โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Peripheral vascular disease (PVD), peripheral artery occlusive disease, peripheral obliterative arteriopathy |
An arterial insufficiency ulcer in a person with severe peripheral artery disease[1] | |
สาขาวิชา | Interventional radiology, vascular surgery |
อาการ | Leg pain when walking that resolves with rest, skin ulcers, bluish skin, cold skin[2][3] |
ภาวะแทรกซ้อน | Infection, amputation[4] |
สาเหตุ | Atherosclerosis, artery spasm[5][6] |
ปัจจัยเสี่ยง | Cigarette smoking, diabetes, high blood pressure, high blood cholesterol.[4][7] |
วิธีวินิจฉัย | Ankle-brachial index < 0.90, duplex ultrasonography, angiography[8][9] |
การรักษา | Stopping smoking, supervised exercise therapy, surgery[10][11][12] |
ยา | Statins, ACE inhibitors, cilostazol[12] |
ความชุก | 155 million (2015)[13] |
การเสียชีวิต | 52,500 (2015)[14] |
โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (อังกฤษ: peripheral vascular disease - PVD) หรือ โรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (อังกฤษ: peripheral artery disease - PAD) หมายถึงโรคทั้งหมดที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ในแขนขา โรคของหลอดเลือดส่วนปลายอาจเกิดจากโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง เกิดจากการอักเสบที่ทำให้เกิดการตีบตัน เกิดจากมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดหรือมีลิ่มเลือด โรคนี้อาจทำให้เกิดการขาดเลือดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง โดยมักเป็นที่ขา
ระบาดวิทยา
[แก้]สหรัฐอเมริกา
[แก้]ชาวตะวันตกอายุเกิน 65 ปี ถึง 10% เป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เมื่อพิจารณาว่าประชากรสูงอายุมีโอกาสเพิ่มขึ้นได้ถึง 22% ในปี ค.ศ. 2040 ทำให้คาดได้ว่าโรคหลอดเลือดแดงแข็งจะมีผลกระทบสำคัญทางค่ารักษาพยาบาลของประเทศ เมื่อพิจารณาถึงอาการปวดขาเป็นระยะเหตุขาดเลือด (intermittent claudication) แล้วจะพบว่าประชากรอายุ 40-60 ปี 2% มีอาการนี้ และประชากรอายุมากกว่า 70 ปี 6% มีอาการนี้
อัตราตายและอัตราเป็นโรค
[แก้]ผลกระทบที่น่ากลัวที่สุดของโรคคืออาการขาดเลือดรุนแรงจนเสี่ยงต่อการสูญเสียอวัยวะที่นำไปสู่การต้องตัดแขนหรือขา อย่างไรก็ดีมีการศึกษาในประชากรกลุ่มใหญ่ที่มีอาการปวดขาเป็นระยะเหตุขาดเลือดนาน 10 ปี พบว่ามีเพียง 12.2% ที่ต้องตัดขา[15] ในขณะที่การศึกษาฟรามิงแฮมพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการปวดขาเป็นระยะเหตุขาดเลือด 1.6% จะดำเนินโรคไปถึงขั้นที่ต้องตัดขาที่ระยะเวลา 8.3 ปี
การตัดขาส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับจำนวนและความรุนแรงของความเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือด (เช่น การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน) การสูบบุหรี่ต่อเนื่องได้รับการระบุแล้วว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ชัดเจนสำหรับการก้าวหน้าของโรคหลอดเลือดส่วนปลาย ปัจจัยอื่นคือความรุนแรงของโรคเมื่อแรกวินิจฉัย และในบางการศึกษาก็พบว่าการเป็นโรคเบาหวานก็มีส่วนด้วย
เช่นเดียวกันกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดอื่นๆ อายุขัยของผู้ป่วยโรคนี้น้อยกว่าคนปกติในกลุ่มควบคุมที่มีอายุเท่ากัน โรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นผลตามทางด้านกล้ามเนื้อหัวใจมีส่วนอย่างมากต่อผลของโรค อัตราการตายทำนายในผู้ป่วยที่มีอาการปวดขาเป็นระยะเหตุขาดเลือดที่เวลา 5, 10 และ 15 ปีอยู่ที่ประมาณ 30%, 50% และ 70% ตามลำดับ
เชื้อชาติ
[แก้]โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายไม่เกิดขึ้นในประชากรเชื้อชาติใดเป็นพิเศษ
เพศ
[แก้]อาการปวดขาเป็นระยะเหตุขาดเลือดส่วนใหญ่พบในชายอายุมากกว่า 50 ปี ในขณะที่หากเป็นผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่าที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดขาเป็นระยะเหตุขาดเลือดนี้ก็ควรต้องนึกถึงสาเหตุอื่นของอาการปวดขาและอาการปวดขาเป็นระยะเหตุขาดเลือด (เช่น กลุ่มอาการกดทับหลอดเลือดข้อพับขา)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Moore, Jonathan (1 September 2008). "Creating the Ideal Microcosm for Rapid Incorporation of Bioengineered Alternative Tissues Using An Advanced Hydrogel Impregnated Gauze Dressing: A Case Series". The Foot & Ankle Journal. doi:10.3827/faoj.2008.0109.0002.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อVio2012
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNIH2015Sym
- ↑ 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อHLB2011W
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อHeart2012
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNIH2015Ca
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อLancet2013
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNIH2011Diag
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อRu2014
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNIH2015Tx
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อFok2018
- ↑ 12.0 12.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อJAMA2006
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGBD2015Pre
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGBD2015De
- ↑ Boyd AM. The natural course of arteriosclerosis of the lower extremities. Angiology. 1960;11:10.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
- Peer Assisted Learning Guide (University of Manchester) เก็บถาวร 2008-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - scribd.com