โรคพยาธิตาบอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคพยาธิตาบอด
ริ้นดำ ตัวเต็มวัยที่มีพยาธิปรสิตชนิด Onchocerca volvulus กำลังออกมาจากหนวดของมัน ภาพขยาย 100 เท่า
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10B73
ICD-9125.3
DiseasesDB9218
eMedicinemed/1667 oph/709
MeSHD009855

โรคพยาธิตาบอด (Onchocerciasis) ที่รู้จักเช่นกันว่า โรคตาบอดแถบแม่น้ำ (river blindness) และ โรคโรเบิ้ลส์ (Robles disease) เป็นโรคที่มีสาเหตุการติดเชื้อจาก พยาธิปรสิต ที่เรียกว่าOnchocerca volvulus[1] อาการ ได้แก่ อาการคันอย่างรุนแรง ตุ่มใต้ผิวหนังและ ตาบอด[1] โดยเป็นสาเหตุที่พบมากเป็นอันดับสองที่ทำให้เกิดตาบอดจากการติดเชื้อ รองมาจาก ริดสีดวงตา[2]

สาเหตุและการวินิจฉัย[แก้]

พยาธิปรสิตชนิดดังกล่าวแพร่กระจายผ่านทางรอยกัดจาก ริ้นดำ ชนิด ซิมูเลียม [1] ปกติก่อนจะเกิดการติดเชื้อได้ต้องถูกกัดหลายครั้ง[3] ริ้นจำพวกนี้อาศัยอยู่แถบใกล้แม่น้ำ จึงได้เกิดชื่อโรคดังกล่าว[2] หลังจากพยาธิเข้าสู่ร่างกายมนุษย์แล้ว จะสร้าง ตัวอ่อน ที่หาทางออกมาทางผิวหนัง[1] ณ จุดนี้ ตัวอ่อนสามารถทำให้ริ้นดำตัวต่อมาที่มากัดมนุษย์ติดเชื้อต่อ[1] การวินิจฉัยโรคนั้นมีหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งได้แก่ การนำ ชิ้นเนื้อตัดส่งตรวจ จากผิวหนังไปใส่ใน น้ำเกลือธรรมดา แล้วเฝ้าสังเกตตัวอ่อนที่จะออกมา การสังเกตหาตัวอ่อนในดวงตารวมทั้งการมองหาพยาธิตัวเต็มวัยในตุ่มใต้ผิวหนัง[4]

การป้องกันและการรักษา[แก้]

โรคดังกล่าวยังไม่มี วัคซีน ป้องกัน[1] การป้องกันทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกริ้นกัด[5] ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ ยาไล่แมลง และสวมเสื้อผ้าที่เหมาะสม[5] ความพยายามด้วยวิถีทางอื่นๆ รวมไปถึงการพยายามลดจำนวนประชากรด้วยการฉีดพ่นยาฆ่าแมลง[1] ส่วนความพยายามในอันที่จะกำจัดโรคด้วยการรักษาทีเดียวทั้งกลุ่ม ปีละสองครั้งนั้นยังทำกันอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วโลก[1] การรักษาผู้ได้รับเชื้อคือโดยการใช้ยา ไอเวอร์เมคติน ทุกๆ หกถึงสิบสองเดือน[1][6] การใช้ยานี้จะไปฆ่าตัวอ่อน แต่ไม่ฆ่าพยาธิตัวเต็มวัย[7] ยา ด็อกซีไซคลีนซึ่งฆ่าแบคทีเรียที่ เกี่ยวพันไปถึง ที่เรียกว่า วอลบาเชีย ดูเหมือนว่าจะไปทำให้พยาธิดังกล่าวอ่อนกำลังลงและมีการแนะนำให้นำไปใช้อยู่บ้างเช่นกัน[7] นอกจากนั้น ยังอาจรักษาด้วยการผ่าตัดเอาก้อนใต้ผิวหนังออก[6]

ระบาดวิทยาและประวัติความเป็นมา[แก้]

มีผู้ที่ได้รับเชื้อโรคตาบอดแถบแม่น้ำประมาณ 17 ถึง 25 ล้านราย โดยเป็นผู้ที่เกิดสายตาเสียไม่มากก็น้อยถึงประมาณ 0.8 ล้านราย[3][7] ส่วนใหญ่การติดเชื้อดังกล่าวเกิดใน อาฟริกาแถบตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา แม้ว่ามีบางรายที่มีรายงานว่าเกิดใน เยเมน และในท้องที่ห่างไกลของอเมริกา กลาง รวมทั้งใน อเมริกาใต้[1] ในปีพ.ศ. 2458 นายแพทย์ โรดอลโฟ โรเบิลส์ เป็นผู้แรกที่เห็นว่าพยาธิดังกล่าวมีความเกี่ยวโยงไปถึงโรคตา[8] ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกจัดให้โรคดังกล่าวอยู่ในรายการ โรคเขตร้อนที่ถูกละเลย[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Onchocerciasis Fact sheet N°374". World Health Oragnization. March 2014. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
  2. 2.0 2.1 "Onchocerciasis (also known as River Blindness)". Parasites. CDC. May 21, 2013. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
  3. 3.0 3.1 "Parasites – Onchocerciasis (also known as River Blindness) Epidemiology & Risk Factors". CDC. May 21, 2013. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
  4. "Onchocerciasis (also known as River Blindness) Diagnosis". Parasites. CDC. May 21, 2013. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
  5. 5.0 5.1 "Onchocerciasis (also known as River Blindness) Prevention & Control". Parasites. CDC. May 21, 2013. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
  6. 6.0 6.1 Murray, Patrick (2013). Medical microbiology (7th ed.). Philadelphia: Elsevier Saunders. p. 792. ISBN 9780323086929.
  7. 7.0 7.1 7.2 Brunette, Gary W. (2011). CDC Health Information for International Travel 2012 : The Yellow Book. Oxford University Press. p. 258. ISBN 9780199830367.
  8. Lok, James B.; Walker, Edward D.; Scoles, Glen A. (2004). "9. Filariasis". ใน Eldridge, Bruce F.; Edman, John D.; Edman, J. (บ.ก.). Medical entomology (Revised ed.). Dordrecht: Kluwer Academic. p. 301. ISBN 9781402017940.
  9. Reddy M, Gill SS, Kalkar SR, Wu W, Anderson PJ, Rochon PA (October 2007). "Oral drug therapy for multiple neglected tropical diseases: a systematic review". JAMA. 298 (16): 1911–24. doi:10.1001/jama.298.16.1911. PMID 17954542.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)