แอรอน สวอตซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอรอน ฮิลเลล สวอตซ์
Swartz smiling
แอรอน สวอตซ์ ณ งานของครีเอทีฟคอมมอนส์ ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551
เกิดแอรอน ฮิลเลล สวอตซ์[1]
8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529
ไฮแลนด์พาร์ก รัฐอิลลินอย,[2] สหรัฐ
เสียชีวิต11 มกราคม พ.ศ. 2556 (26 ปี)
บรุกลิน, นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
สาเหตุเสียชีวิตฆ่าตัวตายโดยการแขวนคอ
การศึกษามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
อาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักเขียน ลัทธิแฮกเกอร์อินเทอร์เน็ต
ตำแหน่งสมาชิกอาวุโสของ Edmond J. Safra Center for Ethics มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
บุพการีรอเบิร์ต สวอตซ์ (พ่อ)
ซูซัน สวอตซ์ (แม่)
รางวัลรางวัลเจมส์ เมดิสัน ของสมาคมห้องสมุดอเมริกัน (หลังเสียชีวิต)
EFF Pioneer Award 2013 (หลังเสียชีวิต)
หอเกียรติยศอินเทอร์เน็ต 2013 (หลังเสียชีวิต)
เว็บไซต์aaronsw.com
rememberaaronsw.com

แอรอน ฮิลเลล สวอตซ์ (อังกฤษ: Aaron Hillel Swartz; 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 11 มกราคม พ.ศ. 2556) เป็นทั้งโปรแกรมเมอร์ นักลงทุน นักเขียน นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ชาวอเมริกันซึ่งอยู่ใน นักเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ต เขามีส่วนร่วมในการพัฒนา ฟีด หรือที่เรียกว่าอาร์เอสเอส[3] ภาษามาร์กอัปมาร์กดาวน์[4] องค์กรครีเอทีฟคอมมอนส์[5] โครงร่างเว็บไซต์ web.py[6] และเว็บไซต์ข่าวทางสังคมอย่างเรดดิต ซึ่งเขาได้เป็นหุ้นส่วนหลังจากที่เว็บไซต์ได้ร่วมมือกับบริษัทของเขาที่ชื่อว่า Infogami.[i] สวอตซ์ได้ฆ่าตัวตายระหว่างที่อยู่ภายใต้ข้อกล่าวหาว่าด้วยการขโมยข้อมูล[7] งานของสวอตซ์นั้นมุ้งเน้นไปในด้านความตระหนักและการเคลื่อนไหวทางการเมือง[8][9] เขามีส่วนช่วยในการเปิดตัวของกลุ่ม Progressive Change Campaign Committee ในปี 2552 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านการเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2010 เขาได้เป็นนักวิจัยที่ Safra Research Lab on Institutional Corruption ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของลอว์เรนซ์ เลสสิก[10][11] เขาก่อตั้งกลุ่มออนไลน์ที่ชื่อว่า Demand Progress ซึ่งเป็นที่รู้จักในการรณรงค์ต่อต้านร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์

ในวันที่ 6 มกราคม 2554 สวอตซ์ถูกจับกุมตัวโดยตำรวจ MIT หลังจากต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายของ MIT และแอบไว้ในห้องที่ไม่ได้ล็อกในเขตหวงห้าม และตั้งให้ดาวน์โหลดบทความจากวารสารวิชาการอย่างเป็นระบบจาก เจสตอร์ (JSTOR) ผ่านทางบัญชี guest ที่ MIT มอบให้[12][13] จากนั้นเขาได้ถูกเข้าจับกุมโดย อัยการกลาง นำโดย Carmen Ortiz ด้วย 2 กระทงของการฉ้อโกงโดยวิธีการทางสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ และ 11 กระทง ของละเมิดกฎหมายการฉ้อโกงและการใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่ผิด[14] ซึ่งมีโทษปรับรวมสูงสุดถึง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จำคุกรวมสูงสุด 35 ปี การริบสินทรัพย์ การชดใช้ และควบคุมความประพฤติ[15]

