลม และส่วนมากจะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 – 65 กิโลเมตร ถึงกระนั้น ตาขนาดเล็กเพียง 3 กิโลเมตร และขนาดใหญ่ถึง 370 กิโลเมตรก็เคยปรากฏให้เห็นมาแล้ว[9][10]

ที่ขอบด้านนอกของตามีเมฆที่เรียกว่า "กำแพงตา" ซึ่งกำแพงตามักจะขยายออกไปด้านนอกด้วยความสูง คล้ายกับอัฒจรรย์ของสนามฟุตบอล ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้บางครั้งเรียกว่าปรากฏการณ์อัฒจรรย์[11] กำแพงตา คือ พื้นที่ที่ความเร็วลมแรงที่สุดที่สามารถพบได้ อากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมฆขึ้นไปถึงระดับสูงสุดของมัน และฝนตกจะตกหนัก และถ้าบริเวณกำแพงตาพายุพัดผ่านแผ่นดินจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก[8]

ในพายุที่มีความรุนแรงน้อย ตาของพายุอาจถูกบดบังด้วยเมฆที่หนาแน่น ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเมฆระดับบน กับพื้นที่ที่มีกิจกรรมของพายุฝนฟ้าคะนองที่รุนแรงอยู่ใกล้กับศูนย์กลางของพายุหมุนเขตร้อน[12]

กำแพงตาอาจจะแตกต่างกันไปตามรูปแบบของวัฎจักรการทดแทนกำแพงตาพายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรง ในเรนแบนด์ชั้นนอก สามารถจัดเป็นวงแหวนรอบนอกของพายุที่เคลื่อนตัวเข้ามาอย่างช้าๆ ซึ่งเชื่อว่าได้แย่งความชื้นและโมเมนตัมเชิงมุมของกำแพงตาหลัก เมื่อกำแพงตาหลักอ่อนกำลังลง พายุหมุนเขตร้อนก็อ่อนกำลังอย่างชั่วคราว และกำแพงตารอบนอกที่สุดจะเข้ามาแทนที่กำแพงหลักในขั้นท้ายของวัฎจักร และเป็นเวลาที่พายุกลับมามีความรุนแรงดังเดิม[13]

ความรุนแรง

"ความรุนแรง"ของพายุ หมายถึง ความเร็วลมสูงสุดของพายุ ซึ่งจะตรวจวัดเฉลี่ยใน 1 นาที หรือ 10 นาทีเป็นมาตรฐาน โดยอ้างอิงที่ความสูง 10 เมตร ตัวเลือกของการวัดลมโดยเฉลี่ย รู้จักกันดีในชื่อ การจัดระดับพายุ, การจัดระดับพายุหมุนเขตร้อนตามศูนย์พยากรณ์และแอ่งมหาสมุทร

ในบางโอกาส พายุหมุนเขตร้อนอาจประสบกับเงื่อนไขทางอุตุนิยมวิทยา ที่เรียกว่า การทวีกำลังแรงขึ้นอย่างกะทันหัน หรือ ช่วงเวลาที่ความเร็วลมเฉลี่ยของพายุเพิ่มขึ้นอย่างมากและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างกะทันหัน ว่า การที่ความเร็วลมเฉลี่ยใน 1 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 นอต (35 ไมล์/ชม.; 55 กม./ชม.) ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง[5] การที่การทวีกำลังแรงขึ้นอย่างกะทันหัน จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องประกอบขึ้นจากหลายเงื่อนไขในพื้นที่นั้น คือ อุณหภูมิของน้ำจะต้องอุ่นอย่างมาก (ใกล้เคียงหรือมากกว่า 30 °ซ, 86 °ฟ), และอุณหภูมิของน้ำนี้ จะต้องมีช่วงที่ลึกมากพอที่คลื่นของน้ำที่เย็นกว่าจะไม่เข้ามาอยู่บนผิวน้ำ, ลมเฉือนจะต้องมีกำลังน้อย; เมื่อลมเฉือนมีกำลังมาก การพาความร้อน และการหมุนเวียนในพายุหมุนจะถูกทำให้กระจาย โดยปกติ แอนไทไซโคลน ในชั้นที่สูงกว่าของโทรโพสเฟียร์ เหนือพายุจะช่วยพายุให้ดีขึ้น —สำหรับหย่อมความกดอากาศที่ต่ำมากพอจะพัฒนา อากาศจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในกำแพงตาของพายุ และแอนไทโซโคลนที่อยู่เหนือขึ้นไปจะช่วยให้ช่องของอากาศนี้ออกห่างไปจากการพัฒนาของพายุ ทำให้พายุหมุนมีประสิทธิภาพ[14]

