เอลีอูด คิปโชเก
คิปโชเกในเบอร์ลินมาราธอน 2015 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เกิด | Kapsisiywa, มณฑลนันดี, เคนยา | 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนสูง | 167 เซนติเมตร (5 ฟุต 6 นิ้ว)[1] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
น้ำหนัก | 52 กก.[1] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กีฬา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเทศ | เคนยา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กีฬา | กรีฑา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเภท | มาราธอน, 5000 m | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ฝึกสอน | แพทริก แซง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายการที่ประสบความสำเร็จ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รอบชิงชนะเลิศ โอลิมปิก | 2004 เอเธนส์ 5000 m, ทองแดง 2008 ปักกิ่ง 5000 m, เงิน 2016 รีโอเดจาเนโร มาราธอน, ทอง 2020 โตเกียว มาราธอน, ทอง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รอบชิงชนะเลิศ ระดับโลก | 2003 ปารีส 5000 m, ทอง 2005 เฮลซิงกิ 5000 m, 4th 2007 โอซากะ 5000 m, เงิน 2009 เบอร์ลิน 5000 m, 5th 2011 แทกู 5000 m, 7th | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถิติที่ดีที่สุด | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
|
เอลีอูด คิปโชเก (อังกฤษ: Eliud Kipchoge, เกิด 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984) เป็นนักวิ่งทางไกลอาชีพชาวเคนยาที่แข่งขันมาราธอน และเดิมแข่งขันระยะ 5000 เมตร คิปโชเกเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันมาราธอนในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 และ 2020 นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของสถิติโลกของการวิ่งมาราธอนในรายการเบอร์ลินมาราธอน 2022 ด้วยเวลา 2:01:09 ชั่วโมง[2] ซึ่งเร็วกว่าสถิติเดิมของตนเอง 30 วินาที[3] จนกระทั่งเคลวิน คิปทุม นักวิ่งทางไกลอาชีพชาวเคนยาทำลายสถิติของเขาด้วยเวลา 2:00:35 ชั่วโมงในรายการชิคาโกมาราธอน 2023[4] คิปโชเกได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักวิ่งมาราธอนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด[5]
คิปโชเกชนะการแข่งขันชิงแชมป์โลกครั้งแรกในปี 2003 ในรายการเวิลด์แอตเลติกส์ครอสคันทรีแชมเปียนชิปส์รุ่นเยาวชน และทำสถิติโลกรุ่นเยาวชนในระยะ 5000 เมตร ขณะอายุได้ 18 ปี คิปโชเกชนะการแข่งขันระยะ 5000 เมตรในกรีฑาชิงแชมป์โลก 2003 พร้อมทั้งทำสถิติโลก ตามด้วยได้รับเหรียญทองแดงโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 และเวิลด์แอตเลติกส์อินดอร์แชมเปียนชิปส์ 2006 หลังจากนั้นคิปโชเกได้รับเหรียญเงินกรีฑาชิงแชมป์โลก 2007, โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 และกีฬาเครือจักรภพ 2010
คิปโชเกเปลี่ยนมาวิ่งถนนในปี 2012 และเปิดตัวด้วยการวิ่งฮาล์ฟมาราธอนเร็วที่สุดเป็นอันดับที่สองด้วยเวลา 59:25 นาที คิปโชเกวิ่งมาราธอนรายการแรกที่ฮัมบวร์คมาราธอน 2013 ด้วยเวลา 2:05:30 ชั่วโมง[6] คิปโชเกชนะการแข่งขันระดับเวิลด์มาราธอนเมเจอร์ครั้งแรกที่ชิคาโกมาราธอน 2014 และเป็นผู้ชนะเวิลด์มาราธอนเมเจอร์ของปี 2016, 2017, 2018 และ 2019 คิปโชเกพ่ายแพ้ในการแข่งมาราธอนสี่ครั้ง ได้แก่ เบอร์ลินมาราธอน 2013 (อันดับที่สอง) ลอนดอนมาราธอน 2020 (อันดับที่แปด) บอสตันมาราธอน 2023 (อันดับที่หก) และโตเกียวมาราธอน 2024 (อันดับที่สิบ)[7][8][9][10][11]
