ข้ามไปเนื้อหา

แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง ค.ศ. 1995

พิกัด: 34°35′N 135°04′E / 34.59°N 135.07°E / 34.59; 135.07
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง ค.ศ. 1995
兵庫県南部地震
阪神・淡路大震災
ทางด่วนฮันชิงพังถล่มลงมา
แผนที่แรงสั่นสะเทือน (USGS)
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง ค.ศ. 1995ตั้งอยู่ในจังหวัดเฮียวโงะ
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง ค.ศ. 1995
โคเบะ
โคเบะ
เวลาสากลเชิงพิกัด1995-01-16 20:46:53
รหัสเหตุการณ์ ISC124708
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น17 มกราคม ค.ศ. 1995 (1995-01-17) (พ.ศ. 2538)
เวลาท้องถิ่น05:46:53 JST
ระยะเวลา~20 วินาที
ขนาด7.3 Mw JMA
6.9 Mw USGS[1]
ความลึก17.6 กิโลเมตร (10.9 ไมล์)[1]
ศูนย์กลาง34°35′N 135°04′E / 34.59°N 135.07°E / 34.59; 135.07[1]
รอยเลื่อนโนจิมะ
ประเภทตามแนวระดับ[2]
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบญี่ปุ่น
ความเสียหายทั้งหมด200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้XII (ภัยพิบัติ) [4][5]

ชินโดะ 7 (ความรุนแรงที่วัดโดยเครื่องมือ 6.6) [6]
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน0.91 g
891 gal
สึนามิประมาณ 10 เซนติเมตร ไม่ก่อความเสียหาย [7]
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 5,502–6,434 คน[2]
บาดเจ็บ 36,896–43,792 คน[2]
พลัดถิ่น 251,301–310,000 คน[2]

แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง[ก] (ญี่ปุ่น: 阪神・淡路大震災โรมาจิHanshin Awaji daishinsai; อังกฤษ: The Great Hanshin earthquake) หรือ แผ่นดินไหวโคเบะ หรือชื่อทางการเรียกว่า แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง-อาวาจิ เกิดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) เวลา 05:46 น. ตามเวลาท้องถิ่น บริเวณตอนใต้ของจังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาด 7.3 ตามกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น และ 6.9 ตามมาตราโมเมนต์ ลึกลงไปใต้ผิวโลก 16 กิโลเมตร จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่บริเวณเกาะอาวาจิ ซึ่งอยู่ห่างจากนครโคเบะ 20 กิโลเมตร ระยะเวลาการสั่นสะเทือนนานประมาณ 20 วินาที [8] มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 6,434 คน (นับถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2538) ในจำนวนนี้ประมาณ 4,600 คน มาจากโคเบะ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้ที่สุด และมีประชากรทั้งสิ้น 1.5 ล้านคน[9]

เหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ ร้ายแรงที่สุดในรอบ 72 ปี นับตั้งแต่แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต ค.ศ. 1923 ที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 140,000 คน ความเสียหายเบื้องต้น ทำให้บ้านเรือนพังพลายกว่า 200,000 หลัง, โครงสร้างยกระดับของทางด่วนฮันชิง พังทลายเป็นระยะทางประมาณ 630 เมตร[10] , ปั้นจั่นของท่าเรือโคเบะเสียหายกว่าหนึ่งร้อยตัว มูลค่าตวามเสียหายทั้งสิ้นประมาณ 10 ล้านล้านเยน (ประมาณ 102.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) คิดเป็น 2.5% ของจีดีพีของญี่ปุ่นในปีนั้น

แผ่นดินไหว

[แก้]
รอยเลื่อนโนจิมะที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้

แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นหนึ่งในแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในญี่ปุ่น เกิดจากการแผ่นทะเลฟิลิปปินชนกับแผ่นยูเรเชีย แผ่นดินไหวประเภทนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งโดยเฉพาะในภูมิภาคทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นประเภทที่เรียกว่า "แผ่นดินไหวระดับตื้นในแผ่นดิน" หากเกิดในขนาดที่ต่ำก็สามารถสร้างความเสียหายได้เพราะเกิดขึ้นใกล้กับพื้นที่ที่มีประชากรสูงและเนื่องจากจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ตื้นแค่ 20 กม. แผ่นดินไหวเกิดขึ้นทางเหนือของเกาะอาวาจิ ซึ่งอยู่ทางใต้ของนครโคเบะ แรงสั่นกระจายไปทางตะวันตกเฉียงใต้ตามรอยเลื่อนโนจิมะ และไปทางตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งวิ่งผ่านใจกลางโคเบะ บริเวณที่ถูกแรงสั่นกระจายจากตะวันออกสู่ตะวันตก ซึ่งสอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกเช่นเดียวกับการเกิดแผ่นดินไหวอื่น ๆ ที่บันทึกไว้ในภาคตะวันตกของญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1891 และ ค.ศ. 1948 แผ่นดินไหวใน ค.ศ. 1995 มีกลไกการชนกันระหว่างแผ่นยูเรเชียกับแผ่นทะเลฟิลิปปิน

