การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อนจะได้รับการตั้งชื่อโดยศูนย์เตือนภัยต่าง ๆ เพื่อความสะดวกระหว่างนักพยากรณ์อากาศกับประชาชนทั่วไปในการคาดการณ์, ผู้สังเกตการณ์, และการเตือนภัย เนื่องจากระบบของพายุนั้น สามารถมีอายุนานกว่าสัปดาห์หรือมากกว่านั้น และในเวลาเดียวกัน ก็อาจมีพายุเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งลูกภายในแอ่งเดียวกัน การตั้งชื่อพายุจึงเกิดขึ้นเพื่อป้องกันการสับสนเกี่ยวกับพายุแต่ละลูก การใช้ชื่อที่ระบุเฉพาะตัวของพายุหมุนเขตร้อนแต่ละลูกต้องย้อนกลับไปหลายปี พร้อมกับระบบการตั้งชื่อตามชื่อสถานที่หรือสิ่งต่าง ๆ ก่อนจะมีการเริ่มต้นการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ โดยการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการมีใช้กับพายุที่ก่อตัวในแอ่งพายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกเหนือ, พายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกตะวันออก, กลาง, พายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกตะวันตก, พายุหมุนเขตร้อนในแปซิฟิกใต้ ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อพายุหมุนเขตร้อนในภูมิภาคออสเตรเลีย และพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดีย โดยชื่อต่าง ๆ จะได้รับการกำหนดไว้ล่วงหน้า โดยเมื่อมีพายุหมุนเขตร้อนมีความเร็วลมเฉลี่ยในหนึ่ง, สาม หรือ สิบนาที มากกว่า 65 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งขึ้นอยู่กับแอ่งนั้น ๆ

ประวัติ[แก้]

สถาบันที่ตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน
แอ่ง สถาบัน/หน่วยงาน พื้นที่รับผิดชอบ
ซีกโลกเหนือ
แอตแลนติกเหนือ
แปซิฟิกตะวันออก
ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติสหรัฐ นับจากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือ, แนวชายฝั่งทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกาฝั่งแอตแลนติกไปทางตะวันตกจรดเส้นลองจิจูดที่ 140 องศาตะวันตก [1]
แปซิฟิกกลาง ศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลางสหรัฐ นับจากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือ, เส้นลองจิจูดที่ 140 องศาตะวันตกไปทางตะวันตกจนถึงเส้นลองจิจูดที่ 180 องศา [1]
แปซิฟิกตะวันตก กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น นับจากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือจรดเส้นละติจูดที่ 60 องศาเหนือ, เส้นลองจิจูดที่ 180 องศาไปทางตะวันตกจนถึงเส้นลองจิจูดที่ 100 องศาตะวันออก [2]
[3]
มหาสมุทรอินเดียเหนือ กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย นับจากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือ, เส้นลองจิจูดที่ 100 องศาตะวันออกไปทางตะวันตกจนถึงเส้นลองจิจูดที่ 40 องศาตะวันออก [4]
ซีกโลกใต้
มหาสมุทรอินเดีย
ตะวันตก-ใต้
กรมอุตุนิยมวิทยามอริเชียส นับจากเส้นศูนย์สูตรไปทางใต้จรดเส้นละติจูดที่ 40 องศาใต้, เส้นลองจิจูดที่ 55 องศาตะวันออกไปทางตะวันออกจนถึงเส้นลองจิจูดที่ 90 องศาตะวันออก [5]
เมเตโอมาดากัสการ์ นับจากเส้นศูนย์สูตรไปทางใต้จรดเส้นละติจูดที่ 40 องศาใต้, ชายฝั่งแอฟริกาไปทางตะวันออกจนถึงเส้นลองจิจูดที่ 55 องศาตะวันออก
เมเตโอฟร็องส์ศูนย์เรอูว์นียง นับจากเส้นศูนย์สูตรไปทางใต้จรดเส้นละติจูดที่ 40 องศาใต้, ชายฝั่งแอฟริกาไปทางตะวันออกจนถึงเส้นลองจิจูดที่ 90 องศาตะวันออก
ภูมิภาคออสเตรเลีย กรมอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศวิทยา และธรณีฟิสิกส์อินโดนีเซีย นับจากเส้นศูนย์สูตรไปทางใต้จรดเส้นละติจูดที่ 10 องศาใต้, เส้นลองจิจูดที่ 90 องศาตะวันออกไปทางตะวันออกจนถึงเส้นลองจิจูดที่ 141 องศาตะวันออก [6]
กรมลมฟ้าอากาศแห่งชาติปาปัวนิวกินี นับจากเส้นศูนย์สูตรไปทางใต้จรดเส้นละติจูดที่ 10 องศาใต้, เส้นลองจิจูดที่ 141 องศาตะวันออกไปทางตะวันออกจนถึงเส้นลองจิจูดที่ 160 องศาตะวันออก
สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย เส้นละติจูดที่ 10 องศาใต้ไปทางใต้จนถึงเส้นละติจูดที่ 40 องศาใต้, เส้นลองจิจูดที่ 90 องศาตะวันออกไปทางตะวันออกจนถึงเส้นลองจิจูดที่ 160 องศาตะวันออก
แปซิฟิกใต้ กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี นับจากเส้นศูนย์สูตรไปทางใต้จรดเส้นละติจูดที่ 25 องศาใต้, เส้นลองจิจูดที่ 160 องศาตะวันออกไปทางตะวันออกจนถึงเส้นลองจิจูดที่ 120 องศาตะวันตก [6]
กรมอุตุนิยมวิทยานิวซีแลนด์ เส้นละติจูดที่ 25 องศาใต้ไปทางใต้จนถึงเส้นละติจูดที่ 40 องศาใต้, เส้นลองจิจูดที่ 160 องศาตะวันออกไปทางตะวันออกจนถึงเส้นลองจิจูดที่ 120 องศาตะวันตก
แอตแลนติกใต้ ศูนย์อุทกศาสตร์กองทัพเรือบราซิล (ไม่เป็นทางการ) นับจากเส้นศูนย์สูตรไปทางใต้จรดเส้นละติจูดที่ 35 องศาใต้, ชายฝั่งบราซิลไปทางตะวันออกจนถึงเส้นลองจิจูดที่ 20 องศาตะวันตก [7]

ก่อนการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการจะเริ่มต้นขึ้น พายุหมุนเขตร้อนมักถูกตั้งชื่อตามสถานที่ วัตถุ หรือวันฉลองนักบุญทางศาสนาในวันที่เกิดพายุ[8] การใช้ชื่อบุคคลมาตั้งเป็นชื่อระบบลมฟ้าอากาศในระบบอุตุนิยมวิทยานั้นริเริ่มโดยเคลเมนต์ แร็กก์ นักอุตุนิยมวิทยาแห่งรัฐบาลควีนสแลนด์ ซึ่งได้ตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในระหว่างปี พ.ศ. 2430 ถึง 2450[8] ต่อมาระบบการตั้งชื่อลมฟ้าอากาศนั้นถูกเลิกใช้ไปหลังจากแร็กก์เกษียณอายุ จนกระทั่งถูกรื้อฟื้นอีกครั้งในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สองสำหรับแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[8] ต่อมาจึงได้มีการนำรูปแบบการตั้งชื่อไปใช้กับแอ่งแอตแลนติกเหนือ แอ่งแปซิฟิกตะวันออก กลาง ตะวันตก และใต้ รวมถึงภูมิภาคออสเตรเลียและมหาสมุทรอินเดีย[8]

ปัจจุบัน พายุหมุนเขตร้อนได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการศูนย์เตือนภัยหนึ่งจากสิบเอ็ดแห่ง และชื่อนั้นจะถูกคงไว้ไปตลอดช่วงชีวิตของตัวพายุหมุนเขตร้อน ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสารด้านการพยากรณ์อากาศ และการเตือนภัยอย่างมีประสิทธิภาพต่อสาธารณชน[9] ลักษณะนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเมื่อมีพายุหมุนเขตร้อนหลายลูกเกิดขึ้นพร้อมกันในแอ่งมหาสมุทรเดียวกัน[9] โดยทั่วไป ชื่อจะถูกนำออกมาจากลำดับรายชื่อที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อพายุดังกล่าวมีความเร็วลมต่อเนื่องในหนึ่ง สาม หรือสิบนาทีมากกว่า 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40 ไมล์ต่อชั่วโมง)[1][4][5] อย่างไรก็ตาม มาตรฐานนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละแอ่ง เช่น พายุหมุนเขตร้อนบางลูกในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกที่ก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในหรือเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ จะได้รับชื่อท้องถิ่นสำหรับใช้ในประเทศฟิลิปปินส์จากองค์การบรริการบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และอุตุนิยมวิทยาฟิลิปปินส์[3] หรือในซีกโลกใต้ พายุหมุนเขตร้อนจะต้องมีลักษณะเฉพาะ คือ มีแรงลมแรงมากอย่างมีนัยสำคัญเกิดขึ้นรอบศูนย์กลางเสียก่อนจึงจะได้รับชื่อ[5][6]

สมาชิกใดก็ตามของคณะกรรมการพายุเฮอริเคน พายุไต้ฝุ่น และพายุหมุนเขตร้อนขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก สามารถร้องขอให้มีการถอนชื่อหรือยกเลิกชื่อของพายุหมุนเขตร้อนออกจากชุดรายชื่อของพายุหมุนเขตร้อนได้[1][2][6] ชื่อนั้นจะถูกถอนหรือปลดไปหากได้รับฉันทามติจากเสียงข้างมากของสมาชิกว่าพายุหมุนเขตร้อนที่มีชื่อดังกล่าวนั้นมีชื่อทางด้านไม่ดี เช่น ก่อให้เกิดการเสียชีวิตของประชาชนเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดความเสียหายผลกระทบเป็นจำนวนมาก หรือด้วยเหตุผลพิเศษอื่นใด[1] จากนั้นจึงจะส่งชื่อทดแทนไปยังคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อลงคะแนนเสียง ทั้งนี้ชื่อเหล่านั้นสามารถถูกปฏิเสธและแทนที่ด้วยชื่ออื่นได้ด้วยเหตุหลายประการ เช่น เหตุผลด้านการสะกดและการออกเสียงของชื่อ ความคล้ายคลึงกับชื่อพายุหมุนเขตร้อนที่เพิ่งใช้มาไม่นาน หรือมีซ้ำอยู่ในชุดรายชื่ออื่น และความยาวของชื่อสำหรับช่องทางการสื่อสารในสมัยใหม่ เช่น สื่อสังคม[1][2][10]

มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (180° ถึง 100° ตะวันออก)[แก้]

พายุหมุนเชตร้อนที่เกิดขึ้นภายในซีกโลกเหนือ ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา ถึง 100 องศาตะวันออก จะได้รับชื่ออย่างเป็นทางการจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น หากพายุหมุนเขตร้อนนั้นมีความรุนแรงขั้นต่ำเป็นพายุโซนร้อน[2] อย่างไรก็ตาม PAGASA จะกำหนดชื่อพายุหมุนเขตร้อนของต้นเองหากมีพายุดีเปรสชันเขตร้อน ก่อตัวหรือเคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณที่เรียกว่า พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเส้นขนานที่ 5 องศาเหนือ ถึง 25 องศาเหนือ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 115 องศาตะวันออก ถึง 135 องศาตะวันออก ครอบคลุมประเทศฟิลิปปินส์[3] เป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนในภูมิภาคนี้มีชื่อจำนวนสองชื่อ[3] อย่างไรก็ตาม ชื่อสากลเป็นชื่อที่ใช้กันทั่วไปในระดับภูมิภาค ส่วนชื่อของฟิลิปปินส์เป็นชื่อที่ใช้กันเป็นการภายในของประเทศฟิลิปปินส์เอง

ชื่อสากล[แก้]

พายุไต้ฝุ่นมังคุดขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561

พายุหมุนเขตร้อนภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกจะได้รับชื่อสากล โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น เมื่อมีความรุนแรงขั้นต่ำเป็นพายุโซนร้อนโดยมีความเร็วลมต่อเนื่องเฉลี่ยใน 10 นาทีอย่างน้อย 34 kn (39 mph; 63 km/h)[2] ชื่อจะถูกใช้ตามลำดับต่อเนื่องกันไปในแต่ละปี ซึ่งชื่อเหล่านี้จะถูกเตรียมไว้อยู่ภายในชุดรายชื่อจำนวนห้าชุด โดยคณะกรรมการไต้ฝุ่นของ ESCAP/WMO ซึ่งชื่อเหล่านี้ถูกส่งมาโดยประเทศและดินแดนสมาชิกจำนวน 14 ประเทศและดินแดน โดยประเทศหรือดินแดนละ 10 ชื่อในปี พ.ศ. 2543[2] และมีการจัดเรียงชื่อตามลำดับตัวอักษรโรมันของชื่อประเทศที่ส่งเองตามลำดับ[2] ทั้งนี้ ประเทศหรือดินแดนสมาชิกคณะกรรมการไต้ฝุ่น สามารถยื่นขอถอนชื่อพายุในชุดรายชื่อได้ หากชื่อเหล่านั้นส่งผลกระทบอย่างมหาศาล หรืออาจด้วยเหตุผลอื่น เช่น จำนวนตัวเลขผู้เสียชีวิต เป็นต้น[2]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก
ชุดที่ ประเทศที่ส่งชื่อ
กัมพูชา จีน เกาหลีเหนือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเชีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย สหรัฐ เวียดนาม
1 ด็อมเร็ย ไห่ขุย[# 1] คีโรกี ยุนยาง[# 2] โคอินุ[# 3] บอละเวน ซันปา[# 4] เจอลาวัต เอวิเนียร์ มาลิกซี[# 5] แคมี พระพิรุณ มาเรีย เซินติญ[# 6]
อ็อมปึล[# 7] อู๋คง ชงดารี[# 8] ชานชาน ยางิ หลี่ผี[# 9] เบบินคา ปูลาซัน[# 10] ซูลิก ซีมารอน เชบี กระท้อน[# 11] บารีจัต[# 12] จ่ามี
2 กองเร็ย หยินซิ่ง[# 13] โทราจี หม่านหยี่ อูซางิ ปาบึก หวู่ติบ เซอปัต มูน[# 14] ดานัส นารี วิภา ฟรานซิสโก ก๋อมัย[# 15]
กรอซา ไป๋ลู่[# 16] โพดุล เหล่งเหล่ง คาจิกิ หนองฟ้า[# 17] เผ่ย์ผ่า[# 18] ตาปะฮ์ มิแทก รากาซะ[# 19] นอกูรี บัวลอย[# 20] แมตโม[# 21] หะลอง
3 นากรี เฟิงเฉิน คัลแมกี ฟงวอง โคโตะ[# 22] นกแอ่น[# 23] เปญา[# 24] นูรี[# 25] ซินลากู ฮากูปิต ชังมี เมขลา ฮีโกส บาหวี่
ไมสัก ไห่เฉิน โนอึล[# 26] ดอลฟิน[# 27] คูจิระ จันหอม เผ่ย์โหล่ว[# 28] นังกา โซเดล[# 29] นาร์รา[# 30] แคนารี[# 31] อัสนี[# 32] เอตาว บั่งลัง[# 33]
4 กรอวาญ ตู้เจวียน ซูรีแก[# 34] ฉอยหวั่น โคะงุมะ[# 35] จำปี[# 36] ยีนฟ้า[# 37] เจิมปากา[# 38] เนพาร์ตัก ลูปิต มีรีแน[# 39] นิดา โอไมส์ หลุกบิ่ญ[# 40]
จันทู เตี้ยนหมู่ มินดุลเล ไลออนร็อก[# 41] โทเก[# 42] น้ำเทิน หมาเหล่า ญาโตะฮ์[# 43] ซาร์บุล[# 44] อามูเยา[# 45] โคซารี[# 46] ชบา แอรี ซงด่า
5 ตรอเสะ[# 47] มู่หลัน[# 48] เมอารี ซิงหม่า[# 49] โทกาเงะ โอง-มั่ง[# 50] หมุ่ยฟ้า เมอร์บก นันมาดอล ตาลัส โฮดู[# 51] กุหลาบ โรคี เซินกา
เนสาท ไห่ถาง ชัมจารี[# 52] บันยัน ยามาเนโกะ[# 53] ปาข่า ซ้านหวู่ มาวาร์ กูโชล ตาลิม ทกซูรี[# 54] ขนุน แลง[# 55] เซาลา
อ้างอิง:[2][11][12]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ชื่อเดิม: หลงหวาง (2543–2548)
  2. ชื่อเดิม: ไคตั๊ก (2543–2560)
  3. ชื่อเดิม: เท็มบิง (2543–2560)
  4. ชื่อเดิม: จันจู (2543–2549)
  5. ชื่อเดิม: บิลิส (2543–2549)
  6. ชื่อเดิม: ซาวมาย (2543–2549)
  7. ชื่อเดิม: บบพา (2543–2555)
  8. ชื่อเดิม: โซนามู (2543–2556)
  9. ชื่อเดิม: ซ้างสาน (2543–2549)
  10. ชื่อเดิม: รุมเบีย (2543–2561)
  11. ชื่อเดิม: ทุเรียน (2543–2549), มังคุด (2551–2561)
  12. ชื่อเดิม: อูตอร์ (2543–2556)
  13. ชื่อเดิม: ยวี่ถู่ (2543–2561)
  14. ชื่อเดิม: ฟิโทว์ (2543–2556)
  15. ชื่อเดิม: เลกีมา (2543–2562)
  16. ชื่อเดิม: ไห่เยี่ยน (2543–2556)
  17. ชื่อเดิม: ฟ้าใส (2543–2562)
  18. ชื่อเดิม: ฮวาเหม่ย์ (2543–2544)
  19. ชื่อเดิม: ฮากีบิส (2543–2562)
  20. ชื่อเดิม: รามสูร (2543–2557)
  21. ชื่อเดิม: ชาทาอาน (2543–2545)
  22. ชื่อเดิม: คัมมูริ (2543–2562)
  23. ชื่อเดิม: ฟานทอง (2543–2562)
  24. ชื่อเดิม: หว่องฟ้ง
  25. ชื่อเดิม: รูซา (2543–2545)
  26. ชื่อเดิม: พงซ็อนฮวา (2543–2545)
  27. ชื่อเดิม: ยันยัน (2543–2546)
  28. ชื่อเดิม: หลิ่นฟา
  29. ชื่อเดิม: เซาเดโลร์ (2543–2558)
  30. ชื่อเดิม: อิมบูโด (2543–2546), โมลาเบ
  31. ชื่อเดิม: โคนี
  32. ชื่อเดิม: หนุมาน (2543–2545), มรกต (2545–2552)
  33. ชื่อเดิม: หว่ามก๋อ
  34. ชื่อเดิม: แมมี (2543–2546), มูจีแก (2548–2558)
  35. ชื่อเดิม: คปปุ (2543–2558)
  36. ชื่อเดิม: เกดสะหนา (2543–2552)
  37. ชื่อเดิม: ป้าหม่า (2543–2552)
  38. ชื่อเดิม: เมอโลร์ (2543–2558)
  39. ชื่อเดิม: ซูดัล (2543–2547)
  40. ชื่อเดิม: โกนเซิน (2543–2567)
  41. ชื่อเดิม: เถ่งเถง (2543–2547)
  42. ชื่อเดิม: คมปาซุ (2543–2567)
  43. ชื่อเดิม: เมอรันตี (2543–2559)
  44. ชื่อเดิม: รานานิม (2543–2547), ฟานาปี (2549–2553), ราอี (2553–2567)
  45. ชื่อเดิม: มาลากัส (2543–2567)
  46. ชื่อเดิม: เมกี (2543–2567)
  47. ชื่อเดิม: ซาเระกา (2543–2559)
  48. ชื่อเดิม: ไหหม่า (2543–2559)
  49. ชื่อเดิม: หมาอ๊อน (2543–2567)
  50. ชื่อเดิม: นกเต็น (2543–2559), หีนหนามหน่อ (2559–2567)
  51. ชื่อเดิม: โนรู (2543–2567)
  52. ชื่อเดิม: นัลแก (2543–2567)
  53. ชื่อเดิม: วาชิ (2543–2554), ฮาโตะ (2556–2560)
  54. ชื่อเดิม: นาบี (2543–2548)
  55. ชื่อเดิม: บิเซนเต (2543–2555)