วันที่ 12 ตุลาคม 2019 คิปโชเกวิ่งระยะมาราธอนในงาน Ineos 1:59 Challenge โดยทำเวลาได้ 1:59:40 ชั่วโมง ทำให้คิปโชเกกลายเป็น "นักวิ่งมาราธอนประเภทชายที่เร็วที่สุด" และเป็นคนแรกที่ "วิ่งมาราธอนได้ต่ำกว่าสองชั่วโมง" ตามบันทึกสถิติโลกกินเนสส์[12][13] อย่างไรก็ตามกรีฑาโลกไม่นับเป็นสถิติมาราธอนใหม่เนื่องจากการควบคุมความเร็วและการให้น้ำไม่เป็นไปตามมาตรฐานแข่งขัน และไม่ใช่งานแบบเปิด[14][15][16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Eliud KIPCHOGE". olympicchannel.com. Olympic Channel Services. สืบค้นเมื่อ 7 August 2020.
- ↑ "Kenya's Kipchoge shatters marathon world record in Berlin". Reuters. 25 September 2022. สืบค้นเมื่อ 25 September 2022.
- ↑ "Eliud Kipchoge takes 30 seconds off his men's marathon world record in Berlin". The Guardian. 25 September 2022. สืบค้นเมื่อ 25 September 2022.
- ↑ "Kiptum smashes world marathon record with 2:00:35, Hassan runs 2:13:44 in Chicago | REPORT | World Athletics". worldathletics.org. สืบค้นเมื่อ 2023-10-08.
- ↑ Mohammed, Omar (August 8, 2021). "Athletics-Kenya's Kipchoge cements legacy as greatest marathon runner". Reuters. สืบค้นเมื่อ December 11, 2021.
- ↑ Minshull, Phil (April 21, 2013). "Kipchoge makes marvellous Marathon debut with 2:05:30 course record in Hamburg". World Athletics. สืบค้นเมื่อ December 11, 2021.
- ↑ "News". leichtathletik.de (ภาษาเยอรมัน). 28 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-28. สืบค้นเมื่อ 28 April 2019.
- ↑ "Berlin marathon: Wilson Kipsang sets new world record". BBC Sport. 29 September 2013. สืบค้นเมื่อ 1 October 2018.
- ↑ Snider-McGrath, Ben (4 October 2020). "Shura Kitata wins London Marathon in sprint finish, Kipchoge 8th". Canadian Running Magazine.
- ↑ Jones, Michael (April 17, 2023). "Boston Marathon 2023 LIVE: Updates and result as Eliud Kipchoge beaten after bombing remembered 10 years on". The Independent. สืบค้นเมื่อ April 17, 2023.
- ↑ Kahler, Theo (March 4, 2024). "Eliud Kipchoge Finishes 10th at the Tokyo Marathon". Runner's World. สืบค้นเมื่อ March 2, 2024.
- ↑ "First marathon distance run under two hours". Guinness World Records (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-10-15.
- ↑ "Fastest marathon distance (male)". Guinness World Records (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-10-15.
- ↑ Dalek, Brian; Sgobba, Christa (12 October 2019). "History Made: Kipchoge Runs Under 2 Hours at INEOS 1:59 Challenge". Runner's World. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ Hawkins, Derek (12 October 2019). "Kenya's Eliud Kipchoge just became the first marathon runner to break the 2-hour barrier". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "Eliud Kipchoge: The man, the methods & controversies behind 'moon-landing moment'". 19 November 2019 – โดยทาง www.bbc.co.uk.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เอลีอูด คิปโชเก ที่เว็บไซต์กีฬาโอลิมปิก
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เอลีอูด คิปโชเก
- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ เอลีอูด คิปโชเก