ขนาด

ขนาดของพายุหมุนเขตร้อน
ROCI ประเภท
น้อยกว่า 2 องศาละติจูด เล็กมาก/แคระ
2 ถึง 3 องศาละติจูด เล็ก
3 ถึง 6 องศาละติจูด ปานกลาง/โดยเฉลี่ย
6 ถึง 8 องศาละติจูด ใหญ่
มากกว่า 8 องศาละติจูด ใหญ่มาก[15]

ตัวชี้วัดที่ใช้วัดขนาดของพายุนั้นมีความหลากหลาย แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ รัศมีของความเร็วลม 34 นอต (กล่าวคือ ลมพายุ), รัศมีของเส้นอากาศเท่านอกสุดที่ใกล้กัน (อังกฤษ: Radius of outermost closed isobar (ROCI)) และรัศมีของลมที่หายไป[16][17] ตัวชี้วัดเพิ่มเติมคือ รัศมีของสนามวอร์ทิซิตี้สัมพัทธ์ของพายุหมุนที่ลดลงตาม 1×10−5 s−1[18]

บนโลก พายุหมุนเขตร้อนจะมีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 100 - 2000 กม. โดยวัดจากรัศมีของลมที่หายไป โดยพายุขนาดใหญ่ที่สุดเฉลี่ย จะอยู่ในแอ่งมกาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกด้านเหนือ และที่เล็กที่สุดจะอยู่ในแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกด้านเหนือ[19] ถ้ารัศมีของเส้นอากาศเท่านอกสุดที่ใกล้กัน น้อยกว่า 2 องศาละติจูด (222 กม.) จะถือว่าเป็นพายุหมุนขนาด "เล็กมาก" หรือ "แคระ", ถ้ารัศมีอยู่ระหว่าง 3-6 องศาละติจูด (333-670 กม.) จะถือว่าเป็น "ขนาดโดยเฉลี่ย" และถ้ามีรัศมีมากกว่า 8 องศาละติจูด จะถือว่าเป็นพายุหมุนที่มีขนาด "ใหญ่มาก" (888 กม.)[15] มีการตั้งข้อสังเกตว่า ขนาดเป็นตัวแปรอย่างอ่อนกับความรุนแรงของพายุ (กล่าวคือ ความเร็วลมสูงสุด), รัศมีของความเร็วลมสูงสุด, ละติจูด และความรุนแรงสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้น[17][19]

ขนาดของพายุมีบทบาทสำคัญในการปรับความเสียหายที่เกิดจากพายุ บางครั้ง พายุขนาดใหญ่จะส่งผลกระทบกับพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ สนามของลมขนาดใหญ่ใกล้พื้นผิว สามารถสร้างน้ำขึ้นจากพายุขนาดใหญ่ได้ เนื่องจากการรวมตัวกันของลม, มีระยะเวลานาน และมีการตั้งคลื่นที่มากขึ้น[20]

การไหลเวียนของอากาศด้านบนของพายุเฮอร์ริเคนที่รุนแรง สามารถยื่นออกไปสู่บรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ได้ ด้วยความสูงขั้นต่ำที่ 15,000-18,000 เมตร (50,000–60,000 ฟุต)[21]