สวอตซ์ได้ปฏิเสธการต่อรองการรับสารภาพซึ่งจะทำให้เขาติดคุกเป็นเวลา 6 เดือน สองวันหลังจากการปฏิเสธ ศพของเขาได้ถูกพบในห้องอพาร์ตเมนต์ของเขาที่บรุกลิน ซึ่งเป็นที่ที่เขาได้จบชีวิตตัวเองด้วยการแขวนคอ[7][16]

ในเดือนมิถุนายน ปี 2556 สวอตซ์ได้ถูกใส่ชื่อให้อยู่ในหอเกียรติยศอินเทอร์เน็ตหลังจากที่เสียชีวิต[17][18]

ชีวิตและการงาน[แก้]

สวอตซ์ในปี 2545 (อายุ 15 ปี) กับ ลอว์เรนซ์ เลสสิก ในงานเลี้ยงเปิดตัวของครีเอทีฟคอมมอนส์
สวอตซ์ขณะบรรยายการเปลี่ยนแปลงจากระบบจากระบบหนึ่งต่อกลุ่ม สู่ระบบกลุ่มสู่กลุ่ม ของแผนผังการสื่อสารแบบเครือข่าย ในซานฟรานซิสโก เมษายน ปี 2550 (9:29)

สวอตซ์เกิดที่ไฮแลนด์พาร์ก รัฐอิลลินอย[19][20] แถบชานเมืองของชิคาโก เป็นลูกชายคนโตของครอบครัวชาวยิว โดยมี ซูซัน และ รอเบิร์ต สวอตซ์เป็นแม่และพ่อ[1][21] พ่อของเขาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า Mark Williams Company สวอตซ์ได้จมตัวเองกับการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ การโปรแกรม อินเทอร์เน็ต และวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ต[22] ในวัยเด็กเขาเข้าเรียนที่ North Shore Country Day School ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนเล็กๆใกล้กับชิคาโกจนถึงชั้นมัธยมศึกษาที่ 3[23] สวอตซ์ได้ออกจากไฮสกูลในชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 และได้ลงทะเบียนเข้าเรียนหลักสูตรที่มหาลัยแถบชิคาโก[24][25]

ตอนอายุ 13 สวอตซ์ได้ชนะรางวัล ArsDigita Prize ซึ่งจะให้เหล่าผู้เยาว์ที่สร้างเว็บไซต์ที่ไม่แสวงหากำไรซึ่ง "มีประโยชน์ ให้ความรู้ และสร้างความสามัคคี"[1][26] เมื่ออายุ 14 ปี เขาได้เข้าเป็นสมาชิคของกลุ่มงานที่เป็นผู้สร้างข้อมูลจำเพาะของระบบการกระจายข่าวทางเว็บไซต์ RSS 1.0

W3C[แก้]

ในปี 2544 สวอตซ์เข้าร่วมกลุ่มทำงาน RDFCore ในเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C)[27] ซึ่งเขาเป็นผู้เขียน RFC 3870 หรือ การขึ้นทะเบียนชนิดสื่อสิ่งพิมพ์ของ Application/RDF+XML โดยเอกสารนั้นระบุเกี่ยวกับชนิดสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า "RDF/XML" ซึ่งถูกออกแบบมาให้ใช้กับเว็บเชิงความหมาย[28]

มาร์กดาวน์[แก้]

สวอตซ์เป็นผู้มีส่วนร่วมหลักในการพัฒนามาร์กดาวน์[4][29] ซึ่งเป็นภาษามาร์กอัปเบาสำหรับสร้าง HTML และผู้คิดสร้างตัวแปล html2text ที่ใช้ร่วมกัน โครงสร้างภาษาสำหรับมาร์กดาวน์นั้นได้อิทธิพลมาจากภาษา atx ของสวอตซ์ (ปี 2545)[30] ซึ่งทุกวันนี้ถูกจดจำจากโครงสร้างภาษาสำหรับบ่งบอกเฮดเดอร์ (header) หรือที่เรียกกันว่า เฮดเดอร์รูปแบบ atx[31]

# H1-header
## H2-header
...
###### H6-header

ตัวมาร์กดาวน์เองนั้นถูกใช้อย่างแพร่หลาย

การลงทุน[แก้]

