เหตุโจมตีทางอากาศที่ท่าอากาศยานนานาชาติแบกแดด พ.ศ. 2563

พิกัด: 33°15′29″N 44°15′22″E / 33.25806°N 44.25611°E / 33.25806; 44.25611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุโจมตีทางอากาศที่ท่าอากาศยานนานาชาติแบกแดด พ.ศ. 2563
ส่วนหนึ่งของ การแทรกแซงทางทหารที่นำโดยสหรัฐในในอิรัก (ปฏิบัติการแก้ปัญหาที่ต้นตอ) และวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซีย พ.ศ. 2562–2563
กอเซม โซเลย์มอนี (ซ้าย) และอะบู มะฮ์ดี อัลมุฮันดิส (ขวา)
อยู่ในหมู่ผู้เสียชีวิต
ชนิดการโจมตีด้วยอากาศยานไร้คนขับ[1]
ตำแหน่งใกล้ท่าอากาศยานนานาชาติแบกแดด แบกแดด อิรัก
33°15′29″N 44°15′22″E / 33.25806°N 44.25611°E / 33.25806; 44.25611
ผู้บังคับบัญชา ดอนัลด์ ทรัมป์
เป้าหมายกองกำลังโกดส์
กองกำลังระดมพลประชาชน
วันที่3 มกราคม 2563 (2020-01-03)
ประมาณ 1 นาฬิกา ตามเวลาท้องถิ่น[2] (UTC+3)
ผู้ลงมือ สหรัฐ
ผลลัพธ์การเสียชีวิตของกอเซม โซเลย์มอนี และอะบู มะฮ์ดี อัลมุฮันดิส
ผู้สูญเสียผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 คน[3]
ประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ กล่าวปราศรัยเกี่ยวกับการโจมตีทางอากาศ ณ มาร์-อะ-ลาโก เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563

เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563 ท่ามกลางความตึงเครียดที่กำลังเพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐกับอิหร่าน สหรัฐได้ปฏิบัติการการโจมตีด้วยอากาศยานไร้คนขับใส่ขบวนรถขบวนหนึ่งขณะกำลังเดินทางออกจากท่าอากาศยานนานาชาติแบกแดดในอิรัก มีผู้โดยสารหลายคนอยู่ในขบวนรถดังกล่าว รวมถึงกอเซม โซเลย์มอนี นายพลและผู้บัญชาการกองกำลังโกดส์แห่งกองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน และอะบู มะฮ์ดี อัลมุฮันดิส รองผู้บัญชาการกองกำลังระดมพลประชาชน กองกำลังติดอาวุธอิรักซึ่งมีความใกล้ชิดกับอิหร่าน

การโจมตีครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่สหรัฐถอนตัวจากความตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านใน พ.ศ. 2561[4] และหลังวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซียระหว่าง พ.ศ. 2562–2563 ในสัปดาห์ก่อนการโจมตี ฐานทัพอากาศอิรักแห่งหนึ่งถูกโจมตี ส่งผลให้พลเรือนซึ่งเป็นผู้รับเหมารายหนึ่งของสหรัฐเสียชีวิต สหรัฐตอบโต้ด้วยการสังหารนักรบอาสาสมัครชีอะฮ์ที่อิหร่านหนุนหลัง 25 นาย ไม่กี่วันต่อมาด้านนอกของสถานทูตสหรัฐในอิรักก็ถูกผู้ประท้วงชาวชีอะฮ์ทำลายเพื่อเป็นการตอบโต้ สหรัฐกล่าวหาอิหร่านและพันธมิตรที่ไม่ใช่รัฐของอิหร่านว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์เหล่านี้[5][6]

การโจมตีทางอากาศดังกล่าวทำให้ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับอิหร่านเพิ่มขึ้นอย่างมาก อะลี คอเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านให้คำมั่นว่าจะแก้แค้นสหรัฐอย่างรุนแรง[7] ในขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐกล่าวว่าพวกเขาจะดำเนินการต่อกองกำลังกึ่งทหารใด ๆ ก็ตามที่อิหร่านสนับสนุนในอิรัก หากมีสิ่งบ่งชี้ว่ากองกำลังเหล่านี้กำลังวางแผนโจมตีสหรัฐ[8]

สมาชิกพรรคริพับลิกันในสหรัฐส่วนใหญ่สนับสนุนการโจมตี เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล[9][10][11] ในขณะที่สมาชิกพรรคเดโมแครตในสหรัฐรับรู้ว่าโซเลย์มอนีมีส่วนร่วมในการสังหารทหารอเมริกันไปเป็นจำนวนมาก แต่ตั้งคำถามถึงความรอบคอบในการโจมตีแบบยั่วยุซึ่งจะเพิ่มความตึงเครียดในตะวันออกกลางเช่นนี้[12] ซีเรียออกมาประณามเหตุโจมตี[9][13] รัสเซียเชื่อว่าเหตุการณ์นี้จะเพิ่มความตึงเครียดในตะวันออกกลาง[14] ส่วนจีน อินเดีย ปากีสถาน ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหราชอาณาจักรเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้นและการเจรจาทางการทูต[9][10][15][16]

การโจมตี[แก้]

โดรนเอ็มคิว-9 รีปเปอร์ ในเที่ยวบิน

เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563 เวลา 12:32 น. ตามเวลาท้องถิ่นเครื่องบินแอร์บัส เอ320 ของสายการบินแชมวิงส์ ที่มีนายพลโซเลย์มอนีจากท่าอากาศยานนานาชาติดามัสกัส ได้มาถึงท่าอากาศยานนานาชาติแบกแดด หลังจากล่าช้าเป็นเวลาสองชั่วโมงโดยไม่ทราบสาเหตุ[17][18][a] โดรนเอ็มคิว-9 รีปเปอร์ ของกองทัพอากาศสหรัฐ[19][b] และเครื่องบินทหารอื่น ๆ ได้ลอยอยู่เหนือบริเวณนั้น[c] ขณะที่โซเลย์มอนีและกำลังกึ่งทหารนิยมอิหร่านอื่น ๆ รวมถึงอะบู มะฮ์ดี อัลมุฮันดิส ผู้ก่อการร้ายที่สหรัฐหมายตัว[21] ได้เข้าไปในยานพาหนะสองคันแล้วออกจากท่าอากาศยานไปยังตัวเมืองแบกแดด กระทั่งเวลาประมาณ 1:00 น. โดรนรีปเปอร์ได้ปล่อยตัวขีปนาวุธหลายลูก[d] โจมตีขบวนรถบนถนนท่าอากาศยานแบกแดด จนเกิดเปลวเพลิงล้อมรอบทั้งสองคันและสังหารผู้คนไป 10 ราย[24][25][26][27][28]

หมายเหตุ[แก้]

  1. Soleimani used to avoid using his private plane because of increasing concerns regarding his own security, according to an Iraqi security source familiar with his security precautions.[17]
  2. The drone which was probably launched from Al Udeid Air Base in Qatar, was controlled remotely by operators at the Creech Air Force Base.[20]
  3. Investigators in Iraq and Syria have concentrated on how collaborators inside the Damascus and Baghdad airports aided the U.S. military to track and pinpoint Soleimani's position.[17]
  4. The MQ-9 Reaper drone was probably equipped with AGM-114 Hellfire missiles.[22][23]

อ้างอิง[แก้]