ฟิสิกส์และการพลังงาน

ภาพแสดงการไหลเวียนลมของพายุหมุนเขตร้อนที่มีการไหลเข้าจากกระแสอากาศระดับต่ำใกล้พื้นผิว ขึ้นไปยังเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง และไหลออกในระดับสูงใกล้กับโทรโพพอส[22]

ลักษณะปริภูมิสามมิติในสนามของลม สามารถแยกได้ออกเป็นสองส่วน คือ การไหลเวียนปฐมภูมิ และ การไหลเวียนทุติยภูมิ โดยการไหลเวียนปฐมภูมิเป็นส่วนที่การไหลเวียนที่มีการหมุนวนเป็นวงกลมอย่างหมดจด ส่วนการไหลเวียนทุติยภูมิเป็นส่วนที่การไหลเวียนที่มีการหมุนมากกว่า (เข้า-ขึ้น-ออก-ลง) ที่อยู่ในรัศมีและทิศทางในแนวตั้ง

การไหลเวียนปฐมภูมิมักมีลมที่พัดแรง และมักเป็นตัวหลักที่ก่อให้พายุสร้างความเสียหาย ในขณะที่การไหลเวียนทุติยภูมิ ลมจะพัดช้า แต่เป็นตัวควบคุมการพลังงานของพายุ

การไหลเวียนทุติยภูมิ: เครื่องจักรความร้อนการ์โนต์

แหล่งพลังงานหลักของพายุหมุนเขตร้อน คือ การระเหยของน้ำจากพื้นผิวมหาสมุทร ซึ่งในที่สุดการควบแน่นอีกครั้ง จะก่อให้เกิดเมฆและฝนตก เมื่ออากาศชื้นอบอุ่นขึ้นและเย็นตัวลงจะนำไปสู่การอิ่มตัว การพลังงานของระบบอาจจะเงียบสงบในฐานะที่เป็นเครื่องจักรความร้อนการ์โนต์ในชั้นบรรยากาศ[23] ขั้นแรก อากาศที่ไหลอยู่ใกล้พื้นผิวจะได้รับความร้อนส่วนใหญ่จากการระเหยของน้ำ (กล่าวคือ ความร้อนแฝงจำเพาะ) ที่อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรที่อบอุ่น (ในระหว่างการระเหย มหาสมุทรจะเย็นส่วนอากาศจะอบอุ่น) ขั้นสอง อากาศที่อุ่นขึ้นและที่เย็นอยู่ในกำแพงตา ขณะที่การอนุรักษ์ความร้อน (ความร้อนแฝงจำเพาะจะถูกแปลงอย่างง่ายให้เป็นความร้อนที่เหมาะสมระหว่างการควบแน่น) ขั้นสาม อากาศขาไหลออกจะสูญเสียความร้อนไป ด้วยการแผ่รังสีความร้อนสู่อวกาศ ที่อากาศหนาวของโทรโพพอส ขั้นสุดท้าย การทรุดตัวของอากาศและความอบอุ่นด้านรอบนอกของพายุขณะที่มีการอนุรักษ์เนื้อหาความร้อน โดยขั้นแรกและขั้นสามจะอยู่ใกล้ไอโซเทอร์มัล ขณะที่ขั้นสองและขั้นสี่จะอยู่ใกล้กระบวนการไอเซนโทรปิก ส่วนเข้า-ขึ้น-ออก-ลง เป็นที่รู้จักกันดีในการไหลเวียนทุติยภูมิ ในมุมมองของการ์โนต์แสดงให้เห็นถึงขอบบนสุดของความเร็วลมสูงสุดที่พายุสามารถบรรลุได้