แผ่นดินไหวขนาด 7.3 เกิดขึ้นเมื่อเวลา 05:46 น. JST ในเช้าวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1995 แผ่นดินไหวกินเวลา 20 วินาที ทิศใต้ของรอยเลื่อนโนจิมะเคลื่อนตัวไปทางขวา 1.5 เมตร และจมลงไป 1.2 เมตร และเกิดแผ่นดินไหวนำ ขนาด 3.7 เวลา 18:28 น. ของวันก่อนหน้า

ความรุนแรงของแผ่นดินไหว

[แก้]

เป็นครั้งแรกที่แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นถูกวัดอย่างเป็นทางการที่ความรุนแรงระดับ 7 (ความรุนแรงที่วัดโดยเครื่องมือ 6.6) [6]ระดับของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น(JMA) ระดับความรุนแรงแผ่นดินไหว ระดับ 5 และ 6 แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ 5- 5+ และ 6- 6+ (ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1996) หลังแผ่นดินไหวมีการตรวจสอบทันทีโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น สรุปว่าแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ที่ความรุนแรงระดับ 7 ในพื้นที่ทางเหนือของเกาะอาวาจิ และในนครโคเบะ

ความรุนแรงของคลื่นแผ่นดินไหวที่สถานีวัดความรุนแรงแผ่นดินไหวของ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[11]
ความรุนแรง ที่ตั้ง
6 ซูโมโตะ
5 โทโยโอกะ, ฮิโกเนะ, เกียวโต
4 จังหวัดเฮียวโงะ, จังหวัดชิงะ, จังหวัดเกียวโต, จังหวัดฟูกูอิ, จังหวัดกิฟุ, จังหวัดมิเอะ, จังหวัดโอซากะ, จังหวัดวากายามะ, จังหวัดทตโตริ, จังหวัดโอกายามะ, จังหวัดฮิโรชิมะ, จังหวัดโทกูชิมะ, จังหวัดคางาวะ จังหวัดโคจิ และจังหวัดนาระ
ความรุนแรงของคลื่นแผ่นดินไหวจากการสำรวจภาคพื้นดิน[12]
ความรุนแรง จังหวัด ที่ตั้ง แผนที่
7 เฮียวโงะ โคเบะ (เขตฮิงาชินาดะ, เขตนาดะ, เขตชูโอ, เขตเฮียวโงะ, เขตนางาตะ, เขตซูมะ), นิชิโนมิยะ, อาชิยะ, ทาการาซูกะ, สึนะ, โฮกูดัง, อิจิโนมิยะ
พื้นที่ความรุนแรงแผ่นดินไหวระดับ 7 (震度7)
6 โอซากะ โอซากะ (เขตนิชิโยโดงาวะ), โทโยนากะ, อิเกดะ
เฮียวโงะ โคเบะ (เขตทารูมิ, เขตคิตะ, เขตนิชิ), อามางาซากิ, อากาชิ, อิตามิ, คาวานิชิ, อาวาจิ, ฮิงาชิอูระ, โกชิกิ

ความเสียหาย

[แก้]
ความเสียหายที่ย่านมินาโตะงาวะ โคเบะ

เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างและรุนแรง โครงสร้างอาคารได้รับความเสียหายที่ไม่สามารถแก้ไขได้เกือบ 400,000 แห่ง[3][13] เกิดไฟไหม้ประมาณ 300 แห่ง ไฟไหม้ได้ทำลายพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองและเกิดการขาด น้ำ ไฟฟ้า และก๊าซหุงต้มในพื้นที่ ประชาชนไม่สามารถกลับบ้านได้เนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวตามนานหลายวัน แผ่นดินไหวตามมีถึง 74 ครั้งที่รู้สึกได้ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เสียชีวิตในจังหวัดเฮียวโงะ

