เอโบ โมราเลส
เอโบ โมราเลส | |
---|---|
ประธานาธิบดีโบลิเวีย คนที่ 80 | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มกราคม ค.ศ. 2006 – 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 | |
รองประธานาธิบดี | อัลบาโร การ์ซิอา ลิเนรา |
ก่อนหน้า | เอดัวร์โด โรดริเกซ |
ถัดไป | ยานิเน อัญเญซ (รักษาการ/เป็นที่ขัดแย้ง) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | โอริโนกา แคว้นโอรูโร ประเทศโบลิเวีย | 26 ตุลาคม ค.ศ. 1959
เชื้อชาติ | โบลิเวีย |
ศาสนา | โรมันคาทอลิก[1] / ประเพณีอินคา[2] |
พรรคการเมือง | MAS |
อาชีพ | ผู้นำสหภาพแรงงาน |
ฆวน เอโบ โมราเลส ไอมา (สเปน: Juan Evo Morales Ayma) เป็นอดีตประธานาธิบดีของประเทศโบลิเวีย เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ของโบลิเวียที่ผู้นำประเทศเป็นชนพื้นเมืองหรืออินเดียนแดง โมราเลสเข้ารับตำแหน่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 จากการเลือกตั้งของโบลิเวีย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2005 ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 53.7 ในระหว่าง 2 ปีครึ่งหลังดำรงตำแหน่ง เขาได้รับความนิยมสูงมากถึง 2 ใน 3 และได้รับเลือกต่ออีกสมัยในปี ค.ศ. 2009 ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 63 โมราเลสเป็นนักการเมืองซ้ายจัดเน้นนโยบายสังคมนิยม ได้แก่ การปฏิรูปที่ดิน แปรรูปองค์กรอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้เป็นของรัฐ ต่อต้านทุนนิยมเสรีและสหรัฐอเมริกา
ประวัติ
[แก้]เอโบ โมราเลส เป็นชาวเมสติโซ เกิดวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1959 มีเชื้อสายอินเดียนแดงชาวไอมารา เกิดในชนชั้นกรรมกร ทำงานเป็นแรงงานหลากหลาย ตั้งแต่การเป็นคนเลี้ยงฝูงยามา (llama), รับจ้างเป่าทรัมเป็ต, วิ่งมาราธอนล่าเงินรางวัล, รับจ้างก่อกำแพงด้วยอิฐ, เป็นผู้ฝึกทีมฟุตบอล และเป็นเกษตรกรปลูกโคคา เขาสำเร็จการศึกษาแค่ระดับมัธยมศึกษาภายในประเทศ
การทำงาน
[แก้]ราวปี ค.ศ. 1985 โมราเลสได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการสหภาพเกษตรกรโคคาโบลิเวีย โดยปัจจุบันยังอยู่ตำแหน่งนี้ เขากลายเป็นผู้นำขบวนการเกษตรกรต่อต้านสหรัฐอเมริกาและรัฐบาล เมื่อไร่โคคาของเขาถูกทหารทำลายล้างภายใต้การหนุนหลังจากสหรัฐอเมริกาที่ต้องการปราบปรามการผลิตโคเคน ทั้ง ๆ ในโบลิเวียยุคนั้น ที่โคคาเป็นพืชเศรษฐกิจที่ใช้เคี้ยวและใช้ชงชาดื่มกันทั่วไป ตั้งแต่นั้นมาเขาผันตัวเองมาเล่นการเมืองเต็มตัว[3]
การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
[แก้]เริ่มดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 หลังจากนั้นไม่กี่เดือน เขาเดินหน้ายึดกิจการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของต่างชาติในโบลิเวียกลับคืนมาเป็นของชาติ สร้างความตกตะลึงให้แก่บรรดานายทุน-บรรษัทข้ามชาติน้ำมัน ที่กำลังจะสูญเสียผลประโยชน์ขนานใหญ่จากกิจการน้ำมันในโบลิเวีย รวมไปถึงประเทศเสรีนิยมทั่วโลกที่มุ่งเดินหน้าแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หรือโอนกิจการของชาติให้ไปอยู่ในตลาดทุนที่เสรีมากขึ้น