นักวิทยาศาสตร์คาดว่าพายุหมุนเขตร้อน แพร่พลังงานความร้อนออกในอัตรา 50 ถึง 200 เอ็กซ์ซาจูล (1018 จูล) ต่อวัน[24] เทียบเท่ากับประมาณ 1 เพตะวัตต์ (1015 วัตต์) ซึ่งอัตราการปล่อยพลังงานนี้ 70 ครั้ง จะเทียบเท่ากับการใช้พลังงานของโลกของมนุษย์ 200 ครั้งของความสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าทั่วโลก หรือเทียบได้กับการระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 10 เมกะตัน ในทุกๆ 20 นาที[24][25]

การไหลเวียนปฐมภูมิ: การไหลเวียนของลม

กระแสการไหลเวียนปฐมภูมิในพายุหมุนเขตร้อนเป็นผลมาจากการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุมโดยการไหลเวียนทุติยภูมิ โมเมนตัมเชิงมุมสัมบูรณ์ของการหมุนของโลกคือ โดย

เมื่อ คือค่าความถี่คอริโอลิส, คือค่ามุมทิศ (กล่าวคือ การหมุน) ความเร็วลม และ คือค่ารัศมีถึงแกนของการหมุน ในระยะแรกเริ่มที่ด้านขวามือเป็นส่วนประกอบของโมเมนตัมเชิงมุมของดาวเคราะห์ที่โครงการไปยังแนวตั้งท้องถิ่น (กล่าวคือ แกนของการหมุน) ระยะที่สองบนด้านขวามือเป็นโมเมนตัมเชิงมุมสัมพันธ์ของการไหลเวียนของมันเอง ที่เกี่ยวข้องกับแกนของการหมุนเวียน เพราะว่า ระยะโมเมนตัมเชิงมุมของดางเคราะห์จะหายไปที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร (เมื่อ ) พายุหมุนเขตร้อนจึงไม่ค่อยก่อตัวภายในระยะ 5° จากศูนย์สูตร[2][26]

ที่อากาศ ณ กระแสไหลเวียนขาเข้าระดับต่ำ มันจะเริ่มหมุนในลักษณะแบบพายุหมุน ตามกฎการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ในทำนองเดียวกันนี้ ขณะที่กระแสอากาศที่หมุนอย่างเร็วในกระแสขาออกจะไหลออกไปใกล้กับโทรโพพอส มันจะมีการหมุนในลักษณะพายุหมุนที่ลดลง และในที่สุดจะมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่รัศมีที่มีขนาดใหญ่พอ ส่งผลกับแอนไทไซโคลนในระดับบน ผลที่ได้คือ โครงสร้างแนวตั้งที่โดดเด่นของพายุหมุนที่แข็งแกร่ง ณ ระดับต่ำ และแอนไทไซโคลนที่แข็งแกร่งในระดับบนใกล้กับโทรโพพอส จากสมดุลลมร้อน นี้สอดคล้องกับระบบอบอุ่นในศูนย์กลางพายุในสภาพแวดล้อมที่ระดับความสูงทั้งหมด (กล่าวคือ "แกนอบอุ่น") จากสมดุลอุทกสถิต แกนอบอุ่นจะแปลตัวเป็นความกดอากาศที่ต่ำกว่า ณ ศูนย์กลางที่ทุกระดับความสูง ด้วยความกดอากาศสูงสุดที่อยู่ ณ พื้นผิว[7]

ความรุนแรงสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้น

เนื่องจากแรงเสียดทานที่พื้นผิว กระแสอากาศจึงไหลเข้ามาเพียงบางส่วนด้วยการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ดังนั้น พื้นผิวน้ำทะเลจะมีการกระทำที่ขอบล่าง จึงเป็นทั้งแหล่ง (การระเหยของน้ำ) และอ่าง (แรงเสียดทาน) ของพลังงานของระบบ ความจริงสิ่งนี้จะนำไปสู่การดำรงอยู่ได้ของพายุโดยโยงไว้กับทฤษฎีเรื่องความเร็วลมอย่างรุนแรงที่พายุหมุนเขตร้อนสามารถบรรลุได้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการระเหยเป็นเส้นตรงกับความเร็วลม (เช่นเดียวกับการขึ้นจากสระว่ายน้ำในวันที่อากาศหนาวมากและมีลมพัดแรง) มีการเสนอข้อเสนอแนะในเชิงบวกต่อการป้อนพลังงานกับระบบของพายุ ที่เรียกว่า ข้อเสนอแนะการแลกเปลี่ยนความร้อนที่พื้นผิวชักนำให้เกิดลม (อังกฤษ: Wind-Induced Surface Heat Exchange (WISHE))[23] ข้อเสนอนี้บอกว่าจะมีการชดเชยเมื่อมีการกระจายแรงเสียดทาน ซึ่งเพิ่มขึ้นกับลูกบาศก์ของความเร็วลมซึ่งจะมีขนาดใหญ่พอสมควร ขีดด้านบนจะเรียกว่า "ความรุนแรงสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้น" คือ ตามสมการ

เมื่อ คือ อุณหภูมิของพื้นผิวทะเล, คือ อุณหภูมิของกระแสอากาศขาออก (เคลวิน), คือ ความแตกต่างระหว่างเอนทัลปีพื้นผิวและอากาศที่อยูู่เหนือผิวน้ำ (จูล/กิโลกรัม), และ และ คือ ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเท ของเอนทัลปีและโมเมนตัม ตามลำดับ[27] ค่าความแตกต่างของเอนทัลปีของอากาศที่พื้นผิวหาได้จาก เมื่อ คือ เอนทัลปีของอากาศที่อิ่มตัวที่อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลและระดับความกอากาศที่ระดับน้ำทะเล และ คือ เอนทัลปีของอากาศบริเวณชั้นที่อยูู่เหนือผิวน้ำ

ความรุนแรงสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นฟังก์ชันของสภาพแวดล้อมพื้นหลังเพียงอย่างเดียว (กล่าวคือ ไม่รวมตัวพายุหมุนเขตร้อนเองด้วย) ทำให้ปริมาณนี้สามารถใช้ในการตรวจสอบว่าภูมิภาคบนโลก สามารถนำไปสู่การพัฒนาของพายุหมุนเขตร้อนและไปถึงความรุนแรงที่กำหนดหรือไม่ และวิธีการที่ภูมิภาคเหล่านี้อาจนำไปสู่การพัฒนาในเวลาที่กำหนด[28][29] โดยเฉพาะ ความรุนแรงสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้น มีทั้งหมดสามองค์ประกอบ แต่มันแปรปรวนในพื้นที่และเวลา คือ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความแปรปรวนของอากาศพื้นผิวตามองประกอบที่ต่างกันของเอนปิทัล ()

ชนิดและการกำหนดชื่อพายุเขตร้อน

พายุหมุนเขตร้อนเริ่มต้นการก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงซึ่งอยู่เหนือผิวน้ำทะเล ในบริเวณเขตร้อนและเป็นบริเวณที่กลุ่มเมฆจำนวนมากรวมตัวกันอยู่โดยไม่ปรากฏการหมุนเวียนของลม หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงนี้ เมื่ออยู่ในสภาวะที่เอื้ออำนวยก็จะพัฒนาตัวเองต่อไป จนปรากฏระบบหมุนเวียนของลมอย่างชัดเจน ในซีกโลกเหนือทิศของลมเวียนเป็นวนทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุ พายุหมุนในแต่ละช่วงของความรุนแรงจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวและเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อม ความเร็วลมในระบบหมุนเวียนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นลำดับ กล่าวคือ ในขณะเป็นพายุดีเปรสชันความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางมีค่าไม่เกิน 34 นอต ในขณะที่เป็นพายุโซนร้อนความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางมีค่าอยู่ระหว่าง 34 – 64 นอต และในขณะเป็นพายุหมุนเขตร้อนหรือไต้ฝุ่น ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางจะมีค่าตั้งแต่ 64 นอตขึ้นไป ดังนั้นสามารถแบ่งชนิดของพายุเขตร้อนได้ดังนี้