หนึ่งในห้าของอาคารในพื้นที่เสียหายอย่างรุนแรงจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ประมาณ 22% ของสำนักงานในย่านธุรกิจกลางเมืองโคเบะไม่สามารถใช้งานได้ และกว่าครึ่งหนึ่งของอาคารในพื้นที่นั้นถือว่าไม่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัย อาคารสูงที่สร้างขึ้นหลังจาก ค.ศ. 1981 ได้รับความเสียหายเล็กน้อย[14] ถึงกระนั้นก็ยังมีอาคารบางหลังที่พังทลายและได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงแม้ว่าจะไม่มากเท่ากับอาคารที่สร้างขึ้นก่อน ค.ศ. 1981 อาคารที่ไม่ได้สร้างขึ้นตามมาตรฐานได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงเพราะโครงสร้างที่อ่อนแอ บ้านแบบดั้งเดิมที่มีอายุมากส่วนใหญ่มีหลังคากระเบื้องหนักซึ่งมีน้ำหนักมากโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันพายุไต้ฝุ่นที่ผ่านโคเบะ แต่เมื่อเจอกับแผ่นดินไหวบ้านที่มีน้ำหนักมากก็เสียหายอย่างง่ายดาย บ้านที่ถูกสร้างใหม่มีผนังเสริมแรงและหลังคาที่เบากว่าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้แต่มีความอ่อนไหวต่อพายุไต้ฝุ่นมากขึ้น

ความเสียหายจากแผ่นดินไหว

ความเสียหายต่อทางหลวงและรถไฟใต้ดินเป็นภาพที่โด่งดังที่สุดของแผ่นดินไหว ภาพของทางด่วนฮันชิงที่ถล่มลงปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วโลก คนส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นเชื่อว่าโครงสร้างเหล่านั้นค่อนข้างปลอดภัยเนื่องจากมีคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ต่อมาก็แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างที่พังทลายส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นตามกฎหมายอาคารที่บังคับใช้ในช่วงทศวรรษที่ ค.ศ. 1960 ทางด่วนยกระดับ 3 แห่งเสียหายในโคเบะและนิชิโนมิยะ เส้นทางทั้งหมดปิดให้บริการจนถึงวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1996 สะพานสามแห่งบนเส้นทางที่ 2 ได้รับความเสียหาย ทางด่วนเมชิงถูกปิดจนถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 เพื่อเปิดทางให้รถกู้ภัย รถไฟส่วนใหญ่ในภูมิภาคได้รับความเสียหาย รถไฟโอซากะ–โคเบะเปิดใช้งานเพียง 30% ความรุนแรงจากแผ่นดินไหวทำให้สถานีรถไฟไดไคถล่มส่งผลให้ทางหลวงหมายเลข 28 ถล่มตามลงมาด้วยทำให้ทั้งสายต้องปิดตัวลง หลังจากแผ่นดินไหวการเดินทางโดยรถไฟสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วโดยสามารถใช้งานได้ถึง 80% ในหนึ่งเดือน แต่ยังคงมีการจำกัดความเร็วจนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1995

เกาะเทียมโดยเฉพาะร็อคโกะและเกาะพอร์ต ในโคเบะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงเนื่องจากแผ่นดินเหลว แต่เกาะเทียมที่เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติคันไซไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เนื่องจากอยู่ไกลจากศูนย์กลางของแผ่นดินไหว และสร้างขึ้นตามมาตรฐานล่าสุด และสะพานอากาชิไคเกียวซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างและอยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวมาก แต่กับไม่ได้รับความเสียหาย

ผู้เสียชีวิต

[แก้]

เมื่อตรวจสอบข้อมูลผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง มีผู้เสียชีวิตในอาคารกว่า 86.6% ในจำนวนนั้นมีผู้เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ จากการถูกทับ การบาดเจ็บที่ศีรษะหรืออวัยวะภายใน อันเนื่องมาจากอาคารถล่มหรือการพลิกคว่ำของฟอร์นิเจอร์ 83.3% และสาเหตุการเสียชีวิตรองลงมาคือ การเสียชีวิตจากการถูกไฟไหม้ 12.2% จากการสอบสวนเพิ่มเติมพบว่าการถล่มของบ้านเรือนทำให้ไฟลุกลามได้ง่ายขึ้น กล่าวคือผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่กว่า 98-99% เกิดจากการถล่มของอาคาร กล่าวอีกนัยหนึ่งคือแทบจะไม่เกิดความเสียหายต่อชีวิตเลยหากอาคารในตอนนั้นไม่พังทลายลงมา [15]

ลางสังหรณ์

[แก้]

จากการวิจัยในภายหลังรายงานว่ามีปรากฏการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นก่อนแผ่นดินไหว [16][17]

ความแปรปรวนของเปลือกโลกใกล้เคียง

[แก้]