เอโบ โมราเลส กล่าวถึงเหตุผลเบื้องหลังความยากจนของประชาชนในประเทศของตนว่า "เป็นผลมาจากการเอารัดเอาเปรียบ การฉกฉวยผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่โบลิเวียมีอยู่ใต้ผืนมาตุภูมิของตนเองไปแบบหน้าตาเฉย ของบรรดาบริษัทต่างชาติตะวันตกที่เข้ามาในประเทศ" โมราเลสเรียกพฤติกรรมดังกล่าวว่าเป็น "การปล้นสะดม" จากประชาชนโบลิเวีย เขาจึงแก้ปัญหาที่ว่านี้ ด้วยการส่งกำลังทหารเข้าไปยึดที่ทำการของบริษัท โรงกลั่นและโรงแปรรูป และหลุมขุดเจาะน้ำมันรวมทั้งสิ้น 56 จุดทั่วประเทศเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 มาเป็นทรัพย์สินของรัฐ และประชาชนโบลิเวีย
ในขณะเดียวกันก็ได้ให้เวลาบรรดาบริษัทต่างชาติทั้งหลาย 180 วัน เพื่อเปิดการเจรจาและทำสัญญาใหม่โดยที่บริษัททั้งหมดต้องถือหลักที่ว่าด้วย "การเคารพในเกียรติภูมิของชาวโบลิเวีย" โดยการให้ผลตอบแทนจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่อประชาชนเจ้าของประเทศอย่างเหมาะสม[4]
โมลาเรสเน้นสร้างความเป็นปึกแผ่นในกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ ที่เตรียมต่อกรกับทุนนิยมเสรี ระหว่างการครองตำแหน่งประธานาธิบดี โมราเลสเน้นสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับผู้นำซ้ายจัดของละตินอเมริกาอย่างอูโก ชาเบซ ของเวเนซุเอลา และฟีเดลกับราอุล กัสโตร แห่งคิวบา ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับโบลิเวียตึงเครียดขึ้นสมัยรัฐบาลของโมราเลส ทั้งสองฝ่ายต่างถอนทูตของกันและกันกลับประเทศ[5] เมื่อโมราเลสสั่งห้ามการปฏิบัติงานของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกาในโบลิเวีย
ในสมัยที่สองของตำแหน่งประธานาธิบดี เขามีนโยบายเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ และในปี ค.ศ. 2010 โมราเลสได้แปรรูปบริษัทพลังงานต่างชาติให้เป็นของรัฐ ทำการปฏิรูประบบบำนาญโดยการเข้ายึดกองทุนส่วนบุคคลเพื่อนำมาจ่ายให้คนยากจน โมราเลสได้พยายามยกเลิกกองทุนน้ำมัน เป็นผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นมากกว่า 70% จนเป็นเหตุให้มีการนัดหยุดงานในภาคการค้า และการชุมนุมประท้วง นับเป็นการเผชิญปัญหาทางการเมืองเป็นครั้งแรก[6]
มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อเขาเกี่ยวกับยาเสพติดมากมาย โมราเลสให้เหตุผลว่า การปลูกโคคาเป็นวัฒนธรรมในสายเลือดของชาวพื้นเมืองแอนดีส ไม่ใช่เพื่อนำไปผลิตโคเคน
อ้างอิง
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- Assies, William (2011). "Bolivia's New Constitution and its Implications". Evo Morales and the Movimiento Al Socialismo in Bolivia: The First Term in Context, 2005–2009. Adrian J. Pearce (ed.). London, UK: Institute for the Study of the Americas. pp. 93–116. ISBN 978-1-900039-99-4.
- Blackwell, Benjamin (11 November 2002). "From Coca To Congress". The Ecologist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
- Carroll, Rory (7 December 2009). "Evo Morales wins landslide victory in Bolivian presidential elections". The Guardian. London, UK.