  1. พายุดีเปรสชัน (Depression) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางสูงสุด 34 นอต (17 เมตร/วินาที) (63 กิโลเมตร/ชั่วโมง) เป็นพายุหมุนเขตร้อนในระยะเริ่มก่อตัวหรือกำลังอ่อนกำลังลง[30]
  2. พายุโซนร้อน (Tropical Storm) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางสูงสุด 34-64 นอต (17-32 เมตร/วินาที) (63-117 กิโลเมตร/ชั่วโมง) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงกว่าดีเปรสชัน[31]
  3. พายุหมุนเขตร้อน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางสูงสุด 64-129 นอต (17 เมตร/วินาที) (118-239 กิโลเมตร/ชั่วโมง) เป็นพายุหมุนที่มีกำลังสูงสุด
การกระจายตัวของพายุหมุนเขตร้อนของโลกระหว่าง พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2548

พายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและมีความแรงของลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุมากกว่า 33 นอต จะเริ่มมีการกำหนดชื่อเรียก โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้จัดรายชื่อเพื่อเรียกพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกไว้เป็นสากล เพื่อทุกประเทศในบริเวณนี้ใช้เพื่อเรียกพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวขึ้น โดยเรียงตามลำดับให้เหมือนกัน

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ได้เกิดระบบการตั้งชื่อพายุเป็นภาษาพื้นเมืองของแต่ละประเทศสมาชิกในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนบนและแถบทะเลจีนใต้ 14 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และไทย โดยนำชื่อมาเรียงเป็น 5 สดมภ์ เริ่มจากกัมพูชาจนถึงเวียดนามในสดมภ์ที่ 1 เมื่อหมดแล้วให้เริ่มขึ้นสดมภ์ที่ 2 ถึง 5 แล้วจึงเวียนมาเริ่มที่สดมภ์ 1 อีกครั้ง จนกว่าจะมีการกำหนดชื่อพายุครั้งใหม่อีก

ประเทศไทยได้รับผลกระทบจาก พายุหมุนเขตร้อน ที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก และพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเราเรียกว่า ไซโคลน แม้พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดียจะไม่เข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง แต่ก็สามารถก่อความเสียหายต่อประเทศไทยได้เช่นกัน เมื่อทิศการเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณใกล้ประเทศไทยทางด้านตะวันตก ในกรณีของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้นั้นจะเคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทยในบริเวณต่างๆ ของประเทศแตกต่างกันตามฤดูกาล

ลักษณะเฉพาะ

พายุไซโคลนหรือพายุหมุนเขตร้อนซึ่งจะต้องมีความเร็วลมมากกว่า 64 นอต (32 เมตร/วินาที , 74 ไมล์/ชั่วโมง หรือ 118 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ขึ้นไป และมักจะมี “ตา” ซึ่งเป็นบริเวณที่ลมค่อนข้างสงบและมีความกดอากาศค่อนข้างต่ำอยู่กลางวงหมุน ตาพายุนี้จะเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายดาวเทียมเป็นวงกลมเล็กที่ไม่มีเมฆ รอบตาจะมีกำแพงล้อมที่มีขนาดกว้างประมาณ 16-80 กิโลเมตร เป็นบริเวณที่มีพายุฝนและลมหมุนที่รุนแรงมากหมุนวนรอบๆ ตา