จากการสำรวจของสถาบันวิจัยการป้องกันภัยพิบัติแห่งมหาวิทยาลัยเกียวโตและหน่วยงานอื่น ๆ พบว่าตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1994 ถึง 1995 พื้นที่กว้างในคันไซเกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ซึ่งเปลี่ยนจากการบีบอัดเป็นการขยายตัวอย่างกะทันหัน การเปลี่ยนแปลงความเครียดนี้เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก และการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วนี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวฮันชิง-อาวาจิขึ้น [18]

ช่วงว่างแผ่นดินไหว

[แก้]

นักวิจัยบางคนคาดการณ์ว่าจุดที่เกิดแผ่นดินไหวเป็นช่วงว่างแผ่นดินไหวระดับที่สาม หมายถึงบริเวณที่ไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวใกล้รอยเลื่อนที่มักเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลางและขนาดเล็กเป็นประจำ[19] การวิเคราะห์ข้อมูลในภายหลังพบว่าในช่วงท้ายปี 1992 เกิดปรากฏการณ์ช่วงว่างแผ่นดินไหวไปทั่วภูเขาโฮกูเซ็ตสึและภูเขาทันบะ [17]

ฝูงแผ่นดินไหวอินางาวะ

[แก้]

ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กที่รู้สึกได้เป็นระยะ ๆ ในบริเวณใกล้เคียงนครอินางาวะ จังหวัดเฮียวโงะ[20][17]

แผ่นดินไหวนำ

[แก้]

เมื่อเวลา 18:28 น. ของวันที่ 16 มกราคม เพียงหนึ่งวันก่อนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ได้เกิดแผ่นดินไหวนำขนาดเล็ก 3.3 เกิดใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มาก [21][22] คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นแผ่นดินไหวนำก่อนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในวันถัดมา แต่เป็นเรื่องยากที่จะทำนายการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่จากแผ่นดินไหวนำ

การตั้งชื่อ

[แก้]

นอกประเทศญี่ปุ่นมีการรู้จักแผ่นดินไหวในชื่อ "แผ่นดินไหวโคเบะ" แต่ในญี่ปุ่นเรียกแผ่นดินไหวครั้งนี้อย่างเป็นทางการว่า "แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง-อาวาจิ" (阪神・淡路大震災, Hanshin-Awaji Daishinsai) ฮันชิงหมายถึงภูมิภาคระหว่างโอซากะและโคเบะ ชื่อนี้ถูกเลือกโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นใน 1 สัปดาห์หลังจากแผ่นดินไหว

จิตอาสา

[แก้]

อาสาสมัครจากทั่วประเทศญี่ปุ่นมาบรรจบกันที่โคเบะเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหว ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 รัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 17 มกราคมเป็น "วันป้องกันและอาสาสมัครภัยพิบัติ" ของชาติ และสัปดาห์ระหว่างวันที่ 15 ถึง 21 มกราคม เป็น "สัปดาห์ป้องกันและอาสาสมัครภัยพิบัติ" เพื่อเป็นการบรรยาย การสัมมนา และกิจกรรมอื่นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเตรียมพร้อมและบรรเทาภัยพิบัติโดยสมัครใจ [23]

อนุสรณ์สถาน 1.17 ในโคเบะในเดือนมกราคม ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548)

อนุสรณ์

[แก้]

โคเบะ รูมินาริ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในวันครบรอบแผ่นดินไหว จัดขึ้นประมาณสองสัปดาห์ทุกเดือนธันวาคม มีการตกแต่งด้วยซุ้มประตูด้วยไฟหลากสีที่รัฐบาลอิตาลีบริจาค จากถนนาจากร้านไดมารุในโมโตมาจิไปยังสวนสาธารณะฮิงาชิยูเอ็นจิ ตัวเลข "1.17" ขนาดใหญ่จะส่องสว่างในช่วงต้นของวันที่ 17 มกราคมของทุกปี

ภาพและสื่อ

[แก้]

ดูภาพแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงทั้งหมดที่: ภาพแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงที่คอมมอนส์

