แจ็ก ชาร์ลตัน
ข้อมูลส่วนตัว | ||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | จอห์น ชาร์ลตัน[1] | |||||||||||||||||||
วันเกิด | 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1935[1] | |||||||||||||||||||
สถานที่เกิด | แอชิงตัน นอร์ทัมเบอร์แลนด์ อังกฤษ | |||||||||||||||||||
วันเสียชีวิต | 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 | (85 ปี)|||||||||||||||||||
สถานที่เสียชีวิต | แอชิงตัน นอร์ทัมเบอร์แลนด์ อังกฤษ[2] | |||||||||||||||||||
ส่วนสูง | 6 ft 1 1⁄2 in (1.87 m)[3] | |||||||||||||||||||
ตำแหน่ง | เซ็นเตอร์แบ็ก | |||||||||||||||||||
สโมสรเยาวชน | ||||||||||||||||||||
1950–1952 | ลีดส์ยูไนเต็ด | |||||||||||||||||||
สโมสรอาชีพ* | ||||||||||||||||||||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) | |||||||||||||||||
1952–1973 | ลีดส์ยูไนเต็ด | 629 | (70) | |||||||||||||||||
ทีมชาติ | ||||||||||||||||||||
1965–1970 | อังกฤษ | 35 | (6) | |||||||||||||||||
จัดการทีม | ||||||||||||||||||||
1973–1977 | มิดเดิลส์เบรอ | |||||||||||||||||||
1977–1983 | เชฟฟีลด์เวนส์เดย์ | |||||||||||||||||||
1984 | มิดเดิลส์เบรอ (รักษาการ) | |||||||||||||||||||
1984–1985 | นิวคาสเซิลยูไนเต็ด | |||||||||||||||||||
1986–1996 | สาธารณรัฐไอร์แลนด์ | |||||||||||||||||||
เกียรติประวัติ
| ||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
จอห์น ชาร์ลตัน (อังกฤษ: John Charlton; 8 พฤษภาคม 1935 – 10 กรกฎาคม 2020) เป็นอดีตนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมชาวอังกฤษซึ่งเล่นในตำแหน่งกองหลัง เขาเป็นส่วนหนึ่งของทีมชาติอังกฤษที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 1966 และคุมทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ตั้งแต่ปี 1986 ถึง 1996 โดยได้เข้าร่วมฟุตบอลโลก 2 สมัยและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1 สมัย เขาใช้เวลาทั้งอาชีพกับลีดส์ยูไนเต็ดเพียงสโมสรเดียวตั้งแต่ปี 1950 จนถึงการแขวนสตั๊ดในปี 1973 เขาช่วยให้สโมสรคว้าแชมป์ดิวิชัน 2 (1963–1964), ดิวิชัน 1 (1968–1969), เอฟเอคัพ (1969), ลีกคัพ (1968), แชริตีชีลด์ (1969), อินเตอร์-ซิตีส์แฟส์คัพ (1968 และ 1971) 629 นัดของเขาในลีกจากการลงเล่นทั้งหมด 762 นัดถือเป็นสถิติของสโมสรจนถึงทุกวันนี้ เขาเป็นพี่ชายของเซอร์ บ็อบบี ชาร์ลตัน อดีตกองหน้าระดับตำนานของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นหนึ่งในเพื่อนร่วมทีมของเขาในชัยชนะนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกของอังกฤษเหนือทีมชาติเยอรมนีตะวันตกเมื่อปี 1966 ในปี 2006 กองเชียร์ของลีดส์ยูไนเต็ดโหวตให้ชาร์ลตันเป็น 1 ใน 11 ผู้เล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสโมสร[4]
เขาถูกเรียกตัวติดทีมชาติอังกฤษก่อนวันเกิดปีที่ 30 ของเขา ชาร์ลตันยิงได้ 6 ประตูจาก 35 นัดในระดับนานาชาติ และปรากฏตัวในฟุตบอลโลก 2 สมัย (1966 และ 1970) และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1 สมัย (1968) เขาเล่นในชัยชนะนัดชิงฟุตบอลโลกเหนือเยอรมนีตะวันตก 4–2 เมื่อปี 1966 และยังช่วยให้อังกฤษจบอันดับ 3 ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1968 และคว้าแชมป์บริติชโฮมแชมเปียนชิป 4 สมัย เขาได้รับเลือกให้เป็นนักฟุตบอลแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวฟุตบอล ในปี 1967