สวอตซ์เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในขณะอยู่ปี 1 สวอตซ์ได้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนครั้งแรกที่จัดขึ้นโดยบริษัทวายคอมบิเนเตอร์ และเสนอว่าจะทำงานให้กับบริษัทเกิดใหม่ (startup) ที่มีชื่อว่า อินโฟกามิ (Infogami) ซึ่งถูกออกแบบให้เป็นระบบจัดการเนื้อหาที่มีความยืดหยุ่น เพื่อสร้างเว็บโซต์ที่มีความอุดมสมบูรณ์และน่าสนใจ[32] หรือรูปแบบหนึ่งของวิกิสำหรับข้อมูลที่มีโครงสร้าง หลังจากทำงานกับ อินโฟกามิ ด้วยกันกับผู้ก่อตั้งร่วมที่มีชื่อว่า ไซมอน คาร์สเทนเซ็น (Simon Carstensen) ตลอดฤดูร้อนของปี 2548,[33] อารอนตัดสินใจที่จะไม่กลับไปเรียนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดแต่กลับมุ่งหน้าพัฒนาและหาทุนให้กับอินโฟกามิ[32]

โครงร่างเว็บไซต์ web.py ถูกสร้างขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานจากอินโฟกามิ เนื่องจากการที่อารอนไม่ชอบระบบที่มีอยู่ในภาษาไพทอน ในต้นฤดูใบไม้ร่วงของปี 2548 สวอตซ์ได้ทำงานกับผู้ก่อตั้งของบริษัทหน้าใหม่ที่ชื่อว่า เรดดิต ภายใต้บริษัทวายคอมบิเนเตอร์ เพื่อเขียนพื้นฐานโค้ดที่อยู่ในภาษาลิสป์ใหม่ โดยใช้ภาษาไพทอนและ web.py[6]

เมื่อครั้นอินโฟกามิประสบปัญหาทางด้านทุนทรัพย์ ผู้สร้างของวายคอมบิเนเตอร์ได้เสนอให้อินโฟกามิรวมเข้ากับเรดดิต[34][35] โปรเจกต์ทั้งสองได้รวมกันในปี 2548 กลายเป็นบริษัทใหม่ที่ชื่อว่า น็อท อะ บัค (Not A Bug) ซึ่งมุ้งเน้นไปในการพัฒนาโปรเจกต์ทั้งสอง[34][36] แม้ตอนแรกทั้งสองโปรเจกต์จะมีปัญหาทางด้านการดึงดูดกลุ่มผู้ใช้ เรดดิตเริ่มเป็นที่นิยมในวงกว้างช่วงปี 2548 และ 2549

ในเดือนตุลาคม ปี 2549 บนพื้นฐานของความสำเร็จของเรดดิต น็อท อะ บัค ได้ถูกโอนกรรมสิทธิ์ให้กับ สำนักพิมพ์ Condé Nast เจ้าของนิตยสารไวร์ด์[22][37] สวาร์สซกับบริษัทของเขาได้ย้ายไปทำงานให้กับนิตยสารไวร์ด์ที่ซานฟรานซิสโก[22] ทว่าจากนั้นสวอตซ์ไม่พอใจกับการทำงานในออฟฟิศ และได้ออกจากบริษัทในที่สุด[38]

ในเดือนกันยายนปี 2550 สวอตซ์ได้ร่วมมือกับผู้ก่อตั้งร่วมของอินโฟกามิที่ชื่อว่า ไซมอน คาร์สเทนเซ็น ในการเปิดตัวบริษัทใหม่ชื่อ จอททิต (Jottit) เป็นความพยายามอีกครั้งที่จะสร้างระบบจัดการเนื้อหาขับเคลื่อนโดยมาร์คดาวน์ในภาษาไพทอน[39]

ร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์[แก้]

สวอตซ์ในปี 2555 ขณะประท้วงต่อต้านร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ (SOPA)

สวอตซ์มีส่วนร่วมในการรณรงค์ต่อต้านร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ (SOPA) ซึ่งมีเป้าหมายในการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต แต่กลับถูกวิจารย์ในพื้นฐานที่การต่อต้านนั้นทำให้รัฐบาลสหรัฐเข้าปิดเว็บไซต์ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิได้ง่ายขึ้น และยังส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต[40] หลังจากที่ร่างกฎหมายถูกยกเลิก สวอตซ์ได้เป็นผู้บรรยายจากองค์ปาฐก ณ งาน F2C: Freedom to Connect 2012 ที่ วอชิงตัน ดี.ซี. ในวันที่ 21 พฤษภาคม ปี 2555 ภายใต้หัวข้อการบรรยายชื่อ "เราหยุด SOPA ได้อย่างไร" ซึ่งเขาได้บอกผู้ชมว่า

