เอลีอูด คิปโชเก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอลีอูด คิปโชเก
คิปโชเกในเบอร์ลินมาราธอน 2015
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1984-11-05) 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984 (39 ปี)
Kapsisiywa, มณฑลนันดี, เคนยา
ส่วนสูง167 เซนติเมตร (5 ฟุต 6 นิ้ว)[1]
น้ำหนัก52 กก.[1]
กีฬา
ประเทศเคนยา
กีฬากรีฑา
ประเภทมาราธอน, 5000 m
ผู้ฝึกสอนแพทริก แซง
รอบชิงชนะเลิศ
ระดับโลก
2003 ปารีส
5000 m,  ทอง
2005 เฮลซิงกิ
5000 m, 4th
2007 โอซากะ
5000 m,  เงิน
2009 เบอร์ลิน
5000 m, 5th
2011 แทกู
5000 m, 7th
รอบชิงชนะเลิศ
โอลิมปิก
2004 เอเธนส์
5000 m,  ทองแดง
2008 ปักกิ่ง
5000 m,  เงิน
2016 รีโอเดจาเนโร
มาราธอน,  ทอง
2020 โตเกียว
มาราธอน,  ทอง
สถิติที่ดีที่สุด
รายการเหรียญรางวัล
รายการ 1 2 3
กีฬาโอลิมปิก 2 1 1
กรีฑาชิงแชมป์โลก 1 1 0
เวิลด์ครอสคันทรีแชมเปียนชิปส์ 1 0 0
เวิลด์อินดอร์แชมเปียนชิปส์ 0 0 1
กีฬาเครือจักรภพ 0 1 0
เวิลด์มาราธอนเมเจอร์ 10 1 0
รวม 14 4 2
กีฬาโอลิมปิก
เหรียญทอง - ชนะเลิศ โตเกียว 2020 มาราธอน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ รีโอเดจาเนโร 2016 มาราธอน
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 5000 m
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 เอเธนส์ 2004 5000 m
กรีฑาชิงแชมป์โลก
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปารีส 2003 5000 m
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ โอซากะ 2007 5000 m
เวิลด์ครอสคันทรีแชมเปียนชิปส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ โลซาน 2003 รุ่นเยาวชน
เวิลด์อินดอร์แชมเปียนชิปส์
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 มอสโก 2006 3000 m
กีฬาเครือจักรภพ
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ เดลี 2010 5000 m
เวิลด์มาราธอนเมเจอร์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เบอร์ลิน 2023 มาราธอน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เบอร์ลิน 2022 มาราธอน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ โตเกียว 2021 มาราธอน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ลอนดอน 2019 มาราธอน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เบอร์ลิน 2018 มาราธอน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ลอนดอน 2018 มาราธอน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เบอร์ลิน 2017 มาราธอน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ลอนดอน 2016 มาราธอน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ลอนดอน 2015 มาราธอน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เบอร์ลิน 2015 มาราธอน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ชิคาโก 2014 มาราธอน
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ เบอร์ลิน 2013 มาราธอน

เอลีอูด คิปโชเก (อังกฤษ: Eliud Kipchoge, เกิด 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984) เป็นนักวิ่งทางไกลอาชีพชาวเคนยาที่แข่งขันมาราธอน และเดิมแข่งขันระยะ 5000 เมตร คิปโชเกเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันมาราธอนในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 และ 2020 นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของสถิติโลกของการวิ่งมาราธอนในรายการเบอร์ลินมาราธอน 2022 ด้วยเวลา 2:01:09 ชั่วโมง[2] ซึ่งเร็วกว่าสถิติเดิมของตนเอง 30 วินาที[3] จนกระทั่งเคลวิน คิปทุม นักวิ่งทางไกลอาชีพชาวเคนยาทำลายสถิติของเขาด้วยเวลา 2:00:35 ชั่วโมงในรายการชิคาโกมาราธอน 2023[4] คิปโชเกได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักวิ่งมาราธอนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด[5]

คิปโชเกชนะการแข่งขันชิงแชมป์โลกครั้งแรกในปี 2003 ในรายการเวิลด์แอตเลติกส์ครอสคันทรีแชมเปียนชิปส์รุ่นเยาวชน และทำสถิติโลกรุ่นเยาวชนในระยะ 5000 เมตร ขณะอายุได้ 18 ปี คิปโชเกชนะการแข่งขันระยะ 5000 เมตรในกรีฑาชิงแชมป์โลก 2003 พร้อมทั้งทำสถิติโลก ตามด้วยได้รับเหรียญทองแดงโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 และเวิลด์แอตเลติกส์อินดอร์แชมเปียนชิปส์ 2006 หลังจากนั้นคิปโชเกได้รับเหรียญเงินกรีฑาชิงแชมป์โลก 2007, โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 และกีฬาเครือจักรภพ 2010

