โรคชากาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคชากาส
Chagas
ภาพถ่าย Trypanosoma cruzi จากกล้องจุลทรรศน์โดยการย้อมสีจิมซา
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10B57
ICD-9086
DiseasesDB13415
MedlinePlus001372
eMedicinemed/327
MeSHD014355

โรคชากาส /ˈɑːɡəs/ หรือ อเมริกันทริพาโนโซม คือโรคเขตร้อนซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากปรสิตจากสัตว์เซล์เดียว ซึ่งเป็นพาหะของเชื้อ Trypanosoma cruzi[1] ส่วนมากเชื้อนี้จะถูกแพร่โดยแมลงที่ชื่อ มวลเพชรฆาต[1] อาการของโรคจะเปลี่ยนแปลงไปตามระยะของการติดเชื้อ ส่วนใหญ่ในระยะเริ่มแรก มักจะไม่แสดงอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ได้แก่: มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองบวม ปวดศีรษะ หรือการบวมในบริเวณที่ถูกกัด[1] หลังจาก 8–12 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะเรื้อรังและในผู้ป่วย 60–70% จะไม่มีอาการอื่นใดอีก[2][3] ส่วนผู้ป่วยอีก 30 ถึง 40% จะมีอาการอื่น ๆ เป็นเวลา 10 ถึง 30 ปีหลังจากที่ได้รับเชื้อครั้งแรก[3] อาการเหล่านี้ได้แก่ห้องล่างของหัวใจโต และประมาณ 20 ถึง 30% อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย[1] ในผู้ป่วยราว 10% อาจเกิดภาวะหลอดอาหารขยายใหญ่ขึ้น หรือลำไส้ใหญ่ขยายใหญ่ขึ้นอีกด้วย[1]

สาเหตุและการวินิจฉัย[แก้]

โดยทั่วไป T. cruzi แพร่สู่มนุษย์และสัตว์อื่นโดยสัตว์ดูดเลือดที่ชื่อ "มวนเพชฌฆาต" ซึ่งเป็นสัตว์ในตระกูลย่อยของ Triatominae[4] แมลงเหล่านี้มักเป็นที่รู้จักในชื่อต่าง ๆ กันไปตามท้องถิ่น เช่น: vinchuca ในอาร์เจนตินา โบลิเวีย ชิลี และปารากวัย, barbeiro ( barber) ในบราซิล, pito ในโคลอมเบีย, chinche ในอเมริกากลาง และ chipo ในเวเนซุเอลา เชื้อโรคนี้อาจแพร่โดย การรับเลือด, การปลูกถ่ายอวัยวะ, การรับประทานอาหารที่มีปรสิตนี้ปนเปื้อนอยู่ และ จากมารดาสู่ทารกในครรภ์[1] การวินิจฉัยโรคระยะแรกเริ่มคือ การตรวจหาตัวปรสิตในเลือดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์[3] โรคระยะเรื้อรังมีการวินิจฉัยโดยการตรวจสอบสารภูมิต้านทานสำหรับ T. cruzi ในเลือด[3]

การป้องกันและการรักษา[แก้]

โดยทั่วไปการป้องกันคือการกำจัดมวนเพชฌฆาตและหลีกเลี่ยงการถูกกัดโดยแมลงเหล่านี้[1] การป้องกันอื่น ๆ ได้แก่ การตรวจคัดกรองเลือดที่ใช้ในการถ่ายเลือด[1] นับจนถึงปี พ.ศ. 2556 ยังไม่มีการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคนี้[1] โรคระยะเริ่มแรกนั้นสามารถรักษาได้ด้วยยา benznidazole หรือ nifurtimox[1] ผลการรักษาด้วยยาเหล่านี้มักเป็นการรักษาที่หายขาดเสมอหากได้รับยาในระยะแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของยาจะยิ่งด้อยลงถ้าผู้ป่วยติดเชื้อโรคชากาสเป็นเวลานานยิ่งขึ้น[1] การใช้ยาดังกล่าวในโรคระยะเรื้อรังอาจชะลอหรือป้องกันการเกิดอาการระยะสุดท้ายได้[1] ยา Benznidazole และ nifurtimox มีผลข้างเคียงชั่วคราวในผู้ใช้ประมาณ 40%[1] ซึ่งได้แก่ ความผิดปกติของผิวหนัง ความเป็นพิษต่อสมอง และการระคายเคืองของระบบการย่อยอาหาร[2][5][6]

ข้อมูลทางระบาดวิทยา[แก้]

มีการประมาณว่าคนที่เป็นโรคชากาสมีจำนวน 7 ถึง 8 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ใน เม็กซิโก อเมริกากลาง และ อเมริกาใต้[1] โรคนี้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตประมาณ 12,500 รายต่อปี นับจนถึงปี พ.ศ. 2549[2] ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่เป็นคนยากจน[2] และผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าตนติดเชื้อ[7] การขยายเขตอยู่อาศัยของพลเมืองที่ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ ได้ทำให้จำนวนพื้นที่ที่พบโรคชากาสเพิ่มมากขึ้น และพื้นที่ที่พบโรคนี้ยังรวมถึงประเทศในยุโรปหลายประเทศ และสหรัฐ[1] อีกทั้งยังพบโรคนี้มากขึ้นในหลายปีจนถึงปี พ.ศ. 2557[8] ในปี พ.ศ. 2452 มีการแถลงถึงโรคนี้เป็นครั้งแรกโดยการ์ลุส ชาเกส (Carlos Chagas) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโรคนี้[1] โรคนี้ยังส่งผลกระทบต่อสัตว์อื่น ๆ อีกกว่า 150 ชนิด[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 "Chagas disease (American trypanosomiasis) Fact sheet N°340". World Health Organization. March 2013. สืบค้นเมื่อ 23 February 2014.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Rassi A; Rassi A; Marin-Neto JA (April 2010). "Chagas disease". Lancet. 375 (9723): 1388–402. doi:10.1016/S0140-6736(10)60061-X. PMID 20399979.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Rassi A, Jr; Rassi, A; Marcondes de Rezende, J (June 2012). "American trypanosomiasis (Chagas disease)". Infectious disease clinics of North America. 26 (2): 275–91. doi:10.1016/j.idc.2012.03.002. PMID 22632639.
  4. "DPDx – Trypanosomiasis, American. Fact Sheet". Centers for Disease Control (CDC). สืบค้นเมื่อ 12 May 2010.
  5. Bern C; Montgomery SP; Herwaldt BL; และคณะ (November 2007). "Evaluation and treatment of chagas disease in the United States: a systematic review". JAMA. 298 (18): 2171–81. doi:10.1001/jama.298.18.2171. PMID 18000201.
  6. Rassi A; Dias JC; Marin-Neto JA; Rassi A (April 2009). "Challenges and opportunities for primary, secondary, and tertiary prevention of Chagas' disease". Heart. 95 (7): 524–34. doi:10.1136/hrt.2008.159624. PMID 19131444.
  7. Capinera, John L., บ.ก. (2008). Encyclopedia of entomology (2nd ed.). Dordrecht: Springer. p. 824. ISBN 9781402062421.
  8. Bonney, KM (2014). "Chagas disease in the 21st Century: a public health success or an emerging threat?". Parasite. 21: 11. doi:10.1051/parasite/2014012. PMC 3952655. PMID 24626257. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

The offline app allows you to download all of Wikipedia's medical articles in an app to access them when you have no Internet.
บทความวิกิพีเดียด้านการดูแลสุขภาพสามารถอ่านออฟไลน์ได้ทาง Medical Wikipedia app.
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก