ข้ามไปเนื้อหา

เห็ดร่างแห

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เห็ดร่างแห
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Fungi
ไฟลัม: Basidiomycota
ชั้น: Agaricomycetes
อันดับ: Phallales
วงศ์: Phallaceae
สกุล: Phallus
สปีชีส์: P.  indusiatus

เห็ดร่างแห (Phallus indusiatus') หรือ เห็ดเยื่อไผ่ มีเขตกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มักขึ้นเป็นดอกเดี่ยวอยู่บนพื้นดินที่มีใบไม้เน่าเปื่อย พบมากในช่วงฤดูฝน ลักษณะเด่นอันเป็นที่มาของชื่อคือ ที่ใต้หมวกของดอกเห็ดจะมีเยื่อบางๆ คล้ายร่างแหกางห้อยลงมาปกคลุมก้านดอก ดูคล้ายสุ่มร่างแหที่โดนลม สุ่มนี้จะพัดแกว่งไกวราวกับสตรีใส่กระโปรงลูกไม้เต้นระบำอยู่ เป็นที่มาของชื่อ Dancing Mushroom อีกชื่อหนึ่ง[1]

ลักษณะทั่วไป

[แก้]

ดอกเห็ด เมื่อยังอ่อนมีเยื่อหุ้มรูปไข่สีเหลืองอ่อน เมื่อเจริญขึ้นจะปริแตกเห็นก้านและฐานดอกรูประฆังสีเหลือง คงเหลือเยื่อหุ้ม ฐานดอกกว้าง 4 เซนติเมตร สูง 3 เซนติเมตร ปลายเป็นแป้นกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ผิวฐานดอกแบ่งเป็นห้องๆ ภายในมีน้ำเมือกสีน้ำตาลอมเขียวหม่น รสหวานและมีกลิ่นเหม็นรุนแรง ซึ่งส่งกลิ่นไปได้ไกล เป็นสื่อล่อแมลงมาดูดกิน ใต้ฐานดอกมีเยื่อบางๆ คล้ายร่างแห แขวนกางห้อยลงมา คล้ายสุ่มรอบก้านดอก ก้านสีขาว เนื้อเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำ ยาว 10-15 เซนติเมตร ปลายเรียวเล็กกว่าโคนเล็กน้อย ภายในก้านกลวง ด้านล่างของเยื่อหุ้ม มีเส้นใยหยาบสีขาวคล้ายเส้นด้าย อยู่ติดกับดิน[2]

การใช้ประโยชน์

[แก้]
เห็ดร่างแหที่จะนำมาทำเป็นอาหาร

ในประเทศจีนมีเห็ดประเภทนี้ 9 ชนิด กินได้เพียง 4 ชนิด ในประเทศไทย ภาคอีสานพบ 5 ชนิด คือ เห็ดร่างแหกระโปรงยาวสีขาว (Dictyophora indusiata) เห็ดร่างแหกระโปรงสั้นสีขาว (Dictyophora duplicata) เห็ดร่างแหกระโปรงเหลือง (Dictyophora multicolor) เห็ดร่างแหกระโปรงส้ม (Dictyophora multicolor) และเห็ดร่างแหกระโปรงแดง (Dictyophora rubrovolvata) แต่มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่สามารถรับประทานได้ คือ เห็ดร่างแหกระโปรงสั้นสีขาว และเห็ดร่างแหกระโปรงยาวสีขาว ส่วนเห็ดร่างแหชนิดอื่น ๆ มีพิษ ไม่สามารถรับประทานได้ ชาวจีนรู้จักใช้ประโยชน์เห็ดชนิดนี้ตั้งแต่เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว โดยจัดเป็นส่วนผสมในยา รวมถึงปรุงเป็นอาหาร ด้วยความเชื่อว่าสามารถลดคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต บำรุงร่างกาย บรรเทาโรคที่เกี่ยวกับไต ตา ปอด ตับอักเสบ หวัด ช่วยระบบขับลม ลดความอ้วน จากการศึกษารวมทั้งมีรายงานระบุว่า นำมาเป็นส่วนผสมน้ำมันนวดแก้โรคเกาต์และรูมาติซึมได้ ส่วนประเทศแถบเอเชียนิยมกินเห็ดที่ตากแห้ง โดยเติมน้ำร้อนและสามารถดื่มได้ทันที สำหรับประเทศไทยนิยมนำมาประกอบเป็นอาหาร เช่น ซุปเยื่อไผ่ แกงจืดเยื่อไผ่[3]

คุณค่าทางโภชนาการ

[แก้]

สำหรับสารอาหาร ประเทศที่จำหน่ายเห็ดระบุว่า เห็ดเยื่อไผ่แห้งจำนวน 100 กรัม ประกอบด้วย

สมุดภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เห็ดร่างแห เก็บถาวร 2013-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ชมรมออนซอนฟิสิกส์
  2. [1][ลิงก์เสีย].เห็ดร่างแห1
  3. [2][ลิงก์เสีย].เห็ดร่างแห2
  4. [3][ลิงก์เสีย].เห็ดร่างแห2

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]