แอสตันมาร์ติน
ISIN | GB00BFXZC448 |
---|---|
อุตสาหกรรม | อุตสาหกรรมยานยนต์ |
ก่อตั้ง | 15 มกราคม 1913 |
ผู้ก่อตั้ง | ลีโอเนล มาร์ติน โรเบิร์ต แบมฟอร์ด |
สำนักงานใหญ่ | เกย์ดอน (Gaydon), วาร์วิคเชอร์ (Warwickshire) , |
บุคลากรหลัก |
|
ผลิตภัณฑ์ | รถยนต์หรู |
ตราสินค้า |
|
รายได้ | £997.3 million (2019)[1] |
รายได้จากการดำเนินงาน | £5.4 million (2019)[1] |
รายได้สุทธิ | £-104.4 million (2019)[1] |
เจ้าของ | เดวิด ริชาร์ดส์ |
พนักงาน | 2,450 (2019)[1] |
บริษัทในเครือ | Aston Martin Racing Aston Martin F1 Team |
เว็บไซต์ | astonmartin |
แอสตันมาร์ติน (ชื่อเต็มของบริษัทคือ Aston Martin Lagonda Limited) เป็นชื่อบริษัทผลิตรถยนต์สปอร์ตหรูของสหราชอาณาจักร มีฐานการผลิตที่เมืองเกย์ดอน (Gaydon) ในอังกฤษ
ชื่อยี่ห้อแอสตันมาร์ตินนี้ ตั้งชื่อตามนามสกุลของลีโอเนล มาร์ติน (Lionel Martin) ผู้ก่อตั้งบริษัท และตามชื่อสถานที่ เนินแอสตัน (Aston Hill) ใกล้กับหมู่บ้านแอสตันคลินตัน (Aston Clinton) ในเมืองบักกิงแฮมเชอร์ (Buckinghamshire) [2]
ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 จนถึง พ.ศ. 2550 แอสตันมาร์ตินเป็นส่วนหนึ่งของ Premier Automotive Group ซึ่งเป็นกลุ่มกิจการของฟอร์ดมอเตอร์ และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2550 ฟอร์ดได้ขายหุ้นแอสตันมาร์ตินให้กับกลุ่มนักลงทุน Investment Dar และ Adeem Investment จากคูเวต, เดวิด ริชาร์ดส์ ผู้บริหารของโปรไดรฟ์ และจอห์น ซินเดอร์ส (John Sinders) นักลงทุนชาวอังกฤษ รวมเป็นเงิน 479 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง หรือประมาณ 848 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] โดยฟอร์ดเองจะยังคงถือหุ้นแอสตันมาร์ตินบางส่วน ซึ่งมีมูลค่า 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากราคาหุ้นทั้งหมด 925 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]
นอกจากนี้ แอสตันมาร์ตินยังเป็นที่รู้จักในฐานะรถยนต์ของเจมส์ บอนด์ ในภาพยนตร์เจมส์ บอนด์หลายๆ เรื่อง
ประวัติ
[แก้]การก่อตั้ง
[แก้]แอสตันมาร์ตินก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2456 โดย ลีโอเนล มาร์ติน และโรเบิร์ต แบมฟอร์ด (Robert Bamford) โดยก่อนหน้านั้นหนึ่งปี ได้ตั้งบริษัท Bamford & Martin เพื่อจำหน่ายรถยนต์ที่ผลิตโดย ซิงเกอร์ (Singer) ในกรุงลอนดอน โดยนอกจากรถซิงเกอร์แล้ว ยังมีการให้บริการบำรุงรักษารถจีดับเบิลยูเค และรถคัลธอร์ป (Calthorpe) ด้วย
ลีโอเนล มาร์ติน ร่วมลงแข่งรถที่เนินแอสตัน ใกล้กับหมู่บ้านแอสตันคลินตัน และได้ตัดสินใจที่จะสร้างรถยนต์ขึ้นมาเอง รถยนต์คันแรกใช้ชื่อว่าแอสตันมาร์ติน สร้างโดยมาร์ติน โดยประกอบเครื่องยนต์ Coventry-Simplex แบบสี่สูบเข้ากับโครงรถ Isotta-Fraschini รุ่นปี พ.ศ. 2451[5] ต่อมาพวกเขาตั้งบริษัทขึ้นที่ Henniker Place ในเมืองเคนซิงตัน และผลิตรถยนต์คันแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2458 แต่สายการผลิตรถแอสตันมาร์ตินนั้นไม่ได้เกิดขึ้น เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และทั้งคู่เข้าร่วมรบกับกองทัพของอังกฤษ เครื่องจักรทั้งหมดจึงถูกขายให้กับ Sopwith Aviation Company
