ข้ามไปเนื้อหา

เมียะนานหน่วย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมียะนานหน่วย
รูปเคารพของเมียะนานหน่วย
เกิด22 ธันวาคม ค.ศ. 1897(1897-12-22)
โม่โกะ บริติชเบอร์มา
เสียชีวิตกุมภาพันธ์ 1956 (อายุ 49 ปี)
โม่โกะ ประเทศพม่า
สัญชาติพม่า
ชื่ออื่นอะมาดอว์เมียะ, เมียะนานหน่วย
มีชื่อเสียงจากในฐานะนาคผู้พิทักษ์เจดีย์

เทพกระซิบ หรือ เมียนน่าน-นแว (พม่า: မြနန်းနွယ်; หรือบางทีนิยมเรียกในไทยว่า เมียะนานหน่วย; แปลว่า "เทวดากระซิบ") หรือชื่ออื่น ๆ เช่น ไตน่านชีน (သိုက်နန်းရှင်, แปลว่า "ผู้พิทักษ์สมบัติ") และ อะมาดอว์เมียะ[1] เป็นนะพม่า นาคผู้พิทักษ์เจดีย์โบตะทองในย่างกุ้ง[2][3]

ช่วงชีวิต

[แก้]

เมียะนานหน่วยเกิดเมื่อ 22 ธันวาคม 1897 ในเมืองโม่โกะ บริติชเบอร์มา เธอเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากเจ้าฟ้าองค์หนึ่ง เมียะไม่ทานเนื้อสัตว์เลยตั้งแต่อายุยังน้อย ในปี 1942 เมียะฝันเห็นชายชราห่มผ้าขาวมาบอกให้เธอย้ายไปอยู่ย่างกุ้งเพื่อบวชเป็นชี (บ้างว่าสานต่อภารกิจทางศาสนา) เธอจึงย้ายไปอาศัยอยู่ไม่ไกลจากเจดีย์โบตะทอง ที่ซึ่งเธอเดินทางไปสักการะเป็นประจำทุกวัน เธอชอบสวมเครื่องแต่งกายสีเขียวจนเป็นที่เรียกกันว่า "เจ้าหญิงเขียว"[4] เธอมีบทบาททางศาสนาอย่างมาก รวมถึงมีส่วนช่วยก่อสร้างเจดีย์โบตะทองขึ้นใหม่หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง[2]

บางส่วนเชื่อว่าเธอเป็นธิดาของพญานาค[1]

ยกขึ้นเป็นเทพเจ้า

[แก้]
ศาลเมียะนานหน่วย ตรงข้ามเจดีย์โบตะทอง

เมียะเสียชีวิตในโม่โกะในเดือนกุมภาพันธ์ 1956 ด้วยอาการแทรกซ้อนจากหอบหืดเรื้อรัง[2] ในปี 1957 หลังเธอเสียชีวิต เธอได้รับการเคารพบูชาในฐานะเทวดา กระทั่งปี 1990 ได้มีผู้ตั้งศาลบูชาเธอภายในเจดีย์โบตะทอง นับจากนั้นมาเธอได้รับการเคารพบูชาและมีผู้เดินทางเข้ามากราบไหว้ขอพรอย่างไม่ขาดสาย เมียะนานหน่วยเป็นที่นิยมในการขอพรให้คุ้มครองพี่สาวหรือน้องสาวของบุคคลนั้น[5][2]

ศาลเมียะนานหน่วย

[แก้]

ศาลเมียะนานหน่วยในย่างกุ้งมีผู้เดินทางเข้ามาสักการะราว 700 คนต่อวัน และอาจสูงถึง 1,000 ถึง 3,000 คนต่อวันหยุดสุดสัปดาห์ ในจำนวนนี้มีไม่น้อยที่เป็นชาวไทย[6][2] เมียะเป็นที่รู้จักมากในประเทศไทยหลังมีรายการโทรทัศน์ถ่ายทอดเรื่องราวของเมียะ[2]

เผด็จการและผู้นำพม่า ต้านชเว เคยสั่งให้ทหารมัดมือมัดเท้าของรูปปั้นเมียะในศาล เป็นที่เล่าลือกันว่าเมียะไปเข้าฝันของต้านชเวให้หยุดกดขี่ประชาชนพม่า ต้านชเวเป็นผู้นำที่มีความเชื่อเรื่องดวงและสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงมาก จึงเห็นฝันนี้ว่าเป็นลางไม่ดีและสั่งให้ทหารจัดการมัดตัวรูปเคารพของเมียะไว้[1][7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 อุ่ยเต็กเค่ง, คมกฤช (2021-10-08). "คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง : เทวดาจะอยู่ข้างไหน?". มติชน. สืบค้นเมื่อ 2021-11-20.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 May Sitt Paing (22 July 2014). "Thais Find a Spiritual Home in Yangon". The Irrawaddy. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  3. Zon Pann Pwint (29 July 2015). "Living on borrowed time". The Myanmar Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-20. สืบค้นเมื่อ 18 August 2018.
  4. "ဝါတွင်းတိုင်းသီလရှင်ဝတ်ပါတယ် ဆိုသောအစ်မတော်မြနန်းနွယ်သမိုင်းကြောင်း". dailyhotnews (ภาษาพม่า). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-15. สืบค้นเมื่อ 13 August 2018.
  5. ", Ahmagyi Mya Nan Nwe, a devotee to the Botahtaung Pagoda". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-20. สืบค้นเมื่อ 2021-11-20.
  6. "အစ်မတော် မြနန်းနွယ် တကယ်ပဲ ဆုတောင်းပြည့်စေလား" (ภาษาพม่า). Kamayut Media. 16 July 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-17. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  7. Wai, Kyi (2009-11-19). "Mystery of the Handcuffed Statues". The Irrawaddy. สืบค้นเมื่อ 2021-11-20.