ฟิลิปปินส์[แก้]

พายุไต้ฝุ่นทุเรียน (เรมิง) ขณะมีกำลังแรงสูงสุดอยู่ใกล้ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

นับแต่ปี พ.ศ. 2506 สำนักงานบริหารบริการบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้กำหนดชื่อพายุหมุนเขตร้อนที่เข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงานเป็นชื่อของตัวเองอย่างอิสระ[3][13] โดยชุดรายชื่อมีลักษณะเป็นชุดรายชื่อที่แตกต่างกันสี่ชุด ชุดละ 25 ชื่อ โดยจะนำมากำหนดให้กับพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงตั้งแต่พายุดีเปรสเขตร้อนขึ้นไป ที่ก่อตัวหรือเคลื่อนตัวเข้าสู่เขตฟิลิปปินส์[3][13] ชุดรายชื่อทั้งสี่จะถูกนำมาใช้หมุนเวียนต่อเนื่องกันปีละหนึ่งชุด และหากชื่อพายุหมุนเขตร้อนใดที่สร้างความเสียหายขั้นต่ำ 1 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ หรือทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 300 คนในประเทศฟิลิปปินส์ ชื่อนั้นจะถูกถอนออก[13][14] หากมีพายุหมุนเขตร้อนมากเสียจนชื่อในรายการหมดลง จะมีการนำชื่อในรายการเพิ่มเติมมาใช้ต่อ[13]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของภูมิภาคฟิลิปปินส์
2565
ชื่อหลัก อากาโตน
(Agaton)
บาชัง
(Basyang)
กาโลย
(Caloy)
โดเมง
(Domeng)
เอสเตร์
(Ester)
โฟลรีตา
(Florita)
การ์โด
(Gardo)
เฮนรี
(Henry)
อินได
(Inday)
โจซี
(Josie)
การ์ดิง
(Karding)
ลุยส์
(Luis)
ไมไม
(Maymay)
เนเนง
(Neneng)
โอเบต
(Obet)
ปาเอง
(Paeng)
กวีนี
(Queenie)
โรซัล
(Rosal)
ซามูเวล
(Samuel)
โตมัส
(Tomas)
อุมเบร์โต
(Umberto)
เบนุส
(Venus)
วัลโด
(Waldo)
ยายัง
(Yayang)
เซนี
(Zeny)
เพิ่มเติม อากีลา
(Agila)
บากวิส
(Bagwis)
ชีโต
(Chito)
ดีเยโก
(Diego)
เอเลนา
(Elena)
เฟลีโน
(Felino)
กุนดิง
(Gunding)
แฮร์เรียต
(Harriet)
อินดัง
(Indang)
เจสซา
(Jessa)
2566
ชื่อหลัก อามัง
(Amang)
เบตตี
(Betty)
เชเดง
(Chedeng)
โดโดง
(Dodong)
เอไก
(Egay)
ฟัลโกน
(Falcon)
โกริง
(Goring)
ฮันนา
(Hanna)
อีเนง
(Ineng)
เจนนี
(Jenny)
กาบายัน
(Kabayan)
ลีไวไว
(Liwayway)
แมริลิน
(Marilyn)
นิมฟา
(Nimfa)
โอนโยก
(Onyok)
เปร์ลา
(Perla)
กีเยล
(Quiel)
ราโมน
(Ramon)
ซาราห์
(Sarah)
ตามาเรา
(Tamaraw)
อูโกง
(Ugong)
บีริง
(Viring)
เวง
(Weng)
โยโยย
(Yoyoy)
ซิกซัก
(Zigzag)
เพิ่มเติม อาเบ
(Abe)
เบร์โต
(Berto)
ชาโร
(Charo)
ดาโด
(Dado)
เอสโตย
(Estoy)
เฟลีโยน
(Felion)
เฮนิง
(Gening)
เฮอร์มัน
(Herman)
อีร์มา
(Irma)
ไฮเม
(Jaime)
2567
ชื่อหลัก อากอน
(Aghon)
บุตโชย
(Butchoy)
การีนา
(Carina)
ดินโด
(Dindo)
เอนเตง
(Enteng)
เฟร์ดี
(Ferdie)
เฮร์เนอร์
(Gener)
เฮเลน
(Helen)
อินเม
(Igme)
ฮูเลียน
(Julian)
กริสตีน
(Kristine)
เลโอน
(Leon)
มาร์เซ
(Marce)
นีกา
(Nika)
โอเฟล
(Ofel)
เปปีโต
(Pepito)
เกรูบิน
(Querubin)
โรมีนา
(Romina)
โชนี
(Siony)
โตนโย
(Tonyo)
อูปัง
(Upang)
บิกกี
(Vicky)
วอร์เรน
(Warren)
โยโยง
(Yoyong)
โซซีโม
(Zosimo)
เพิ่มเติม อาลักดัน
(Alakdan)
บัลโด
(Baldo)
กลารา
(Clara)
เดนซีโย
(Dencio)
เอสโตง
(Estong)
เฟลีเป
(Felipe)
โกเมอร์
(Gomer)
เฮลิง
(Heling)
อิสมาเอล
(Ismael)
ฮูลีโย
(Julio)
2568
ชื่อหลัก เอาริง
(Auring)
บีซิง
(Bising)
กรีซิง
(Crising)
ดันเต
(Dante)
เอโมง
(Emong)
ฟาเบียน
(Fabian)
โกรีโย
(Gorio)
ฮัวนิง
(Huaning)
อิซัง
(Isang)
โฮลีนา
(Jolina)
กีโก
(Kiko)
ลันนี
(Lannie)
มิราโซล
(Mirasol)
นันโด
(Nando)
โอโปง
(Opong)
ปาโอโล
(Paolo)
เกดัน
(Quedan)
รามิล
(Ramil)
ซาโลเม
(Salome)
ตีโน
(Tino)
อูวัน
(Uwan)
เบร์เบนา
(Verbena)
วิลมา
(Wilma)
ยัสมิน
(Yasmin)
โซไรดา
(Zoraida)
เพิ่มเติม อาลามิด
(Alamid)
บรูโน
(Bruno)
โกนชิง
(Conching)
โดโลร์
(Dolor)
เอร์นี
(Ernie)
โฟลรันเต
(Florante)
เฮราร์โด
(Gerardo)
เอร์นัน
(Hernan)
อิสโก
(Isko)
เจอโรม
(Jerome)
แหล่งข้อมูลสำหรับชื่อพายุหมุนเขตร้อน[13]

มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ[แก้]

พายุเฮอริเคนเออร์มาขณะมีกำลังแรงสูงสุดเหนือหมู่เกาะเวอร์จินเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

ภายในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ พายุที่มีความรุนแรงถึงระดับพายุโซนร้อนหรือพายุกึ่งโซนร้อน จะได้รับชื่อโดยศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติ (NHC/RSMC ไมอามี) โดยศูนย์ดังกล่าวจะเป็นผู้ตัดสิน เมื่อพายุทวีกำลังทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ด้วยความเร็วลมอย่างน้อย 34 นอต (63 กม./ชม. หรือ 39 ไมล์/ชม.)[1] ชื่อที่ถูกเลือกจะมาจากหนึ่งในหกรายการตามลำดับตัวอักษรที่หมุนเวียนจากรายชื่อทั้งยี่สิบเอ็ด ซึ่งมีคณะกรรมการพายุเฮอริเคน RA IV ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกเป็นผู้ดูแล[1] ชื่อในชุดรายชื่อดังกล่าวนี้เว้นการใช้ตัวอักษร Q, U, X, Y และ Z และมีการใช้แบบหมุนเวียนสลับกันไประหว่างชื่อผู้ชายและชื่อผู้หญิง[1] ชื่อของพายุซึ่งมีนัยสำคัญจะถูกถอนออกจากชุดรายชื่อ และจะมีการตั้งชื่อขึ้นใหม่มาทดแทนในวาระการประชุมรอบถัดไปของคณะกรรมการพายุเฮอริเคน[1]