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
[แก้]หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสงบลง ได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นใหม่ที่ Abingdon Road ในเมืองเดิมคือเมืองเคนซิงตัน และได้มีการออกแบบรถขึ้นมาใหม่ในชื่อแอสตันมาร์ตินเหมือนเดิม แบมฟอร์ดถอนตัวจากบริษัทในปี พ.ศ. 2463 และได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก Count Louis Zborowski ในปี พ.ศ. 2465 ได้เริ่มมีการผลิตรถเพื่อใช้สำหรับแข่งขัน และได้มีการสร้างสถิติต่างๆ ขึ้นด้วยรถดังกล่าวที่สนามบรูกแลนด์ส
ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 บริษัทเกิดล้มละลาย และเลดีชาร์นวูด (Lady Charnwood) เข้าซื้อกิจการ แต่ก็ล้มละลายอีกครั้งในปีถัดมา โรงงานของแอสตันมาร์ตินปิดตัวไปในปี พ.ศ. 2469 พร้อมกับการที่ลีโอเนล มาร์ติน ถอนตัวออกจากบริษัท
ในปีเดียวกัน บิล เร็นวิค, ออกุสตัส (เบิร์ท) เบอร์เทลลี และนักลงทุนอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งเลดีชาร์นวูดด้วย ได้ร่วมกันเป็นหุ้นส่วนในบริษัท และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นแอสตันมาร์ตินมอเตอร์ส และย้ายบริษัทไปยังที่ตั้งเดิมของ Whitehead Aircraft Limited works ในเมืองเฟลแธม (Feltham)
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2475 บริษัทมีปัญหาทางด้านการเงินอีกครั้ง และได้ L. Prideaux Brune เข้ามาร่วมลงทุน ก่อนที่บริษัทจะเป็นของเซอร์อาเธอร์ ซัทเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2479
มีการผลิตรถแอสตันมาร์ตินประมาณ 700 คัน ก่อนเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่สอง และในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั้นมีการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินโดยแอสตันมาร์ติน
ยุคของเดวิด บราวน์
[แก้]บริษัท David Brown Limited ที่มีเดวิด บราวน์ เป็นเจ้าของบริษัท เข้าซื้อกิจการแอสตันมาร์ตินในปี พ.ศ. 2490 และในปีเดียวกันบริษัทของบราวน์ก็ได้ซื้อบริษัทรถยนต์ลากอนดา จึงได้นำทั้งสองบริษัทมาควบรวมกิจการกัน ซึ่งชื่อรถแอสตันมาร์ตินที่ใช้อักษร "DB" นี้ก็มีที่มาจากชื่อของบราวน์นั่นเอง
ในปี พ.ศ. 2493 บริษัทได้ออกรถรุ่น ดีบี2 และได้ผลิตรถรุ่นดีบี มาร์คทรีและรถแข่งรุ่น ดีบี3 ในปี พ.ศ. 2500 จากนั้นในปีต่อมาก็ได้ผลิตรุ่น ดีบี4 ต่อจากนั้นก็ได้มีรุ่น ดีบี5 ในปี พ.ศ. 2506, ดีบี6 (พ.ศ. 2508-13) , ดีบีเอส และดีบีเอส วี8 (พ.ศ. 2510-15, ภายหลังจากการขายบริษัทของเดวิด บราวน์ จึงย่อชื่อรุ่นลงเป็นแอสตันมาร์ติน วี8)
ในปี พ.ศ. 2515 บริษัทมีปัญหาทางด้านการเงินอีก เดวิด บราวน์จึงขายกิจการแอสตันมาร์ตินออกไป ทำให้ไม่มีรถที่ชื่อรุ่นดีบีใดๆ อีก โดยจะเป็นรถชื่ออื่นแทน และหลังจากนั้นก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งฟอร์ดเริ่มเข้าถือหุ้น
ยุคของฟอร์ด
[แก้]ฟอร์ดได้อำนาจควบคุมบริษัทแอสตันมาร์ตินในปี พ.ศ. 2534 และในปี พ.ศ. 2536 ก็มีการนำชื่อดีบีนี้มาใช้อีกครั้ง เป็นรุ่น ดีบี7
ในขณะที่แอสตันมาร์ตินเป็นกิจการของฟอร์ด ฟอร์ดได้นำเอาแอสตันมาร์ตินเข้าไปรวมอยู่ใน Premier Automotive Group ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจของฟอร์ด