"เราชนะการต่อสู้ครั้งนี้เพราะทุกคนทำให้ตัวเองเป็นวีรบุรุษในเรื่องของตนเอง ทุกคนทำให้การรักษาเสรีภาพนี้เป็นหน้าที่ของตนเอง"[41][42] เขาอ้างถึงการประท้วงต่อร่างกฎหมายโดยหลากหลายเว็บไซต์ซึ่งถูกกล่าวถึงใน Electronic Frontier Foundation ว่าใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีเว็บไซต์มากกว่า 115,000 เว็บไซต์ทำการปรับแต่งหน้าเพจของตนเอง [43] สวอตซ์ยังได้บรรยายหัวข้อนี้ในงานจัดโดย ThoughtWorks อีกด้วย[44]

วิกิพีเดีย[แก้]

สวอตซ์ ณ 2009 Boston Wikipedia Meetup

สวอตซ์ได้เป็นอาสาสมัครแก้ไขบทความในวิกิพีเดีย และในปี 2549 สวอตซ์ได้เขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับวิธีที่บทความในวิกิพีเดียถูกเขียน และได้สรุปว่าข้อมูลส่วนใหญ่ในบทความต่าง ๆ นั้นมาจากผู้มีส่วนร่วมเป็นครั้งคราว หรือ "คนนอก" นับหมื่นคน ซึ่งอาจไม่มีส่วนร่วมอื่นในวิกิพีเดียเลย ส่วนกลุ่มสมาชิกหลักซึ่งประกอบด้วย 500 ถึง 1000 คนที่เป็นสมาชิกประจำ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้แก้ไขตัวสะกดและข้อผิดพลาดทางรูปแบบ[45] สวอตซ์ได้กล่าวว่า "ผู้แก้ไขรูปแบบเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มีส่วนร่วม ไม่ใช่ในทางกลับกัน"[45][46]

ไซ-ฮับ[แก้]

อเล็กซานดรา เอลบัคยาน ผู้เป็นทั้งนักวิทยาการคอมพิวเตอร์และนักวิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ชาวคาซัคสถานก่อตั้งไซ-ฮับ[47] ไซ-ฮับได้ให้การเข้าถึงบทความทางวิชาการภายใต้เพย์วอลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ณ ปี พ.ศ. 2559 ไซ-ฮับรวบรวมบทความไว้มากกว่า 50 ล้านบทความ[47][48] เอลบัคยานมักถูกเปรียบเทียบกับสวอตซ์ ด้วยความที่เธอมักวิจารณ์เพย์วอล รวมไปถึงความทุ่มเทที่เธอมีต่อไซ-ฮับ โดยเธอกล่าวว่าจะไม่ยอมปิดเว็บไซต์แม้จะโดนฟ้องก็ตาม[49]

JSTOR[แก้]

อ้างอิงจากผู้มีอำนาจทางภาครัฐและสหพันธรัฐ สวอตซ์ใช้ JSTOR ซึ่งเป็นที่เก็บดิจิทัล[50] เพื่อดาวน์โหลดวารสารวิชาการจำนวนมาก[ii] ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของ MIT ในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ในท้ายปี 2553 และ ต้นปี 2554 ในขณะนั้น สวอตซ์ยังเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดอีกด้วย ซึ่งเป็นผู้ให้บัญชีของ JSTOR[51] ผู้เยี่ยมชม "มหาลัยแบบเปิด" ของ MIT นั้นได้รับอนุญาตให้เข้าชม JSTOR ผ่านทางระบบเครือข่ายของ JSTOR เอง[52]