จนถึงปี 2564 หากชื่อพายุในชุดรายชื่อของปีนั้นถูกใช้ไปจนหมด พายุโซนร้อนและพายุกึ่งโซนร้อนที่เกิดขึ้นใหม่จะถูกกำหนดชื่อเป็นชื่อของอักษรกรีกตามลำดับ กระทั่งในเดือนมีนาคม 2564 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้ประกาศว่า พายุลูกใดก็ตามที่เกิดขึ้นใหม่นั้น ให้ใช้ชื่อจากรายการรายชื่อเพิ่มเติมแทน ทั้งนี้เพื่อป้องกันความสับสนที่อาจเกิดขึ้นจากชื่อของอักษรกรีก[15]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของแอตแลนติก
2565 (2022)
รายชื่อ อเล็กซ์
(Alex)
บอนนี
(Bonnie)
คอลิน
(Colin)
แดเนียลล์
(Danielle)
เอิร์ล
(Earl)
ฟีโอนา
(Fiona)
แกสตัน
(Gaston)
เฮอร์มีน
(Hermine)
เอียน
(Ian)
จูเลีย
(Julia)
คาร์ล
(Karl)
ลีซา
(Lisa)
มาร์ติน
(Martin)
นิโคล
(Nicole)
โอเวน
(Owen)
เปาลา
(Paula)
ริชาร์ด
(Richard)
แชรี
(Shary)
โทไบอัส
(Tobias)
วีร์ฌีนี
(Virginie)
วอลเตอร์
(Walter)
2566 (2023)
รายชื่อ อาร์ลีน
(Arlene)
เบรต
(Bret)
ซินดี
(Cindy)
ดอน
(Don)
เอมิลี
(Emily)
แฟรงคลิน
(Franklin)
แกร์ท
(Gert)
แฮโรลด์
(Harold)
อิดาเลีย
(Idalia)
โฮเซ
(José)
กาตียา
(Katia)
ลี
(Lee)
มาร์กอท
(Margot)
ไนเจล
(Nigel)
โอฟีเลีย
(Ophelia)
ฟีลิป
(Philippe)
รีนา
(Rina)
ชอน
(Sean)
แทมมี
(Tammy)
วินซ์
(Vince)
วิตนีย์
(Whitney)
2567 (2024)
รายชื่อ อัลเบร์โต
(Alberto)
เบริล
(Beryl)
คริส
(Chris)
เดบบี
(Debby)
เอร์เนสโต
(Ernesto)
แฟรนซีน
(Francine)
กอร์ดอน
(Gordon)
เฮเลน
(Helene)
ไอแซก
(Isaac)
จอยซ์
(Joyce)
เคิร์ก
(Kirk)
เลซลี
(Leslie)
มิลตัน
(Milton)
นาดีน
(Nadine)
ออสการ์
(Oscar)
แพตตี
(Patty)
ราฟาเอล
(Rafael)
ซารา
(Sara)
โทนี
(Tony)
วาเลรี
(Valerie)
วิลเลียม
(William)
2568 (2025)
รายชื่อ แอนเดรีย
(Andrea)
แบร์รี
(Barry)
ช็องตาล
(Chantal)
เดกซ์เตอร์
(Dexter)
เอริน
(Erin)
เฟอร์นานด์
(Fernand)
กาเบรียล
(Gabrielle)
อุมเบร์โต
(Humberto)
อีเมลดา
(Imelda)
เจร์รี
(Jerry)
คาเรน
(Karen)
โลเรนโซ
(Lorenzo)
เมลิสซา
(Melissa)
เนสตอร์
(Nestor)
ออลกา
(Olga)
ปาโบล
(Pablo)
รีเบกาห์
(Rebekah)
เซบัสเตียง
(Sebastien)
แทนยา
(Tanya)
แวน
(Van)
เวนดี
(Wendy)
2569 (2026)
รายชื่อ อาร์เทอร์
(Arthur)
เบอร์ทา
(Bertha)
กริสโตบัล
(Cristobal)
ดอลลี
(Dolly)
เอดัวร์
(Edouard)
เฟย์
(Fay)
กอนซาโล
(Gonzalo)
แฮนนา
(Hanna)
ไอเซอัส
(Isaias)
โจเซฟีน
(Josephine)
ไคล์
(Kyle)
ลีอาห์
(Leah)
มาร์โก
(Marco)
นานา
(Nana)
โอมาร์
(Omar)
พอเลตต์
(Paulette)
เรเน
(Rene)
แซลลี
(Sally)
เทดดี
(Teddy)
วิกกี
(Vicky)
วิลเฟรด
(Wilfred)
2570 (2027)
รายชื่อ อานา
(Ana)
บิลล์
(Bill)
คลอเดตต์
(Claudette)
แดนนี
(Danny)
เอลซา
(Elsa)
เฟรด
(Fred)
เกรซ
(Grace)
เฮนรี
(Henri)
ไอม์อานี
(Imani)
จูเลียน
(Julian)
เคต
(Kate)
แลร์รี
(Larry)
มินดี
(Mindy)
นิโคลัส
(Nicholas)
โอเดตต์
(Odette)
ปีเตอร์
(Peter)
โรส
(Rose)
แซม
(Sam)
เทรีซา
(Teresa)
วิกเตอร์
(Victor)
แวนดา
(Wanda)
รายชื่อเพิ่มเติม
รายชื่อ เอเดรีย
(Adria)
เบรย์เลน
(Braylen)
การีดัด
(Caridad)
เดชอว์น
(Deshawn)
เอเมอรี
(Emery)
ฟอสเตอร์
(Foster)
เจมมา
(Gemma)
ฮีท
(Heath)
อิสลา
(Isla)
ยาโคบัส
(Jacobus)
เคนซี
(Kenzie)
ลูซีโอ
(Lucio)
มาเคย์ลา
(Makayla)
นอแลน
(Nolan)
ออร์ลันดา
(Orlanda)
แพกซ์
(Pax)
รอนิน
(Ronin)
โซฟี
(Sophie)
เทชอน
(Tayshaun)
บีเบียนา
(Viviana)
วิลล์
(Will)

มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก[แก้]

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก มีสองหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประกาศใช้ชื่อกับพายุในนามขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เมื่อหน่วยงานดังกล่าวพบว่ามีพายุหมุนเขตร้อนใดที่ทวีกำลังแรงเป็นระดับพายุโซนร้อน ด้วยความเร็วมลมอย่างน้อย 34 นอต (63 กม./ชม. หรือ 39 ไมล์/ชม.)[1] โดยพายุหมุนเขตร้อนใดที่ทวีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อน อยู่ระหว่างชายฝั่งทวีปอเมริกา ถึง 140°ต.ต. จะได้รับชื่อโดยศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติ (NHC/RSMC ไมอามี) ขณะที่พายุหมุนเขตร้อนใดที่ทวีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อน อยู่ระหว่าง 140°ต.ต. ถึง 180° จะได้รับชื่อโดยศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลาง (CPHC/RSMC โฮโนลูลู)[1] ส่วนชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญ จะถูกปลดจากรายการ และจะมีการคัดเลือกชื่อใหม่ขึ้นมาแทนในการประชุมคณะกรรมการเฮอร์ริเคนขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกครั้งต่อไป[1]

มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือทางทิศตะวันออกของละติจูด 140° ตะวันตก[แก้]

พายุเฮอริเคนแพทริเซียขณะมีกำลังแรงสูงสุดอยู่ใกล้ประเทศเม็กซิโกเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เมื่อพายุดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในบริเวณตอนเหนือของเส้นศูนย์สูตร ระหว่างชายฝั่งทวีปอเมริกา ถึง 140°ต.ต. จะได้รับชื่อโดยศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติ โดยมีรายการชื่อทั้งหมดหกชุด หมุนเวียนกันในทุก ๆ หกปี โดยในแต่ละชุดเริ่มต้นที่ตัวอักษรเอ (A) และสิ้นสุดด้วยตัวอักษรซี (Z) โดยชื่อที่ใช้มีทั้งชื่อผู้ชายและชื่อผู้หญิง[1] ส่วนชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญ จะถูกถอนออกจากรายการ และจะมีการคัดเลือกชื่อใหม่ขึ้นมาแทนในการประชุมคณะกรรมการเฮอร์ริเคนขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกครั้งต่อไป[1] หากทุกชื่อในชุดถูกใช้ไปจนหมด พายุที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นจะใช้ชื่อในชุดรายชื่อเพิ่มเติมแทน[15]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก
2565 (2022)
รายชื่อ แอกาทา
(Agatha)
บลัส
(Blas)
ซีเลีย
(Celia)
ดาร์บี
(Darby)
เอสเทลล์
(Estelle)
แฟรงก์
(Frank)
จอร์เจตต์
(Georgette)
ฮาวเวิร์ด
(Howard)
อีเวตต์
(Ivette)
ฆาบิเอร์
(Javier)
เคย์
(Kay)
เลสเตอร์
(Lester)
แมเดลิน
(Madeline)
นิวตัน
(Newton)
ออร์ลีน
(Orlene)
เพน
(Paine)
รอสลิน
(Roslyn)
ซีมอร์
(Seymour)
ทีนา
(Tina)
เวอร์จิล
(Virgil)
วินิฟริด
(Winifred)
แซเวียร์
(Xavier)
โยลันดา
(Yolanda)
ซี๊ก
(Zeke)
2566 (2023)
รายชื่อ เอเดรียน
(Adrian)
เบอาตริซ
(Beatriz)
แคลวิน
(Calvin)
ดอรา
(Dora)
ยูจีน
(Eugene)
เฟร์นันดา
(Fernanda)
เกร็ก
(Greg)
ฮิลารี
(Hilary)
เออร์วิน
(Irwin)
โจวา
(Jova)
เคนเนท
(Kenneth)
ลิเดีย
(Lidia)
แมกซ์
(Max)
นอร์มา
(Norma)
โอติส
(Otis)
ปิลาร์
(Pilar)
ราโมน
(Ramon)
เซลมา
(Selma)
ทอดด์
(Todd)
เบโรนิกา
(Veronica)
วิลีย์
(Wiley)
ซีนา
(Xina)
ยอร์ก
(York)
เซลดา
(Zelda)
2567 (2024)
รายชื่อ อะเลตตา
(Aletta)
บัด
(Bud)
คาร์ลอตตา
(Carlotta)
แดเนียล
(Daniel)
เอมิเลีย
(Emilia)
ฟาบีโอ
(Fabio)
กีลมา
(Gilma)
เฮกเตอร์
(Hector)
อิเลียนา
(Ileana)
จอห์น
(John)
คริสตี
(Kristy)
เลน
(Lane)
มิเรียม
(Miriam)
นอร์มัน
(Norman)
โอลิเวีย
(Olivia)
พอล
(Paul)
โรซา
(Rosa)
เซร์ฆิโอ
(Sergio)
ทารา
(Tara)
บิเซนเต
(Vicente)
วิลลา
(Willa)
แซเวียร์
(Xavier)
โยลันดา
(Yolanda)
ซี๊ก
(Zeke)
2568 (2025)
รายชื่อ แอลวิน
(Alvin)
บาร์บารา
(Barbara)
คอสมี
(Cosme)
เดลิลา
(Dalila)
เอริก
(Erick)
ฟลอสซี
(Flossie)
กิล
(Gil)
เฮนรีเอตต์
(Henriette)
อิโว
(Ivo)
จูลีเอตต์
(Juliette)
กิโก
(Kiko)
โลเรนา
(Lorena)
มารีโอ
(Mario)
นาร์ดา
(Narda)
ออกเทฟ
(Octave)
พริสซิลลา
(Priscilla)
เรย์มันด์
(Raymond)
โซเนีย
(Sonia)
ติโก
(Tico)
เวลมา
(Velma)
วอลลิส
(Wallis)
ซีนา
(Xina)
ยอร์ก
(York)
เซลดา
(Zelda)
2569 (2026)
รายชื่อ อะแมนดา
(Amanda)
บอริส
(Boris)
คริสตีนา
(Cristina)
ดักลัส
(Douglas)
เอลิดา
(Elida)
ฟาอุสโต
(Fausto)
เจนิวีฟ
(Genevieve)
เอร์นัน
(Hernan)
ไอเซลล์
(Iselle)
ฆูลิโอ
(Julio)
คารินา
(Karina)
โลเวลล์
(Lowell)
มารี
(Marie)
นอร์เบิร์ต
(Norbert)
โอดาส์
(Odalys)
โพโล
(Polo)
เรเชล
(Rachel)
ไซมอน
(Simon)
ทรูดี
(Trudy)
แวนซ์
(Vance)
วินนี
(Winnie)
แซเวียร์
(Xavier)
โยลันดา
(Yolanda)
ซี๊ก
(Zeke)
2570 (2027)
รายชื่อ แอนเดรอัส
(Andres)
บลังกา
(Blanca)
การ์โลส
(Carlos)
โดโลเรส
(Dolores)
เอนริเก
(Enrique)
เฟลิเซีย
(Felicia)
กิเยร์โม
(Guillermo)
ฮิลดา
(Hilda)
อิกนาซิโอ
(Ignacio)
ฆิเมนา
(Jimena)
เควิน
(Kevin)
ลินดา
(Linda)
มาร์ตี
(Marty)
นอรา
(Nora)
โอลาฟ
(Olaf)
แพเมลา
(Pamela)
ริก
(Rick)
แซนดรา
(Sandra)
เทร์รี
(Terry)
วีเวียน
(Vivian)
วัลโด
(Waldo)
ซีนา
(Xina)
ยอร์ก
(York)
เซลดา
(Zelda)
รายชื่อเพิ่มเติม
รายชื่อ เอดัน
(Aidan)
บรูนา
(Bruna)
คาร์เมโล
(Carmelo)
แดเนียลล่า
(Daniella)
เอสเตบัน
(Esteban)
ฟลอร์
(Flor)
เจอราร์โด
(Gerardo)
เฮดดา
(Hedda)
อิซซี
(Izzy)
จาซินตา
(Jacinta)
เคนนิโต
(Kenito)
ลูนา
(Luna)
มารีนา
(Marina)
แนนซี
(Nancy)
โอวิดีโอ
(Ovidio)
เพีย
(Pia)
เรย์
(Rey)
สกายเลอร์
(Skylar)
เทโอ
(Teo)
บีโอเลตา
(Violeta)
วิลเฟรโด
(Wilfredo)
ซีเนีย
(Xinia)
ยารีเอล
(Yariel)
โซอี
(Zoe)

มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือตอนกลาง (ละติจูด 140° ตะวันตก ถึง 180°)[แก้]

พายุเฮอริเคนวาลากาขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เมื่อพายุดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในบริเวณตอนเหนือของเส้นศูนย์สูตร ระหว่าง 140°ต.ต. ถึง 180° จะได้รับชื่อโดยศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลาง[1] โดยมีรายการชื่อสี่ชุดเป็นชื่อภาษาฮาวาย โดยได้รับการปรับปรุงโดยคณะกรรมการเฮอร์ริเคนขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก โดยการใช้แบบหมุนเวียนโดยไม่คำนึงถึงปี คือ ชื่อแรกของปีถัดไปจะเป็นต่อจากชื่อสุดท้ายของปีก่อน ซึ่งยังไม่ได้ถูกใช้[1] ส่วนชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญ จะถูกปลดจากรายการ และจะมีการคัดเลือกชื่อใหม่ขึ้นมาแทนในการประชุมคณะกรรมการเฮอร์ริเคนครั้งต่อไป[1]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง
ชุดที่ รายชื่อ
1 อาโกนี
(Akoni)
เอมา
(Ema)
โฮเน
(Hone)
อีโอนา
(Iona)
เกลี
(Keli)
ลาลา
(Lala)
โมเก
(Moke)
โนโล
(Nolo)
โอลานา
(Olana)
เปนา
(Pena)
อูลานา
(Ulana)
วาเล
(Wale)
2 อากา
(Aka)
เอเกกา
(Ekeka)
เฮเน
(Hene)
ไอโอลานา
(Iolana)
เกโอนี
(Keoni)
ลีโน
(Lino)
เมเล
(Mele)
โนนา
(Nona)
โอลีวา
(Oliwa)
ปามา
(Pama)
อูปานา
(Upana)
เวเน
(Wene)
3 อาลิกา
(Alika)
เอเล
(Ele)
ฮูโก
(Huko)
อีโอปา
(Iopa)
กีกา
(Kika)
ลานา
(Lana)
มากา
(Maka)
เนกี
(Neki)
โอเมกา
(Omeka)
เปวา
(Pewa)
อูนาลา
(Unala)
วาลี
(Wali)
4 อานา
(Ana)
เอลา
(Ela)
ฮาโลลา
(Halola)
อีอูเน
(Iune)
กีโล
(Kilo)
โลเก
(Loke)
มาลีอา
(Malia)
นีอาลา
(Niala)
โอโฮ
(Oho)
ปาลี
(Pali)
อูลีกา
(Ulika)
วาลากา
(Walaka)
แหล่งข้อมูลสำหรับชื่อพายุหมุนเขตร้อน[1]

มหาสมุทรอินเดียเหนือ (ละติจูด 45° ตะวันออก ถึง 100° ตะวันออก)[แก้]

พายุไซโคลนไพลินขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ภายในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ระหว่าง 45°ต.อ. ถึง 100°ต.อ. พายุไซโคลนจะได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD/RSMC นิวเดลี) โดยกรมดังกล่าวจะเป็นผู้ตัดสิน เมื่อพายุไซโคลนมีความเร็วลมสูงสุด เฉลี่ยใน 3 นาที อย่างน้อย 34 นอต (63 กม./ชม. หรือ 39 ไมล์/ชม.)[4] โดยมีรายการชื่อแปดชุด และได้รับการใช้หมุนเวียนน้อยมากในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม ชื่อพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญก็จะถูกปลดออกจากรายการ[16] ทั้งนี้เมื่อถึงคราวชื่อชุดแรกใกล้หมดลงแล้ว ได้มีการประกาศรายชื่อชุดใหม่ขึ้น โดยเพิ่มจากเดิมที่ 64 ชื่อ เป็น 169 ชื่อ จากทั้งหมด 13 ประเทศ[4]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรอินเดียเหนือ (2547 ถึง 2563)
ชุดที่ ประเทศที่ส่งชื่อ
บังกลาเทศ อินเดีย มัลดีฟส์ พม่า โอมาน ปากีสถาน ศรีลังกา ไทย
1 โอนิล
(Onil)
อัคนี
(Agni)
ฮีบารู
(Hibaru)
ปยา
(Pyarr)
บาอัซ
(Baaz)
ฟาโนส
(Fanoos)
มาลา
(Mala)
มุกดา
(Mukda)
2 อ็อกนี
(Ogni)
อากาศ
(Akash)
โกนู
(Gonu)
เยมยีน
(Yemyin)
ซีดร์
(Sidr)
นาร์กีส
(Nargis)
รัศมี
(Rashmi)
ไข่มุก
(Khai Muk)
3 นิชา
(Nisha)
บิชลี
(Bijli)
ไอลา
(Aila)
พยาน
(Phyan)
วาร์ด
(Ward)
ไลลา
(Laila)
พันทุ
(Bandu)
เพชร
(Phet)
4 คีรี
(Giri)
ชัล
(Jal)
เกอีลา
(Keila)
ทเน
(Thane)
มูร์จัน
(Murjan)
นีลัม
(Nilam)
วียารุ
(Viyaru)
ไพลิน
(Phailin)
5 เฮเลน
(Helen)
เลฮาร์
(Lehar)
มาดี
(Madi)
นะเนาะ
(Nanauk)
ฮุดฮุด
(Hudhud)
นิโลฟาร์
(Nilofar)
อโศภา
(Ashobaa)
โกเมน
(Komen)
6 จาปาลา
(Chapala)
เมฆ
(Megh)
โรอานู
(Roanu)
จั่น
(Kyant)
นาดา
(Nada)
วาร์ดะห์
(Vardah)
มารุตะ
(Maarutha)
โมรา
(Mora)
7 ออกคี
(Ockhi)
สาคร
(Sagar)
เมกูนู
(Mekunu)
ดะแย
(Daye)
ลูบัน
(Luban)
ติตลี
(Titli)
คชะ
(Gaja)
เพทาย
(Phethai)
8 ฟานี
(Fani)
วายุ
(Vayu)
ฮีกาอา
(Hikaa)
จ้า
(Kyarr)
มาฮา
(Maha)
บุลบูล
(Bulbul)
ปาวัน
(Pawan)
อำพัน
(Amphan)
แหล่งข้อมูลสำหรับชื่อพายุหมุนเขตร้อน[4]
รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรอินเดียเหนือ[17] (2563 เป็นต้นไป)
ชุดที่ ประเทศที่ส่งชื่อ
บังกลาเทศ อินเดีย อิหร่าน มัลดีฟส์ พม่า โอมาน ปากีสถาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย ศรีลังกา ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน
1 นิสรรคะ
(Nisarga)
คติ
(Gati)
นีวอร
(Nivar)
บูเรวี
(Burevi)
เตาะแต
(Tauktae)
ยาส
(Yaas)
กุหลาบ
(Gulab)
ชาฮีน
(Shaheen)
ญะวาด
(Jawad)
อัสนี
(Asani)
ศรีตรัง
(Sitrang)
มันดุซ
(Mandous)
โมคา
(Mocha)
2 บีปอร์จอย
(Biparjoy)
เตช
(Tej)
ฮอมูน
(Hamoon)
มิดิลี
(Midhili)
มิชอง
(Michaung)
ริมาล
(Remal)
อัสนา
(Asna)
ดานะ
(Dana)
เฟนญาล
(Fengal)
ศักติ
(Shakhti)
มณฑา
(Montha)
ซินญาร
(Senyar)
ดิตวะฮ์
(Ditwah)
3 อรร์นับ
(Arnab)
มุรซุ
(Murasu)
อักวาน
(Akvan)
กานี
(Kaani)
งะมาน
(Ngamann)
ซาอิล
(Sail)
ซาฮับ
(Sahab)
ลูลุ
(Lulu)
ฆะซีร
(Ghazeer)
กิกุม
(Gigum)
เทียนหยด
(Thianyot)
อาฟูร
(Afoor)
ดิกซาม
(Diksam)
4 อุปกูล
(Upakul)
อาค
(Aag)
เซแพนด์
(Sepand)
ออดี
(Odi)
จาตี
(Kyarthit)
นะซีม
(Naseem)
อัฟชาน
(Afshan)
มูจญ์
(Mouj)
อาซีฟ
(Asif)
คคนา
(Gagana)
บุหลัน
(Bulan)
นะฮ์ฮาม
(Nahhaam)
ซีระฮ์
(Sira)
5 บาร์ชอน
(Barshon)
วโยม
(Vyom)
บูรัน
(Booran)
เคเนา
(Kenau)
ซะบะจี
(Sapakyee)
มุซน์
(Muzn)
มะนาฮิล
(Manahil)
ซุฮัยล์
(Suhail)
ซิดเราะฮ์
(Sidrah)
เวรัมภา
(Verambha)
ภูตลา
(Phutala)
กุฟฟาล
(Quffal)
บะคูร
(Bakhur)
6 ราจานี
(Rajani)
ฌาร์
(Jhar)
อะนาฮีตา
(Anahita)
อินเดรี
(Endheri)
เวะวูน
(Wetwun)
ซะดีม
(Sadeem)
ชุญานะฮ์
(Shujana)
เศาะดัฟ
(Sadaf)
ฮารีด
(Hareed)
ครรชนะ
(Garjana)
ไอยรา
(Aiyara)
ดามัน
(Daaman)
ฆวอยซี
(Ghwyzi)
7 นิศีถ
(Nishith)
ประพาหะ
(Probaho)
ออซัร
(Azar)
รีเยา
(Riyau)
มไวโฮะ
(Mwaihout)
ดีมะฮ์
(Dima)
ปาร์วาซ
(Parwaz)
รีม
(Reem)
ฟัยด์
(Faid)
นีบะ
(Neeba)
สมิง
(Saming)
ดีม
(Deem)
เฮาฟ์
(Hawf)
8 อุร์มี
(Urmi)
นีร์
(Neer)
พูยาน
(Pooyan)
กูรูวา
(Guruva)
จเว
(Kywe)
มันญูร
(Manjour)
ซันนาตา
(Zannata)
รอยฮาน
(Rayhan)
กะศีร
(Kaseer)
นินนาทะ
(Ninnada)
ไกรสร
(Kraison)
ญัรฆูร
(Gargoor)
บัลฮัฟ
(Balhaf)
9 เมฆลา
(Meghala)
ประภัญชัน
(Prabhanjan)
อาร์ชัม
(Arsham)
คุรังกี
(Kurangi)
ปีนกู
(Pinku)
รุกาม
(Rukam)
ซาร์ซาร์
(Sarsar)
อันบัร
(Anbar)
นัคฮีล
(Nakheel)
วิทุลิ
(Viduli)
มัจฉา
(Matcha)
คุบบ์
(Khubb)
บรอม
(Brom)
10 สมีรณ
(Samiron)
ฆูรณิ
(Ghurni)
เฮนกาเม
(Hengame)
คุเรดี
(Kuredhi)
ยีนกอง
(Yinkaung)
วะตัด
(Watad)
บาดบาน
(Badban)
อูด
(Oud)
ฮะบูบ
(Haboob)
โอฆะ
(Ogha)
มหิงสา
(Mahingsa)
ดะกอล
(Degl)
ชุกเราะฮ์
(Shuqra)
11 ประติกูล
(Pratikul)
อัมพุท
(Ambud)
ซะวอส
(Savas)
โฮรังกุ
(Horangu)
ลีนโยน
(Linyone)
อัลญัรซ์
(Al-jarz)
ซาร์รับ
(Sarrab)
บะฮัร
(Bahar)
บาริก
(Bareq)
สาลิทะ
(Salitha)
แพรวา
(Phraewa)
อัตห์มัด
(Athmad)
ฟัรตัก
(Fartak)
12 ซาโรบอร์
(Sarobor)
ชลธี
(Jaladhi)
ตะฮัมตัน
(Tahamtan)
ทุนดี
(Thundi)
จีกาน
(Kyeekan)
เราะบ๊าบ
(Rabab)
กุลนาร์
(Gulnar)
ซีฟ
(Seef)
อัลรีม
(Alreem)
รีวี
(Rivi)
อสุรี
(Asuri)
บูม
(Boom)
ดารซะฮ์
(Darsah)
13 มหานิศา
(Mahanisha)
เวคา
(Vega)
ทูฟาน
(Toofan)
ฟานา
(Faana)
เบาะพะ
(Bautphat)
ราอัด
(Raad)
วาเซก
(Waseq)
ฟานาร์
(Fanar)
วาบีล
(Wabil)
รูดู
(Rudu)
ธารา
(Thara)
ศัฟฟาร
(Saffar)
ศัมฮะฮ์
(Samhah)

