แอนดี รูบิน
แอนดรูว์ อี. รูบิน เป็นผู้ร่วมคิดค้นและประธานบริษัท แดนเจอร์ และ แอนดรอยด์ โดยเป็นรองประธานในแผนก โมบายล์แอนด์ดิจิทัลคอนเทนต์ ในบริษัทกูเกิล จนถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556[1]ซึ่งเขาเป็นผู้คิดค้น ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งเป็น ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ซ สำหรับสมาร์ตโฟน[2][3][4] รูบินเป็นเจ้าของสิทธิบัตร 4 ใบ สำหรับสิ่งที่เขาคิดค้น ซึ่งเชื่อว่ามีมูลค่าประมาณ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5][6]
วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556 ได้รับการยืนยันจาก แลร์รี เพจ ในบล็อกของเขาที่บอกว่า แอนดี รูบิน จะย้ายออกจากแผนกในส่วนของแอนดรอยด์ ไปอยู่กับโครงการใหม่ของกูเกิล[7] ส่วนตำแหน่งของเขาจะถูกแทนที่โดย ซันดาร์ พิชัย ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกกูเกิลโครม[8]
ชีวิตช่วงแรก
[แก้]รูบินเป็นชาวยิวอเมริกัน[9] ซึ่งเขาเติบโตในนิวยอร์ก เป็นลูกของนักจิตวิทยาที่ก่อตั้งบริษัทขึ้นมาเอง และพ่อของเขาก็ทำงานเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย[10] รูบินสามารถสร้างกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ ได้ด้วยตนเองขณะที่ยังเด็ก[11]
การศึกษา
[แก้]- โรงเรียนมัธยมศึกษาโฮเรซกรีลีย์ ใน ชัปปาควา นิวยอร์ก พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2524
- วิทยาลัยอูตีกา ใน อูตีกา นิวยอร์ก ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต วิทยาการคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2529
การทำงาน
[แก้]- คาร์ล ไซซ์ − วิศวกรหุ่นยนต์ พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2532[10]
- แอปเปิล − วิศวกรควบคุมฝ่ายการผลิต พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2535[10]
- เจเนอรัลแมจิก − วิศวกร พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2538 สร้างแอปเปิลสปินออฟ และแมจิกแคป ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ และอินเตอร์เฟซสำหรับมือถือ[10]
- เอ็มเอสเอ็นทีวี − วิศวกร พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542 เมื่อแมจิกแคปล้มเหลว รูบินได้เข้าร่วมกับศูนย์วิจัยอาร์เตมิส ซึ่งก่อตั้งโดยสตีฟ เพอล์แมน และสร้างเว็บทีวี และก็ถูกซื้อโดยไมโครซอฟท์[10]
- แดนเจอร์ − ผู้ร่วมก่อตั้ง พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2546 คิดค้นร่วมกับแมตต์ เฮอร์เชนสัน และ โจ บริตต์ โดยสร้างแดนเตอร์ ฮิปท็อป หรือ ที-โมบายล์ ไซด์คิก ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับเครื่องพีดีเอ โดยถูกซื้อกิจการโดยไมโครซอฟท์ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[10]
- แอนดรอยด์ − ผู้ร่วมก่อตั้ง พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2548[10]
- กูเกิล − รองประธานอาวุโส พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2556 ในส่วนของแอนดรอยด์[10]
สิทธิบัตร
[แก้]แอนดรูว์ รูบิน ได้จดสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกา 4 ใบ ดังนี้ :
- U.S. Patent 6,701,522, Apparatus and method for portal device authentication, 2000 Apr 7, Assignee: Danger Inc.
- U.S. Patent 6,735,624, Method for configuring and authenticating newly delivered portal device, 2000 Apr 7, Assignee: Danger Inc.
- U.S. Patent 6,721,804, Portal system for converting requested data into a bytecode format based on..., 2000 Nov 15, Assignee: Danger Inc.
- U.S. Patent 7,960,945, Estimating remaining use time of a mobile device, 2011 Jun 14, Assignee: Google Inc.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.theverge.com/2013/3/13/4099450/andy-rubin-steps-down-as-head-of-android
- ↑ Google's Rubin: Android 'a revolution'
- ↑ http://googleblog.blogspot.ca/2013/03/update-from-ceo.html
- ↑ Efrati, Amir (August 17, 2011), "The Man Behind Android's Rise", The Wall Street Journal
- ↑ "URL".
- ↑ "URL".[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.guardian.co.uk/technology/2013/mar/13/andy-rubin-google-move
- ↑ http://googleblog.blogspot.co.uk/2013/03/update-from-ceo.html
- ↑ "URL".
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 10.7 Markoff, John (4 November 2007). "I, Robot: The Man Behind the Google Phone". The New York Times. The New York Times Company.
- ↑ System 0perator Ducati (30 October 91). "Spies is shutting down because the time has come". Textfiles.com. Jason Scott.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Designing Products Your Customers Will Love" เก็บถาวร 2007-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Andy Rubin speaks at Stanford University
- "Android on the March" เก็บถาวร 2010-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Financial Post September 17, 2010
- "Android Invasion", Newsweek October 3, 2010