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ชาร์ลตันแต่งงานกับแพ็ต เคมป์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1958 และบ็อบบีน้องชายของเขาทำหน้าที่เป็นเพื่อนเจ้าบ่าวให้กับเขา พวกเขามีลูก 3 คน: จอห์น (เกิดในเดือนมกราคม 1959), เดโบราห์ (เกิด 1961) และปีเตอร์ ซึ่งเกิดหลังจากชาร์ลตันซีเนียร์เล่นในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 1966 ในช่วงทศวรรษที่ 1960 เขามีร้านขายเสื้อผ้า 2 แห่งในเมืองลีดส์ และต่อมาเขายังเปิดร้านค้าของสโมสรที่สนามเอลแลนด์โรด อีกด้วย[5] ชาร์ลตันเป็นชาวประมงสมัครเล่นและมีส่วนร่วมในกีฬาล่าสัตว์[6]
เสียชีวิต
[แก้]ชาร์ลตันเสียชีวิตที่บ้านของเขาในแอชิงตัน นอร์ธัมเบอร์แลนด์ บ้านเกิดของเขาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2020 ขณะอายุ 85 ปีหลังจากป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและภาวะสมองเสื่อม[2][7] ในวันรุ่งขึ้นลีดส์ยูไนเต็ดสโมสรเก่าของเขาชนะ 1–0 เหนือ สวอนซีซิตี้ โดยเป็นผู้ชนะในนาทีสุดท้าย ปาโบล เอร์นันเดซ โดมิงเกซ ผู้ทำประตูชัยอุทิศประตูของเขาให้กับชาร์ลตัน[8]
ชาร์ลตันกลายเป็นผู้เล่นคนที่ 12 จากทีมแชมป์ฟุตบอลโลกปี 1966 ที่เสียชีวิต ต่อจากเซอร์บ็อบบี มัวร์ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง (1993), อลัน บอลล์ที่เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย (2007), จอห์น คอนเนลลี (2012), รอน สปริงเก็ตต์ (2015), เจอร์รี่ เบิร์น ที่เสียชีวิตด้วยโรคอัลไซเมอร์ (2015), จิมมี่ อาร์มฟิลด์ ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (2018), เรย์ วิลสัน ที่เสียชีวิตด้วยโรคอัลไซเมอร์ (2018), กอร์ดอน แบงก์ส ผู้รักษาประตูมือหนึ่งที่เสียชีวิตขณะหลับ (2019), มาร์ติน ปีเตอร์ส ที่เสียชีวิตจากโรคอัลไซเมอร์ (2019), ปีเตอร์ โบเน็ตติ ผู้รักษาประตูมือสอง (2020), นอร์แมน ฮันเตอร์ ที่เสียชีวิตจากโควิด-19 (2020) เซอร์บ็อบบี ชาร์ลตัน น้องชายของเขา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทีมชุดคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกปี 1966 เสียชีวิตจากภาวะสมองเสื่อมในปี 2023 ทำให้เซอร์เจฟฟ์ เฮิร์สต์, เทอร์รี เพน, เอียน คัลลาแกน และจอร์จ อีสต์แฮม กลายเป็นสมาชิก 4 คนของทีมชุดนี้ที่ยังมีชีวิตอยู่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "แจ็ก ชาร์ลตัน". Barry Hugman's Footballers. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2017.
- ↑ 2.0 2.1 Mee, Emily (11 July 2020). "England 1966 World Cup hero Jack Charlton dies at 85". Sky News. สืบค้นเมื่อ 11 July 2020.
- ↑ "England Players – Jack Charlton". www.englandfootballonline.com. สืบค้นเมื่อ 2 July 2020.
- ↑ "Greatest Leeds XI – Leeds United FC – LeedsUtdMAD". Leedsunited-mad.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2011. สืบค้นเมื่อ 7 May 2011.
- ↑ Charlton 1996, p. 10
- ↑ He also hosted a television show on the shooting sports in the early 1980s titled “Jack’s Game”. Charlton 1996, p. 187
- ↑ "Jack Charlton: 1966 England World Cup winner dies aged 85". BBC Sport. 11 July 2020. สืบค้นเมื่อ 11 July 2020.
- ↑ Harrison, Jo (2020-07-13). "Pablo Hernandez explains crazy celebration, pays tribute to Jack Charlton". TEAMtalk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-10.
แหล่งข้อมูล
[แก้]- McKinstry, Leo (2007), Jack and Bobby: A Story of Brothers in Conflict, HarperCollins, ISBN 978-0007118779
- Charlton, Jack; Byrne, Peter (1996), The Autobiography, Partridge Press, ISBN 1-85225-256-1
- Soar, Phil; Tyler, Martin (1974), Book of Football's All-Time Greats, Marshall Cavendish, ISBN 0-85685-055-1