ยุคปัจจุบัน
[แก้]เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มนักลงทุนนำโดยเดวิด ริชาร์ดส์ ผู้บริหารของโปรไดรฟ์ (Prodrive) เข้าซื้อหุ้นในกิจการแอสตันมาร์ติน โดยฟอร์ดจะขายหุ้นของแอสตันมาร์ตินมูลค่า 479 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง หรือ 848 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (มูลค่าหุ้นทั้งหมด 925 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยทางโปรไดรว์ไม่สามารถจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวได้ทั้งหมด[7] และแบ่งกันซื้อหุ้นกับจอห์น ซินเดอร์ส และบริษัทลงทุนสัญชาติคูเวตอีกสองบริษัท คือ Investment Dar และ Adeem Investment Co. ส่วนฟอร์ดจะยังคงถือหุ้นส่วนที่เหลือ มูลค่า 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รถยนต์แอสตันมาร์ตินในวัฒนธรรมสมัยนิยม
[แก้]ขณะที่เอียน เฟลมมิง แต่งนวนิยายเจมส์ บอนด์ เรื่องที่เจ็ด Goldfinger นั้น เขาได้แต่งให้บอนด์ใช้รถแอสตันมาร์ติน ดีบี มาร์คทรี แต่ในภาพยนตร์ จอมมฤตยู 007 (Goldfinger) นั้นได้ใช้รถแอสตันมาร์ติน ดีบี5 แทนที่ดีบี มาร์คทรี ที่เฟลมมิงแต่งไว้ หลังจากนั้นก็ได้มีรถแอสตันมาร์ตินปรากฏอยู่ในภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ หลายๆ ตอน รวมทั้งตอนพยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก (Quantum of Solace) ซึ่งเป็นตอนล่าสุดในขณะนี้อีกด้วย (ในบางตอนจะไม่มีรถแอสตันมาร์ตินปรากฏ โดยเจมส์ บอนด์ จะขับรถยี่ห้ออื่นแทน ทั้งนี้มักจะขึ้นอยู่กับสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างบริษัทรถยนต์กับผู้ผลิตภาพยนตร์ ว่าจะได้ใช้รถใดในเรื่อง) นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์และสื่ออื่นๆ อีกด้วยเช่นกัน ที่มีรถแอสตันมาร์ตินปรากฏอยู่ เช่น ในภาพยนตร์ตลกเรื่องพยัคฆ์ร้าย ศูนย์ ศูนย์ ก๊าก (Johnny English) ซึ่งมีเนื้อเรื่องล้อเลียนเจมส์ บอนด์ และมีโรวัน แอตคินสัน แสดงเป็นตัวเอกของเรื่องนั้น ตัวเอกในเรื่องใช้รถแอสตันมาร์ติน รุ่นดีบี7 โดยรถคันดังกล่าวนั้น แท้จริงแล้วเป็นรถของแอตคินสันเอง
รถยนต์แอสตันมาร์ตินในปัจจุบัน
[แก้]รถบนถนน
[แก้]- 1934–1936 แอสตันมาร์ติน เมคทู
- 1950–1953 แอสตันมาร์ติน ดีบี2
- 1957–1959 แอสตันมาร์ติน ดีบี มาร์คทรี
- 1958–1963 แอสตันมาร์ติน ดีบี4
- 1963–1965 แอสตันมาร์ติน ดีบี5
- 1965–1969 แอสตันมาร์ติน ดีบี6
- 1967–1972 แอสตันมาร์ติน ดีบีเอส
- 1969–1989 แอสตันมาร์ติน วี8
- 1977–1989 แอสตันมาร์ติน วี8 แวนเทจ
- 1994–2003 แอสตันมาร์ติน ดีบี7
- 2001–2007 แอสตันมาร์ติน แวนควิซ
- 2004–2016 แอสตันมาร์ติน ดีบี9
- 2005–2018 แอสตันมาร์ติน วี8 แวนเทจ
- 2007–2012 แอสตันมาร์ติน ดีบีเอส วี12
- 2007–2018 แอสตันมาร์ติน วี12 แวนเทจ
- 2009–2012 แอสตันมาร์ติน วัน-77
- 2010–2020 แอสตันมาร์ติน ราพีด/ราพีด เอส
- 2011–2012 แอสตันมาร์ติน วิราจ
- 2011–2013 แอสตันมาร์ติน ซิกเนท, พื้นฐานมาจาก โตโยต้า IQ
- 2012–2013 แอสตันมาร์ติน วี12 ซากาโต้
- 2012–2018 แอสตันมาร์ติน แวนควิซ
- 2015–2016 แอสตันมาร์ติน วัลคัน
- 2016–2023 แอสตันมาร์ติน ดีบี11
