ข้ามไปเนื้อหา

แรมง ดอแมแน็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แรมง ดอแมแน็ก
ดอแมแน็กใน ค.ศ. 2007
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม Raymond Manuel Albert Domenech[1]
วันเกิด (1952-01-24) 24 มกราคม ค.ศ. 1952 (72 ปี)
สถานที่เกิด ลียง ประเทศฝรั่งเศส
ส่วนสูง 1.79 เมตร (5 ฟุต 10 นิ้ว)
ตำแหน่ง ฟุลแบ็ก
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1969–1977 ลียง 246 (7)
1977–1981 สทราซบูร์ 128 (4)
1981–1982 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง 19 (1)
1982–1984 บอร์โด 40 (3)
1984–1985 มูว์ลูซ 13 (0)
รวม 433 (15)
ทีมชาติ
1973–1979 ฝรั่งเศส 8 (0)
จัดการทีม
1984–1988 มูว์ลูซ
1988–1993 ลียง
1993–2004 ฝรั่งเศส อายุไม่เกิน 21 ปี
1996 โอลิมปิกฝรั่งเศส
2004–2010 ฝรั่งเศส
2020–2021 น็องต์
เกียรติประวัติ
ฟุตบอลชาย
ตัวแทนของ ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส (ในฐานะผู้จัดการ)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 1996
รองชนะเลิศ 2002
ฟุตบอลโลก
รองชนะเลิศ 2006
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

แรมง ดอแมแน็ก (ฝรั่งเศส: Raymond Domenech; เกิดเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1952) เป็นทั้งอดีตกองหลังและผู้จัดการฟุตบอล เขาบริหารทีมชาติฝรั่งเศสใน ค.ศ. 2004 ถึง 2010 นำพาทีมชาติเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ[2] หลังทีมชาติตกรอบในฟุตบอลโลก 2010 เขาถูกไล่ออกจากการประพฤติผิดอย่างร้ายแรง[3]

ประวัติ

[แก้]

ดอแมแน็กเริ่มเล่นฟุตบอลกับออแล็งปิกลียอแน (โอลิมปิกลียง) ในตำแหน่งกองหลังและมีชื่อเสียงจนก้าวไปติดทีมชาติเมื่อพาทีมคว้าแชมป์ Coupe de France ในปี 1973 และตัดสินใจย้ายทีมในอีก 4 ปีต่อมาหลังจากลงสนามให้ลียงมากกว่า 250 นัด โดยเขาย้ายไปร่วมทีมสทราซบูร์ในปี 1977 และคว้าแชมป์ลีก เอิงได้ในปี 1979 หลังจากนั้นเขาย้ายไปเล่นให้เปเอสเชในช่วงสั้น ๆ ในปี 1981 ก่อนจะได้ร่วมทีมบอร์โดในปี 1982 และคว้าแชมป์ลีกเอิงได้อีกครั้งในปี 1984 หลังจากได้แชมป์ร่วมกับบอร์โดแล้วเขาก็ย้ายทีมทันทีโดยไปร่วมทีมมูว์ลูซและแขวนสตั๊ดอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1988

อาชีพผู้จัดการ

[แก้]

ดอแมแน็กเปลี่ยนบทบาทจากผู้เล่นเป็นผู้จัดการที่มูว์ลูซ และได้แชมป์ลีกเดอกับออแล็งปิกลียอแนในปี 1989 ก่อนจะเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมชาติฝรั่งเศสชุดอายุไม่เกิน 21 ปี โดยมีผลงานที่โดดเด่นเมื่อพาทีมเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศในศึกชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี แม้จะได้แค่รองแชมป์ แต่ก็ส่งผลให้ได้เลื่อนขึ้นมาคุมชุดใหญ่ในเวลาต่อมา

ดอแมแน็กเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมชาติต่อจากฌัก ซ็องตีนีเพื่อทำศึกฟุตบอลโลกปี 2006 และพาฝรั่งเศสได้รองแชมป์โดยแพ้แก่อิตาลีในรอบชิงชนะเลิศโดยมีเหตุการณ์ซีดานเฮดบัด อันลือลั่น

ในศึกชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปปี 2008 รอบคัดเลือก ดอแมแน็กเคยถูกโจมตีจากโชเซ มูรีนโย ผู้จัดการทีมเชลซีในขณะนั้นว่าเรียกใช้งานนักเตะเยี่ยงทาส เมื่อดอแมแน็กเรียกตัวโกลด มาเกเลเลมาติดทีมชาติทั้ง ๆ ที่ประกาศเลิกเล่นให้ทีมชาติไปแล้ว อย่างไรก็ตามผลงานในรอบสุดท้ายกลับไม่สู้ดีนัก เมื่อเขาพาทีมตกรอบแรกและอยู่อันดับสุดท้ายของกลุ่ม ทำให้มีเสียงเรียกร้องจากสื่อในฝรั่งเศสให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง แต่เขาก็ได้รับการสนับสนุนจากสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศสให้ทำหน้าที่ต่อไป

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ดอแมแน็กมีเชื้อสายกาตาลา[4] เขาหลงใหลในโหราศาสตร์ และเชื่อว่าบุคลิกภาพของบุคคลถูกกำหนดโดยราศี เขาปฏิเสธข่าวลือที่ว่าตนเลือกผู้เล่นตามหลักโหราศาสตร์ หรือที่เขาถอนรอแบร์ ปีแร็สเนื่องจากเกิดในราศีพิจิก แทนที่จะกล่าวว่าผู้เล่นฝ่ายปีกอายุ 30 ปีอยู่ในช่วงขาลง และมีอิทธิพลที่ไม่ดีต่อทีม[5]

สถิติผู้จัดการ

[แก้]
ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021[6]
บันทึกสถิติผู้จัดการต่อทีมและระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
ทีม ตั้งแต่ ถึง สถิติ
จัดการ ชนะ เสมอ แพ้ ชนะร้อยละ
มูว์ลูซ 1 กรกฎาคม 1984 30 มิถุนายน 1988 169 93 40 36 055.03
ลียง 1 กรกฎาคม 1988 30 มิถุนายน 1993 202 73 62 67 036.14
ฝรั่งเศส อายุไม่เกิน 21 ปี 1 กรกฎาคม 1993 11 กรกฎาคม 2004 124 76 30 18 061.29
ฝรั่งเศส 12 กรกฎาคม 2004 30 มิถุนายน 2010 79 41 24 14 051.90
น็องต์ 26 ธันวาคม 2020 10 กุมภาพันธ์ 2021 8 0 4 4 000.00
รวม 582 283 160 139 048.63

เกียรติยศ

[แก้]

ผู้จัดการ

[แก้]

ฝรั่งเศส

เครื่องอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Décret du 7 mai 2007 portant promotion et nomination" [Decree of 7 May 2007 on promotion and appointment]. Journal Officiel de la République Française (ภาษาฝรั่งเศส). 2007 (107): 8115. 8 May 2007. PREX0710152D. สืบค้นเมื่อ 25 August 2019.
  2. "Domenech pegs Le Guen, Giresse as contenders for his replacement". CBC News. 3 February 2010.
  3. "Domenech agrees compensation with French football federation". Reuters. 4 August 2011. สืบค้นเมื่อ 12 February 2021.
  4. "Raymond Domenech, le Catalan des «États-Unis»" [Raymond Domenech, the Catalan from the "United States"]. L'Équipe (ภาษาฝรั่งเศส). 21 April 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2021.
  5. Doyle, Paul (22 March 2016). "Raymond Domenech: 'People started to think I wore a wizard's hat on my head'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 12 February 2021.
  6. "Raymond Domenech career sheet". Pari et Gagne. สืบค้นเมื่อ 27 December 2020.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Domenech, Raymond (2010). Sexe, foot, royalties - Entretiens avec Estelle, la fausse interview (ภาษาฝรั่งเศส). Nova éditions. ISBN 978-2-36015-001-4.
  • Domenech, Raymond (2012). Tout seul (ภาษาฝรั่งเศส). Flammarion. ISBN 978-2-08-126447-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]