ข้ามไปเนื้อหา

เสมอกัน เที่ยงธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสมอกัน เที่ยงธรรม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 233 วัน)
เขตเลือกตั้งเขต 4
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 ตุลาคม พ.ศ. 2521 (46 ปี)
อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติไทย (2547–2551)
ชาติไทยพัฒนา (2554–ปัจจุบัน)
บุพการี

เสมอกัน เที่ยงธรรม (เกิด 5 ตุลาคม พ.ศ. 2521) เป็นกรรมการใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี และกรรมการบริหารพรรคชาติไทยพัฒนา

ประวัติ

[แก้]

เสมอกัน เที่ยงธรรม มีชื่อเล่นว่า "ป็อป" เกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2521 เป็นบุตรของ จองชัย เที่ยงธรรม[1] นักการเมืองชาวสุพรรณบุรี กับ มุกดา เที่ยงธรรม เขาจบการศึกษาปริญญาตรี สาขา Business Administration จาก Richmond, The American International University in London ประเทศอังกฤษ และปริญญาโท สาขา International Marketing Management จากมหาวิทยาลัยอีสต์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ[2][3] รวมทั้งศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[4]

การทำงาน

[แก้]

เสมอกัน เที่ยงธรรม เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติตามบิดา (จองชัย เที่ยงธรรม) โดยสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรีครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคชาติไทย แทนบิดาที่ย้ายไปลงสมัครแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งเขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีอายุน้อยที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกสมัย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แต่ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 เขาและกรรมการบริหารพรรคชาติไทย ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากคำวินิจฉัยคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551[5]

เสมอกัน เที่ยงธรรม กลับสู่งานการเมืองอีกครั้ง โดยการเข้าร่วมงานกับพรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องจากพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 3 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 โดยเขาได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นคนรุ่นใหม่ของพรรคชาติไทยพัฒนา (นิวบลัด)[3]

เสมอกัน ยังทำธุรกิจเกี่ยวกับการขายผัก และสมุนไพร รวมถึงอาหาร 3 แห่ง เคยเป็นกรรมการบริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) ผู้สนับสนุนเงินระดมทุนให้พรรคพลังประชารัฐ 6 ล้านบาท[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

เสมอกัน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัด สุพรรณบุรี สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ‘ลูกจองชัย’ปวดหัว ปัดไม่ยุ่งศึกช้างชนช้าง‘พ่อ-ประภัตร’
  2. รัฐสภา
  3. 3.0 3.1 'เลือกตั้งแข่งทำดี ไม่ทำลายคนอื่น' 'เสมอกัน เที่ยงธรรม' นิวบลัด ชทพ.
  4. สภาผู้แทนราษฎร
  5. "ศิลปอาชา"สูญพันธุ์ หลังยุบชาติไทย เปิด109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ"ถูกเพิกสิทธิเลือกตั้ง จากมติชน
  6. เปิดข้อมูลธุรกิจ ส.ส. (จบ): 14 คน 21 พรรคกลาง-เล็ก นั่ง กก. 24 แห่ง ทุนรวม 452 ล.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