โครงสร้างของพายุหมุนเขตร้อน

การเคลื่อนตัวของเมฆรอบศูนย์กลางพายุก่อตัวเป็นรูปขดวงก้นหอยที่เด่นชัด แถบหรือวงแขนที่อาจยื่นโค้งเป็นระยะที่ยาวออกไปได้มากในขณะที่เมฆถูกดึงเข้าสู่วงหมุน ทิศทางวงหมุนเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดว่าอยู่ ณ ส่วนใดของซีกโลกดังกล่าวแล้ว หากอยู่ซีกโลกเหนือ พายุจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา ด้านซีกโลกใต้จะหมุนตามเข็มนาฬิกา ความเร็วสูงสุดของพายุหมุนเขตร้อนที่เคยวัดได้มีความเร็วมากกว่า 85 เมตร/วินาที (165 นอต, 190 ไมล์/ชั่วโมง, 305 กิโลเมตร/ชั่วโมง) พายุที่รุนแรงมากและอยู่ในระยะก่อตัวช่วงสูงสุดบางครั้งอาจมีรูปร่างของโค้งด้านในแลดูเหมือนอัฒจรรย์สนามแข่งขันฟุตปอลได้ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบางครั้งในลักษณะเช่นนี้เรียกว่า “ปรากฏการณ์อัฒจรรย์” (stadium effect)

วงหมุนที่เกิดผนังตาพายุจะเกิดตามปกติเมื่อพายุมีความรุนแรงมาก เมื่อพายุแรงถึงขีดสุดก็มักจะเกิดการหดตัว ของรัศมีกำแพงตาพายุเล็กลงถึงประมาณ 8-24 กิโลเมตร (5-15 ไมล์)ซึ่งบางครั้งอาจไม่เกิด ถึงจุดนี้เมฆฝนอาจก่อตัวเป็นแถบอยู่ด้านนอกแล้วค่อยๆ เคลื่อนตัวเข้าวงในแย่งเอาความชื้นและแรงผลักดันหรือโมเมนตัมจากผนังตาพายุ ทำให้ความรุนแรงลดลงบ้าง (ความเร็วสูงสุดที่ผนังลดลงเล็กน้อยและความกดอากาศสูงขึ้น) ในที่สุดผนังตาพายุด้านนอกก็จะเข้ามาแทนผนังในจนหมด ทำให้พายุกลับมามีความเร็วเท่าเดิม แต่ในบางกรณีอาจกลับเร็วขึ้นได้ แม้พายุหมุนจะอ่อนตัวลงที่ปลายผนังตาที่ถูกแทนที่ แต่ที่จริงแล้วการเพิ่งผ่านปรากฏการณ์ลักษณะนี้ในรอบแรกและชะลอการเกิดในรอบต่อไป เป็นการเปิดโอกาสให้ความรุนแรงสะสมตัวเพิ่มขึ้นอีกได้ถ้ามีสภาวะที่เหมาะสม