- 2018–ปัจจุบัน แอสตันมาร์ติน แวนเทจ
- 2018–2024 แอสตันมาร์ติน ดีบีเอส ซูเปอร์เลจเจรา
- 2020–ปัจจุบัน แอสตันมาร์ติน ดีบีเอกซ์
- 2021–ปัจจุบัน แอสตันมาร์ติน วาลคีรี
- 2023–ปัจจุบัน แอสตันมาร์ติน ดีบี12
- 2024–ปัจจุบัน แอสตันมาร์ติน แวนควิซ
- 2024–ปัจจุบัน แอสตันมาร์ติน วาลฮัลลา
รถรุ่นอื่นๆ
[แก้]- 1944 แอสตันมาร์ติน อะตอม (รถต้นแบบ)
- 1961–1964 ลากอนดา ราพิด
- 1976–1989 แอสตันมาร์ติน ลากอนดา
- 1980 แอสตันมาร์ติน บูลด็อก (รถต้นแบบ)
- 1993 ลากอนดา Vignale (รถต้นแบบ)
- 2007 แอสตันมาร์ติน วี12 แวนเทจ อาร์เอส (รถต้นแบบ)
- 2007–2008 แอสตันมาร์ติน วี8 แวนเทจ เอ็น400
- 2009 แอสตันมาร์ติน ลากอนดา SUV (รถต้นแบบ)
- 2010 แอสตันมาร์ติน ดีบีเอส คาร์บอน แบล็ค อิดิชัน
- 2010 แอสตันมาร์ติน วี12 แวนเทจ คาร์บอน แบล็ค อิดิชัน
- 2013 แอสตันมาร์ติน ราพิด เบอร์โทเน่ เจ็ท 2+2 (รถต้นแบบ)
- 2013 แอสตันมาร์ติน ซีซี100 สปีดสเตอร์ (รถต้นแบบ)
- 2015 แอสตันมาร์ติน ดีบี10 (รถต้นแบบ)
- 2015–2016 ลากอนดา ทาราฟ
- 2019 แอสตันมาร์ติน แวนควิช วิชัน (รถต้นแบบ)
- 2019 แอสตันมาร์ติน ดีบีเอส จีที ซากาโต้
- 2020 แอสตันมาร์ติน วี12 สปีดสเตอร์
- 2021 แอสตันมาร์ติน วิคเตอร์
- 2023 แอสตันมาร์ติน วาลอร์
- 2024 แอสตันมาร์ติน วาเลียนท์
รถแข่ง
[แก้]- แอสตันมาร์ติน ดีบีอาร์1 (1956–1959)
- แอสตันมาร์ติน ดีบีอาร์9 (2005–2008)
- แอสตันมาร์ติน ดีบีอาร์เอส9 (2005–2008)
- แอสตันมาร์ติน วี8 แวนเทจ เอ็น24 (2006–2008)
- แอสตันมาร์ติน วี8 แวนเทจ แรลลี่ จีที (2006–2010)
- แอสตันมาร์ติน วี8 แวนเทจ จีที2 (2008–2017)
- แอสตันมาร์ติน วี8 แวนเทจ จีที4 (2008–2018)
- แอสตันมาร์ติน ดีบีอาร์เอส1-2 (2009)
- แอสตันมาร์ติน วี8 เอเอ็มอาร์-1 (2011)
- แอสตันมาร์ติน แวนเทจ จีทีอี (2018–)
- แอสตันมาร์ติน เอเอ็มอาร์21 (2021)
- แอสตันมาร์ติน เอเอ็มอาร์22 (2022)
- แอสตันมาร์ติน เอเอ็มอาร์23 (2023)
- แอสตันมาร์ติน เอเอ็มอาร์24 (2024)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Annual Report 2019" (PDF). สืบค้นเมื่อ 29 February 2020.
- ↑ "Aston Martin - The Company - History Timeline accessdate=2008-05-07". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-05. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.
{{cite web}}
: ไม่มี pipe ใน:|title=
(help) - ↑ BBC News Article
- ↑ "Deal worth $925 million; Al DAR investment Kuwaiti company and ADEEM investment company cash for Aston Martin turnaround". ADEEM Investment Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-16. สืบค้นเมื่อ 2008-01-03.
- ↑ "Aston Martin: Car Manufacturer: Great British Design Quest". Design Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-20. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.
- ↑ "00-Heaven! Bond's Car British Again |Sky News|Home". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.
- ↑ "David Richards heads consortium to buy Aston Martin" (Press release). Prodrive. 2007-03-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-26. สืบค้นเมื่อ 2008-10-29.