เชิงอรรถ

[แก้]
ก. ^ ชื่อ ฮันชิง (ญี่ปุ่น: 阪神โรมาจิHanshin) มาจากอักษรคันจิตัวหลังของชื่อนครโอซากะ (大阪) และอักษรตัวหน้าของชื่อนครโคเบะ (神戸) ซึ่งเป็นชื่อของทางด่วนฮันชิง ที่เชื่อมระหว่างโคเบะกับโอซากะ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ISC (2015), ISC-GEM Global Instrumental Earthquake Catalogue (1900–2009), Version 2.0, International Seismological Centre
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 USGS (September 4, 2009), PAGER-CAT Earthquake Catalog, Version 2008_06.1, United States Geological Survey, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-13
  3. 3.0 3.1 Comfort, Louise (1995). Self Organization in Disaster Response: The Great Hanshin Earthquake of January 17, 1995 (PDF). p. 12.
  4. National Geophysical Data Center / World Data Service (NGDC/WDS) (1972). "Significant Earthquake Database". NOAA (Data Set). National Geophysical Data Center, NOAA. doi:10.7289/V5TD9V7K.
  5. International Seismological Centre. On-line Bulletin. Thatcham, United Kingdom. [Event 124708].
  6. 6.0 6.1 "震度7より大きい震度8や震度10が存在しないのはなぜか。". 地球科学ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). 10 November 2022. สืบค้นเมื่อ 6 May 2023.
  7. "阪神大震災から25年 : 大都市直下型地震の衝撃". nippon.com (ภาษาญี่ปุ่น). 15 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 August 2022.
  8. The City of Kobe (2009-01-01). "STATISTICS" (PDF). The Great Hanshin-Awaji Earthquake: Statistics and Restoration Progress. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-26. สืบค้นเมื่อ 2009-11-29.
  9. Kobe City FIRE Bureau (2006-01-17). "被害の状況". 阪神・淡路大震災. On the Site in Japanese of Kobe City FIRE Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-14. สืบค้นเมื่อ 2008-05-25.
  10. Gazetas, George; Anastasopoulos, Ioannis; Gerolymos, Nikos; Mylonakis, George; Syngros, Costis (2006). Rackwitz, Frank (บ.ก.). "The Collapse of the Hanshin Expressway (Fukae) Bridge, Kobe 1995: Soil-Foundation-Structure Interaction, Reconstruction, Seismic Isolation". Entwicklungen in der Bodenmechanik, Bodendynamik und Geotechnik (ภาษาอังกฤษ). Berlin, Heidelberg: Springer: 93–120. doi:10.1007/3-540-27438-3_7. ISBN 978-3-540-27438-4.
  11. "震度データベース検索". www.data.jma.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
  12. 気象庁(1997): 第2章 現地調査, 気象庁技術報告, 第119号
  13. Anshel J. Schiff, บ.ก. (1999). Hyogoken-Nanbu (Kobe) Earthquake of January 17, 1995: Lifeline Performance. Reston, VA: ASCE, TCLEE. ISBN 9780784404089. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 18, 2013. สืบค้นเมื่อ July 27, 2012.
  14. "Introduction to the Building Standard Law" (PDF). July 2013.
  15. "【三匹の子ぶた vol.09】〜多くのマスコミも誤解した阪神淡路大震災の被害の事実〜". 耐震構法SE構法のエヌ・シー・エヌ | 木造注文住宅なら耐震構法SE構法のエヌ・シー・エヌ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 28 August 2022.
  16. 1995年兵庫県南部地震の予測可能性:地震活動からみた予測性(京大防)PDF
  17. 17.0 17.1 17.2 片尾浩 (2015年1月). "兵庫県南部地震を振り返って〜観測の現場から〜" (PDF). 「なゐふる」. 日本地震学会. 100: 2-3. สืบค้นเมื่อ 2020-12-5. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  18. 1995年兵庫県南部地震に先行した広域地殻歪について 京都大学防災研究所 年報49号 2006PDF
  19. 石川有三 1995 地震活動空白域の定義、月刊地球 号,p71-80
  20. 兵庫県猪名川町の群発地震について(京大防)PDF 地震予知連絡会 会報第53巻, NAID 20000167003
  21. 阪神.淡路大震災を体験して、今後の地震についての考察 เก็บถาวร 2021-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน アマチュア無線運用とHAMボランティアの活動 : 阪神・淡路大震災 : 実状記録と反省そして更なる無線運用の構築に向けて 1995阪神・淡路大震災で活動したアマチュア無線家有志
  22. 兵庫県南部地震の前震に現れた初期フェイズの普遍性PDF 地球惑星科学関連学会 2002年合同大会
  23. "'Disaster Prevention and Volunteerism Day' and 'Disaster Prevention and Volunteerism Week'" (ภาษาญี่ปุ่น). Cabinet Office, Government of Japan. December 15, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-05-02.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Kitamura, R.; Yamamoto, T.; Fujii, S. (1998). "Impacts of the Hanshin-Awaji Earthquake on Traffic and Travel – Where Did All the Traffic Go?". ใน Cairns, S.; Hass-Klau, C.; Goodwin, P. (บ.ก.). Traffic Impact of Highway Capacity Reductions: Assessment of the Evidence. London: Landor Publishing. pp. 239–261.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]