ข้ามไปเนื้อหา

เส้นดูรันด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เส้นดูรันด์
แผนที่แสดงเส้นดูรันด์ในเส้นสีแดง
ข้อมูลจำเพาะ
พรมแดนระหว่างธงของประเทศอัฟกานิสถาน อัฟกานิสถาน ธงของประเทศปากีสถาน ปากีสถาน
ความยาว2,670 km (1,660 mi)
ประวัติ
มีผลตั้งแต่12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1893
การลงนามข้อตกลงเส้นดูรันด์ตอนจบช่วงแรกของสงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่สอง
พรมแดนปัจจุบัน8 สิงหาคม ค.ศ. 1919
การให้สัตยาบันสนธิสัญญาอังกฤษ-อัฟกานิสถาน ค.ศ. 1919 เป็นการสิ้นสุดสงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่สาม
สนธิสัญญาสนธิสัญญากันดามัก, ข้อตกลงเส้นดูรันด์, สนธิสัญญาอังกฤษ-อัฟกานิสถาน ค.ศ. 1919

เส้นดูรันด์ (อังกฤษ: Durand Line; ปาทาน: د ډیورنډ کرښه; อูรดู: ڈیورنڈ لائن) หมายถึง เขตแดนระหว่างประเทศระหว่างปากีสถานกับอัฟกานิสถาน ซึ่งแบ่งแยกเชื้อชาติปาทาน (ชาวอัฟกานิสถาน) เส้นที่ทำเครื่องหมายอย่างเลวนี้ยาวประมาณ 2,640 กิโลเมตร เส้นดังกล่าวถูกจัดทำขึ้นหลังความตกลงเส้นดูรันด์ ค.ศ. 1893 ระหว่างผู้แทนอาณานิคมบริติชอินเดียและอาเมียร์แห่งอัฟกานิสถาน อับดุร์ เราะห์มาน ข่าน เพื่อกำหนดเขตอิทธิพลของแต่ละฝ่ายให้แน่นอน เส้นดูรันด์ตั้งตามชื่อเฮนรี มอร์ติเมอร์ ดูรันด์ รัฐมนตรีต่างประเทศบริติชอินเดียในเวลานั้น ความตกลงหน้าเดียวซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาสั้น ๆ เจ็ดข้อ ลงนามโดย เอช. เอ็ม. ดูรันด์ และอับดุร์ เราะห์มาน ข่าน ตกลงว่าจะไม่แทรกแซงข้ามแนวเขตแดนระหว่างอัฟกานิสถานและดินแดนที่เป็นอาณานิคมบริติชอินเดียในเวลานั้น (ปัจจุบันคือ ปากีสถาน)[1]

การสำรวจปักปันเขตแดนร่วมระหว่างอังกฤษ-อัฟกานิสถานเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1894 ครอบคลุมเขตแดนยาว 800 เมตร[2][3] เส้นดูรันด์อันเป็นผลนั้น ได้จัดตั้งเขตกันชนของเกมอันยิ่งใหญ่ระหว่างผลประโยชน์ของอังกฤษและรัสเซียในภูมิภาค[4] ชายแดนที่ทำเครื่องหมายอย่างเลวนี้ตัดผ่านพื้นที่เผ่าพัซตุน แบ่งแยกเชื้อชาติพัซตุนทั้งสองฟากของชายแดนและตั้งอยู่ในสถานที่ซึ่งอธิบายว่าเป็น หนึ่งในสถานที่อันตรายที่สุดในโลก[5][6] แม้จะแสดงในแผนที่ส่วนใหญ่เป็นเขตแดนระหว่างประเทศด้านตะวันตกของปากีสถาน แต่อัฟกานิสถานไม่ยอมรับ[7][8][9][10][11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Smith, Cynthia (August 2004). "A Selection of Historical Maps of Afghanistan - The Durand Line". United States: Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 2011-02-11.
  2. BRIG.-GEN. Sir Percy Sykes, K.C.I.E., C.B., C.M.G., GOLD MEDALIST OF THE ROYAL GEOGRAPHICAL SOCIETY. "A HISTORY OF AFGHANISTAN VOL. II". MACMILLAN & CO. LTD, 1940, LONDON. pp. 182–188, 200–208. สืบค้นเมื่อ 2009-12-05.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. An adjustment to the demarcation was made at Arandu in the early 1930's: Hay, Maj. W. R. (October 1933). "Demarcation of the Indo-Afghan Boundary in the Vicinity of Arandu". Geographic Journal. LXXXII (4).
  4. Hasan, Khalid (February 1, 2004). "'Durand Line Treaty has not lapsed'". Pakistan: Daily Times. สืบค้นเมื่อ 2011-02-11.
  5. Bajoria, Jayshree (March 20, 2009). "The Troubled Afghan-Pakistani Border". Council on Foreign Relations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-25. สืบค้นเมื่อ 2011-02-11.
  6. "Japanese nationals not killed in Pakistan: FO". Pakistan: Dawn News. September 7, 2005. สืบค้นเมื่อ 2011-02-11.
  7. Dawn News, Fazl urges Afghanistan to recognise Durand Line
  8. Grare, Frédéric (October 2006). "Carnegie Papers - Pakistan-Afghanistan Relations in the Post-9/11 Era" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-10-03. สืบค้นเมื่อ 2011-02-11.
  9. End of Imaginary Durrand Line: North Pakistan belongs to Afghanistan เก็บถาวร 2009-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Wahid Momand
  10. Government & Politics: Overview Of Current Political Situation In Afghanistan เก็บถาวร 2017-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
  11. Durand Line

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]