- Crabtree, John; Chaplin, Ann (2013). Bolivia: Processes of Change. London and New York: Zed Books. ISBN 978-1-78032-377-0.
- Dunkerley, James (2007). "Evo Morales, the 'Two Bolivias' and the Third Bolivian Revolution". Journal of Latin American Studies. 39: 133–66. doi:10.1017/s0022216x06002069. S2CID 145426775.
- Farthing, Linda C.; Kohl, Benjamin H. (2014). Evo's Bolivia: Continuity and Change. Austin: University of Texas Press. ISBN 978-0292758681.
- Friedman-Rudovsky, Jean (7 December 2009). "Morales' Big Win: Voters Ratify His Remaking of Bolivia". Time. New York City. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2009.
- Gutsch, Jochen-Martin (5 February 2006). "Indian, Coca Farmer, Bolivian President". Der Spiegel. Germany: SPIEGEL-Verlag.
- Harten, Sven (2011). The Rise of Evo Morales and the MAS. London and New York: Zed Books. ISBN 978-1-84813-523-9.
- Kozloff, Nicholas (2008). Revolution!: South America and the Rise of the New Left. New York: Palgrave Macmillan. ISBN 978-0-230-61754-4.
- Lerager, James (2006). "Report on Bolivia's Elections". Latin American Perspectives. 33 (2): 141–44. doi:10.1177/0094582X06286848. S2CID 220733361.
- Lovell, Joseph E. (21 March 2011). "Nobel Committee asked to strip Obama of Peace Prize". Digital Journal. Digital Journal, Inc.
- Muñoz-Pogossian, Betilde (2008). Electoral Rules and the Transformation of Bolivian Politics: The Rise of Evo Morales. New York: Palgrave Macmillan. ISBN 978-0-230-60819-1.
- Pearce, Adrian J. (2011). "Introduction". Evo Morales and the Movimiento Al Socialismo in Bolivia: The First Term in Context, 2005–2009. Adrian J. Pearce (ed.). London, UK: Institute for the Study of the Americas. pp. xv–xxv. ISBN 978-1-900039-99-4.
- Petras, James (9–15 June 2007). "Evo Morales' Pursuit of 'Normal Capitalism'". Economic and Political Weekly. 42 (23): 2155–58.* Philip, George; Panizza, Francisco (2011). The Triumph of Politics: The Return of the Left in Venezuela, Bolivia and Ecuador. Cambridge: Polity Press. ISBN 978-0745647494.
- Rochlin, James (2007). "Latin America's Left Turn and the New Strategic Landscape: The Case of Bolivia". Third World Quarterly. 28 (7): 1327–42. doi:10.1080/01436590701591838. S2CID 154831650.
- Sivak, Martín (2010). Evo Morales: The Extraordinary Rise of the First Indigenous President of Bolivia. New York: Palgrave MacMillan. ISBN 978-0-230-62305-7.
- Sivak, Martín (2011). "The Bolivianisation of Washington-La Paz Relations: Evo Morales' Foreign Policy Agenda in Historical Context". Evo Morales and the Movimiento Al Socialismo in Bolivia: The First Term in Context, 2005–2009. Adrian J. Pearce (ed.). London, UK: Institute for the Study of the Americas. pp. 143–74. ISBN 978-1-900039-99-4.
- Webber, Jeffrey R. (2011). From Rebellion to Reform in Bolivia: Class Struggle, Indigenous Liberation, and the Politics of Evo Morales. Haymarket Books. ISBN 978-1608461066.
- "The explosive apex of Evo's power". The Economist. 10 December 2009.
- "Bolivia tells US envoy to leave". London, UK: BBC News. 11 September 2008.
- "Chavez acts over US-Bolivia row". London, UK: BBC News. 12 September 2008.
- "Bolivia and US 'to restore diplomatic relations'". London, UK: BBC News. 8 November 2011.
- "Bolivia's Morales insists no return for US drug agency". London, UK: BBC News. 9 November 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Ministry of the Presidency (สเปน) Official website
- Evo Morales profile at BBC News
- แม่แบบ:NYT topic