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "The only difference between a hurricane, a cyclone, and a typhoon is the location where the storm occurs". noaa.gov. สืบค้นเมื่อ October 1, 2014.
  2. 2.0 2.1 doi:10.1175/1520-0477(1998)079<0019:TCAGCC>2.0.CO;2
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  3. Symonds, Steve (November 17, 2003). "Highs and Lows". Wild Weather. Australian Broadcasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2007. สืบค้นเมื่อ March 23, 2007. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  4. Atlantic Oceanographic and Meteorological Laboratory; Hurricane Research Division. "Frequently Asked Questions: What is an extra-tropical cyclone?". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ March 23, 2007.
  5. 5.0 5.1 National Hurricane Center (March 25, 2013). "Glossary of NHC Terms". United States National Oceanic and Atmospheric Administration's National Weather Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2014. สืบค้นเมื่อ April 1, 2014. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  6. Marine Meteorology Division. "Cirrus Cloud Detection" (PDF). Satellite Product Tutorials. Monterey, CA: United States Naval Research Laboratory. p. 1. สืบค้นเมื่อ June 4, 2013.
  7. 7.0 7.1 Frank, W. M. (1977). "The structure and energetics of the tropical cyclone I. Storm structure". Monthly Weather Review. 105 (9): 1119–1135. Bibcode:1977MWRv..105.1119F. doi:10.1175/1520-0493(1977)105<1119:TSAEOT>2.0.CO;2.
  8. 8.0 8.1 National Weather Service (October 19, 2005). "Tropical Cyclone Structure". JetStream — An Online School for Weather. National Oceanic & Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ May 7, 2009.
  9. Pasch, Richard J.; Eric S. Blake, Hugh D. Cobb III, and David P. Roberts (September 28, 2006). "Tropical Cyclone Report: Hurricane Wilma: 15–25 October 2005" (PDF). National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ December 14, 2006.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. doi:10.1175/1520-0493(1999)127<0137:ATCWAV>2.0.CO;2
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  11. doi:10.1175/1520-0493(1999)127<0581:AHSO>2.0.CO;2
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  12. American Meteorological Society. "AMS Glossary: C". Glossary of Meteorology. Allen Press. สืบค้นเมื่อ December 14, 2006.
  13. Atlantic Oceanographic and Hurricane Research Division. "Frequently Asked Questions: What are "concentric eyewall cycles" (or "eyewall replacement cycles") and why do they cause a hurricane's maximum winds to weaken?". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ December 14, 2006.
  14. Diana Engle. "Hurricane Structure and Energetics". Data Discovery Hurricane Science Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-27. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  15. 15.0 15.1 "Q: What is the average size of a tropical cyclone?". Joint Typhoon Warning Center. 2009. สืบค้นเมื่อ May 7, 2009.
  16. "Global Guide to Tropical Cyclone Forecasting: chapter 2: Tropical Cyclone Structure". Bureau of Meteorology. May 7, 2009. สืบค้นเมื่อ May 6, 2009.
  17. 17.0 17.1 Chavas, D. R.; Emanuel, K. A. (2010). "A QuikSCAT climatology of tropical cyclone size". Geophysical Research Letters. 37 (18): n/a. doi:10.1029/2010GL044558.
  18. doi:10.1175/1520-0493(1999)127<2992:SOTCAI>2.0.CO;2
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  19. 19.0 19.1 Merrill, Robert T (1984). "A comparison of Large and Small Tropical cyclones". Monthly Weather Review. American Meteorological Society. 112 (7): 1408. Bibcode:1984MWRv..112.1408M. doi:10.1175/1520-0493(1984)112<1408:ACOLAS>2.0.CO;2.
  20. Irish, J. L.; Resio, D. T.; Ratcliff, J. J. (2008). "The Influence of Storm Size on Hurricane Surge". Journal of Physical Oceanography. 38 (9): 2003. doi:10.1175/2008JPO3727.1.
  21. doi:10.1175/1520-0493(1970)098<0749:TATATL>2.3.CO;2
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  22. แม่แบบ:Cite webrl=http://wind.mit.edu/~emanuel/anthro2.htm
  23. 23.0 23.1 doi:10.1175/1520-0469(1986)043<0585:AASITF>2.0.CO;2
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  24. 24.0 24.1 "NOAA FAQ: How much energy does a hurricane release?". National Oceanic & Atmospheric Administration. August 2001. สืบค้นเมื่อ June 30, 2009.
  25. "Hurricanes: Keeping an eye on weather's biggest bullies". University Corporation for Atmospheric Research. March 31, 2006. สืบค้นเมื่อ May 7, 2009.
  26. Barnes, Gary. "Hurricanes and the equator". University of Hawaii. สืบค้นเมื่อ August 30, 2013.
  27. Bister, M.; Emanuel, K. A. (1998). "Dissipative heating and hurricane intensity". Meteorology and Atmospheric Physics. 65 (3–4): 233. doi:10.1007/BF01030791.
  28. doi:10.1175/1520-0493(2000)128<1139:ASAOTC>2.0.CO;2
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  29. Knutson, T. R.; McBride, J. L.; Chan, J.; Emanuel, K.; Holland, G.; Landsea, C.; Held, I.; Kossin, J. P.; Srivastava, A. K.; Sugi, M. (2010). "Tropical cyclones and climate change". Nature Geoscience. 3 (3): 157. doi:10.1038/ngeo779.
  30. http://tmd.go.th/met_dict_disp.php?id=391
  31. http://tmd.go.th/met_dict_disp.php?id=421