ผู้มีอำนาจได้กล่าวว่าสวอตซ์ดาวน์โหลดเอกสารผ่านแล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ซึ่งต่อกับสวิตช์ระบบเครือข่ายในห้องควบคุมการเข้าถึงผ่านสายใน MIT[13][53][54][55][56] จากรายงานข่าว ประตูของห้องนั้นไม่ได้ถูกล็อก[52][57][58] เมื่อถูกจับได้ JSTOR อ้างว่าลูกจ้างของบริษัทได้ติดตั้งกล้องวิดีโอในห้องเพื่อดักถ่ายสวอตซ์โดยไม่ได้แตะต้องกับคอมพิวเตอร์ของเขา หลังจากที่วิดีโอถูกเผยแพร่ การดาวน์โหลดได้หยุดลงและสวอตซ์ได้ถูกชี้ตัว แทนที่จะต่อสู้กับคดี ในเดือนมิถุนายน ปี 2554 เขาได้ยอมลบไฟล์ที่ดาวน์โหลดไปทั้งหมด[59][60]

การจับกุม[แก้]

ในคืนวันที่ 6 มกราคม ปี 2554 สวอตซ์ถูกจับกุมใกล้มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดโดย ตำรวจ MIT และหน่วยตำรวจลับของสหรัฐ เขาถูกนำตัวมาขึ้นศาลที่เคมบริดจ์โดยมีสองข้อหาเกี่ยวกับการบุกรุกและตั้งใจบุกเข้าไปเพื่อทำอาชญากรรม[12][13][56][61][62]

การเสียชีวิต[แก้]

ในคืนของวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556 ศพของสวอตซ์ถูกพบในห้องอพาร์ตเมนต์ของเขาที่บรุกลินโดยแฟนสาวของเขา Taren Stinebrickner-Kauffman[52][63][64] โฆษกหญิงเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพนิวยอร์กรายงานว่าเขาได้ผูกคอตาย[63][64][65] โดยไม่พบจดหมายลาตาย[66] ครอบครัวของสวอตซ์และแฟนของเขาได้สร้างเว็บไซต์เพื่อระลึกถึง โดยเขียนบนเว็บไซต์ว่า "สวอตซ์ได้ใช้ทักษะความรู้ที่อัจฉริยะของเขาในการเป็นผู้เขียนโปรแกรมและนักเทคโนโลยี ไม่ใช่เพื่อก่อกำไรต่อตัวเอง แต่เพื่อทำให้โลกอินเทอร์เน็ตและโลกนี้เป็นที่ที่มีความยุติธรรมมากขึ้น และเป็นที่ที่ดีขึ้น"[21]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Yearwood, Pauline (February 22, 2013).
  2. Skaggs, Paula (January 16, 2013). "Aaron Swartz Remembered as Internet Activist who Changed the World". Patch.
  3. "RSS creator Aaron Swartz dead at 26".
  4. 4.0 4.1 "Markdown".
  5. Lessig, Lawrence (January 12, 2013).
  6. 6.0 6.1 Grehan, Rick (August 10, 2011).
  7. 7.0 7.1 "Aaron Swartz, Tech Prodigy and Internet Activist, Is Dead at 26".
  8. Swartz, Aaron.
  9. Swartz, Aaron (May 13, 2008).
  10. Seidman, Bianca (July 22, 2011).
  11. "Lab Fellows 2010–2011: Aaron Swartz".
  12. 12.0 12.1 Gerstein, Josh (July 22, 2011).
  13. 13.0 13.1 13.2 Commonwealth v.
  14. "Indictment, USA v.
  15. US Attorney's Office District of Massachusetts (July 19, 2011). "Alleged Hacker Charged With Stealing Over Four Million Documents from MIT Network". Press release. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-26. สืบค้นเมื่อ January 17, 2013.
  16. "Aaron Swartz, internet freedom activist, dies aged 26".
  17. Press release from the Internet Hall of Fame.
  18. "Internet Hall of Fame Announces 2013 Inductees".
  19. Skaggs, Paula (January 16, 2013).
  20. http://www.rollingstone.com/culture/news/the-brilliant-life-and-tragic-death-of-aaron-swartz-20130215?page=2
  21. 21.0 21.1 Nelson, Valerie J. (January 12, 2013).
  22. 22.0 22.1 22.2 Swartz, Aaron (September 27, 2007).
  23. "Reddit co-creator Aaron Swartz dies from suicide".
  24. Skaggs, Paula (January 15, 2013).
  25. Swartz, Aaron (January 14, 2002).
  26. Schofield, Jack (January 13, 2013).
  27. "RDFCore Working Group Membership".
  28. Swartz, A. (September 2004).
  29. Gruber, John.
  30. "atx, the true structured text format". 
  31. "Daring Fireball – Markdown – Syntax". 
  32. 32.0 32.1 Ryan, Singel (2005-09-13).
  33. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-19. สืบค้นเมื่อ 2016-01-11.
  34. 34.0 34.1 Swartz, Aaron (2007).
  35. "A passion for your users brings good karma: (Interview with) Alexis Ohanian, co-founder of reddit.com".
  36. Singel, Ryan (July 19, 2011). "Feds Charge Activist as Hacker for Downloading Millions of Academic Articles". Wired. สืบค้นเมื่อ January 12, 2013.
  37. "Breaking News: Condé Nast/Wired Acquires Reddit".
  38. Lenssen, Philipp (2007). "A Chat with Aaron Swartz". Google Blogoscoped. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2010. สืบค้นเมื่อ May 11, 2010.
  39. "Aaron Swartz's Jottit has been officially released".
  40. Wagner, Daniel; Verena Dobnik (January 13, 2013).
  41. Swartz, Aaron (May 21, 2012). "How we stopped SOPA" (video). Keynote address at the Freedom To Connect 2012 conference. New York: Democracy Now!. [T]he 'Combating Online Infringement and Counterfeiting Act' ... was introduced on September 20th, 2010.... And [then] it began being called PIPA, and eventually SOPA.
  42. Aaron Swartz (interviewee) & Amy Goodman (พฤษภาคม 21, 2012). Freedom to Connect: Aaron Swartz (1986–2013) on victory to save open Internet, fight online censors (Video). N.Y.C.: Democracy Now. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 20, 2013.
  43. "Bill Killed: SOPA death celebrated as Congress recalls anti-piracy acts", Russian Times, January 19, 2012 
  44. Swartz, Aaron (August 16, 2012).
  45. 45.0 45.1 Swartz, Aaron (September 4, 2006).
  46. Blodget, Henry (January 3, 2009).
  47. 47.0 47.1 Murphy, Kate (March 12, 2016). "Should All Research Papers Be Free?". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ August 23, 2016.
  48. McNutt, Marcia. "Science Magazine". Science.
  49. "A spiritual successor to Aaron Swartz is angering publishers all over again". สืบค้นเมื่อ August 23, 2016.
  50. "Terms and Conditions of Use".
  51. "Indictment, USA v.
  52. 52.0 52.1 52.2 MacFarquhar, Larissa (March 11, 2013).
  53. "Indictment, USA v.
  54. Lindsay, Jay (July 19, 2011).
  55. "JSTOR Statement: Misuse Incident and Criminal Case".
  56. 56.0 56.1 Cohen, Noam (January 20, 2013).
  57. Peters, Justin (February 7, 2013).
  58. Merritt, Jeralyn (January 14, 2013).
  59. "JSTOR Statement: Misuse Incident and Criminal Case".
  60. "Aaron Swartz, Internet Pioneer, Found Dead Amid Prosecutor 'Bullying' In Unconventional Case".
  61. Hak, Susana; Paz, Gabriella (January 26, 2011).
  62. Singel, Ryan (February 27, 2011).
  63. 63.0 63.1 Kemp, Joe; Trapasso, Clare; Mcshane, Larry (January 12, 2013).
  64. 64.0 64.1 "Co-founder of Reddit Aaron Swartz found dead".
  65. Lessig, Lawrence (January 12, 2013). "Prosecutor as bully". สืบค้นเมื่อ January 12, 2013.
  66. Gustin, Sam (January 14, 2013).

ดูเพิ่ม[แก้]

ภาพยนตร์สารคดี[แก้]

  • Brian Knappenberger (Producer and Director), The Internet's Own Boy: The Story of Aaron Swartz. Participant Media: 2014. Via The Internet Archive, www.archive.org/ Run time: 105 minutes.
  • Ali Akbarzadeh (Director), Killswitch: The Battle to Control the Internet, Akorn Entertainment: 2014

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]