คิปโชเกเปลี่ยนมาวิ่งถนนในปี 2012 และเปิดตัวด้วยการวิ่งฮาล์ฟมาราธอนเร็วที่สุดเป็นอันดับที่สองด้วยเวลา 59:25 นาที คิปโชเกวิ่งมาราธอนรายการแรกที่ฮัมบวร์คมาราธอน 2013 ด้วยเวลา 2:05:30 ชั่วโมง[6] คิปโชเกชนะการแข่งขันระดับเวิลด์มาราธอนเมเจอร์ครั้งแรกที่ชิคาโกมาราธอน 2014 และเป็นผู้ชนะเวิลด์มาราธอนเมเจอร์ของปี 2016, 2017, 2018 และ 2019 คิปโชเกพ่ายแพ้ในการแข่งมาราธอนสี่ครั้ง ได้แก่ เบอร์ลินมาราธอน 2013 (อันดับที่สอง) ลอนดอนมาราธอน 2020 (อันดับที่แปด) บอสตันมาราธอน 2023 (อันดับที่หก) และโตเกียวมาราธอน 2024 (อันดับที่สิบ)[7][8][9][10][11]

วันที่ 12 ตุลาคม 2019 คิปโชเกวิ่งระยะมาราธอนในงาน Ineos 1:59 Challenge โดยทำเวลาได้ 1:59:40 ชั่วโมง ทำให้คิปโชเกกลายเป็น "นักวิ่งมาราธอนประเภทชายที่เร็วที่สุด" และเป็นคนแรกที่ "วิ่งมาราธอนได้ต่ำกว่าสองชั่วโมง" ตามบันทึกสถิติโลกกินเนสส์[12][13] อย่างไรก็ตามกรีฑาโลกไม่นับเป็นสถิติมาราธอนใหม่เนื่องจากการควบคุมความเร็วและการให้น้ำไม่เป็นไปตามมาตรฐานแข่งขัน และไม่ใช่งานแบบเปิด[14][15][16]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Eliud KIPCHOGE". olympicchannel.com. Olympic Channel Services. สืบค้นเมื่อ 7 August 2020.
  2. "Kenya's Kipchoge shatters marathon world record in Berlin". Reuters. 25 September 2022. สืบค้นเมื่อ 25 September 2022.
  3. "Eliud Kipchoge takes 30 seconds off his men's marathon world record in Berlin". The Guardian. 25 September 2022. สืบค้นเมื่อ 25 September 2022.
  4. "Kiptum smashes world marathon record with 2:00:35, Hassan runs 2:13:44 in Chicago | REPORT | World Athletics". worldathletics.org. สืบค้นเมื่อ 2023-10-08.
  5. Mohammed, Omar (August 8, 2021). "Athletics-Kenya's Kipchoge cements legacy as greatest marathon runner". Reuters. สืบค้นเมื่อ December 11, 2021.
  6. Minshull, Phil (April 21, 2013). "Kipchoge makes marvellous Marathon debut with 2:05:30 course record in Hamburg". World Athletics. สืบค้นเมื่อ December 11, 2021.
  7. "News". leichtathletik.de (ภาษาเยอรมัน). 28 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-28. สืบค้นเมื่อ 28 April 2019.
  8. "Berlin marathon: Wilson Kipsang sets new world record". BBC Sport. 29 September 2013. สืบค้นเมื่อ 1 October 2018.
  9. Snider-McGrath, Ben (4 October 2020). "Shura Kitata wins London Marathon in sprint finish, Kipchoge 8th". Canadian Running Magazine.
  10. Jones, Michael (April 17, 2023). "Boston Marathon 2023 LIVE: Updates and result as Eliud Kipchoge beaten after bombing remembered 10 years on". The Independent. สืบค้นเมื่อ April 17, 2023.
  11. Kahler, Theo (March 4, 2024). "Eliud Kipchoge Finishes 10th at the Tokyo Marathon". Runner's World. สืบค้นเมื่อ March 2, 2024.
  12. "First marathon distance run under two hours". Guinness World Records (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-10-15.
  13. "Fastest marathon distance (male)". Guinness World Records (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-10-15.
  14. Dalek, Brian; Sgobba, Christa (12 October 2019). "History Made: Kipchoge Runs Under 2 Hours at INEOS 1:59 Challenge". Runner's World. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
  15. Hawkins, Derek (12 October 2019). "Kenya's Eliud Kipchoge just became the first marathon runner to break the 2-hour barrier". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
  16. "Eliud Kipchoge: The man, the methods & controversies behind 'moon-landing moment'". 19 November 2019 – โดยทาง www.bbc.co.uk.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]