มหาสมุทรอินเดียใต้ด้านตะวันตก (แอฟริกา ถึง 90° ตะวันออก)[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนกาฟิโลเมื่อกำลังมีความรุนแรงสูงสุด

ในแอ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรอินเดีย พายุดีเปรสชันเขตร้อนและดีเปรสชันกึ่งเขตร้อนจะได้รับการตั้งชื่อเมื่อศูนย์อุตุนิยมวิทยาประจำภูมิภาคที่เกาะเรอูว์นียงของฝรั่งเศสตรวจพบว่ามีความเร็วลมคงที่สูงสุด 10 นาทีอยู่ที่ 65 กม./ชม. (40 ไมล์) หรือมากกว่านั้นเป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ตั้งชื่อพายุได้แก่ ศูนย์แจ้งเตือนพายุหมุนเขตร้อนระดับอนุภูมิภาคในมอริเชียสและมาดากัสการ์

ศูนย์แจ้งเตือนพายุหมุนเขตร้อนระดับอนุภูมิภาคในมอริเชียสจะตั้งชื่อพายุลูกหนึ่ง ๆ เมื่อมันมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลางระหว่างละติจูด 55° ตะวันออกกับละติจูด 90° ตะวันออก แต่ถ้าพายุลูกใดมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลางระหว่างละติจูด 30° ตะวันออกกับละติจูด 55° ตะวันออก ศูนย์แจ้งเตือนพายุหมุนเขตร้อนระดับอนุภูมิภาคในมาดากัสการ์จะเป็นผู้กำหนดชื่อที่เหมาะสมของพายุลูกนั้น

รายชื่อใหม่จะใช้เป็นประจำทุกปี ในขณะที่ชื่อปกติจะใช้เพียงครั้งเดียวจึงไม่มีการปลดชื่อออก[18]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรอินเดียใต้-ตะวันตก
2564–65
รายชื่อ อานา
(Ana)
บัตซีราย
(Batsirai)
กลิฟ
(Cliff)
ดามาโก
(Damako)
เอ็มนาตี
(Emnati)
เฟซีเล
(Fezile)
กอมเบ
(Gombe)
ฮาลิมา
(Halima)
อิซซา
(Issa)
จัสมิน
(Jasmine)
คาริม
(Karim)
เลตลามา
(Letlama)
มาอีเปโล
(Maipelo)
นจาซี
(Njazi)
โอสการ์
(Oscar)
ปาเมลา
(Pamela)
คูเอนติน
(Quentin)
ราจาบ
(Rajab)
ซาวานา
(Savana)
เตมบา
(Themba)
อูยาโป
(Uyapo)
วิเวียน
(Viviane)
วอลเตอร์
(Walter)
แซงกี
(Xangy)
เยมูราอี
(Yemurai)
ซาเนเล
(Zanele)
2565–66
รายชื่อ แอชลีย์
(Ashley)
บาลิตา
(Balita)
เชเนโซ
(Cheneso)
ดินกานี
(Dingani)
เอนาลี
(Enali)
ฟาเบียน
(Fabien)
เกซานี
(Gezani)
โอราซีโอ
(Horacio)
อินดูซา
(Indusa)
จูลูกา
(Juluka)
คุนได
(Kundai)
ลีเซโบ
(Lisebo)
มิเชล
(Michel)
นูซฮา
(Nousra)
โอลิเวีย
(Olivier)
โพเกรา
(Pokera)
ควินซี
(Quincy)
เรบาโอเน
(Rebaone)
ซาลามา
(Salama)
ทริสตัง
(Tristan)
อูร์ซูลา
(Ursula)
ไวโอเลต
(Violet)
วิลสัน
(Wilson)
ซีลา
(Xila)
เยเกลา
(Yekela)
ซาอีนา
(Zania)
2563–64
รายชื่อ อัลวาโร
(Alvaro)
เบลัล
(Belal)
แคนดิซ
(Candice)
โจอุนโก
(Djoungou)
เอเลนอร์
(Eleanor)
ฟิลิโป
(Filipo)
กามาเน
(Gamane)
ฮีดายา
(Hidaya)
ไอลี
(Ialy)
เจเรมี
(Jeremy)
คันกา
(Kanga)
ลุดซี
(Ludzi)
เมลีนา
(Melina)
นาธอง
(Nathan)
โอเนียส์
(Onias)
เพลากี
(Pelagie)
กัวมาร์
(Quamar)
ริตา
(Rita)
โซลานี
(Solani)
ตาริก
(Tarik)
อูริเลีย
(Urilia)
วูยาเน
(Vuyane)
วักเนอร์
(Wagner)
ซูซา
(Xusa)
ยารอนา
(Yarona)
ซากาเรียส
(Zacarias)
แหล่งข้อมูลสำหรับชื่อพายุหมุนเขตร้อน[19][20][21]

ภูมิภาคออสเตรเลีย (90° ตะวันออก ถึง 160° ตะวันออก)[แก้]

ในภูมิภาคออสเตรเลียในซีกโลกใต้ อยู่ระหว่าง 90° ตะวันออก ถึง 160° ตะวันออก พายุหมุนเขตร้อนจะได้รับการใช้ชื่อเมื่อได้รับการสังเกตการณ์ และ/หรือ วิเคราะห์ความรุนแรง ว่าพายุมีลมแรงใกล้ศูนย์กลาง ซึ่งจะได้รับการคาดการณ์ต่อไป[6] สำหรับอินโดนีเซียโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศ และธรณีฟิสิกส์อินโดนีเซีย จะตั้งชื่อพายุที่ก่อตัวระหว่างเส้นศูนย์สูตรถึง 10° ใต้ และระหว่าง 90° ตะวันออก ถึง 141° ตะวันออก ในขณะที่สำนักงานบริการสภาพอากาศแห่งชาติปาปัวนิวกีนี จะตั้งชื่อพายุที่พัฒนาระหว่างเส้นศูนย์สูตรถึง 10° ใต้ และระหว่าง 141° ตะวันออก ถึง 160° ตะวันออก[6] นอกเหนือจากพื้นที่เหล่านี้ สำนักอุตุนิยมวิทยาแห่งออสเตรเลีย จะเป็นผู้ตั้งชื่อหากมีพายุไซโคลนเกิดขึ้น[6] ซึ่งพายุที่ได้รับดารตั้งชือและเป็นพายุที่ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และ/หรือ ความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญและการหยุดชะงักลงของวิถีชีวิตของชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การปลดของชื่อพายุนั้น ๆ[6] และจะมีการส่งชื่อใหม่ไปให้องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพายุหมุนเขตร้อน[6][10]

อินโดนีเซีย[แก้]

ถ้าพายุก่อตัวระหว่างเส้นศูนย์สูตรถึง 10° ใต้ และระหว่าง 90° ตะวันออก ถึง 141° ตะวันออก จะได้รับการตั้งชื่อโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศ และธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย (BMKG/TCWC จาการ์ตา)[6] โดยจะใช้ตามลำดับจากชุดเอ ในขณะที่ชุดบี จะมีการทำไปแทนรายชื่อในรายการชุดเอ ซึ่งอาจจะมีการปลด ลบออก หรือด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม[6]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของอินโดนีเซีย
ชุดเอ
อังเกร็ก
(Anggrek)
บากุง
(Bakung)
เจิมปากา
(Cempaka)
ดะฮ์เลีย
(Dahlia)
ฟลัมโบยัน
(Flamboyan)
เกอนางา
(Kenanga)
ลีลี
(Lili)
มังกา
(Mangga)
เซอโรจา
(Seroja)
เตอราไต
(Teratai)
ชุดบี
อังกูร์
(Anggur)
เบอลิมบิง
(Belimbing)
ดูกู
(Duku)
จัมบู
(Jambu)
เล็งเก็ง
(Lengkeng)
เมอลาตี
(Melati)
นังกา
(Nangka)
ปีซัง
(Pisang)
รัมบูตัน
(Rambutan)
ซาโว
(Sawo)
แหล่งข้อมูลสำหรับชื่อพายุหมุนเขตร้อน[6][22]

ปาปัวนิวกินี[แก้]

ถ้าพายุก่อตัวระหว่างศูนย์สูตรถึง 10° ใต้ และระหว่าง 141° ตะวันออก ถึง 160° ตะวันออก จะได้รับการตั้งชื่อโดยสำนักงานบริการสภาพอากาศแห่งชาติปาปัวนิวกีนี (NWS, TCWC พอร์ตมอร์สบี)[6] รายชื่อที่ได้ใช้ในรายชื่อเอและจะได้รับการปลดโดยอัตโนมัติหลังจากใช้งาน โดยไม่มีการคำนึงถึงความเสียหายหรือผลที่เกิดจากพายุ[6] รายชื่อบี จะมีการทำไปแทนรายชื่อในรายการรายชื่อเอ ซึ่งอาจจะมีการปลด ลบออก หรือด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม[6]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของปาปัวนิวกินี
ชุดเอ
อาลู
(Alu)
บูรี
(Buri)
โดโด
(Dodo)
อีเมา
(Emau)
เฟเร
(Fere)
ฮีบู
(Hibu)
อีลา
(Ila)
กามา
(Kama)
โลบู
(Lobu)
ไมลา
(Maila)
ชุดบี
โนอู
(Nou)
โอบาฮา
(Obaha)
ปาอีอา
(Paia)
รานู
(Ranu)
ซาบี
(Sabi)
เตา
(Tau)
อูเม
(Ume)
วาลี
(Vali)
เวา
(Wau)
เอารัม
(Auram)
แหล่งข้อมูลสำหรับชื่อพายุหมุนเขตร้อน[6]

ออสเตรเลีย[แก้]

พายุไซโคลนกำลังแรงบรูซคือพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกที่มีการคงชื่อไว้เมื่อมันเคลื่อนตัวไปยังแอ่งมหาสมุทรอินเดียใต้-ตะวันตก

เมื่อมีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขี้นที่ต่ำกว่า 10° ใต้ และระหว่าง 90° ตะวันออก ถึง 160° ตะวันออก จะได้รับการตั้งชื่อโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งออสเตรเลีย (BoM) ซึ่งดำเนินการโดยสามศูนย์เตือนภัยพายุไซโคลนเขตร้อนใน เพิร์ท, ดาร์วิน หรือบริสเบน[6] ชื่อที่ใช้ได้รับมอบหมายตามลำดับตัวอักษร และใช้หมุนเวียนโดยไม่คำนึงถึงปี[6][10]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของออสเตรเลีย
ชุดเอ
รายชื่อ อานีกา
(Anika)
บิลลี
(Billy)
ชาร์ลอตต์
(Charlotte)
ดาเรียน
(Darian)
เอลลี
(Ellie)
เฟรดดี
(Freddy)
แกบรีเอลล์
(Gabrielle)
เฮอร์มัน
(Herman)
อิลซา
(Ilsa)
แจสเปอร์
(Jasper)
เคียร์ริลี
(Kirrily)
ลิงคอล์น
(Lincoln)
มีกัน
(Megan)
เนวิลล์
(Neville)
ออลกา
(Olga)
พอล
(Paul)
รอบิน
(Robyn)
ชอน
(Sean)
แทชา
(Tasha)
วินซ์
(Vince)
เซเลีย
(Zelia)
------
ชุดบี
รายชื่อ แอนโทนี
(Anthony)
บีแองกา
(Bianca)
คอร์ตนีย์
(Courtney)
ไดแอนน์
(Dianne)
เอร์รอล
(Errol)
ฟีนา
(Fina)
แกรนต์
(Grant)
เฮย์ลีย์
(Hayley)
อิกกี
(Iggy)
เจนนา
(Jenna)
โคจี
(Koji)
ลัวนา
(Luana)
มิตเชลล์
(Mitchell)
แนเรลล์
(Narelle)
ออแรน
(Oran)
พีตา
(Peta)
เรียร์ดัน
(Riordan)
แซนดรา
(Sandra)
ทิม
(Tim)
วิกทอเรีย
(Victoria)
เซน
(Zane)
------
ชุดซี
รายชื่อ อะเลสเซีย
(Alessia)
บรูซ
(Bruce)
แคเทอริน
(Catherine)
ดิลัน
(Dylan)
เอ็ดนา
(Edna)
เฟลตเชอร์
(Fletcher)
จิลเลียน
(Gillian)
ฮาดี
(Hadi)
อีวานา
(Ivana)
แจ็ก
(Jack)
เคต
(Kate)
ลาซโล
(Laszlo)
มิงซู
(Mingzhu)
นาทาน
(Nathan)
ออเรียนา
(Oriana)
ควินซี
(Quincey)
แรเคล
(Raquel)
สแตน
(Stan)
แททีอานา
(Tatiana)
ยูไรอาห์
(Uriah)
อีเวตต์
(Yvette)
------
ชุดดี
รายชื่อ แอลฟริด
(Alfred)
บลานช์
(Blanche)
เคเลบ
(Caleb)
ดารา
(Dara)
เออร์นี
(Ernie)
ฟรานซิส
(Frances)
เกร็ก
(Greg)
ฮิลดา
(Hilda)
เออร์วิง
(Irving)
จอยซ์
(Joyce)
เคลวิน
(Kelvin)
ลินดา
(Linda)
มาร์โค
(Marco)
นอรา
(Nora)
โอเวน
(Owen)
เพนนี
(Penny)
ไรลีย์
(Riley)
ซะแวนนาห์
(Savannah)
ทรูง
(Trung)
เวรีตี
(Verity)
วอลลิซ
(Wallace)
------
ชุดอี
รายชื่อ แอมเบอร์
(Amber)
เบลก
(Blake)
คลอเดีย
(Claudia)
ดีคลัน
(Declan)
เอสเทอร์
(Esther)
เฟอร์ดิแนนด์
(Ferdinand)
เกรเทล
(Gretel)
ฮีท
(Heath)
อิโมเจน
(Imogen)
จอชัว
(Joshua)
คิมมี
(Kimi)
ลูคัส
(Lucas)
แมเรียน
(Marian)
นิรัน
(Niran)
โอเดตต์
(Odette)
แพดดี
(Paddy)
รูบี
(Ruby)
เซท
(Seth)
ทิฟฟานี
(Tiffany)
เวอร์นัน
(Vernon)
------ -----
แหล่งข้อมูลสำหรับชื่อพายุหมุนเขตร้อน[6][10]

มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ (160° ตะวันออก ถึง 120° ตะวันตก)[แก้]

พายุไซโคลนแพม ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 เป็นพายุที่รุนแรงที่สุดตามความเร็วลมที่ได้รับการบันทึก

ภายในแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ในซีกโลกใต้ระหว่าง 160° ตะวันออก ถึง 120° ตะวันตก พายุหมุนเขตร้อนจะได้รับการใช้ชื่อเมื่อได้รับการสังเกตการณ์ และ/หรือ วิเคราะห์ความรุนแรง ว่าพายุมีลมแรงใกล้ศูนย์กลาง ซึ่งจะได้รับการคาดการณ์ต่อไป[6] กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี (FMS/RSMC นันจี) จะตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนระหว่างเส้นศูนย์สูตรถึง 25° ใต้ ในขณะที่สำนักงานบริการอุตุนิยมวิทยานิวซีแลนด์ (MetService, TCWC เวลลิงตัน) จะเป็นผู้ตั้งชื่อ ซึ่งเป็นรายชื่อที่ใช้ร่วมกับ RSMC นันจี[6] ซึ่งพายุที่ได้รับดารตั้งชือและเป็นพายุที่ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และ/หรือ ความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญและการหยุดชะงักลงของวิถีชีวิตของชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การปลดของชื่อพายุนั้น ๆ[6] และจะมีการส่งชื่อใหม่ไปให้องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพายุหมุนเขตร้อน[6] ชื่อของพายุหมุนเขตร้อนจะถูกใช้ตั้งแตารายการเอ ถึง ดี ตามลำดับ โดยไม่ต้องย้อนกลับเริ่มต้นใช้รายชื่อเอใหม่ เมื่อเริ่มปีต่อไป[6] ชื่อพายุต่อไปคือทูนี