  1. CNN, Zachary Cohen, Hamdi Alkhshali, Arwa Damon and Kareem Khadder. "US drone strike ordered by Trump kills top Iranian commander in Baghdad". CNN. สืบค้นเมื่อ 2020-01-03.
  2. Ghattas, Kim (3 January 2020). "Qassem Soleimani Haunted the Arab World". The Atlantic.
  3. "'فيلق القدس': أربعة ضباط عسكريين إيرانيين اغتيلوا مع سليماني" [Al-Quds Corps: Four Iranian military officers were assassinated along with Soleimani]. Iraq Akhbar (ภาษาอาหรับ). 3 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-04. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  4. Trump, Iran and the end of the deal เก็บถาวร 11 พฤษภาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Spectator.
  5. Idrees Ali; Ahmed Rasheed (29 December 2019). "Trump aides call U.S. strikes on Iraq and Syria 'successful,' warn of potential further action". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2020. สืบค้นเมื่อ 2 January 2020.
  6. Ali, Idrees; Brunnstrom, David (31 December 2019). "U.S. has no plan to evacuate embassy in Baghdad, more forces being sent to compound". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2020. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  7. "Iran Leader vows 'harsh revenge' following assassination of Gen. Soleimani". Press TV. 3 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2020. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  8. Gibbons-Neff, Thomas (2 January 2020). "After Embassy Attack, U.S. Is Prepared to Pre-emptively Strike Militias in Iraq". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2020. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  9. 9.0 9.1 9.2 "Qassem Soleimani: Iranians mourn as world reacts to death of Iran's top military official". Euronews. 3 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2020. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  10. 10.0 10.1 "World reacts to US killing of Iran's Qassem Soleimani in Iraq". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  11. "Iran Promises Retaliation After U.S. Kills General: Live Updates". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 3 January 2020. ISSN 0362-4331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2020. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  12. Wayne, Alex (3 January 2020). "Trump Rattles Mideast, U.S. Politics With Risky Iran Strike". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020. Political reaction fell along familiar party lines — buoyant praise from many Republican lawmakers and a string of Democratic statements that criticized Soleimani, blamed for the deaths of hundreds of American servicemen during the Iraq war, before questioning the wisdom of Trump’s move.
  13. "Syria condemns killing of Iran's Soleimani: state news agency". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 3 January 2020. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  14. "U.S. killing of Iranian commander will raise Middle East tension – Russia". Reuters. 3 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2020. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  15. "China urges 'calm and restraint' after US kills Iran general". Al-Arabiya English. Reuters. 3 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2020. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  16. "Iran-US tensions: Pakistan urges all parties to exercise 'maximum restraint'". www.geo.tv (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  17. 17.0 17.1 17.2 "Exclusive: Informants in Iraq, Syria helped U.S. kill Iran's Soleimani—sources". Reuters. 9 January 2020.
  18. "Tracked, targeted, killed: Qassem Soleimani's final hours". Middle East Eye. 4 January 2020.
  19. Read, Russ (3 January 2020). "World's most feared drone: CIA's MQ-9 Reaper killed Soleimani". Washington Examiner. Iranian Gen. Qassem Soleimani was killed Thursday night in a strike by an MQ-9 Reaper drone.
  20. "Reaper drone launched from Qatar fired missile that killed Soleimani". Arab News. 5 January 2020.
  21. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Lawrence
  22. "A look at the deadly capabilities of the MQ-9 Reaper drone that took out Gen. Qassem Soleimani". The New York Post. 3 January 2020.
  23. "Did The U.S. Use New Joint Air-To-Ground Missile To Kill Iran's General Soleimani?". Forbes. 4 January 2020.
  24. "Iran vows 'harsh' response to US killing of top general". AP NEWS. 3 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2020. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  25. Crowley, Michael; Hassan, Falih; Schmitt, Eric (2 January 2020). "U.S. Strike in Iraq Kills Qassim Suleimani, Commander of Iranian Forces". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2020. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  26. Lawler, Dave (2 January 2020). "U.S. kills top Iranian commander Qasem Soleimani". Axios. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  27. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Reuters-Iran's
  28. arraf, jane (5 January 2020). "After 2003 #Baghdad's airport road was one of the deadliest roads in #Iraq. It's been years since then—renovation included versions of iconic Iraqi paintings—now marked with shrapnel from the US drone strike. A lot of Iraqis fear being plunged back into the abyss.pic.twitter.com/KwzRNUxp7o". @janearraf. สืบค้นเมื่อ 7 January 2020.แม่แบบ:Primary source inline

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]