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของแปซิฟิกใต้
ชุดเอ
รายชื่อ อารู
(Aru)
บีนา
(Bina)
โคดี
(Cody)
โดวี
(Dovi)
เอวา
(Eva)
ฟีลี
(Fili)
จีนา
(Gina)
เฮล
(Hale)
ไอรีน
(Irene)
จูดี
(Judy)
เควิน
(Kevin)
โลลา
(Lola)
มัล
(Mal)
นัต
(Nat)
โอไซ
(Osai)
พีตา
(Pita)
เร
(Rae)
เชรู
(Seru)
แทม
(Tam)
เออร์มิล
(Urmil)
ไวอานู
(Vaianu)
วาตี
(Wati)
เซเวียร์
(Xavier)
ยานี
(Yani)
ซีตา
(Zita)
ชุดบี
รายชื่อ อาร์เทอร์
(Arthur)
เบคกี
(Becky)
ชิป
(Chip)
เดเนีย
(Denia)
เอลีซา
(Elisa)
โฟทู
(Fotu)
เกลน
(Glen)
เฮตตี
(Hettie)
อินนิส
(Innis)
จูลี
(Julie)
เคน
(Ken)
ลิน
(Lin)
มาซีอู
(Maciu)
นีชา
(Nisha)
โอเรีย
(Orea)
ปาลู
(Palu)
เรเน
(Rene)
ซาราฮ์
(Sarah)
ทรอย
(Troy)
อูเอนีตา
(Uinita)
วาเนซซา
(Vanessa)
วาโน
(Wano)
------ อีวอน
(Yvonne)
ซากา
(Zaka)
ชุดซี
รายชื่อ เอลวิน
(Alvin)
บูเน
(Bune)
เซอริล
(Cyril)
ดาเนียล
(Danial)
อีเดน
(Eden)
ฟลอรีน
(Florin)
แกร์รี
(Garry)
เฮลีย์
(Haley)
อีซา
(Isa)
จูน
(June)
โคฟี
(Kofi)
ลูอิส
(Louise)
ไมค์
(Mike)
นีโก
(Niko)
โอเปตี
(Opeti)
เปอรี
(Perry)
รูเบน
(Reuben)
โซโล
(Solo)
ทูนี
(Tuni)
อูลู
(Ulu)
วิคตอร์
(Victor)
วานีตา
(Wanita)
------ ยาเทส
(Yates)
ซีดาน
(Zidane)
ชุดดี
รายชื่อ อามอส
(Amos)
บาร์ท
(Bart)
คริสตัล
(Crystal)
ดีน
(Dean)
เอลลา
(Ella)
เฟฮี
(Fehi)
การ์ท
(Garth)
โฮลา
(Hola)
ไอริส
(Iris)
โจ
(Jo)
กาลา
(Kala)
ลีอูอา
(Liua)
โมนา
(Mona)
เนอีล
(Neil)
โอมา
(Oma)
ปานา
(Pana)
รีตา
(Rita)
ซามาดีโอ
(Samadiyo)
ตาซี
(Tasi)
เวซี
(Uesi)
วิคกี
(Vicky)
วาซี
(Wasi)
------ ยาซา
(Yasa)
ซาซู
(Zazu)
ชุดอี (สำรอง)
รายชื่อ อาดามา
(Adama)
เบน
(Ben)
แครอล
(Carol)
ดาไก
(Dakai)
เอโมซี
(Emosi)
เฟกี
(Feki)
เจอร์เมน
(Germaine)
ฮาร์ท
(Hart)
ไอไล
(Ili)
โฮเซเซ
(Josese)
คีรีโอ
(Kirio)
ลูท
(Lute)
มาตา
(Mata)
เนตา
(Neta)
โอลีนา
(Olina)
เพอา
(Paea)
เร็กซ์
(Rex)
เซเต
(Sete)
เตโม
(Temo)
อูอีลา
(Uila)
เวลมา
(Velma)
วาเน
(Wane)
------ ยาวาลา
(Yavala)
ซานนา
(Zanna)
แหล่งที่มาสำหรับชื่อพายุหมุนเขตร้อน[6][23]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้[แก้]

เมื่อมีพายุหมุนเกิดขึ้นในเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ ศูนย์บริการอุตุนิยมวิทยาทางทะเลของศูนย์อุทกศาสตร์ กองทัพเรือบราซิล จะเป็นผู้ใช้ชื่อโดยใช้รายชื่อที่กำหนดไว้[7]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติกใต้
รายชื่อ อารานี
(Arani)
บาปู
(Bapo)
การี
(Cari)
เดนี
(Deni)
เอซาอี
(Eçaí)
กวารา
(Guará)
อีบา
(Iba)
ฌากัวร์
(Jaguar)
กังบี
(Kamby)
มานี
(Mani)
โอคีรา
(Oquira)
ปอฌีรา
(Potira)
ฮาโอนี
(Raoni)
อูบา
(Ubá)
ยาเคกัน
(Yakecan)
แหล่งข้อมูลสำหรับชื่อพายุหมุนเขตร้อน[7]

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 RA IV Hurricane Committee (2020). "9". Regional Association IV (North America, Central America and the Caribbean) Hurricane Operational Plan 2020 (Report No. TCP-30). World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ April 29, 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 WMO/ESCP Typhoon Committee (2019). Typhoon Committee Operational Manual Meteorological Component 2019 (Report). World Meteorological Organization. pp. 1–7, 33–34. สืบค้นเมื่อ April 29, 2020.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "Why and how storms get their names". GMA News. September 27, 2011. สืบค้นเมื่อ December 1, 2016.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Tropical Cyclone Operational Plan for the Bay of Bengal and the Arabian Sea: 2019 (Report) (2019 ed.). World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ April 29, 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 RA I Tropical Cyclone Committee (September 16, 2016). Tropical Cyclone Operational Plan for the South-West Indian Ocean: 2016 (Report No. TCP-12). World Meteorological Organization. pp. 13–14. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ September 18, 2016. สืบค้นเมื่อ September 18, 2016.
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 6.12 6.13 6.14 6.15 6.16 6.17 6.18 6.19 6.20 6.21 6.22 6.23 6.24 RA V Tropical Cyclone Committee (November 3, 2021). Tropical Cyclone Operational Plan for the South-East Indian Ocean and the Southern Pacific Ocean 2021 (PDF) (Report). World Meteorological Organization. pp. I-4–II-9 (9–21). สืบค้นเมื่อ November 11, 2021.
  7. 7.0 7.1 7.2 "NORMAS DA AUTORIDADE MARÍTIMA PARA AS ATIVIDADES DE METEOROLOGIA MARÍTIMA NORMAM-19 1a REVISÃO" (PDF) (ภาษาโปรตุเกส). Brazilian Navy. 2018. p. C-1-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 November 2018. สืบค้นเมื่อ 6 November 2018.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Dorst, Neal M (October 23, 2012). "They Called the Wind Mahina: The History of Naming Cyclones" (PPTX). Hurricane Research Division, Atlantic Oceanographic and Meteorological Laboratory. National Oceanic and Atmospheric Administration. Slides 8–72.
  9. 9.0 9.1 Landsea, Christopher W; Dorst, Neal M (June 1, 2014). "Subject: Tropical Cyclone Names: B1) How are tropical cyclones named?". Tropical Cyclone Frequently Asked Question. United States National Oceanic and Atmospheric Administration's Hurricane Research Division. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 29, 2015.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 "Tropical Cyclone Names". Australian Bureau of Meteorology. November 10, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 22, 2015. สืบค้นเมื่อ March 30, 2015.
  11. RSMC Tokyo-Typhoon Center (March 24, 2018). "List of names for tropical cyclones adopted by the ESCAP/WMO Typhoon Committee for the western North Pacific and the South China Sea (valid as of 2018): Names of tropical cyclones". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 12, 2009. สืบค้นเมื่อ September 4, 2015.
  12. ส่วนวิจัยและความร่วมมือทางวิชาการ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา (April 2022). "ความหมายและที่มาของชื่อพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้" (PDF). Thai Meteorological Department. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ October 2, 2022. สืบค้นเมื่อ October 2, 2022.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 "Philippine Tropical cyclone names". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2016. สืบค้นเมื่อ January 26, 2020.
  14. "PAGASA replaces Tropical Cyclone "Lando" to "Liwayway"" (Press release). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2015. สืบค้นเมื่อ November 4, 2015.
  15. 15.0 15.1 "WMO Hurricane Committee retires tropical cyclone names and ends the use of Greek alphabet" (ภาษาอังกฤษ). World Meteorological Organization. 2021-03-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-17. สืบค้นเมื่อ 2021-03-17.
  16. http://www.rsmcnewdelhi.imd.gov.in/images/pdf/cyclone-awareness/tc-names/tc-names.pdf
  17. "ข่าวประชาสัมพันธ์ เรื่องรายชื่อพายุชุดใหม่ของมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ-รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนชุดใหม่ที่ก่อตัวบริเวณมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ อ่าวเบงกอล และทะเลอาหรับ" (PDF). กรมอุตุนิยมวิทยา. April 28, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 7, 2020. สืบค้นเมื่อ June 7, 2020.
  18. Unattributed (2010). "Tropical Cyclone Operational Plan for the South-West Indian Ocean (2010)" (PDF). Regional Association I Tropical Cyclone Committee. World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ 2011-07-05.
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Reunion Names
  20. "Tropical Cyclone Naming". World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ June 27, 2016.
  21. RA I Tropical Cyclone Committee Twenty Fourth Session Final Report (Report). World Meteorological Organization. p. 36.
  22. "Cyclone Names". Badan Meteorologi, Klimatologi, dan Geofisika. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 16, 2015. สืบค้นเมื่อ April 11, 2015.
  23. RA V Tropical Cyclone Committee (2011). Plan d'operations convernant les cyclones tropicaux dans le pacifique sud et le sudest de l'oc'ean Indien 2010 (PDF) (Report) (ภาษาฝรั่งเศส). World Meteorological Organization. p. 21. สืบค้นเมื่อ September 15, 2015.